ยา Topiramate สำหรับการรักษาโรคลมชักกลุ่ม juvenile myoclonic epilepsy

การแปลนี้ไม่ทันสมัย โปรด คลิกที่นี่ เพื่อดูฉบับภาษาอังกฤษล่าสุดของการทบทวนนี้

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

Juvenile myoclonic Epilepsy (JME) คือกลุ่มโรคลมชักที่มีการกระตุกของกล้ามเนื้อบริเวณไหล่และแขน แบบควบคุมไม่ได้ด้วยตนเองโดยเป็นในช่วงหลังตื่นนอน กลุ่มโรคลมชักนี้มักเริ่มต้นเป็นในช่วงวัยเด็ก

ลักษณะของการศึกษา

เราสืบค้นจากฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ การศึกษาทางคลินิกที่เปรียบเทียบการใช้ยากันชัก, topiramate กับยาหลอก(การรักษาหลอก) หรือ ยากันชักอื่น ๆ ในคนไข้ที่เป็น JME เราต้องการประเมินการทำงานและผลข้างเคียงของยา topiramate หลักฐานที่มีอยู่เป็นปัจจุบันจนถึงเดือนกรกฎาคม 2018

ผลลัพธ์ที่สำคัญ

เราได้รวบรวมและวิเคราะห์ การทดลองแบบ randomized controlled trials 3 เรื่อง (การศึกษาทางคลินิกที่สุ่มคนมาเข้าร่วมเป็นหนึ่งในสองกลุ่มหรือมากกว่าสองกลุ่มการรักษา) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวน 83 คน จากข้อมูลในการทดลองเหล่านี้ ดูเหมือนยา topiramate จะทนต่อผลข้างเคียงได้ดีกว่ายา Valproate แต่ไม่ได้มีประสิทธิผลเหนือกว่ายา Valproate Topiramate เหมือนจะทำงานได้ดีกว่าการใช้ยาหลอก แต่เป็นผลการศึกษานี้ได้มาจากกลุ่มประชากรจำนวนน้อย

คุณภาพของหลักฐาน

คุณภาพของหลักฐานจากการศึกษานี้ต่ำมาก และควรมีการแปลผลการศึกษาอย่างระมัดระวัง ยังคงต้องการการทดลองแบบ randomized controlled trial ที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก เพื่อทดสอบถึงประสิทธิผลและการทนต่อผลข้างเคียงของการใช้ยา topiramate ในคนที่เป็น JME การทดลองในอนาคตควรมีการออกแบบงานวิจัยที่ดี และ มีกระบวนการปกปิดทั้งผู้เข้าร่วมและผู้วิจัยไม่ให้ทราบถึงการรักษาที่ให้ไปจนกระทั่งผลการศึกษาถูกเก็บรวบรวมแล้ว

บทสรุป
การทบทวนวรรณกรรมนี้ไม่ได้ให้ข้อมูลพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้ยา topiramate ในการรักษาคนไข้ JME

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

เราไม่พบการศึกษาใหม่ตั้งแต่การทบทวนวรรณกรรมครั้งสุดท้ายในปี 2017 การทบทวนวรรณกรรมนี้ไม่ได้ให้ข้อมูลพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้ยา topiramate ในการรักษาคนไข้ JME จากข้อมูลที่จำกัดในขณะนี้ พบว่ายา topiramate ดูเหมือนจะดีกว่ายา valproate ในเรื่องการทนต่อผลข้างเคียงแต่ไม่มีประโยชน์ชัดเจนในเรื่องประสิทธิภาพที่เหนือกว่ายา valproate การออกแบบรูปแบบงานวิจัยที่ดี double-blind RCTs ที่มีขนาดตัวอย่างใหญ่ มีความจำเป็นในการที่จะช่วยทดสอบประสิทธิผลและการทนต่อผลข้างเคียงของการรักษาโดยใช้ยา topiramate ในผู้ป่วยโรคลมชักแบบ JME

