ไม่มีหลักฐานคุณภาพสูงเพียงพอที่จะแสดงว่าการเสริมแมกนีเซียมในอาหารระหว่างตั้งครรภ์มีประโยชน์

สตรีหลายคน โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิหลังด้อยโอกาส ได้รับแมกนีเซียมในปริมาณต่ำ การเสริมแมกนีเซียมระหว่างตั้งครรภ์อาจช่วยลด fetal growth restriction และภาวะครรภ์เป็นพิษ (ความดันโลหิตสูงและโปรตีนในปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์) และเพิ่มน้ำหนักแรกเกิด การทบทวนนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินผลของการเสริมแมกนีเซียมในระหว่างตั้งครรภ์ต่อผลลัพธ์ของมารดา ทารกแรกเกิด และในเด็ก

เรารวมการทดลองแบบสุ่ม 10 รายการที่เกี่ยวข้องกับสตรี 9090 คนและทารกของพวกเขาในการทบทวนวรรณกรรมนี้ การทดลองเหล่านี้มีคุณภาพโดยรวมต่ำถึงปานกลาง ไม่พบความแตกต่างในความเสี่ยงของ perinatal mortaility (stillbirth และการเสียชีวิตของทารกก่อนออกจากโรงพยาบาล) เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มทารกที่เกิดจากมารดาที่ได้รับแมกนีเซียมระหว่างตั้งครรภ์กับกลุ่มทารกที่เกิดจากมารดาที่ไม่ได้รับแมกนีเซียม . การเสริมแมกนีเซียมไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิด small for gestational age babies และไม่ลดความเสี่ยงของภาวะครรภ์เป็นพิษในมารดา

เราไม่พบหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าการเสริมแมกนีเซียมในระหว่างตั้งครรภ์นั้นมีประโยชน์

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

มีหลักฐานคุณภาพสูงไม่เพียงพอที่จะแสดงว่าการเสริมแมกนีเซียมในอาหารระหว่างตั้งครรภ์มีประโยชน์

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิกและโปรตีน และในการรักษาศักย์ไฟฟ้าของเส้นประสาทและเซลล์กล้ามเนื้อ สตรีหลายคน โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิหลังด้อยโอกาส ได้รับแมกนีเซียมในปริมาณต่ำ การเสริมแมกนีเซียมระหว่างตั้งครรภ์อาจช่วยลด fetal growth restriction และภาวะครรภ์เป็นพิษ และเพิ่มน้ำหนักแรกเกิดได้

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินผลของการเสริมแมกนีเซียมในระหว่างตั้งครรภ์ต่อผลลัพธ์ของมารดา, ทารกแรกเกิด/ทารก และในเด็ก

วิธีการสืบค้น: 

เราสืบค้น Cochrane Pregnancy and Childbirth Group's Trials Register (31 มีนาคม 2013)

เกณฑ์การคัดเลือก: 

รวมการทดลองแบบ randomised-randomised trials และ quasi-randomised trials เพื่อประเมินผลของการเสริมแมกนีเซียมในอาหารระหว่างตั้งครรภ์ ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ การตายปริกำเนิด (รวมถึง stillbirth และ early neonatal death ก่อนออกจากโรงพยาบาล), small-for -gestational age, การเสียชีวิตของมารดา และภาวะครรภ์เป็นพิษ

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ประพันธ์การทบทวนวรรณกรรม 2 คน ประเมินความเหมาะสมของการศึกษา, ดึงข้อมูล และประเมินความเสี่ยงของการมีอคติของการศึกษาที่รวบรวมนำเข้าอย่างเป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัย: 

รวมการทดลอง 10 รายการที่เกี่ยวข้องกับสตรีและทารก 9090 คน; การทดลอง 1 รายการเป็นแบบคลัสเตอร์ (ด้วยการสุ่มศูนย์การศึกษา) การทดลองทั้งหมด 10 รายการสุ่มให้สตรีได้รับอาหารเสริมแมกนีเซียมหรือกลุ่มควบคุม ในการทดลอง 8 รายการใช้ยาหลอก และในการทดลอง 2 รายการไม่มีการรักษาให้กับกลุ่มควบคุม ในการทดลองที่รวมนำเข้า 10 รายการ ส่วนประกอบของอาหารเสริมแมกนีเซียม, อายุครรภ์เมื่อเริ่มได้รับอาหารเสริม และปริมาณที่ให้แตกต่างกัน ซึ่งรวมถึง: แมกนีเซียมออกไซด์ 1000 มก. ต่อวัน จาก ≤ 4 เดือนหลังการปฏิสนธิ (1 การทดลอง); แมกนีเซียมซิเตรต 365 มก. ต่อวัน ตั้งแต่ ≤ 18 สัปดาห์จนถึงการรักษาในโรงพยาบาลหลังจาก 38 สัปดาห์ (1 การทดลอง) และ 340 มก. ต่อวัน ตั้งแต่อายุครรภ์ 9 ถึง 27 สัปดาห์ (1 การทดลอง); แมกนีเซียมกลูโคเนต 2 ถึง 3 กรัม จากการตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์จนคลอด (1 การทดลอง) และ 4 กรัมต่อวัน จากการตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์ (1 การทดลอง); แมกนีเซียมแอสปาเทต 15 มิลลิโมลต่อวัน (3 การทดลอง เริ่มตั้งแต่ 6 ถึง 21 สัปดาห์จนคลอด, ≤ 16 สัปดาห์จนคลอด หรือ < 12 สัปดาห์จนเกิด) หรือ 365 มก. ต่อวัน ตั้งแต่ 13 ถึง 24 สัปดาห์จนคลอด (1 การทดลอง); และแมกนีเซียมสเตียเรต ธาตุแมกนีเซียม 128 มก. ตั้งแต่ 10 ถึง 35 สัปดาห์จนคลอด (1 การทดลอง)

