เปรียบเทียบใช้เครื่องจี้ Bipolar กับ Monopolar ในการตัดต่อมลูกหมากผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างที่เกิดจากต่อมลูกหมากโต

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

การผ่าตัดต่อมลูกหมากในผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตที่มีอาการปัสสาวะลำบากโดยใช้เครื่องจี้แบบ Bipolar เปรียบเทียบกับ Monopolar ต่างกันอย่างไร

ความเป็นมา

ผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมลูกหมากโตอาจมีอาการปัสสาวะลำบาก เนื่องจากต่อมลูกหมากที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไปกดเบียดท่อปัสสาวะส่วนที่ต่อมาจากกระเพาะปัสสาวะ ทางเลือกการรักษาหนึ่งคือการผ่าตัดส่องกล้องตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากออกเพื่อลดการอุดกั้นของท่อปัสสาวะ ในอดีตการผ่าตัดนี้ใช้อุปกรณ์เครื่องจี้แบบ Monopolarและเรียกการผ่าตัดนี้ย่อว่า Monopolar TURP จากนั้นมามีการพัฒนาการเทคนิกการผ่าตัด Bipolar TURP ขึ้น Bipolar TURP ใช้ saline แทนสารน้ำชนิดดั้งเดิมซึ่งช่วยลดอุบัติการณ์การเกิด TUR syndrome เนื่องจากการดูดซึมสารน้ำ โดยปกติภาวะนี้พบได้น้อยแต่ความรุนแรงมาก ในปัจจุบันยังไม่มีการเปรียบเทียบการผ่าตัดทั้งสองวิธีนี้โดยรวม

การทบทวนวรรณกรรมนี้ทันสมัยแค่ไหน

การศึกษานี้รวบรวมวรรณกรรมที่ปรากฏในระบบทางอิเลคทรอนิกส์์โดยค้นหาเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2019

ลักษณะการศึกษา

เราค้นหาวรรณกรรมทางการแพทย์สำหรับการทดลองทางคลินิกจนถึงวันที่ 19 มีนาคม 2019 เราพบ randomised trials ที่เปรียบเทียบ BTURP กับ MTURP 59 เรื่อง การศึกษาเหล่านี้มีจำนวนผู้ป่วยรวมทั้งสิ้น 8924 ราย มีการติดตามผลการรักษาที่สนใจนานที่สุด 12 เดือนหลังการรักษา

ผลการศึกษาที่สำคัญ

BTURP สามารถลดอาการและการรบกวนทางระบบทางเดินปัสสาวะได้ไม่ต่างจาก MTURP

BTURP สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิด TUR syndrome และการต้องให้เลือดได้เล็กน้อย

การแข็งตัวของอวัยวะเพศและการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ภายหลังการผ่าตัดทั้งสองชนิดนี้ไม่ต่างกัน รวมถึงอัตราการต้องผ่าตัดซ้ำ

คุณภาพของหลักฐาน

คุณภาพของหลักฐานสำหรับผลของความสามารถในการปัสสาวะ, อาการปัสสาวะที่รบกวนผู้ป่วย, TUR syndrome, ความต้องการให้เลือด, และระดับการแข็งตัวของอวัยวะเพศอยู่ในระดับปานกลาง คุณภาพของหลักฐานสำหรับผลลัพธ์ของการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ และการต้องผ่าตัดซ้ำอยู่ในระดับต่ำ

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

BTURP และ MTURP ช่วยให้อาการในระบบทางเดินปัสสาวะดีขึ้นไม่ต่างกัน BTURP น่าจะช่วยลดโอกาสเกิด TUR syndrome และลดการให้เลือดเมื่อเทียบกับ MTURP ผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศของการผ่าตัดทั้งสองแบบนี้ไม่ต่างกัน คุณภาพของหลักฐานที่มีอยู่ระดับปานกลางสำหรับผลลัพธ์ที่สำคัญของการตรวจสอบนี้แสดงให้เห็นว่าไม่มีความจำเป็นสำหรับการทำ RCTs เพิ่มเติมเพื่อเปรียบเทียบ BTURP และ MTURP

