การเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำเพื่อชักนำการเจ็บครรภ์

คำถามคืออะไร?

วัตถุประสงค์ของ Cochrane Review นี้เพื่อให้ทราบว่าการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำเป็นวิธีการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผลในการชักนำการเจ็บครรภ์คลอดตอนใกล้หรือครบกำหนดและมีประสิทธิผลมากกว่าวิธีการชักนำการเจ็บครรภ์อย่างเป็นทางการ

ทำไมเรื่องนี้จึงมีความสำคัญ

ที่พบกันมากที่สุด การชักนำการเจ็บครรภ์คลอดอย่างเป็นทางการจะเสนอให้สตรีตั้งครรภ์เมื่อการตั้งครรภ์ต่อไปได้รับการพิจารณาว่าอาจจะมีอันตรายสำหรับมารดาหรือทารกมากกว่าผลข้างเคียงของการชักนำการเจ็บครรภ์คลอด เหตุผลที่พบบ่อยที่สุดสำหรับการชักนำการเจ็บครรภ์อย่างเป็นทางการคือการตั้งครรภ์เกินกำหนด (การตั้งครรภ์ที่ต่อเนื่องเกิน 42 สัปดาห์)

การเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำเป็นวิธีการที่ค่อนข้างง่ายและราคาไม่แพงเพื่อพยายามลดการใช้วิธีการชักนำการเจ็บครรภ์อย่างเป็นทางการและสามารถดำเนินการได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาล เป็นการกระทำโดยแพทย์ใส่หนึ่งหรือสองนิ้วมือลงในส่วนล่างของมดลูก (ปากมดลูก) และใช้การเคลื่อนไหวแบบวงกลมต่อเนื่องเพื่อเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำจากมดลูกส่วนล่าง การชักนำการเจ็บครรภ์อย่างเป็นทางการคือการกระตุ้นมดลูกด้วยยา เช่น prostaglandins หรือ oxytocin หรือโดยการเจาะถุงน้ำคร่ำที่เลี้ยงทารก (ทำให้ถุงน้ำแตก)

ผู้วิจัยพบหลักฐานเชิงประจักษ์อะไรบ้าง

เราสืบค้นหลักฐานถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2019 เรารวมการศึกษาแบบสุ่ม 44 เรื่องที่รายงานผลของสตรี 6940 คนจากหลากหลายประเทศรวมถึงประเทศที่มีรายได้สูง ปานกลางและต่ำ

การศึกษาเปรียบเทียบการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำกับการไม่มีการกระทำหรือการกระทำหลอกและเปรียบเทียบการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ากับ prostaglandins ในช่องคลอดหรือในปากมดลูก การกิน misoprostol, oxytocin และการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำซ้ำ

ในการศึกษาเจ็ดเรื่องที่รายงานการสนับสนุนทางการเงิน มีการศึกษาสองเรื่องที่รายงานการสนับสนุนทางการเงินจาก บริษัทยา โดยรวมแล้วความเชื่อมั่นของหลักฐานพบว่าอยู่ในระดับต่ำ

ผลการศึกษาที่สำคัญ

เมื่อเทียบกับการไม่มีการกระทำหรือการกระทำหลอก (การศึกษา 40 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสตรี 6548 คน) การเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำอาจมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการเจ็บครรภ์ขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เราไม่พบความแตกต่างที่ชัดเจนในการคลอดทางช่องคลอดโดยไม่ต้องการการช่วยเหลือ สตรีอาจมีโอกาสน้อยลงที่จะต้องรับการชักนำการเจ็บครรภ์อย่างเป็นทางการ นอกจากนี้เรายังพบว่าไม่มีความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างกลุ่มสำหรับการผ่าตัดคลอดการคลอดทางช่องคลอดโดยใช้เครื่องมือหรือการเจ็บป่วยที่รุนแรงหรือการเสียชีวิตของมารดาหรือทารก

เมื่อเปรียบเทียบกับ vaginal หรือ intracervical prostaglandins (การศึกษาสี่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสตรี 480 คน) เราไม่พบความแตกต่างในผลลัพธ์ แต่ข้อมูลมีจำกัด

