วิธีการที่ทำให้คนนอนตะแคงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการรักษาภาวะ obstructive sleep apnoea หรือไม่

Obstructive sleep apnoea คืออะไร

obstructive sleep apnoea (OSA) เป็นความผิดปกติของการนอนเนื่องจากผนังลำคอหย่อนตัวและแคบลงระหว่างนอนหลับ ภาวะนี้ทำให้หยุดหายใจ การหยุดหายใจนี้อาจจะเป็นเวลาสองถึงสามวินาที ถึง สองถึงสามนาทีและสามารถเกิดขึ้นได้หลายครั้งในหนึ่งคืน รบกวนการนอน คนที่นอนด้วยจะถูกรบกวนโดยเสียงกรนที่ดัง การหยุดหายใจ และเสียงดัง คนที่เป็น OSA อาจจะเหนื่อยมากตอนกลางวันหรืออาจจะถึงการหลับ ภาวะนี้เป็นอันตราย ในเด็ก sleep apnoea ทำให้เกิดปัญหาที่โรงเรียนหรือสมาธิสั้น

Positional OSA คืออะไร

Positional OSA คือ OSA ที่ดีขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่านอน คนทั่วไปมักจะมีการหยุดหายใจเมื่อนอนหงาย และการหยุดหายใจจะน้อยลงหรือหายไปเมื่อนอนตะแคง

การรักษามาตรฐานของ OSA คืออะไร

การรักษามาตรฐานคืออุปกรณ์ที่เรียกว่าเครื่องให้แรงดันบวกในทางเดินหายใจแบบตลอดเวลา (CPAP) ทำให้กระแสลมเข้าไปในทางเดินหายใจอย่างต่อเนื่องในขณะที่หายใจ ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้ทางเดินหายใจแคบลงระหว่างนอน

การรักษาโดยการจัดท่าคืออะไร

การรักษาโดยการจัดท่าคือวิธีการที่ช่วยให้บุคคลอยู่ในท่าตะแคงระหว่างนอน ตัวอย่างได้แก่ ใช้ของวางที่หลังเพื่อป้องกันการดิ้น (เหมือนลูกเทนนิส) หมอนพิเศษ หรือสัญญาณที่จะสั่นเมื่อบุคคลจะหมุนตัวมานอนหงาย

ประเมินความรุนแรงของ OSA อย่างไร

ความรุนแรงของ OSA วัดโดยเครื่องมือที่เรียกว่า Apnoea-Hypopnea Index (AHI) AHI คือจำนวนครั้งของการหยุดหายใจหรือหายใจสั้นลงต่อการนอนหนึ่งชั่วโมง AHI วัดโดยใช้ การศึกษาการนอนโดยวิธี polysomnography

ความรุนแรงของ OSA สามารถประเมินทางอ้อมได้โดยแบบสอบถามที่เรียกว่า Epworth Sleepiness Scale (ESS) เป็นการประเมินความง่วงของบุคคลตอนกลางวัน

อะไรคือวัตถุประสงค์ของการทบทวนนี้

เราต้องการเปรียบเทียบการรักษาโดยการจัดท่ากับการรักษาโดย CPAP รวมทั้งกลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่ได้รับการรักษา (รักษาโดยการจัดท่าหรือการรักษาหลอก)

ผลการศึกษา

เราพบการศึกษาแปดเรื่อง ผู้เข้าร่วม 323 คน การศึกษาเปรียบเทียบการรักษาโดยการจัดท่ากับ CPAP (ผู้เข้าร่วมโครงการ 72 คน) และการรักษาโดยการจัดท่ากับกลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่ได้รับการรักษา (ผู้เข้าร่วมโครงการ 251 คน)

การศึกษาที่เปรียบเทียบการรักษาโดยการจัดท่ากับ CPAP ไม่พบความแตกต่างใน EES ระหว่างกลุ่ม CPAP ได้ผลมากกว่าใน AHI (น้อยกว่า 6.4 ครั้งต่อชั่วโมงโดย CPAP) เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาโดยการจัดท่า ในการศึกษาเล็กๆเรื่องหนึ่งพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการใช้การรักษาโดยการจัดท่านานกว่า CPAP 2.5 ชั่วโมง ไม่พบความแตกต่างในคุณภาพชีวิตหรือคุณภาพในการนอนระหว่างกลุ่ม