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

Topiramate เป็นยากันชักกลุ่มใหม่ที่ออกฤทธิ์กว้างครอบคลุมการชักได้หลายชนิด บางการศึกษาได้แสดงถึงประโยชน์ของการใช้ยา topiramate ในการรักษาคนไข้โรคลมชักกลุ่ม juvenile myoclonic epilepsy (JME) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่อวัดประสิทธิผลและการทนต่อผลข้างเคียงของการใช้ยา topiramate ในผู้ป่วยที่เป็น JME การศึกษานี้เป็นการปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของ Cochrane หลังจากเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2015 และมีการปรับปรุงล่าสุดในปี 2017

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินประสิทธิผลและการทนต่อผลข้างเคียงของการรักษา JME ด้วยยา topiramate

วิธีการสืบค้น: 

สำหรับการปรับปรุงล่าสุด วันที่ 10 กรกฎาคม 2018 เราพบการศึกษาที่ลงทะเบียนใน Cochrane (CRS web) ซึ่งประกอบด้วย the Cochrane Epilepsy Group's Specialized Register และ the Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL), MEDLINE (Ovid 1946- ), และ ClinicalTrials.gov เรายังสืบค้นในการลงทะเบียนทดลองที่ต่อเนื่อง, รายชื่อเอกสารอ้างอิง, การประชุมที่เกี่ยวข้อง, ผู้เขียนการศึกษาที่อยู่ในการติดต่อ และ บริษัทยา อีกด้วย

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เรารวบรวมการทดลองแบบ Randomized controlled trials (RCTs) ที่ค้นคว้าเกี่ยวกับการใช้ยา topiramate กับยาหลอก หรือยากันชักอื่น ๆ ในการรักษาผู้ป่วย JME โดยดูผลลัพธ์เป็นสัดส่วนของการตอบสนองต่อยาและสัดส่วนของผลข้างเคียงที่พบจากผู้เข้าร่วมการทดลอง

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

สองผู้ประพันธ์ผู้ทำการทบทวนได้ทำการคัดกรองหัวข้อและบทคัดย่อของบันทึกที่เกี่ยวข้อง, เลือกการศึกษาที่จะเข้ามา, คัดแยกข้อมูลมและตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้องและประเมินคุณภาพเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย เราไม่ได้ทำการวิเคราะห์แบบ meta-analyses เนื่องจากข้อจำกัดของข้อมูลที่มีอยู่

ผลการวิจัย: 

เรารวบรวมการศึกษาได้ 3 เรื่อง มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 83 คน สำหรับเรื่องประสิทธิภาพพบว่ามีสัดส่วนที่มากขึ้นในกลุ่มที่ใช้ยา topiramate 50% หรือ ลดการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (PGTCS) ได้มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้ยาหลอก พบความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญในเรื่องการตอบสนองของยาระหว่างยาtopiramateและ valproate โดยสามารถลดการชักแบบสะดุ้ง (myoclonic seizure) หรือการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (PGTCS) ได้มากกว่า 50% หรือทำให้ไม่มีอาการชักเลย เกี่ยวกับความทนต่อผลข้างเคียงของยา เราได้จัดระดับผลข้างเคียงของยา topiramate ไว้ในระดับปานกลางถึงรุนแรง ในขณะที่ผลข้างเคียงที่เชื่อมโยงกับยา valproate พบ 59% ซึ่งเป็นการร้องเรียนที่รุนแรง ยิ่งไปกว่านั้น คะแนนความเป็นพิษ (Systemic toxicity scores) พบสูงกว่าในกลุ่มที่ใช้ยา Valproate เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยา Topiramate

โดยรวมแล้ว เราตัดสินทั้งการศึกษา 3 เรื่อง ว่ามีความเสี่ยงสูงของการมีอคติ attrition bias และ มีความเสี่ยงไม่ชัดเจนของการมีอคติ reporting bias การศึกษาทั้ง 3 เรื่อง ยังคงมีอคติระดับต่ำถึงระดับไม่ชัดเจนในเรื่องประเด็นที่เหลือ (random sequence, allocation, blinding) เราได้ตัดสินว่าคุณภาพของหลักฐานนี้อยู่ในระดับต่ำมาก

บันทึกการแปล: 

แปลโดย พญ.วธูหทัย ไพบูลย์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 9 มกราคม 2020