กลยุทธ์ในการคัดกรองภาวะความดันโลหิตสูง

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

วิธีต่างๆ ในการตรวจคัดกรองภาวะความดันโลหิตสูง (คัดกรองแบบกลุ่มใหญ่ แบบมุ่งเป้า หรือแล้วแต่โอกาส) ลดความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตได้หรือไม่

ที่มาและความสำคัญ

ความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อแบบเรื้อรัง (NCD) หรือที่เรียกว่าความดันโลหิตสูงหรือสูงขึ้น ความดันโลหิตดูจากการวัดสองครั้ง (ความดันโลหิต systolic (SBP) และ diastolic (DBP) ซึ่งเป็นความดันโลหิตสูงสุดและต่ำสุด โดยทั่วไปในผู้ใหญ่ จะได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงเมื่อวัดขณะพักอย่างต่อเนื่องมีความดันโลหิต SBP ≥ 130/140 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) หรือ DBP ≥ 80/90 mmHg

แม้ว่าความดันโลหิตในหลอดเลือดจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในหลาย ๆ กรณีความดันโลหิตสูงจะไม่มีอาการ อย่างไรก็ตาม ความดันโลหิตสูงเพิ่มความเสี่ยงในระยะยาว ต่อหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง สูญเสียการมองเห็นและโรคไตเรื้อรัง เป็นต้น ผู้ที่รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ดื่มแอลกอฮอล์และ/หรือสูบบุหรี่ในปริมาณที่เป็นอันตรายและไม่ออกกำลังกายมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง

การตรวจพบแต่เนิ่นๆ การรักษาอย่างเพียงพอและการคุมความดันโลหิตสูงอย่างดีสามารถลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง แม้ว่าการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูงในระยะเริ่มต้นจะมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ แต่การลดภาวะความดันโลหิตสูงเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมและเศรษฐกิจและสังคมในระดับหนึ่ง (เช่น รายได้ อาชีพและระดับการศึกษา) ดังนั้น จึงไม่ชัดเจนว่าการตรวจพบความดันโลหิตสูงเพียงเล็กน้อยในระยะแรกจะมีผลดีต่อค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในระยะยาวหรือไม่ และช่วยลดความจำเป็นในการรักษาในโรงพยาบาล และภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูงซึ่งอาจรุนแรงได้

วิธีดำเนินการ

เราค้นหาฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในหัวข้อนี้จนถึงวันที่ 9 เมษายน 2020 เราค้นหาการศึกษาในภาษาใด ๆ ไม่ว่าจะตีพิมพ์หรือไม่ก็ตาม เราวางแผนที่จะรวมการศึกษาที่เปรียบเทียบกลยุทธ์การคัดกรองประเภทหนึ่งสำหรับความดันโลหิตสูงเทียบกับไม่มีการตรวจคัดกรอง คือมีการตรวจคัดกรองจำนวนมากเปรียบเทียบกับการไม่ตรวจคัดกรอง การตรวจคัดกรองแบบมุ่งเป้าเปรียบเทียบกับการไม่ตรวจคัดกรอง และการตรวจคัดกรองแล้วแต่โอกาสเปรียบเทียบกับการไม่ตรวจคัดกรอง เราสนใจการศึกษาที่ผู้เข้าร่วมเป็นวัยรุ่นที่มีสุขภาพดี ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ซึ่งนักวิจัยได้วัดผลทางคลินิก ผลของสุขภาพและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

ผลลัพธ์ที่สำคัญ

เราไม่พบการศึกษาที่ตรงตามเกณฑ์ที่อธิบายไว้ข้างต้น

คุณภาพของหลักฐาน

ไม่มีหลักฐานที่มีความเชื่อมั่นสูงที่สามารถบอกได้ว่ากลยุทธ์การคัดกรองแบบมุ่งเป้าหรือแบบแล้วแต่โอกาสมีประสิทธิผลในการลดความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่เกี่ยวกับความดันโลหิตสูง

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

มีข้อสันนิษฐานโดยนัยว่าการตรวจหาความดันโลหิตสูงตั้งแต่เนิ่นๆ โดยการตรวจคัดกรองสามารถลดภาระการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตได้ แต่ข้อสันนิษฐานนี้ยังไม่ได้รับการทดสอบในการศึกษาวิจัยที่เข้มงวด หลักฐานคุณภาพสูงจาก RCTs หรือ NRCTs เกี่ยวกับประสิทธิผลและต้นทุน หรืออันตรายของกลยุทธ์การคัดกรองความดันโลหิตสูงที่แตกต่างกัน (แบบคัดกรองกลุ่มใหญ่ แบบมุ่งเป้า หรือแบบแล้วแต่โอกาส) เพื่อลดการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