ในการเปรียบเทียบระหว่างการรักษาโดยการจัดท่ากับกลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่ได้รับการรักษา การศึกษาพบว่าการรักษาโดยการจัดท่าดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบสำหรับ ESS and AHI ( ในการรักษาโดยการจัดท่ามี EES น้อยลง 1.58 และ AHI น้อยลง 7.38 ครั้งต่อชั่วโมง) การศึกษาอีกเรื่องหนึ่งพบผลข้างเคียงใน 10% ของผู้เข้าร่วมโครงการ ผลข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่การรบกวนการนอนหลับและอาการปวดบริเวณหลังและหน้าอก การศึกษาเรื่องหนึ่งรายงานว่าไม่พบความแตกต่างในคุณภาพชีวิตและคุณภาพการนอนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการรักษาโดยการจัดท่าและกลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่ได้รับการรักษา

การศึกษาทั้งหมดใช้เวลาสั้นและมีผู้เข้าร่วมโครงการน้อย

บทสรุป

1. การรักษาโดยการจัดท่ามีประสิทธิผลน้อยกว่า CPAP ในการลด Apnoea-Hypopnoea Index (AHI) คนอาจใช้การรักษาโดยการจัดท่านานกว่า CPAP ตอนกลางคืน ในเรื่องของผลลัพธ์ชนิดอื่นไม่พบความแตกต่าง

2. การรักษาโดยการจัดท่าดีกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการรักษาสำหรับ AHI and Epworth Sleepiness Scale (ESS)

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

การทบทวนวรรณกรรมนี้พบว่า CPAP มีผลดีต่อ AHI มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาโดยการจัดท่าใน positional OSA แตการรักษาโดยการจัดท่าดีกว่าการไม่รักษาสำหรับ ESS และ AHI่ การรักษาโดยการจัดท่าอาจจะมีการปฏิบัติตามดีกว่า ไม่มีความแตกต่างที่มีนัยสำคัญสำหรับผลลัพธ์ทางคลินิกอย่างอื่นเช่น คุณภาพชีวิต หรือการทำงานทางปัญญา การศึกษาทั้งหมดมีระยะเวลาสั้น เราไม่สามารถให้ความเห็นต่อผลระยะยาวของการรักษาได้ ประเด็นนี้สำคัญ เพราะผลลัพธ์ของคุณภาพชีวิตส่วนใหญ่จะเห็นเมื่อได้ให้การรักษาเป็นระยะเวลานาน ความเชื่อมั่นของหลักฐานระดับต่ำถึงปานกลาง

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

ชนิดของการรักษา OSA ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและวิถีชีวิต การรักษาโดยการจัดท่า ใส่วัสดุในปาก การผ่าตัด และ CPAP ถึงแม้ว่า CPAP จะพิสูจน์แล้วว่าได้ประโยชน์ แต่การปฏิบัติตาม CPAP ยังไม่ดีเท่าที่ควร การรักษาโดยการจัดท่า (จัดให้คนนอนตะแคง) ใช้ง่ายกว่าจึงมีความหวังว่าการปฏิบัติตามจะดีกว่า การทบทวนวรรณกรรมพิจารณาเปรียบเทียบการรักษาโดยการจัดท่าเทียบกับ CPAP รวมทั้งเปรียบเทียบการรักษาโดยการจัดท่ากับการไม่รักษา อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการรักษาโดยการจัดท่าประกอบด้วยอุปกรณ์หนุนเอวหรือท้อง อุปกรณ์หนุนหลังกึ่งแข็ง หมอนยาวเต็มที่ ลูกเทนนิสที่ติดกับหลังของเสื้อใส่นอน และเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่เตือนเมื่อมีการเปลี่ยนท่า

วัตถุประสงค์: 

เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการรักษาโดยการจัดท่ากับ CPAP และ การรักษาโดยการจัดท่ากับกลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่ได้รับการรักษา (วิธีการหลอกหรือไม่ได้การรักษาโดยการจัดท่า) ในคนที่เป็น OSA

วิธีการสืบค้น: 

เราสืบค้นจาก Cochrane Airways' Specialised Register (ประกอบด้วย CENTRAL, MEDLINE, Embase, CINAHL, AHMED and PsycINFO), ClinicalTrials.gov และ the World Health Organization trials portal (ICTRP) รวมถึงผลที่ได้จากการทำ handsearching ในวารสารด้านการหายใจและหนังสือบทคัดย่อของการประชุมประจำปี เราสืบค้นทุกฐานข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นจนถึง กันยายน 2018 โดยไม่จำกัดภาษาและชนิดของการตีพิมพ์

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เรารวบรวมนำเข้าการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบที่เปรียบเทียบการรักษาโดยการจัดท่ากับ CPAP และ การรักษาโดยการจัดท่ากับกลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่ได้รับการรักษา

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนสองคนเลือกและดึงข้อมูลจากรายงานการศึกษาที่รวบรวมได้อย่างเป็นอิสระต่อกัน เราใช้ meta-analysis แบบ random effect เพื่อคำนวนค่าความแตกต่างเฉลี่ยและช่วงความเชื่อมั่น เราประเมินคุณภาพของหลักฐานโดยใช้วิธี GRADE