เราพบข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุปผลใด ๆ ในการศึกษาเปรียบเทียบการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำกับ oxytocin ทางหลอดเลือดดำโดยมีหรือไม่มีการเจาะถุงน้ำคร่ำ หรือ misoprostol โดยการกินหรือสอดช่องคลอด ในทำนองเดียวกันสำหรับการเปรียบเทียบระหว่างความถี่ที่แตกต่างกันของการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำ

หลักฐานนี้หมายความว่าอย่างไร

การเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำดูเหมือนจะมีประสิทธิผลในการส่งเสริมการเจ็บครรภ์ แต่หลักฐานในปัจจุบันแสดงว่าสิ่งนี้โดยรวมแล้วไม่ได้ส่งผลต่อการคลอดทางช่องคลอดโดยไม่ต้องช่วยเหลือ การเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำอาจลดการชักนำการเจ็บครรภ์อย่างเป็นทางการ มีรายงานการศึกษาเพียงสามเรื่องเกี่ยวกับความพึงพอใจของสตรีในการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำ สตรีรายงานความรู้สึกในเชิงบวกกับการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำ ในขณะที่ยอมรับว่าอาจรู้สึกไม่สบายแต่พวกเขารู้สึกถึงประโยชน์ที่มากกว่าอันตรายและส่วนใหญ่จะแนะนำสตรีคนอื่น จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการทบทวนวรรณกรรมของเราและเพื่อระบุเวลาที่เหมาะสำหรับการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำและการทำมากกว่าหนึ่งครั้งจะเป็นประโยชน์หรือไม่ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมมองของสตรี

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

การเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำอาจมีประสิทธิผลในการบรรลุถึงการเกิดการเจ็บครรภ์เอง แต่หลักฐานสำหรับเรื่องนี้มีความเชื่อมั่นต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการดูแลแบบ expectant การเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำ อาจลดอุบัติการณ์ของการชักนำการเจ็บครรภ์อย่างเป็นทางการ ยังคงมีคำถามว่ามีจำนวนครั้งของการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำ เวลา และอายุครรภ์ที่เหมาะสมหรือไม่ เพื่อสนับสนุนการชักนำการเจ็บครรภ์

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

การชักนำการเจ็บครรภ์เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นการหดตัวของมดลูกเทียมเพื่อส่งเสริมการเริ่มต้นของการเจ็บครรภ์ มีวิธีการทางเภสัชวิทยา การผ่าตัด และทางกายภาพที่ใช้ในการชักนำให้เจ็บครรภ์ การเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำเป็นเทคนิกทางกายภาพโดยแพทย์จะสอดนิ้วหนึ่งหรือสองนิ้วเข้าในปากมดลูกและใช้การเซาะแยกแบบวงกลมอย่างต่อเนื่องเพื่อแยกส่วนล่างของเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำจากมดลูกส่วนล่าง การกระทำนี้จะสร้างฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดบางตัวและการเปิดขยายตัวของปากมดลูกซึ่งอาจส่งเสริมการเจ็บครรภ์ ครั้งนี้เป็นการปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมที่เผยแพร่ครั้งแรก เมื่อปี 2005

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินผลกระทบและความปลอดภัยของการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำเพื่อชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์ในสตรีที่ตั้งครรภ์ที่ใกล้หรือครบกำหนด (อายุครรภ์ > 36 สัปดาห์)

วิธีการสืบค้น: 

ผู้วิจัยได้สืบค้นในฐานข้อมูล Pregnancy and Childbirth Group'sTrials Register (25 กุมภาพันธ์ 2019), Clinical Trials.gov, WHO International Clinical Trials Registry Platform (ICTRP) (25 กุมภาพันธ์ 2019) และสืบค้นเอกสารอ้างอิงของรายงานการศึกษาที่สืบค้นได้

เกณฑ์การคัดเลือก: 

Randomised controlled trials และ quasi-randomised controlled trials ที่เปรียบเทียบการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำที่ใช้ในการเตรียมปากมดลูกในระยะไตรมาสที่สามหรือการชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์ด้วยยาหลอก / ไม่มีการรักษาหรือวิธีการอื่น ๆ ที่ระบุไว้ในรายการวิธีการชักนำให้เจ็บครรภ์ รวมถึง Cluster-randomised trials แต่พบว่าสืบค้นไม่พบการทดลองดังกล่าว

