อัลตราซาวด์เพื่อบำบัดรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง

ความเป็นมา

เป็นเรื่องปกติที่ผู้คนจะรู้สึกปวดหลังส่วนล่าง เมื่อไม่ทราบสาเหตุของอาการปวดเราจะกล่าวว่าความเจ็บปวดนั้นไม่เฉพาะเจาะจง ความเจ็บปวดที่กินเวลานานกว่าสามเดือนถือว่าเป็นอาการปวด 'เรื้อรัง'

การทำโยคะสามารถใช้เพื่อรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ อาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังอาจทำให้คนขาดงาน บ่อยครั้งที่ผู้ที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังที่ไม่เฉพาะเจาะจงไปพบแพทย์

การรักษาด้วยอัลตร้าซาวด์เป็นการใช้คลื่นเสียง (การสั่นสะเทือน) เพื่อรักษาทางการแพทย์ เป็นที่นิยมใช้ในการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง ผู้ให้บริการด้านการแพทย์ถู hand-held machine กับผิวหนังที่หลังส่วนล่าง เครื่องมือจะผลิตการสั่นสะเทือนผ่านผิวหนัง จุดมุ่งหมายคือการส่งความร้อนและพลังงานไปยังส่วนต่างๆ ใต้ผิวหนังเพื่อลดความเจ็บปวดและเร่งการฟื้นตัว

การทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาว่าอัลตร้าซาวด์มีประสิทธิผลในการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังที่ไม่เฉพาะเจาะจงหรือไม่และจะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราต้องการทราบว่าอัลตร้าซาวด์มีผลต่อผลลัพธ์ดังต่อไปนี้: ความเจ็บปวดที่คนรู้สึกว่ามีผลจำกัดการใช้ชีวิตประจำวัน ความพึงพอใจในการรักษา ความเป็นอยู่ที่ดี ความพิการและผลข้างเคียงอื่น ๆ

เรามองหาอะไร

เราสืบค้นการศึกษาถึงเดือนมกราคม 2020

•เป็นการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ การศึกษาทางการแพทย์ โดยมีการสุ่มให้คนเข้ากลุ่มบำบัดหนึ่งในสองกลุ่มขึ้นไป การศึกษาประเภทนี้ให้หลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดว่าการรักษาแต่ละวิธีนั้นสร้างความแตกต่างกันหรือไม่
• ผู้ที่ถูกรวบรวมเข้ามาด้วยอาการปวดหลังส่วนล่างที่ไม่เฉพาะเจาะจงซึ่งมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
• เปรียบเทียบการอัลตร้าซาวด์ (อย่างเดียวหรือกับการรักษาอื่น) กับยาหลอก (การรักษาปลอม) หรือการรักษาอื่น ๆ สำหรับอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังที่ไม่เฉพาะเจาะจง

เราค้นพบอะไร

เราพบการศึกษา 10 เรื่อง ซึ่งรวมผู้ป่วย 1025 คนที่ได้รับการรักษาสำหรับอาการปวดหลังส่วนล่างที่ไม่เฉพาะเจาะจง

คนส่วนใหญ่ในการศึกษามีอาการปวดหลังเล็กน้อยถึงปานกลาง ซึ่งหมายความว่าพวกเขาอาจมีอาการปวดเกิดขึ้นเมื่อทำกิจวัตรประจำวัน พวกเขาได้รับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกหรือคลินิกของโรงพยาบาล ซึ่งส่วนใหญ่พวกเขาได้รับการอัลตราซาวด์ทั้งหมด 6 ถึง 18 ครั้ง ผู้เข้าร่วมการศึกษาได้รับการติดตามเป็นระยะเวลาหนึ่งหลังจากการรักษา (มักจะเป็นไม่กี่วันหรือสัปดาห์หลังการรักษา)

การศึกษาเปรียบเทียบอัลตราซาวนด์กับสิ่งต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งอย่าง: ยาหลอก (การศึกษา 5 เรื่อง), ไม่มีการรักษา (การศึกษา 1 เรื่อง), การใช้ไฟฟ้า (การศึกษา 1 เรื่อง), การจัดกระดูกสันหลัง (การศึกษา 1 เรื่อง), การจัดกระดูก (การศึกษา 1 เรื่อง) และการรักษาด้วยเลเซอร์ (การศึกษา 1 เรื่อง) การศึกษา 3 เรื่อง เปรียบเทียบอัลตร้าซาวด์ร่วมกับการออกกำลังกายเทียบกับการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว ไม่มีการศึกษาใดที่ได้รับการสนับสนุนเชิงพาณิชย์

