อุณหภูมิของน้ำยาฟอกเลือดต่อการลดความดันโลหิตระหว่างฟอกเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ต้องรับการฟอกเลือด

ปัญหาคืออะไร?

ผู้ป่วยที่มีโรคไตเรื้อรังต้องการการฟอกเลือด (haemodialysis; HD) มีมากขึ้น เมื่อไตไม่สามารถขับของเสียจากเลือดอย่างเพียงพอ การฟอกเลือดช่วยทำความสะอาดเลือดและกำจัดน้ำส่วนเกินผ่านเครื่องฟอกไต ความดันโลหิตต่ำระหว่างการฟอกเลือด (intradialytic hypotension; IDH) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดบ่อยในการฟอกเลือด โดยความดันโลหิตจะลดลงอย่างฉับพลันร่วมกับอาการความดันโลหิตต่ำ เช่น เวียนศีรษะ, อ่อนเพลีย, คลื่นไส้, และความเมื่อยล้า เป็นปัจจัยเสี่ยงของระบบหัวใจและหลอดเลือดทำงานผิดปกติและเสียชีวิต โดยทั่วไป อุณหภูมิของร่างกายลดลงจะเกี่ยวข้องกับการหดตัวของเส้นเลือดและความดันโลหิตสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิในการฟอกเลือดที่ใช้กันอย่างกว้างขวางคือ 37°C และอุณหภูมิของร่างกายมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในระหว่างการฟอกเลือดมาตรฐาน การลดอุณหภูมิใช้น้ำยาฟอกเลือดอาจเป็นประโยชน์ต่อการฟอกเลือด นอกจากนี้ การลดอุณภูมิของน้ำยาฟอกเลือดเป็นเรื่องง่ายและง่ายต่อการนำมาใช้ในการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน แต่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สุขสบายของผู้ป่วย เช่น รู้สึกเย็น, หนาวสั่นและอาการอื่นที่เกี่ยวข้อง

เราทำอะไร

เราเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากการศึกษาของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ต้องการฟอกเลือด ที่มีรายงานเกี่ยวกับความดันโลหิตต่ำระหว่างการฟอกเลือด ความรู้สึกไม่สุขสบายและผลลัพธ์อื่น ๆ เรารวบรวมการศึกษา 25 เรื่อง ผู้เข้าร่วมในการศึกษา 712 คน ทบทวนและดำเนินการ meta-analysis เพื่อประเมินผลการลดอุณหภูมิน้ำยาฟอกเลือด

เราค้นพบอะไร

คุณภาพของการศึกษาที่รวมอยู่โดยทั่วไปต่ำมากเนื่องจากความเสี่ยงของการเกิดอคติ, ขนาดตัวอย่างขนาดเล็ก, และข้อมูลไม่เพียงพอ

เราพบหลักฐานที่มีคุณภาพต่ำที่แสดงให้เห็นว่าการลดอุณหภูมิของน้ำยาฟอกเลือดลดอุบัติการณ์ความดันโลหิตต่ำระหว่างการฟอกเลือด เมื่อเทียบกับอุณหภูมิมาตรฐาน กับเพิ่มอัตราความไม่สุขสบาย เมื่อผู้ป่วยมีความรู้สึกไม่สุขสบายเล็กน้อย การลดลงอุณหภูมิน้ำยาฟอกเลือด อาจเป็นทางเลือกเพื่อลดภาวะความดันโลหิตต่ำระหว่างการฟอกเลือด อย่างไรก็ตาม ไม่มีการศึกษารายงานผลในระยะยาว เช่น การเสียชีวิตหรือภาวะหัวใจทำงานผิดปกติ

บทสรุป

ข้อมูลที่จำกัดแนะนำว่าการลดอุณหภูมิของน้ำยาฟอกเลือด อาจป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำระหว่างการฟอกเลือด แต่ยังเป็นข้อสรุปที่มีความขาดความแน่นอนมาก การศึกษาขนาดใหญ่ที่วัดผลลัพธ์ที่สำคัญเช่น ภาวะความดันโลหิตต่ำระหว่างการฟอกเลือด หรือการตายของผู้ป่วยฟอกเลือด จะต้องประเมินผลของการลดอุณหภูมิของน้ำยาฟอกเลือด

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

การลดอุณหภูมิน้ำยาฟอกเลือดอาจป้องกันการเกิดความดันโลหิตต่ำระหว่างการฟอกเลือด แต่ข้อสรุปยังไม่แน่นอน ยังต้องการการศึกษาขนาดใหญ่เพื่อวัดผลลัพธ์ที่สำคัญ เช่น ภาวะความดันโลหิตต่ำระหว่างการฟอกเลือด เพื่อประเมินผลของการลดอุณหภูมิของน้ำยาฟอกเลือด การศึกษาหกเรื่อง ที่ยังดำเนินการอยู่อาจให้หลักฐานที่มีคุณภาพสูงที่จำเป็นมากในอนาคต