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนสองคนได้ทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นอิสระต่อกัน เพื่อประเมินงานวิจัยในเรื่องการคัดเข้าในการทบทวน ความเสี่ยงต่อการมีอคติและ การดึงข้อมูล มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ความเห็นที่ขัดแย้งถูกแก้ไขโดยการปรึกษากัน หรือ โดยการใช้ผู้ทบทวนคนที่สามเมื่อจำเป็น ประเมินความเชื่อมั่นของหลักฐานที่ได้โดยวิธีการของเกรด (GRADE)

ผลการวิจัย: 

เรารวมการศึกษา 44 เรื่อง (20 เรื่องในการปรับปรุงครั้งล่าสุดนี้) รายงานข้อมูลสำหรับสตรี 6940 คนและทารก เราใช้วิธี random effect ตลอด

โดยรวมแล้วความเสี่ยงของอคติของการศึกษา ถูกประเมินว่ามีความเสี่ยงต่ำหรือไม่ชัดเจนในโดเมนส่วนใหญ่ ความเชื่อมั่นของหลักฐานที่ประเมินโดยใช้ GRADE พบว่าโดยทั่วไปอยู่ในระดับต่ำ ส่วนใหญ่เกิดจากรูปแบบการศึกษา ความไม่สอดคล้องและความไม่เที่ยง การศึกษาหกเรื่อง (n = 1284) เปรียบเทียบการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำกับวิธีการมากกว่าหนึ่งอย่าง และรวมอยู่ในการเปรียบเทียบมากกว่าหนึ่งรายการ

ไม่มีการทดลองที่รายงานผลลัพธ์ของ uterine hyperstimulation ที่มี/ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นหัวใจของทารกในครรภ์ (FHR), การแตกของมดลูกหรือ encephalopathy ในทารกแรกเกิด

การศึกษาสี่สิบเรื่อง (มีผู้เข้าร่วม 6548 คน) เปรียบเทียบการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำกับไม่มีการรักษา / การกระทำหลอก

สตรีที่ถูกสุ่มให้มีการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำอาจมีแนวโน้มที่จะมีภาวะต่อไปนี้มากกว่า:

·การเจ็บครรภ์ที่เกิดขึ้นเอง (อัตราส่วนความเสี่ยงเฉลี่ย (aRR) 1.21, ช่วงความเชื่อมั่น 95% (CI) 1.08 ถึง 1.34, การศึกษา 17 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 3170 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ)

แต่มีโอกาสน้อยที่จะได้รับ:

·การชักนให้เจ็บครรภ์ำ (aRR 0.73, 95% CI 0.56 ถึง 0.94, การศึกษา 16 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 3224 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ)

อาจมีความแตกต่างน้อยหรือไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มสำหรับ:

· การผ่าตัดคลอด (aRR 0.94, 95% CI 0.85 ถึง 1.04, การศึกษา 32 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 5499 คน หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง);

· การคลอดเองทางช่องคลอด (aRR 1.03, 95% CI 0.99 ถึง 1.07, การศึกษา 26 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 4538 คน หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง);

· การเสียชีวิตของมารดาหรือการเจ็บป่วยที่รุนแรง (aRR 0.83, 95% CI 0.57 ถึง 1.20, การศึกษา 17 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 2749 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ);

· การเสียชีวิตของทารกแรกเกิดหรือการเจ็บป่วยที่รุนแรง (aRR 0.83, 95% CI 0.59 ถึง 1.17, การศึกษา 18 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 3696 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ);

งานวิจัยสี่เรื่องรายงานข้อมูลสำหรับสตรี 480 คนเปรียบเทียบการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำกับ prostaglandins ในช่องคลอด / ปากมดลูก

อาจมีความแตกต่างน้อยหรือไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มสำหรับผลลัพธ์ต่อไปนี้:

· การเจ็บครรภ์เอง (aRR 1.24, 95% CI 0.98 ถึง 1.57, การศึกษา 3 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 339 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ)

· การชักนำให้เจ็บครรภ์ (aRR 0.90, 95% CI 0.56 ถึง 1.45, การศึกษา 2 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 157 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ)