ในการวิเคราะห์การทดลองทั้งหมด การเสริมแมกนีเซียมโดยการกินเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่มีแมกนีเซียมมีความสัมพันธ์กับการตายปริกำเนิดที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (การตายคลอดและการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดก่อนออกจากโรงพยาบาล) (risk ratio (RR) 1.10; ช่วงความเชื่อมั่น 95% (CI) 0.72 ถึง 1.67, 5 การทดลองทารก 5903 คน) small-for-gestational age (RR 0.76; 95% CI 0.54 ถึง 1.07; 3 การทดลอง, ทารก 1291 คน) หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ (RR 0.87; 95% CI 0.58 ถึง 1.32; 3 การทดลอง, สตรี1042 คน) ไม่มีการทดลองใดที่รวบรวมรายงานเกี่ยวกับการเสียชีวิตของมารดา

เมื่อพิจารณาผลลัพธ์รอง แม้ว่าไม่พบความเสี่ยงของการตายคลอด แต่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดก่อนการออกจากโรงพยาบาลพบในทารกที่เกิดจากมารดาที่ได้รับแมกนีเซียม (RR 2.21; 95% CI 1.02 ถึง 4.75; 4 การทดลอง, ทารก 5373 คน) การทดลอง 1 รายการ มีส่วนให้ข้อมูลมากกว่า 70% ของผู้เข้าร่วมในการวิเคราะห์ผลลัพธ์นี้ ผู้ประพันธ์การทดลองแนะนำว่าความผิดปกติแต่กำเนิดที่รุนแรงจำนวนมากในกลุ่มที่ได้รับอาหารเสริม (ไม่น่าจะเกิดจากแมกนีเซียม) และการเสียชีวิตของแฝด 2 ชุด (โดยมีน้ำหนักแรกเกิด < 750 ก.) ในกลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมมีแนวโน้มว่าจะทำให้ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงควรตีความผลลัพธ์นี้ด้วยความระมัดระวัง นอกจากนี้ ถ้าการตายเนื่องจากความผิดปกติแต่กำเนิดที่รุนแรงในการทดลองนี้ไม่รวมอยู่ใน meta-analysis ไม่พบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดในกลุ่มที่ได้รับแมกนีเซียมเสริม การเสริมแมกนีเซียมมีความสัมพันธ์กับการลดลงของทารกที่มีคะแนน Apgar น้อยกว่า 7 ที่เวลา 5 นาที (RR 0.34; 95% CI 0.15 ถึง 0.80; 4 การทดลอง, ทารก 1083 คน), ความสัมพันธ์กับ meconium-stained liqour (RR 0.79; 95% CI 0.63 ถึง 0.99; 1 การทดลอง, ทารก 4082 คน), late fetal heart decelerations (RR 0.68; 95% CI 0.53 ถึง 0.88; 1 การทดลอง, ทารก 4082 คน) และ mild hypoxic ischaemic encephalopathy (RR 0.38; 95% CI 0.15 ถึง 0.98; 1 การทดลอง, 4082 ทารก) สตรีที่ได้รับแมกนีเซียมมีโอกาสน้อยที่จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญ (RR 0.65, 95% CI 0.48 ถึง 0.86; 3 การทดลอง, สตรี 1158 ราย)

จากการทดลองทั้งหมด 10 รายการ ที่รวมอยู่ในการทบทวนวรรณกรรม มีเพียง 2 รายการเท่านั้นที่ได้รับการตัดสินว่ามีคุณภาพสูงโดยรวม เมื่อการวิเคราะห์จำกัดอยู่เฉพาะ 2 การทดลองนี้ ไม่มีผลลัพธ์หลักของการทบทวนวรรณกรรมใดๆ (การตายปริกำเนิด, อายุน้อยสำหรับการตั้งครรภ์, ภาวะครรภ์เป็นพิษ) ระหว่างกลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมแมกนีเซียมและกลุ่มควบคุมต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

บันทึกการแปล: 

แปลโดย ศ.นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 30 มิถุนายน 2021

Tools
Information