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

TURP เป็นวิธีการผ่าตัดมาตรฐานสำหรับการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (LUTS) จากภาวะต่อมลูกหมากอุดกั้น (BPO) การผ่าตัด TURP สมัยก่อนใช้เทคนิค Monopolar แต่เมื่อมีผู้ป่วยที่ได้รับผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดจึงเริ่มมีการพัฒนาเทคนิกการผ่าตัดใหม่ ในการผ่าตัด TURP แบบ Bipolar (BTURP) พลังงานจะถูกจำกัดอยู่ที่ขั้วไฟฟ้าของเครื่องมือตัดต่อมลูกหมาก จึงสามารถใช้สารน้ำที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับในระบบไหลเวียนโลหิตช่วยชะล้างระหว่างการผ่าตัดได้ ยังคงมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างวิธีการผ่าตัดเหล่านี้ในแง่ของผลลัพธ์ของผู้ป่วย

วัตถุประสงค์: 

เพื่อเปรียบเทียบผลการผ่าตัดTURP โดยใช้ Bipolar กับ Monopolar

วิธีการสืบค้น: 

มีการค้นหาวรรณกรรมทางทางทางอิเลคทรอนิกส์อย่างเป็นระบบและครอบคลุมเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2019 ผ่านทาง CENTRAL, MEDLINE, Embase, ClinicalTrials.gov, PubMed, และ WHO ICTRP มีการค้นหาบทคัดย่อจากการประชุมใหญ่ทางระบทางเดินปัสาวะ โดยค้น trials, systematic reviews, and health technology assessment reports เพื่อหาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ไม่มีการจำกัดภาษา

เกณฑ์การคัดเลือก: 

Randomised controlled trials (RCTs) ที่เปรียบเทียบ monopolar และ bipolar TURP ในผู้ชาย (> 18 ปี) ในการรักษาอาการทางระบบทางเดินปัสสาวะส่วยล่างที่เกิดจากต่อมลูกหมากอุดกลั้น

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนสองคนได้ทำการคัดเลือกการศึกษา ดึงข้อมูล และประเมินความเสี่ยงของการมีอคติของ RCTs ที่นำเข้าการศึกษา การวิเคราะห์ทางสถิติได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์เชิงสถิติที่นำเสนอใน Cochrane Handbook for Systematic Reviews of Interventions คุณภาพของหลักฐานอยู่ในระดับต่ำ (ตามเกณฑ์ GRADE)

ผลการวิจัย: 

มีการรวบรวม RCTs ทั้งหมด 59 เรื่อง ผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 8924 ราย อายุเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมการศึกษาอยู่ระหว่าง 59.0-74.1 ปี ขนาดต่อมลูกหมากเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 39 ถึง 82.6 mL

ผลลัพธ์หลัก

BTURP ให้ผลดีขึ้นเล็กน้อยจนถึงไม่ต่างกันในเรื่องอาการของระบบทางเดินปัสสาวะ (IPSS) ที่ 12 เดือน โดยใช้ scale 0 ถึง 35 โดยคะแนนที่มากขึ้นหมายถึงอาการที่แย่ลง (ความแตกต่างเฉลี่ยที่ -0.24 โดยมี 95% CI -0.39 ถึง -0.09; ผู้เข้าร่วม = 2531 คน; RCTs = 16; I² = 0%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นปานกลาง (CoE), ถูกลดระดับความเชื่อมั่นลงเนื่องจากข้อจำกัดการศึกษา) เมื่อเทียบกับ MTURP