· การผ่าตัดคลอด (aRR 0.69, 95% CI 0.44 ถึง 1.09, การศึกษา 3 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 339 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ

· การคลอดเองทางช่องคลอด (aRR 1.12, 95% CI 0.95 ถึง 1.32, การศึกษา 2 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 252 คน หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ)

· การเสียชีวิตของมารดาหรือการเจ็บป่วยที่รุนแรง (aRR 0.93, 95% CI 0.27 ถึง 3.21, การศึกษา 1 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 87 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ);

· การเสียชีวิตของทารกแรกเกิดหรือการเจ็บป่วยที่รุนแรง (aRR 0.40, 95% CI 0.12 ถึง 1.33, การศึกษา 2 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 269 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ)

งานวิจัยหนึ่งเรื่องรายงานข้อมูลสำหรับสตรี 104 คนเปรียบเทียบการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำกับ oxytocin ทางหลอดเลือดดำ +/- amniotomy

อาจมีความแตกต่างน้อยหรือไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มสำหรับ:

· การเจ็บครรภ์เอง (aRR 1.32, 95% CI 0.88 ถึง 1.96, การศึกษา 1 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 69 คน หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ)

· การชักนำให้เจ็บครรภ์ (aRR 0.51, 95% CI 0.05 ถึง 5.42, การศึกษา 1 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 69 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ);

· การผ่าตัดคลอด (aRR 0.69, 95% CI 0.12 ถึง 3.85, การศึกษา 1 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 69 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ

· มีการรายงานการเสียชีวิตของมารดาหรือการเจ็บป่วยที่รุนแรง แต่ไม่มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น

งานวิจัยสองเรื่องให้ข้อมูลสำหรับสตรี 160 คนเปรียบเทียบการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำกับ vaginal/oral misoprostol

อาจมีความแตกต่างน้อยหรือไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มสำหรับ:

· การผ่าตัดคลอด (aRR 0.82, 95% CI 0.31 ถึง 2.17, การศึกษา 1 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 96 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ

การศึกษาหนึ่งเรื่องให้ข้อมูลสำหรับสตรี 355 คนซึ่งเปรียบเทียบการการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำสัปดาห์ละครั้งกับการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำสองครั้งต่อสัปดาห์และการทำหลอก

อาจมีความแตกต่างน้อยหรือไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มสำหรับ:

· การชักนำให้เจ็บครรภ์ (aRR 1.19, 95% CI 0.76 ถึง 1.85, การศึกษา 1 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 234 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ);

· การผ่าตัดคลอด (aRR 0.93, 95% CI 0.60 ถึง 1.46, การศึกษา 1 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 234 คน หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ

· การคลอดเองทางช่องคลอด (aRR 1.00, 95% CI 0.86 ถึง 1.17, การศึกษา 1 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 234 คน หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง);

· การเสียชีวิตของมารดาหรือการเจ็บป่วยที่รุนแรง (aRR 0.78, 95% CI 0.30 ถึง 2.02, การศึกษา 1 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 234 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ);

· การเสียชีวิตของทารกแรกเกิดหรือการเจ็บป่วยที่รุนแรง (aRR 2.00, 95% CI 0.18 ถึง 21.76, การศึกษา 1 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 234 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ);

เราไม่พบการศึกษาใดที่เปรียบเทียบการการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำกับการเจาะถุงน้ำคร่ำอย่างเดียวหรือวิธีการอื่น

การศึกษาสามเรื่องให้ข้อมูลสำหรับสตรี 675 คนรายงานว่าสตรีให้ความเห็นดีเกี่ยวกับประสบการณ์ของพวกเขาในการการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำ โดยการศึกษาหนึ่งเรื่องรายงานว่า 88% (n = 312) ของสตรีที่ถูกถามในระยะหลังคลอดจะเลือกการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป

การศึกษาสองเรื่องรายงานข้อมูลสำหรับสตรี 290 คนว่าการเซาะแยกเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำ cost effective กว่าการใช้ prostaglandins แม้ว่าจะต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมในเรื่องนี้

บันทึกการแปล: 

แปลโดย ศ.นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 25 เมษายน 2020

Tools
Information