ผลการศึกษาที่สำคัญ

มีข้อมูลเพียงเล็กน้อยที่จะแนะนำว่าอัลตราซาวด์เป็นการรักษาที่มีประสิทธิผลสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังที่ไม่เฉพาะเจาะจง

อัลตร้าซาวด์เทียบกับยาหลอก

เราไม่ทราบว่าการอัลตร้าซาวด์จะลดความรุนแรงของอาการปวดโดยเฉลี่ยหรือไม่เนื่องจากมีการศึกษาในคนจำนวนน้อยเกินไปหรือในแต่ละการศึกษาให้คำตอบที่แตกต่างกันออกไป อัลตร้าซาวด์อาจสร้างความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีความแตกต่างกับจำนวนคนที่มีอาการปวดลดลง 30% หรือมากกว่าในระยะสั้น (เช่นน้อยกว่า 3 เดือนหลังจากเริ่มการศึกษา)

อัลตร้าซาวด์อาจสร้างความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยกับความเป็นอยู่ของผู้คน มันอาจสร้างความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยกับจำนวนผู้ที่รู้สึกว่าถูกจำกัดด้วยอาการปวดหลังในชีวิตประจำวันหรือกับความพึงพอใจของผู้คนที่ได้รับการรักษา

อัลตร้าซาวด์อาจมีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีผลกระทบต่อผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เราไม่ทราบว่าอัลตร้าซาวด์ส่งผลกระทบต่อความพิการหรือไม่เนื่องจากไม่มีการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้

อัลตราซาวด์ร่วมกับการออกกำลังกาย เปรียบเทียบกับการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว

เราไม่ทราบว่าอัลตร้าซาวด์มีผลต่อผลลัพธ์ที่เราสนใจในการตรวจสอบนี้หรือไม ่เพราะไม่มีการศึกษาใดที่ตรวจสอบ หรือเพราะการศึกษาที่ไม่ถูกต้อง หรือดำเนินการไม่ดี

ความเชื่อมั่นของหลักฐาน

จากการศึกษาที่เราค้นพบ พบว่าหลักฐานส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นต่ำถึงต่ำมาก ว่าอัลตร้าซาวด์จะสร้างความแตกต่างเล็กน้อยหรือไม่แตกต่างเลยต่อความเจ็บปวดและความเป็นอยู่เมื่อเทียบกับยาหลอก สำหรับผลลัพธ์อื่นและการเปรียบเทียบอื่น ๆ ทั้งหมด เรามีความมั่นใจน้อยในผลลัพธ์ที่เรารายงาน นี่เป็นเพราะการศึกษาที่ไม่แน่นอนหรือมีการดำเนินการไม่ดี

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

หลักฐานจากการตรวจสอบอย่างเป็นระบบนี้ยังไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลของการรักษาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงต่อความเจ็บปวดในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง ในขณะที่มีหลักฐานบางอย่างที่สนับสนุนว่าการรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวนด์อาจมีผลเล็กน้อยในการทำให้การทำงานของหลังส่วนล่างดีขึ้นในระยะสั้นเมื่อเทียบกับยาหลอก ความเชื่อมั่นของหลักฐานอยู่ในระดับต่ำมาก ผลที่แท้จริงน่าจะแตกต่างกันอย่างมาก มีการทดลองแบบสุ่มที่มีคุณภาพสูงจำนวนน้อยและการทดลองที่มีอยู่นั้นมีจำนวนผู้เข้าร่วมน้อยมาก หลักฐานในปัจจุบันยังไม่สามารถสนับสนุนว่าการใช้อัลตราซาวด์บำบัดสามารถนำมาใช้รักษาอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

