การรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภท

ยารักษาโรคจิตเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาโรคจิตเภท ไม่เพียงแต่ในกรณีที่มีอาการเฉียบพลันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการรักษาในระยะยาวด้วย ในขณะที่ผู้ป่วยอาจต้องการหยุดการรักษาในบางช่วง แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าการกลับเป็นซ้ำของอาการทางจิตเกิดขึ้นหลังจากหยุดการรักษา อาการกำเริบอาจนำไปสู่ความเสี่ยงต่ออันตราย การสูญเสียความเป็นอิสระแห่งตน และความทุกข์ทรมานอย่างมากสำหรับผู้ป่วยและครอบครัวของพวกเขา

รายงานฉบับปัจจุบันนำเสนอเวอร์ชันอัปเดตของการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบที่เผยแพร่ก่อนหน้าปี 2012 และอ้างอิงจากการทดลองที่มีการสุ่มและมีกลุ่มควบคุมจำนวน 75 เรื่องที่เผยแพร่ในช่วงเวลาอันยาวนานตั้งแต่ปี 1950 และมีผู้เข้าร่วมวิจัยมากกว่า 9000 คน ผลของยารักษาโรคจิตทั้งหมดที่นำมาทบทวนในเอกสารชุดนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาด้วยยาหลอกนั่นคือการหยุดยา - สำหรับการรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่องนั่นคือการป้องกันการกำเริบของโรค จุดมุ่งหมายคือการสำรวจประโยชน์และความเสี่ยงของแต่ละทางเลือกทั้งสองวิธีการนี้

ผลของการทบทวนนี้แสดงให้เห็นอย่างสอดคล้องกันว่ายารักษาโรคจิตสามารถลดอาการกำเริบและความจำเป็นในการต้องได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิผล อันที่จริงในกรณีของการหยุดการรักษาความเสี่ยงของการกำเริบของโรคภายใน 1 ปีนั้นสูงกว่าเกือบ 3 เท่า ยารักษาโรคจิตดูเหมือนจะมีผลในเชิงบวกต่อความสามารถในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความเป็นไปได้ในการบรรเทาจากอาการ แม้ว่าจะมีหลักฐานในเรื่องนี้น้อย แม้ว่าจะอ้างอิงจากรายงานที่มีจำนวนน้อยกว่า แต่ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องมักจะมีความพึงพอใจในชีวิตที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นการยืนยันถึงผลกระทบที่ว่าเมื่อความผาสุกลดลงจะมีความเสี่ยงสูงต่อการกลับเป็นซ้ำ ในทางกลับกันเมื่อประเมินแบบกลุ่ม ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการรักษายารักษาโรคจิตพบว่ายารักษาโรคจิตมีความสัมพันธ์กับผลข้างเคียงหลายอย่างเช่นความผิดปกติของการเคลื่อนไหว น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น และความง่วงนอน อย่างไรก็ตามการทบทวนนี้ช่วยให้เข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่าการหยุดการรักษาเป็นอันตรายมากกว่าการรักษาอย่างต่อเนื่อง

น่าเสียดายที่การศึกษาที่รวมอยู่ในการทบทวนนี้มักใช้เวลานานถึง 1 ปี จึงทำให้มีความยากลำบากในความชัดเจนต่อผลในระยะยาวของยาเหล่านี้ อย่างไรก็ตามเป็นความจริงที่ว่ายิ่งการศึกษามีระยะเวลานานมากขึ้น ก็จะยิ่งมีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากปัจจัยอื่น ๆ เช่นสิ่งแวดล้อม และทำให้การตีความผลลัพธ์มีความซับซ้อนมากขึ้น ที่สำคัญที่สุดการทบทวนนี้สนับสนุนข้อดีของยารักษาโรคจิตในผู้ป่วยที่เข้าร่วมวิจัยที่มีความแตกต่างหลากหลาย ดังนั้นกลยุทธ์ที่ดีที่สุดคือการรักษาด้วยยารักษาโรคจิตต่อเนื่อง และใช้การหารือและปรับการใช้ยาหากเกิดผลข้างเคียง