ความดันโลหิตสูงเป็นความท้าทายด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งส่งผลต่อผู้คนมากกว่าหนึ่งพันล้านคนทั่วโลก ส่งผลกระทบอย่างไม่เป็นสัดส่วนต่อประชากรในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง (LMICs) ซึ่งโดยทั่วไประบบดูแลสุขภาพไม่ดี ความชุกที่เพิ่มขึ้นของความดันโลหิตสูงสัมพันธ์กับการเติบโตของจำนวนประชากร อายุ พันธุกรรมและปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรม เช่น การบริโภคเกลือและไขมันมากเกินไป การไม่ออกกำลังกาย การมีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วนการดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นอันตรายและการจัดการความเครียดที่ไม่ดี ในระยะยาว ความดันโลหิตสูงจะนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ไตวาย ความพิการและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

โรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ เมื่อมีการมุ่งเป้าไปยังกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผ่านกลยุทธ์การคัดกรองในระดับประชากร เมื่อทรัพยากรที่มีอยู่มีจำกัด การใช้แนวทางความเสี่ยงโดยรวมโดยคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงหลายประการของโรคความดันโลหิตสูง (เช่น อายุ เพศ การดำเนินชีวิต โรคเบาหวาน โคเลสเตอรอลในเลือด) จะช่วยให้สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูงได้อย่างแม่นยำมากขึ้น การกำหนดเป้าหมายกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสามารถช่วยลดต้นทุนโดยไม่ต้องใช้กับประชากรทั้งหมด

การตรวจหาตั้งแต่เนิ่นๆ ในรูปแบบของการคัดกรองความดันโลหิตสูง (และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง) ช่วยระบุกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับการรักษาและจัดการปัจจัยเสี่ยงอย่างทันท่วงที การตรวจพบแต่เนิ่น ๆ ช่วยลดการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่เชื่อมโยงกับโรคนี้และช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากความเจ็บป่วยที่รุนแรงและปัจจัยเสี่ยงและโรคประจำตัวที่มีการจัดการไม่ดี

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินประสิทธิผลของกลยุทธ์การคัดกรองความดันโลหิตสูงที่แตกต่าง (คัดกรองแบบกลุ่มใหญ่ แบบมุ่งเป้าหรือแล้วแต่โอกาส) เพื่อลดการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง

วิธีการสืบค้น: 

ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลค้นหาจาก Cochrane Register of Studies (CRS-Web), Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL), MEDLINE, Embase, Latin American Caribbean Health Sciences Literature (LILACS) Bireme, ClinicalTrials.gov และองค์การอนามัยโลก International Clinical Trials Registry Platform (WHO ICTRP) โดยไม่มีข้อจำกัดด้านภาษา ปีที่พิมพ์หรือสถานะการตีพิมพ์ ค้นจากเอกสารตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงวันที่ 9 เมษายน 2020

เกณฑ์การคัดเลือก: 

Randomised controlled trials (RCTs) และ mom-RCT (NRCT) การควบคุมก่อนและหลัง (CBA) interrupted time serie (ITS) และการศึกษาแบบ prospective analytic cohort studies ในวัยรุ่นที่มีสุขภาพดี ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่เข้าร่วมจำนวนมาก การตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูงแบบมุ่งเป้าหรือแล้วแต่โอกาส

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

การคัดกรองการศึกษาที่ดึงมาทั้งหมดทำใน Covidence ทีมผู้ตรวจสอบจับคู่ ประเมินหัวข้อและบทคัดย่อของการศึกษาที่ระบุโดยอิสระ และได้รับเอกสารฉบับเต็มสำหรับการศึกษาที่อาจมีคุณสมบัติเหมาะสม การศึกษาเข้าข่ายได้รับการคัดเลือกเพื่อคัดกรองเอกสารฉบับเต็ม หากผู้วิจัยสองคนเห็นด้วย หรือได้รับฉันทามติจากการหารือกับผู้วิจัยคนที่สาม มีการวางแผนไว้ว่า ผู้วิจัยย่างน้อยสองคนจะดึงข้อมูลจากการศึกษาที่รวมไว้อย่างอิสระต่อกัน ประเมินความเสี่ยงของอคติโดยใช้ pre-specified Cochrane criteria ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าและทำ meta-analysis ของการศึกษาที่คล้ายคลึงกัน หรือนำเสนอแบบบรรยายการสังเคราะห์ผล

ผลการวิจัย: 

เราคัดกรอง 9335 หัวข้อและบทคัดย่อ เราระบุการศึกษาเข้าเกณฑ์การคัดกรองโดยใช้เอกสารฉบับเต็มจำนวน 54 เรื่อง อย่างไรก็ตาม ไม่มีการศึกษาใดที่ตรงตามเกณฑ์การคัดเข้า

บันทึกการแปล: 

แปลโดย เพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที 10 กุมภาพันธ์ 2021

Tools
Information