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

ความดันโลหิตต่ำระหว่างการฟอกเลือด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยของการฟอกเลือด และปัจจัยเสี่ยงของความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือดและเสียชีวิต การศึกษาทางคลินิกหลายเรื่อง แนะนำว่าการลดอุณหภูมิน้ำยาฟอกเลือด เช่น การลดอุณหภูมิน้ำยาฟอกเลือดแบบคงที่ หรือ การใช้น้ำยาฟอกเลือดปรับอุณหภูมิคงที่ (isotherma dialysatel) โดยใช้ระบบ biofeedback ช่วยให้อัตราความดันโลหิตต่ำระหว่างการฟอกเลือดดีขึ้น

วัตถุประสงค์: 

การทบทวนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินผลประโยชน์และอันตรายของการลดอุณหภูมิน้ำยาฟอกเลือดในป่วยโรคไตเรื้อรังที่ต้องการฟอกเลือด เมื่อเทียบกับอุณหภูมิน้ำยาฟอกเลือดมาตรฐาน

วิธีการสืบค้น: 

เราได้สืบค้นใน Cochrane Kidney และ Transplant Specialised Register จนถึงวันที่ 14 พฤษภาคม 2019 ผ่านการติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลโดยใช้ข้อความค้นหาที่เกี่ยวข้องกับการทบทวนนี้ การศึกษาที่ลงทะเบียนในฐานข้อมูลดังนี้ CENTRAL, MEDLINE และ EMBASE, เอกสารการประชุม และค้นหาใน International Clinical Trials Register (ICTRP), Search Portal และ ClinicalTrials.gov.

เกณฑ์การคัดเลือก: 

ทบทวนการศึกษาทั้งหมดที่เป็นแบบ randomised controlled trials (RCTs) cross-over RCTs, cluster RCTs และ quasi-RCTs

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ประพันธ์สองคนดึงข้อมูลจากการศึกษาที่นำเข้าอย่างอิสระต่อกัน ประกอบด้วย ข้อมูลของผู้เข้าร่วม, interventions, ผลลัพธ์, วิธีการศึกษา, และความเสี่ยงของการเกิดอคติ นักวิจัยใช้ random-effects model เพื่อสังเคราะห์เชิงปริมาณของหลักฐาน นักวิจัยประเมินความเสี่ยงของการเกิดอคติในแต่ละการศึกษาโดยใช้เครื่องมือ Cochrane ’Risk of bias’ นักวิจัยประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานโดยใช Grades of Recommendation, Assessment, Development and Evaluation (GRADE)

ผลการวิจัย: 

นักวิจัยรวบรวมการศึกษา 25 เรื่อง (ผู้เข้าร่วมในการศึกษา 712 คน) การศึกษาสามเรื่อง เป็นการทดลอง parallel RCTs และการศึกษาอื่นเป็นแบบ cross-over RCTs การศึกษา 19 เรื่องเปรียบเทียบระหว่างการใช้น้ำยาฟอกเลือดแบบลดอุณหภูมิคงที่ (ต่ากว่า 36°C) กับอุณหภูมิมาตรฐาน (37°C ถึง 37.5°C) การศึกษาส่วนใหญ่มีความเสี่ยงของการเกิดอคติไม่ชัดเจนหรือสูง เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำยาฟอกเลือดมาตรฐาน ยังไม่ชัดเจนว่าการใช้น้ำยาฟอกเลือดแบบลดอุณหภูมิคงที่ ช่วยปรับปรุงอัตราการเกิดความดันโลหิตต่ำระหว่างการฟอกเลือด (IDH) ได้ (การศึกษา 8 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 153 คน: RR 0.52, 95% CI 0.34 ถึง 0.80; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก) อย่างไรก็ตามอาจเพิ่มอัตราความรู้สึกไม่สุขสบายเมื่อเทียบกับอุณหภูมิน้ำยาฟอกไตมาตรฐาน (การศึกษา 4 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 161 คน: RR 8.31, 95% CI 1.86 ถึง 37.12, หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก) ไม่มีรายงานเกี่ยวกับผู้ที่ออกจากการศึกษากลางคันจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ไม่มีการศึกษารายงานเกี่ยวกับการเสียชีวิต โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันหรือโรคหลอดเลือดสมอง

การศึกษาสามเรื่อง เปรียบเทียบการใช้น้ำยาฟอกเลือดปรับอุณหภูมิคงที่และน้ำยาฟอกเลือดที่ปรับอุณหภูมิมาตรฐาน การใช้น้ำยาฟอกเลือดปรับอุณหภูมิคงที่ มีอัตราการเกิดความดันโลหิตต่ำระหว่างการฟอกเลือดดีกว่าใช้น้ำยาฟอกเลือดที่ปรับอุณหภูมิมาตรฐาน (การศึกษา 2 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 133 คน: RR 0.68, 95% CI 0.60 ถึง 0.76; I2= 0%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก) ไม่มีรายงานเกี่ยวกับอัตราความไม่สุขสบาย (การศึกษา 1 เรื่อง) หรือผู้ออกจากการศึกษากลางคันจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (การศึกษา 2 เรื่อง) ไม่มีการศึกษารายงานเกี่ยวกับการเสียชีวิต โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันหรือโรคหลอดเลือดสมอง

บันทึกการแปล: 

ผู้แปล เพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แปลเมื่อ เดือนมกราคม 2020

Tools
Information