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

สำหรับผู้ที่เป็นโรคจิตเภทหลักฐานแสดงให้เห็นว่าการรักษาด้วยยารักษาโรคจิตอย่างต่อเนื่องจะช่วยป้องกันการกำเริบของโรคได้มากกว่ายาหลอกในการติดตามผลประมาณ 2 ปี ผลกระทบนี้ต้องได้รับการชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบกับผลข้างเคียงของยารักษาโรคจิต การศึกษาในอนาคตควรให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตในระยะยาวที่เกี่ยวข้องกับยาเหล่านี้มากขึ้น

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

อาการและอาการแสดงของโรคจิตเภทเชื่อมโยงกับโดพามีนที่มีปริมาณสูงในพื้นที่เฉพาะของสมอง (ระบบลิมบิก) ยารักษาโรคจิตขัดขวางการส่งโดพามีนในสมองและลดอาการเฉียบพลันของโรค การทบทวนวรรณกรรมฉบับก่อนหน้าตีพิมพ์ในปี 2012 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่ายารักษาโรคจิตมีประสิทธิผลในการป้องกันการกำเริบของโรคหรือไม่ การทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้ป็นการปรับปรุงของการทบทวนวรรณกรรมเพิ่มเติมจากฉบับก่อนหน้า

วัตถุประสงค์: 

เพื่อทบทวนผลของการรักษาด้วยยารักษาโรคจิตอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ที่เป็นโรคจิตเภทเปรียบเทียบกับการหยุดยาเหล่านี้

วิธีการสืบค้น: 

เราสืบค้นจากฐานข้อมูลการศึกษาโรคจิตเภทที่อยู่ochrane Schizophrenia Group's Study-Based Register of Trials รวมถึง ทะเบียนการทดลองทางคลินิก (วันที่ 12 พฤศจิกายน 2008, 10 ตุลาคม 2017, 3 กรกฎาคม 2018 และ 11 กันยายน 2019)

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เราได้รวมการทดลองแบบสุ่มทั้งหมดที่เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยยารักษาโรคจิตอย่างต่อเนื่องกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกสำหรับผู้ที่เป็นโรคจิตเภทหรือโรคจิตแบบโรคจิตเภท

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

เราดึงข้อมูลจากการศึกษาที่นำเข้ามาอย่างอิสระต่อกัน สำหรับข้อมูลที่มีลักษณะสองตัวเลือก (dichotomous data) เราคำนวณอัตราส่วนความเสี่ยง (RR) และช่วงความเชื่อมั่น (CIs) 95% โดยการวิเคราะห์แบบ intention-to-treat โดยใช้ a random-effects model สำหรับข้อมูลต่อเนื่องเราคำนวณความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (MD) หรือความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมาตรฐาน (SMD) โดยใช้แบบ a random-effects model

ผลการวิจัย: 

การทบทวนวรรณกรรมฉบับปัจจุบันประกอบด้วยการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCTs) 75 เรื่อง มีผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 9145 คนเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับยารักษาโรคจิตกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก เป็นการทดลองที่เผยแพร่ตั้งแต่ปี 1959 ถึง 2017 และมีขนาดของกลุ่มตัวอย่างอยู่ระหว่าง 14 ถึง 420 คน ในหลายๆ การศึกษา การรายงานวิธีการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุม และการปกปิดวิธีการทดลองไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามการจำกัดการวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะการศึกษาที่มีความเสี่ยงของการมีอคติต่ำทำให้ได้ผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกัน แม้ว่าสิ่งนี้และแหล่งที่มาของอคติที่เป็นไปได้อื่น ๆ จะจำกัดคุณภาพของงานวิจัยโดยรวม แต่ประสิทธิผลของยารักษาโรคจิตในการรักษาผู้ป่วยโรคจิตเภทต่อเนื่องก็มีความชัดเจน ยารักษาโรคจิตมีประสิทธิผลมากกว่ายาหลอกในการป้องกันการกำเริบของโรคเมื่อประเมินผลที่ 7 ถึง 12 เดือน (ผลลัพธ์หลัก; กลุ่มที่ได้รับยา 24% เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก 61%, RCTs 30 เรื่อง, ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน = 4249 คน, RR 0.38, 95% CI 0.32 ถึง 0.45, จำนวนผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาด้วยยานี้หากต้องการให้หายเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน (NNTB) 3, 95% CI 2 ถึง 3; หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับสูง)

การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลก็ลดลงเช่นกัน อย่างไรก็ตามความเสี่ยงพื้นฐานลดลง (กลุ่มที่ได้รับยา 7% เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก 18%, RCTs จำนวน 21 เรื่อง, ผู้เข้าร่วมวิจัย = 3558 คน, RR 0.43, 95% CI 0.32 ถึง 0.57, NNTB 8, 95% CI 6 ถึง 14; หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับสูง) ผู้เข้าร่วมในกลุ่มยาหลอกออกจากการศึกษาก่อนกำหนดมากกว่ากลุ่มยารักษาโรคจิตเนื่องจากหลายสาเหตุ (ประเมินผลในเดือนที่ 7 ถึง เดือนที่ 12: ยา 36% เปรียบเทียบกับยาหลอก 62%, RCTs 24 เรื่อง, ผู้เข้าร่วมวิจัย = 3951 คน, RR 0.56, 95% CI 0.48 ถึง 0.65, NNTB 4, 95% CI 3 ถึง 5; หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับสูง) และเนื่องจากความไม่มีประสิทธิผลของการรักษา (ประเมินในเดือนที่ 7 ถึง เดือนที่ 12: ยา 18% เปรียบเทียบกับยาหลอก 46%, RCTs 24 เรื่อง, ผู้เข้าร่วมวิจัย = 3951 คน, RR 0.37, 95% CI 0.31 ถึง 0.44, NNTB 3, 95% CI 3 ถึง 4)

คุณภาพชีวิตอาจดีขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา (RCTs 7 เรื่อง, ผู้เข้าร่วมวิจัย = 1573 คน, SMD -0.32, 95% CI ถึง -0.57 ถึง -0.07; หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับต่ำ) และผลลัพธ์อาจจะเหมือนกันกับการทำหน้าที่ทางสังคม (RCTs 15 เรื่อง, ผู้เข้าร่วมวิจัย = 3588 คน, SMD -0.43, 95% CI -0.53 ถึง -0.34; หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับปานกลาง)

ภายใต้ข้อมูลที่มีอำนาจจำแนกต่ำ ไม่พบหลักฐานความแตกต่างระหว่างกลุ่มสำหรับผลลัพธ์ 'การเสียชีวิตเนื่องจากการฆ่าตัวตาย' (ยา 0.04% เปรียบเทียบกับยาหลอก 0.1%, RCTs 19 เรื่อง, ผู้เข้าร่วมวิจัย = 4634 คน, RR 0.60, 95% CI 0.12 ถึง 2.97, หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับต่ำ) และสำหรับจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการจ้างงาน (ประเมินผลในเดือนที่ 9 ถึง เดือนที่ 15, ยา 39% เทียบกับยาหลอก 34%, RCTs 3 เรื่อง, ผู้เข้าร่วมวิจัย = 593 คน, RR 1.08, 95% CI 0.82 ถึง 1.41, หลักฐานความมีความเชื่อมั่นในระดับต่ำ)

ยารักษาโรคจิต (วิเคราะห์เป็นกลุ่มและโดยไม่คำนึงถึงระยะเวลา) มีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวนมากที่มีความผิดปกติของการเคลื่อนไหว (เช่นความผิดปกติของการเคลื่อนไหวอย่างน้อยหนึ่งอย่าง: ยา 14% เทียบกับยาหลอก 8%, RCTs 29 เรื่อง, ผู้เข้าร่วมวิจัย = 5276 คน, RR 1.52, 95% CI 1.25 ถึง 1.85, จำนวนผู้ป่วยจะเกิดอันตรายเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน หากได้รับการรักษาด้วยยานี้ (NNTH) 20, 95% CI 14 ถึง 50), ยาระงับประสาท (ยา 8% เทียบกับยาหลอก 5%, RCTs จำนวน 18 เรื่อง, ผู้เข้าร่วมวิจัย = 4078 คน, RR 1.52, 95% CI 1.24 ถึง 1.86, NNTH 50, 95% CI ไม่มีนัยสำคัญ) และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น (ยา 9% เทียบกับยาหลอก 6%, RCTs 19 เรื่อง, ผู้เข้าร่วมวิจัย = 4767 คน, RR 1.69, 95% CI 1.21 ถึง 2.35, NNTH 25, 95% CI 20 ถึง 50)

บันทึกการแปล: 

ผู้แปล สมพร รุ่งเรืองกลกิจ ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 13 พฤษภาคม 2021

Tools
Information