การฝึกหายใจในผู้ป่วยหอบหืด

ความเป็นมา

หอบหืดเป็นโรคทางปอด โรคหอบหืดเกิดได้สองสาเหตุ จากการอักเสบของทางเดินหายใจ (ร่างกายมีการตอบสนองต่อการบาดเจ็บหรือติดเชื้อ) และสาเหตุจากหลอดลมตีบ (เรียกว่าทางเดินหายใจมีการอุดตัน) หลอดลมตีบเกิดขึ้นได้จากการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นอาการหอบหืด เช่น ขนสัตว์หรือขนฝุ่นหรือละอองเกสร

โรคหอบหืดเป็นโรคทั่วไปมีอยทั่วโลกและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญจากค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพสูงกับโรงพยาบาลและยา การออกกําลังกายหายใจมีการใช้ในการรักษาคนที่มีโรคหอบหืดเป็นวิธีการควบคุมอาการของโรคหอบหืดโดยไม่ต้องยา คนฝึกหายใจรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนวิธีการหายใจของพวกเขา

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

เราต้องการศึกษาผลของการฝึกหายใจต่อผู้ใหญ่ที่เป็นหอบหืด เรามีความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับการฝึกหายใจเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต (ผลลัพธ์์หลัก) และช่วยรักษาอาการหอบหืด, ภาวะหายใจเร็ว และการทำงานของปอด (ผลลัพธ์รอง)

ผลการศึกษาที่สำคัญ

เราสืบค้นการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม คือมีการสุ่มเข้ากลุ่มฝึกหายใจ หรือกลุ่มควบคุม กลุ่มผู้ที่ได้รับการดูแลผู้ป่วยหอบหืดตามปกติเป็นกลุ่มควบคุม

เราพบการศึกษา 22 เรื่อง ผู้เข้าร่วม 2880 คน มีภาวะหอบหืดระดับน้อยถึงปานกลาง มีศึกษาการหายใจวิธีต่าง ๆ กัน การศึกษา 14 เรื่องใช้โยคะ การศึกษา 4 เรื่อง ใช้วิธีฝึกหายใจใหม่ การศึกษา 1 เรื่อง ใช้วิธีฝึกการหายใจแบบ Buteyko การศึกษา 1 เรื่อง ใช้วิธีฝึกการหายใจแบบ Buteyko ร่วมกับวิธี pranayama การศึกษา 1 เรื่อง ใช้วิธีฝึกการหายใจแบบ Papworth และ การศึกษา 1 เรื่องใช้วิธีฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกะบังลม การศึกษา 20 เรื่องเปรียบเทียบระหว่างการฝึกหายใจกับการดูแลผู้ป่วยหอบหืดตามปกติ และ การศึกษา 2 เรื่อง เปรียบเทียบระหว่างการฝึกหายใจกับการให้ความรู้เกี่ยวกับหอบหืด การศึกษาประเมินคุณภาพชีวิต, อาการโรคหอบหืดและอาการหายใจเร็ว, จำนวนครั้งที่เกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน (flare-ups), การทำงานของปอด (การทดสอบการหายใจ) และการนัดหมายแพทย์ทั่วไป (GP)

การศึกษาจำนวนมากสนใจศึกษาตามจุดประสงค์หลักของเรา, คุณภาพชีวิต ผลการวิจัยแสดงถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหลัง 3 ดือนในกลุ่มฝึกการหายใจ เราพบว่าการฝึกหายใจอาจไม่ช่วยให้อาการของโรคหอบหืดดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การฝึกหายใจได้ลดอาการ หายใจเร็ว เมื่อวัดจาก 4 ถึง 6 เดือนหลังจากเริ่มการฝึกหายใจ การทดสอบการทำงานของปอดหนึ่งครั้ง พบว่าร้อยละการทำนายของ FEV1 (ปริมาณอากาศที่สามารถสูดเข้าปอดในหนึ่งวินาที) แสดงให้เห็นผลดีของการฝึกหายใจ

ความน่าเชื่อถือของหลักฐาน

เรามีความมั่นใจในระดับปานกลางเกี่ยวกับประโยชน์ของการฝึกหายใจ อย่างไรก็ตาม เราพบความแตกต่างบางประการระหว่างการศึกษาในแง่ของประเภทของการฝึกหายใจ, จำนวนผู้เข้าร่วม, จำนวนและระยะเวลาของการฝึกจนเสร็จสมบูรณ์ ผลการศึกษาและการนำเสนอข้อมูลทางสถิติ

บทสรุป

การฝึกหายใจอาจมีผลในเชิงบวกต่อคุณภาพชีวิต อาการหายใจเร็วและการทำงานของปอดในผู้ใหญ่ที่มีโรคหอบหืดเล็กน้อยถึงปานกลาง