BTURP ให้ผลดีขึ้นเล็กน้อยจนถึงไม่ต่างกันในเรื่องของอาการที่น่ารำคาญ โดยวัดจากคะแนนภาวะสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต(HRQoL) ที่ 12 เดือนโดยมีคะแนนระหว่าง 0 ถึง 6 โดยคะแนนสูงหมายถึงอาการที่น่ารำคาญมากขึ้น (ความแตกต่างเฉลี่ยที่ -0.12 โดยมี 95% CI -0.25 ถึง 0.02; ผู้เข้าร่วม = 2004 คน; RCTs = 11; I² = 53%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นปานกลาง, ความเชื่อมั่นถูกลดระดับลงเนื่องจากข้อจำกัดการศึกษา) เมื่อเทียบกับ MTURP

BTURP สามารถลด TUR syndrome ได้เล็กน้อย (risk ratio (RR) 0.17 โดยมี 95% CI 0.09 ถึง 0.30; ผู้เข้าร่วม = 6745; RCTs = 44; I² = 0%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นปานกลาง (CoE), ความเชื่อมั่นถูกลดระดับลงเนื่องจากข้อจำกัดการศึกษา) เมื่อเทียบกับ MTURP เมื่อเทียบแล้วการผ่าตัด 1000 ราย MTURP จะมี TUR syndrome น้อยลง 20 ราย (95% CI น้อยลง 22 ราย ถึง น้อยลง 17 ราย)

ผลลัพธ์รอง

BTURP มีความเสี่ยงในการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ที่ 12 เดือนไม่ต่างจาก MTURP (RR 0.20, 95% CI 0.01 ถึง 4.06; ผู้เข้าร่วมการศึกษา = 751; RCTs = 4; I² = 0%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ, ถูกลดระดับความเชื่อมั่นลงเนื่องจากข้อจำกัดของการศึกษา และ imprecision) ในการผ่าตัด BTURP 1000 รายจะมีผู้ป่วยที่กลั้นปัสสาวะไม่ได้ลดลงสี่ราย (95% CI five fewer ถึง 16 more)

BTURP อาจสามารถลดอัตราการให้เลือดได้เล็กน้อยเมื่อเทียบกับ MTURP (RR 0.42, 95% CI 0.30 ถึง 0.59; ผู้เข้าร่วมการศึกษา = 5727; RCTs = 38; I² = 0%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นปานกลาง ถูกลดระดับความเชื่อมั่นลงเนื่องจากข้อจำกัดของการศึกษา) ในการผ่าตัด BTURP 1000 รายจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับเลือดจะลดลง 28 ราย (95% CI ลดลง 34 ราย ถึง ลดลง 20 ราย)

BTURP มีอัตราการต้องผ่าตัด TURP ซ้ำไม่ต่างจาก MTURP (RR 1.02, 95% CI 0.44 ถึง 2.40; ผู้เข้าร่วมการศึกษา = 652; RCTs = 6; I² = 0%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ ถูกลดระดับความเชื่อมั่นลงเนื่องจากข้อจำกัดของการศึกษาและ imprecision) ในการผ่าตัด BTURP 1000 รายจะมีอัตราการต้องทำ TURP ซ้ำเพิ่มหนึ่งราย (95% CI 19 fewer to 48 more)

การแข็งตัวของอวัยวะเพศที่วัดโดย Index of Erectile Function score (IIEF-5) ที่ 12 เดือน โดยมีคะแนนระหว่าง 5 ถึง 25 คะแนนที่สูงหมายถึงการแข็งตัวของอวัยวะเพศดีกว่า ไม่มีความแตกต่างกันในการผ่าตัดทั้งสองวิธี (ความแตกต่างเฉลี่ยที่ 0.88 โดยมี 95% CI -0.56 ถึง 2.32; RCTs = 3; I² = 68%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นปานกลาง, ถูกลดระดับความเชื่อมั่นลงเนื่องจากข้อจำกัดของการศึกษา)

บันทึกการแปล: 

แปลโดย นพ. ศุภณัฎฐ์ ลุมพิกานนท์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 27 เมษายน 2020

Tools
Information