การฝึกออกกำลังกายในผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม
เราตรวจสอบหลักฐานที่ตรวจสอบว่าการการฝึกออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพและการทำงานของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่

ที่มาและความสำคัญของปัญหา
การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้คนสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินและการขึ้นบันได การออกกำลังกายแต่ละคนแตกต่างกัน ตัวอย่าง เช่น การออกกำลังกายในผู้ชายมีแนวโน้มที่จะสูงกว่าผู้หญิงเล็กน้อย และการออกกำลังกายของทุกคนลดลงเมื่ออายุมากขึ้นและมีการเคลื่อนไหวลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้รอดชีวิตโรคหลอดเลือดสมองมักจะมีสมรรถภาพทางกายต่ำ สิ่งนี้อาจจำกัดความสามารถในการทำกิจกรรมประจำวันและทำให้โรคหลอดเลือดสมองยิ่งแย่ลง ด้วยเหตุนี้จึงมีการเสนอการฝึกออกกำลังกายเพื่อเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างไรก็ตาม การฝึกออกกำลังกายอาจมีประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมายที่สำคัญสำหรับผูป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เช่น ช่วยการทำงานของสมอง (ทักษะการคิด) การพัฒนาด้านอารมณ์และคุณภาพชีวิต และจะช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอื่น

ลักษณะของการศึกษา
ในเดือนกรกฎาคม 2018 เรารวบรวมการศึกษา 75 เรื่อง การศึกษามีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 3617 คน อยู่ในทุกขั้นตอนของการดูแลช่วงต่าง ๆ รวมถึงการอยู่ในโรงพยาบาลหรือการใช้ชีวิตที่บ้าน คนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมสามารถเดินได้ด้วยตัวเอง การศึกษาทดสอบรูปแบบต่าง ๆ ของการฝึกออกกำลังกายรวมถึงการฝึก cardiorespiratory หรือ การฝึกความอึด (Endurance training) ฝึกออกกำลังกายแบบฝึกกล้ามเนื้อ (Strength Training) หรือ ฝึกความแข็งแรง หรือการฝึกอบรมแบบผสมของ cardiorespiratory กับ การออกกำลังกายแบบแรงต้าน (resistance training)

ผลการศึกษาที่สำคัญ
เราพบว่าการฝึกออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่วมกับการเดินสามารถปรับปรุงสมรรถภาพทางกาย การทรงตัวและการเดินหลังป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง การฝึกออกกำลังกายแบบ cardiorespiratory อาจลดโอกาสในการเข้ารักษาในโรงพยาบาลจากโรคหลอดเลือดสมองได้ 7% การฝึกผสมช่วยเพิ่มความสามารถในการเดินและเพิ่มความสมดุล การฝึกความแข็งแกร่งอาจเพิ่มถวามสมดุล ดังนั้น โดยรวมดูเหมือนว่าผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการฝึกออกกำลังกายแบบ cardiorespiratory รวมถึงการเดิน อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุปผลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับผลกระทบของการฝึกออกกำลังกายในด้านอื่น ๆ เช่น คุณภาพชีวิต ผลต่ออารมณ์หรือการรับรู้ การรับรู้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาแม้จะเป็นเรื่องสำคัญที่น่าสนใจสำหรับผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง ไม่มีหลักฐานว่าการออกกำลังกายประเภทต่าง ๆ ทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ การออกกำลังกายดูเหมือนจะปลอดภัย เราต้องการการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อตรวจสอบประโยชน์ต่อผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีโรคหลอดเลือดสมองที่รุนแรงกว่าซึ่งอาจไม่สามารถเดินได้

คุณภาพของหลักฐาน
การศึกษาเรื่องการออกกำลังกายอาจเป็นเรื่องยาก เรามีความมั่นใจสูงสุดในการประเมินผลประโยชน์จากการฝึกแบบ cardiorespiratory (ปานกลาง / สูง) หลักฐานสำหรับประเภทการฝึกออกกำลังกายแบบอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ อย่างไรก็ตาม มีผลการศึกษาที่สอดคล้องกันบางอย่างจากการศึกษาที่แตกต่างกันซึ่งมีแนวโน้มให้ผลที่คล้ายกันในกลุ่มผู้เข้าร่วมที่แตกต่างกัน

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

มีผู้เสียชีวิตเพียงไม่กี่คนแนะนำว่าการออกกำลังกายเป็นวิธีการที่ปลอดภัย แต่เราไม่สามารถระบุได้ว่าการออกกำลังกายช่วยลดอัตราการตายหรือโอกาสในการเสียชีวิตหรือการพึ่งพา การฝึกแบบ Cardiorespiratory หรือฝึกแบบผสม ช่วยลดความพิการระหว่างหรือหลังการดูแลตามปกติ สิ่งนี้อาจปรับปรุงความคล่องตัวและการทรงตัว มีหลักฐานเพียงพอที่จะรวมการฝึกแบบ cardiorespiratory และทางแบบผสม การเดิน ในโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อปรับปรุงสมรรถภาพความสมดุลและความเร็วและความสามารถในการเดิน ขนาด VO2 peak เพิ่มขึ้นหลังจากการฝึกแบบ cardiorespiratory ช่วยลดความเสี่ยงของการเข้ารักษาในโรงพยาบาลโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 7% การรับรู้ยังอยู่ระหว่างการศึกษา แม้จะเป็นเรื่องสำคัญที่น่าสนใจสำหรับผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง การทดลองแบบสุ่มที่ออกแบบมาอย่างดีนั้นมีความจำเป็นต่อการกำหนดวิธีการออกกำลังกายที่ดีที่สุด ช่วงของประโยชน์และประโยชน์ระยะยาวใด ๆ