หลักฐานที่มีอยู่เป็นปัจจุบันจนถึงเดือนเมษายน 2019

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

การฝึกหายใจอาจมีผลในเชิงบวกต่อคุณภาพชีวิต อาการหายใจเร็วและการทำงานของปอด เนื่องจากความแตกต่างของระเบียบวิธีวิจัยของการศึกษาที่รวบรวม และการศึกษาที่มีระเบียบวิธีวิจัยไม่ดี คุณภาพของหลักฐานสำหรับผลการศึกษาจึงมีความเชื่อมั่นในระดับปานกลางถึงต่ำมากตามเกณฑ์การให้คะแนนของ GRADE นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการรักษาและการวัดผลการศึกษาอีกด้วย

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

การฝึกหายใจถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคหอบหืดโดยไม่ใช้ยา แบบฝึกหัดการหายใจ มีจุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมอาการของโรคหอบหืด ตามวิธีการของ Papworth, เทคนิคการหายใจของ Buteyko, การหายใจแบบโยคะ การหายใจแบบใช้กะบังลมลึกหรือวิธีการอื่นที่คล้ายกัน การฝึกหายใจมักจะเน้นที่ระดับปริมาตรอากาศที่ไหลเข้าออกจากปอดผู้ป่วย ต่อการหายใจหนึ่งครั้ง และผ่อนคลาย การออกกำลังกายที่บ้าน การปรับรูปแบบการหายใจ การหายใจทางจมูก การหายใจควบคุมลมหายใจ การฝึกหายใจโดยใช้ทรวงอกและท้อง

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินหลักฐานด้านประสิทธิภาพของการฝึกหายใจในผู้ป่วยโรคหอบหืด

วิธีการสืบค้น: 

เราทำการสืบคุ้นการศึกษาที่เกี่ยวข้องจาก Cochrane Library, MEDLINE, Embase, PsycINFO, CINAHL และ AMED และทำการสืบค้นวารสารทางเดินหายใจและจากบทคัดย่อของการประชุม นอกจากนี้เรารวมการศึกษาแบบทดลองที่ลงทะเบียนและรายการเอกสารอ้างอิงของบทความ

การค้นหาวรรณกรรมล่าสุดวันที่ 4 เมษายน 2019

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เรารวมการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหอบหืด กลุ่มทดลองได้รับการฝึกหายใจเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับข้อมูลโรคหอบหืด หรือไม่มีกลุ่มควบคุม

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนวรรณกรรมสองคน ได้ประเมินคุณภาพของการศึกษาวิจัยและรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นอิสระต่อกัน เราใช้ซอฟต์แวร์ Review Manager 5 วิเคราะห์ข้อมูลตามโมเดลแบบสุ่ม (random-effects model) เรานำเสนอผลของตัวแปรต่อเนื่องด้วยค่าความต่างระหว่างค่าเฉลี่ย (MD) และช่วงเชื่อมั่น 95% CIs เราประเมินความหลากหลายโดย forest plots เราใช้Chi2 test โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value) ที่ 0.10 และ I2 มีค่ามากกว่า 50% ซึ่งแสดงถึงระดับของการมี heterogeneity สูง ผลลัพธ์หลักคือคุณภาพชีวิต

ผลการวิจัย: 

ในการปรับปรุงนี้ เรารวมการศึกษาใหม่ 9 เรื่อง (ผู้เข้าร่วม 1910 คน) ทำให้มีการศึกษาทั้งหมด 22 เรื่อง ผู้เข้าร่วมการศึกษา 2880 คน การศึกษา 14 เรื่องทดลองใช้โยคะ การศึกษา 4 เรื่อง ใช้วิธีฝึกหายใจใหม่ การศึกษา 1 เรื่อง ใช้วิธีฝึกการหายใจแบบ Buteyko การศึกษา 1 เรื่อง ใช้วิธีฝึกการหายใจแบบ Buteyko ร่วมกับวิธี pranayama การศึกษา 1 เรื่อง ใช้วิธีฝึกการหายใจแบบ Papworth และ การศึกษา 1 เรื่องใช้วิธีฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกะบังลม อย่างไรก็ตาม เราพบความแตกต่างบางประการระหว่างการศึกษาในแง่ของประเภทของการฝึกหายใจ, จำนวนผู้เข้าร่วม, จำนวนและระยะเวลาของการฝึกจนเสร็จสมบูรณ์ ผลการศึกษาและการนำเสนอข้อมูลทางสถิติ ความรุนแรงของโรคหอบหืดในผู้เข้าร่วมจากการศึกษารวมอยู่ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางและกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยนอกเท่านั้น การศึกษา 20 เรื่องเปรียบเทียบการฝึกหายใจกับการดูแลปกติและการศึกษา 2 เรื่องเปรียบเทียบกับกลุ่มให้ข้อมูลเรื่องโรคหอบหืด ใช้ Meta-analysis สำหรับผลลัพธ์หลักคือคุณภาพชีวิต และผลลัพธ์รองคืออาการโรคหอบหืดอาการหายใจเร็ว และตัวแปรการทำงานของปอด ประเมินความเสี่ยงของการมีอคติจากรายงานด้านระเบียบวิธีที่ไม่สมบูรณ์ของการศึกษาส่วนใหญ่ ในการทบทวนนี้เราไม่ได้รวบรวมผลข้างเคียงจากการศึกษา

การฝึกหายใจเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม

สำหรับคุณภาพชีวิตวัดจากแบบสอบถาม Asthma Quality of Life Questionnaire (AQLQ) การวิเคราะห์ meta-analysis แสดงให้เห็นว่ากลุ่มฝึกหายใจคุณภาพชีวิตที่ 3 เดือนดีขึ้น (MD 0.42, 95% CI 0.17 ถึง 0.68; การศึกษา 4 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 974 คน หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง) และในเวลา 6 เดือนค่า OR เท่ากับ 1.34 สำหรับสัดส่วนของผู้ที่มี AQLQ ดีขึ้นอย่างน้อย 0.5 หน่วย, (95% CI 0.97 ถึง 1.86; การศึกษา 1 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 655 คน) สำหรับอาการของโรคหอบหืดวัดโดย Asthma Control Questionnaire (ACQ) การวิเคราะห์ meta-analysis ไม่เกิน 3 เดือนสรุปไม่ได,้ MD -0.15 หน่วย (95% CI −2.32 ถึง 2.02; การศึกษา 1 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 115 คน; และผลการศึกษาคล้ายกันที่มากกว่า 6 เดือน (MD -0.08 หน่วย 95% CI −0.22 ถึง 0.07; การศึกษา 1 เรื่อง 449 ผู้เข้าร่วม) สำหรับอาการหายใจเร็ววัดโดยแบบสอบถาม Nijmegen (จาก 4 ่ถึง 6 เดือน) meta-analysis แสดงว่าการฝึกหายใจทำให้อาการหายใจเร็วลดลง (MD −3.22, 95% CI −6.31 ถึง −0.13; การศึกษา 2 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 118 คน หลักฐานความเชื่อมั่นระดับปานกลาง ) แต่ไม่ปรากฏใน 6 เดือน (MD 0.63, 95% CI -0.90 ถึง 2.17; การศึกษา 2 เรื่อง, 521 คน) Meta-analyses สำหรับปริมาตรของอากาศที่เป่าออกมาได้ใน 1 วินาที (FEV1) ที่วัดได้ที่ 3 เดือนนั้นไม่สามารถสรุปได้ MD −0.10 L, (95% CI −0.32 ถึง 0.12; การศึกษา 4 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 252 คน; หลักฐานความเชื่อมั่นระดับต่ำมาก) อย่างไรก็ตามสำหรับ FEV1 % พบว่ากลุ่มฝึกหายใจจะดีกว่า (MD 6.88%, 95% CI 5.03 ถึง 8.73; การศึกษา 5 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 618 คน)

การฝึกหายใจเปรียบเทียบกับการให้ความรู้เรื่องหอบหืด

สำหรับคุณภาพชีวิต มีการศึกษา 1 เรื่อง วัดโดย AQLQ พบว่าไม่สามารถสรุปได้ที่ 3 เดือน (MD 0.04, 95% CI -0.26 ถึง 0.34; การศึกษา 1 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 183 คน) เมื่อประเมินจาก 4 ถึง 6 เดือน พบว่าการฝึกหายใจให้ผลดีกว่า (MD 0.38, 95% CI 0.08 ถึง 0.68; การศึกษา 1 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 183 คน) อาการหายใจเร็วที่วัดโดยแบบสอบถาม Nijmegen นั้นไม่สามารถสรุปได้ที่ 3 เดือน (MD −1.24, 95% CI −3.23 ถึง 0.75; การศึกษา 1 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 183 คน) แต่พบว่ากลุ่มการฝึกหายใจได้ผลดีกว่าตั้งแต่ 4 ถึง 6 เดือน (MD −3.16, 95% CI) −5.35 ถึง -0.97; การศึกษา 1 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 183 คน)

บันทึกการแปล: 

แปลโดย เพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที 27 เมษายน 2019

Tools
Information