ผลการวิจัย: 

เรารวบรวมนำเข้าการศึกษาแปดเรื่อง การศึกษาเหล่านี้สุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ 323 คนให้ได้รับการรักษาสองชนิด การเปรียบเทียบระหว่างการรักษาโดยการจัดท่ากับ CPAP มีผู้เข้าร่วมโครงการ 72 คน ในขณะที่การเปรียบเทียบระหว่าง การรักษาโดยการจัดท่ากับกลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่ได้รับการรักษามีผู้เข้าร่วมโครงการ 251 คน การศึกษาสามเรื่องใช้ supine vibration alarm devices ในขณะที่การศึกษาอีกห้าเรื่องใช้ หมอนทำพิเศษ หรือกระเป๋าหนุนหลังแบบกึ่งแข็ง

การรักษาโดยการจัดท่าเปรียบเทียบกับ CPAP

การศึกษาสามเรื่องที่นำมาเปรียบเทียบเป็น randomised cross-over trials การศึกษาสองเรื่องพบว่าไม่มีความแตกต่างใน Epworth Sleepiness Scale (ESS) scores ระหว่าง CPAP กับการรักษาโดยการจัดท่า การศึกษาสองเรื่องแสดงว่า CPAP ลด Apnoea-Hypopnoea Index (AHI) ได้มากกว่าการรักษาแบบจัดท่า mean difference (MD) 6.4 ครั้งต่อชั่วโมง (95% CI 3.00 ถึง 9.79; หลักฐานระดับต่ำ) การศึกษาหนึ่งเรื่องพบว่าการปฏิบัติตามการรักษาโดยการจัดท่าดีกว่า (MD 2.5 ชั่วโมงต่อคืน, 95% CI 1.41 ถึง 3.59; หลักฐานระดับปานกลาง)

สำหรับผลลัพธ์รอง การศึกษาหนึ่งเรื่องรายงานว่าดัชนีคุณภาพชีวิตและคุณภาพการนอนไม่มีความแตกต่างระหว่างสองกลุ่ม การศึกษาหนึ่งเรื่องรายงานผลลัพธ์เกี่ยวกับการรับรู้โดยใช้การวัดหลายอย่างพบว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะให้ความเห็นเรื่องผลลัพธ์รองอื่นๆ เช่น respiratory disturbance index (RDI) และความถี่และระยะเวลาของ nocturnal desaturation ไม่มีการศึกษาที่รายงานผลข้างเคียง

การรักษาโดยการจัดท่าเปรียบเทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่ได้รับการรักษา

การศึกษาสามเรื่องที่เปรียบเทียบการรักษาโดยการจัดท่ากับไม่ได้รับการรักษาเป็น randomised cross-over trials ในขณะที่อีกสองการศึกษาเป็นแบบ parallel arm ข้อมูลจากการศึกษาสองเรื่องแสดงว่าการรักษาแบบจัดท่า มี ESS scores ดีขึ้น (MD −1.58, 95% CI −2.89 ถึง −0.29; หลักฐานระดับปานกลาง) การรักษาแบบจัดท่าลด AHI ลง (MD −7.38 events per hour, 95% CI −10.06 ถึง −4.7; หลักฐานระดับต่ำ) การศึกษาหนึ่งเรื่องรายงานเรื่องการปฏิบัติตาม จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการที่คงใช้วิธีการที่สองเดือนไม่ต่างกัน (odds ratio (OR) 0.80, 95% CI 0.33 ถึง 1.94; หลักฐานระดับต่ำ) การศึกษาฉบับเดียวกันรายงานผลข้างเคียง ที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ อาการปวดหลังและหน้าอกและรบกวนการนอน แต่มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มในเรื่องการเลิดใช้อุปกรณ์ (OR 1.25, 95% CI 0.5 ถึง 3.03; หลักฐานระดับต่ำ) การศึกษาหนึ่งเรื่องรายงานดัชบีคุณภาพชีวิต และอีกหนึ่งการศึกษารายงานดัชนีคุณภาพการนอน ไม่มีความแตกต่างที่มีนัยสำคัญ การศึกษาหนึ่งเรื่องรายงานผลลัพธ์เกี่ยวกับการรับรู้โดยใช้การวัดหลายอย่างพบว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม มีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะบอกถึงผลลัพธ์รองอย่างอื่น (RDI, frequency and duration of nocturnal desaturation)

บันทึกการแปล: 

ผู้แปล ศ.นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 18 มิถุนายน 2019

Tools
Information