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

ระดับของการออกกำลังกายและสมรรถภาพทางกายอยู่ในระดับต่ำหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง การฝึกเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกายสามารถลดอัตราการตายและลดความพิการ

วัตถุประสงค์: 

วัตถุประสงค์หลักของการทบทวนครั้งนี์เพื่อตรวจสอบว่าการฝึกออกกำลังกายหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมองช่วยลดการตายหรือการพึ่งพาและความพิการ วัตถุประสงค์รองคือเพื่อพิจารณาผลของการฝึกต่อเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ปัจจัยเสี่ยง สมรรถภาพทางกาย การเคลื่อนไหว การทำงานของร่างกาย สถานะสุขภาพและคุณภาพชีวิตอารมณ์และการรับรู้

วิธีการสืบค้น: 

ในเดือนกรกฎาคม 2018 เราสืบค้นจาก Cochrane Stroke Trials Register, CENTRAL, MEDLINE, Embase, CINAHL, SPORTDiscus, PsycINFO และฐานข้อมูลเพิ่มเติมอีก 4 แหล่ง นอกจากนี้เรายังค้นหาการทดลองที่ยังดำเนินการอยู่และจากการประชุม รายการอ้างอิงที่คัดกรองแล้ว และจากติดต่อผู้เชี่ยวชาญ

เกณฑ์การคัดเลือก: 

การทดลองแบบสุ่มเปรียบเทียบการฝึกแบบ cardiorespiratory หรือการฝึกความต้านทาน (resistance training) หรือทั้งสองอย่าง (การฝึกผสม) กับการดูแลตามปกติ ไม่มีการฝึกออกกำลังกาย หรือใช้วิธีการอีนที่ไม่ใช่การออกกำลังกายในผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวน 2 คนเลือกและดึงข้อมูลจากรายงานการศึกษาที่รวบรวมได้อย่างเป็นอิสระต่อกัน เราวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ random-effects meta-analyses และประเมินคุณภาพของหลักฐานโดยใช้วิธี GRADE วิธีวัดผลหลากหลายซึ่งจำกัดการวิเคราะห์ที่ตั้งใจไว้

ผลการวิจัย: 

เรารวมการศึกษา 75 เรื่อง ผู้เข้าร่วมเป็นผู้ป่วยนอก 3017 คนซึ่งส่วนใหญ่สามารถเคลื่อนไหวได้ ใช้การฝึกแบบ cardiorespiratory (การศึกษา 32 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 1631 คน) การฝึกความต้านทาน (resistance training) (การศึกษา 20 เรื่อง,ผู้เข้าร่วม 779 คน) และการฝึกออกกำลังกายแบบผสม (การศึกษา 23 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 1207 คน)

การตายไม่ได้รับอิทธิพลจากการฝึกออกกำลังกาย ความแตกต่างของความเสี่ยงมีค่าเท่ากับ 0.00 (หลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำ) มีผู้เสียชีวิตเพียงเล็กน้อย (19/3017 เมื่อสิ้นสุดการฝึกออกกำลังกายและ 19/1469 เมื่อสิ้นสุดการติดตาม) ไม่มีการศึกษาใดที่ประเมินการตายหรือการพึ่งพา คะแนนความพิการได้รับการปรับปรุงเมื่อสิ้นสุดการฝึกออกกำลังกายโดยการฝึกแบบ cardiorespiratory (ผลต่างค่าเฉลี่ยมาตรฐาน (SMD) 0.52, 95% CI 0.19 ถึง 0.84; การศึกษา 8 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 462 คน, P = 0.002, หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง) และการออกกำลังกายแบบผสม (SMD 0.23, 95% CI 0.03 ถึง 0.42; การศึกษา 9 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 604 คน; P = 0.02; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) มีข้อมูลน้อยเกินไปที่จะประเมินผลของการฝึกแบบความต้านทานต่อความพิการ

ผลลัพธ์รองแสดงให้เห็นประโยชน์หลายอย่างสำหรับการออกกำลังกาย (VO2 peak และความแข็งแรง) และความคล่องตัว (ความเร็วในการเดิน) และหน้าที่ทางร่างกาย (การทรงตัว) ผลกระทบทางกายภาพนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดจาการฝึกอย่างเฉพาะเจาะจง หลักฐานความเชื่อมั่นส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำหรือปานกลาง ข้อมูลปัจจัยเสี่ยงมีความจำกัด หรือไม่มีผลกระทบใด ๆ จากการออกกำลังกายแบบ cardiorespiratory (VO2 peak) ซึ่งเพิ่มขึ้นหลังจากการฝึกแบบ cardiorespiratory (ความแตกต่างเฉลี่ย (MD) 3.40 มล. / กิโลกรัม / นาที 95% CI 2.98 ถึง 3.83; การศึกษา 9 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 438 คน; หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง) ไม่มีหลักฐานของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรงใด ๆ ขาดข้อมูลที่สรุปเกี่ยวกับผลกระทบของการฝึกออกกำลังกายต่ออารมณ์ คุณภาพชีวิตและความรู้ความเข้าใจ ยังขาดข้อมูลประโยชน์ในการติดตามผล (เช่น หลังจากหยุดการฝกออกกำลังกาย) ไม่ชัดเจน แต่ประโยชน์การเคลื่อนไหวบางอย่างยังคงมีอยู่ ความเสี่ยงของการมีอคตินั้นแตกต่างกันไปในแต่ละการศึกษา แต่การจัดเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองที่ไม่สมดุลนั้นเป็นปัญหาที่พบบ่อยซึ่งมีผลกระทบต่อการเปรียบเทียบ

บันทึกการแปล: 

แปลโดยเพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 30 เมษายน 2020

Tools
Information