นี่คือการปรับปรุงการทบทวนที่เผยแพร่ในปี 2014 อาการปวดหลังส่วนล่างที่ไม่เฉพาะเจาะจง (LBP) เรื้อรัง เป็นสาเหตุหลักของความพิการในประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลก แม้ว่าจะไม่แนะนำให้ใช้อัลตร้าซาวด์ในแนวทางการรักษาในเวชปฏิบัติทางคลินิก แต่เมื่อไม่นานมานี้นักกายภาพบำบัดมักใช้การอัลตราซาวด์ในการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง

วัตถุประสงค์: 

การทบทวนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของการรักษาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในการจัดการอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง วัตถุประสงค์รองคือ การกำหนดปริมาณและความรุนแรงของอัลตร้าซาวด์สำหรับการรักษา LBP เรื้อรังที่มีประสิทธิผลมากที่สุด

วิธีการสืบค้น: 

เราทำการค้นหาทางอิเล็กทรอนิกส์ใน CENTRAL , MEDLINE, Embase, CINAHL, PEDro, Index to Chiropractic Literature และ การศึกษา 2 เรื่อง ที่ได้ลงทะเบียน จนถึงวันที่ 7 มกราคม 2020 เราตรวจสอบรายการอ้างอิงของการศึกษาและการทบทวนอย่างเป็นระบบที่เกี่ยวข้องและดำเนินการค้นหาการอ้างอิง

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เรารวบรวมการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ (RCTs) ในการรักษาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงสำหรับ LBP เรื้อรังที่ไม่เฉพาะเจาะจง เราเปรียบเทียบอัลตร้าซาวด์ (เดี่ยวหรือรวมกับการรักษาอื่น) กับยาหลอกหรือวิธีการอื่น ๆ สำหรับ LBP เรื้อรัง

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้วิจัยสองคนประเมินการศึกษาเพื่อนำเข้ามาในการทบทวน ประเมินความเสี่ยงของการมีอคติ ดึงข้อมูลจากการศึกษาที่รวบรวมได้ อย่างอิสระต่อกัน เราทำการวิเคราะห์เมตต้าหากมีความคล้ายคลึงทางคลินิกและสถิติที่มากพอ เราประเมินคุณภาพโดยรวมของหลักฐานสำหรับการเปรียบเทียบแต่ละอย่างโดยวิธีการของ GRADE

ผลการวิจัย: 

เรารวมการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบได้ทั้งหมด 10 เรื่อง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 1025 คนที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง การศึกษาที่รวบรวมมาได้ดำเนินการในการตั้งค่าการดูแลรองในตุรกี, อิหร่าน, ซาอุดีอาระเบีย, โครเอเชีย, สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา และการรักษาด้วยคลื่นอัลตร้าซาวด์ที่ใช้มากที่สุดนอกเหนือไปจากการรักษาอื่นโดยทำ 6 ถึง 18 ครั้ง ความเสี่ยงของการมีอคตินั้นไม่ชัดเจนในการศึกษาส่วนใหญ่ การศึกษา 8 เรื่อง (80%) มีความไม่ชัดเจนหรือมีความเสี่ยงสูงต่อ selection bias ไม่มีการศึกษาใดที่ปกปิดผู้ที่ทำการรักษาจากวิธีการรักษาที่ให้ (intervention) และมีการศึกษา 5 เรื่อง (50%) ที่มีการปกปิดผู้เข้าร่วมเรื่องวิธีการรักษาที่ให้ มีความเสี่ยงในการเลือกรายงานในการศึกษา 8 เรื่อง (80%) และไม่มีการศึกษาใดที่ประเมินการปฏิบัติตามวิธีการรักษาที่ให้อย่างเพียงพอ

มีหลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก (ลดระดับลงสำหรับความไม่แน่นอน, ความไม่สอดคล้องกันและข้อจำกัดในการออกแบบ) พบว่ามีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ถึงไม่มีความแตกต่างเลยระหว่างการรักษาด้วยอัลตร้าซาวด์และยาหลอกสำหรับการดีขึ้นของอาการปวดระยะสั้น (mean difference (MD) −7.12, 95% confidence interval (CI) −17.99 ถึง 3.75; ผู้เข้าร่วม = 121 คน, การศึกษา 3 เรื่อง; 0-to-100-point visual analogue scale (VAS)) นอกจากนี้ยังมีหลักฐานความเชื่อมั่นระดับปานกลาง (ลดระดับสำหรับความไม่แน่ชัด) มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยถึงไม่มีความแตกต่างของจำนวนผู้เข้าร่วมที่ประสบความสำเร็จในการลดความเจ็บปวดในระยะสั้นลงได้ 30% (อัตราส่วนความเสี่ยง 1.08, 95% CI 0.81 ถึง 1.44; ผู้เข้าร่วม = 225, RCT 1 เรื่อง) มีหลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ (ลดระดับสำหรับความไม่แน่นอนและข้อจำกัด ในการออกแบบ) การรักษาด้วยคลื่นอัลตร้าซาวด์ มีผลเพียงเล็กน้อยต่อการทำงานของหลังเมื่อเทียบกับยาหลอกในระยะสั้น (standardised mean difference −0.29, 95% CI −0.51 ถึง −0.07 (MD −1.07, 95% CI −1.89 ถึง −0.26; แบบสอบถามความพิการของ Roland Morris); ผู้เข้าร่วม = 325; RCTs 4 เรื่อง) แต่ผลกระทบนี้ไม่ได้มีความสำคัญทางคลินิก มีหลักฐานความเชื่อมั่นระดับปานกลาง (ลดระดับสำหรับความไม่แม่นยำ) มีความแตกต่างเล็กน้อยถึงไม่มีความแตกต่างเลยระหว่างการรักษาด้วยคลื่นอัลตร้าซาวด์และยาหลอกเกี่ยวกับความเป็นอยู่ (MD −2.71, 95% CI −9.85 ถึง 4.44; ผู้เข้าร่วม = 267, RCTs 2 เรื่อง; แบบสำรวจสุขภาพแบบสั้น 36 รายการ (SF-36) การศึกษา 2 เรื่อง (ผู้เข้าร่วม = 486 คน) รายงานเกี่ยวกับอาการโดยรวมที่ดีขึ้นและความพึงพอใจระหว่างกลุ่มและทั้งสองมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยถึงไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม (หลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำ, ลดระดับลงเนื่องจากความไม่แม่นยำ) การศึกษา 1 เรื่อง (ผู้เข้าร่วม = 225 คน) รายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และไม่ได้ระบุเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการรักษาที่ให้ (หลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำ) ไม่มีรายงานการศึกษาเรื่องความพิการสำหรับการเปรียบเทียบนี้

เราไม่ทราบว่าการรักษาด้วยอัลตราซาวด์นอกเหนือจากการทำร่วมกับการออกกำลังกายนั้นให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวหรือไม่ เพราะความเชื่อมั่นในหลักฐานของผลลัพธ์ทั้งหมดนั้นอยู่ในระดับต่ำมาก (ลดระดับสำหรับข้อจำกัดเรื่องการออกแบบการศึกษา) ผลการประเมินความเจ็บปวดดีขึ้นในกลุ่มอัลตร้าซาวด์ร่วมกับการออกกำลังกาย (MD-21.1, 95% CI − 27.6 ถึง −14.5; ผู้เข้าร่วม = 70 คน, RCTs 2 เรื่อง; 0 ถึง 100 จุด VAS) ในระยะสั้น เกี่ยวกับฟังก์ชั่นเฉพาะด้านของหลัง (MD - 0.41, 95% CI −3.14 ถึง 2.32; ผู้เข้าร่วม = 79 คน, RCTs 2 เรื่อง; แบบสอบถามความพิการ Oswestry) และความเป็นอยู่ที่ดี (MD-2.50, 95% CI -9.53 ถึง 4.53; ผู้เข้าร่วม = 79 คน, RCTs 2 เรื่อง; เครื่องมือวัดระดับสุขภาพทั่วไปของ SF-36) มีความแตกต่างกันเล็กน้อยถึงไม่มีความแตกต่างเลยระหว่างกลุ่มในระยะสั้น ไม่มีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับจำนวนผู้เข้าร่วมที่ประสบความสำเร็จในการลดความเจ็บปวดลงได้ 30%, ความพึงพอใจของผู้ป่วย, ความพิการ หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์สำหรับการเปรียบเทียบนี้

บันทึกการแปล: 

แปลโดย พญ.วิลาสินี หน่อแก้ว โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี 9 กรกฎาคม 2020

Tools
Information