วิธีการสำหรับแนวทางการรักษาโรค รอยฝ่าขาวที่เยื่อเมือกในปาก เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งช่องปาก

คำถามการทบทวนวรรณกรรม

คนที่เป็นโรคลิวโคเพลเกียในช่องปากมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคมะเร็งในช่องปากสูงกว่าคนปกติ การทบทวนนี้จัดทำผ่านทาง Cochrane Oral Health เพื่อประเมินว่าคนที่ได้รับผลกระทบจากการเป็นลิวโคเพลเกีย สามารถที่จะได้ประโยชน์จากการผ่าตัด การรักษาทางการแพทย์ การรักษาทางเลือก ทั้งในเฉพาะตำแหน่ง หรือทั้งระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราดำเนินการทบทวนวรรณกรรม นี้เพื่อหาว่าการรักษาแบบใดที่สามารถป้องกันผู้ที่เป็นลิวโคเพลเกียกลายเป็นมะเร็งในช่องปากได้ การทบทวนวรรณกรรมนี้เป็นการปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2006

ความเป็นมา

ลิวโคเพลเกียในช่องปากเป็นแผ่นสีขาวที่เกิดขึ้นในเยื่อบุปากซึ่งไม่สามารถถูออกได้ ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บและอาจไม่ทันสังเกตเห็นเป็นเวลาหลายปี ผู้ที่เป็นลิวโคเพลเกียจะพัฒนาเป็นมะเร็งในช่องปากมากกว่าผู้ที่ไม่มีลิวโคเพลเกีย สำหรับการป้องกันโรคนี้ถือเป็นจุดวิกฤต เนื่องจากอัตราการรอดชีวิตจากโรคมะเร็งในช่องปากเกินกว่า 5 ปีหลังการวินิจฉัยอยู่ในระดับต่ำ มีการพยายามใช้ยา การผ่าตัด และการรักษาอื่นๆ เพื่อรักษาลิวโคเพลเกียในช่องปาก

วัตถุประสงค์

การทบทวนวรรณกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินว่าการรักษาลิวโคเพลเกียในช่องปากมีประสิทธิผลในการป้องกันมะเร็งในช่องปาก และปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับของผู้ป่วย

ลักษณะการศึกษา

หลักฐานที่ใช้ในการทบทวนวรรณกรรมอัพเดตข้อมูลล่าสุด ณ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2016 เราพบการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCTs) ทางการรักษาทางการแพทย์และการรักษาเสริมจำนวน 14 ฉบับ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 909 คน การรักษารวมถึงสารสกัดจากสมุนไพร ยาแก้อักเสบ วิตามินเอ อาหารเสริมเบต้าแคโรทีน และอื่นๆ การผ่าตัดรักษาไม่ได้รับการเปรียบเทียบกับการรักษาหลอกหรือการไม่ได้รับการรักษาใน RCT

ผลการศึกษาที่สำคัญ

การพัฒนาของมะเร็งวัดจากการศึกษาการรักษา 3 วิธี ได้แก่ วิตามินเอแบบทั่งระบบ เบต้าแคโรทีนทั้งระบบ และบลีโอมัยซินเฉพาะส่วน การรักษาเหล่านี้ไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันการพัฒนาของมะเร็ง โดยได้ทำการวัดนานถึงสองปีสำหรับวิตามินเอและเบต้าแคโรทีน และเจ็ดปีสำหรับบลีโอมัยซิน

บางการศึกษาของวิตามินเอและเบต้าแคโรทีนชี้ให้เห็นว่าการรักษาเหล่านี้อาจมีประสิทธิภาพในรักษารอยโรคในช่องปากให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม บางการศึกษาสังเกตพบอัตราการกลับเป็นซ้ำสูงในผู้เข้าร่วมที่รับการรักษาครั้งแรก

การรักษาส่วนใหญ่มีอัตราสูงที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงและแตกต่างกัน

ดูเหมือนว่าผู้เข้ารวมจะยอมรับการรักษามากกว่าอยู่ในกลุ่มควบคุมเนื่องจากอัตราการตกออกพอๆกัน

คุณภาพของหลักฐาน

หลักฐานที่สามารถใช้ศึกษาได้มีอยู่อย่างจำกัดมาก สิ่งแทรกแซงส่วนใหญ่ได้ศึกษาในกลุ่มศึกษาขนาดเล็ก การศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการ ทำให้ผลลัพธ์ไม่น่าเชื่อถือ เราตัดสินให้หลักฐานยืนยันผลลัพธ์ของการพัฒนามะเร็งมีคุณภาพในระดับต่ำมาก

ผลสรุปจากผู้ประพันธ์

จำเป็นต้องมีการศึกษาที่ใหญ่กว่าและดีกว่าใช้ระยะเวลาที่นานกว่า เช่นเดียวกันกับการศึกษาต่อจากนี้ในเรื่องของการรักษาด้วยยา และการรักษาทางเลือก เช่น วิตามินแล้ว จำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการผ่าตัด และการหยุดพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

การผ่าตัดสำหรับลิวโคเพลเกียในช่องปากไม่ได้รับการตรวจสอบในรูปแบบการวิจับแบบ RCT ซึ่งนั้นรวมไปถึงการเปรียบเทียบระหว่างการไม่ได้รับการรักษาหรือการรักษาหลอก และไม่มีการประเมินปัจจัยเสี่ยงอื่นเช่นการสูบบุหรี่ หลักฐานที่มีอยู่ทางการแพทย์และสิ่งแทรกแซงสำหรับการรักษาลิงโคเพลเกียนั้นมีข้อจำกัดอย่างมาก ปัจจุบันเรายังไม่หลักฐานยืนยันว่าการรักษาใดสามารถป้องกันการพัฒนาของมะเร็งช่องปากได้ การรักษาด้วย วิตามินเอและเบต้าแคโรทีนอาจมีประสิทธิภาพในการรักษารอยแผลในช่องปาก แต่การกลับมาเป็นซ้ำและผลข้างเคียงก็พบได้ทั่วไป จำเป็นต้องมีการทดลองที่ใหญ่ขึ้นและมีเวลานานขึ้นอย่างเหมาะสม เพื่อประเมินผลของการรักษาลิวโคเพลเกียต่อความเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นมะเร็งในช่องปาก โดยเฉพาะการวิจัยที่มีคุณภาพสูงจำเป็นอย่างยิ่งในการประเมินผลการผ่าตัดการรักษาและประเมินผลกระทบของการหยุดปัจจัยเสี่ยงในผู้ที่เป็นลิวโคเพลเกีย

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

รอยฝ่าขาวที่เยื่อเมือกในช่องปากป็นรอยแผลทั่วไปในช่องปากที่พบได้น้อยซึ่งมันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนมะเร็งช่องปาก ส่วนใหญ่รอยฝ่าขาวที่เยื่อเมือกในช่องปากจะไม่แสดงอาการ ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักของการรักษาจึงควรเป็นการป้องกันการเกิดมะเร็งตั้งแต่อาการเริ่มต้น การทบทวนวรรณกรรมนี้เป็นการปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมก่อนหน้าที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2006

วัตถุประสงค์: 

การประเมินประสิทธิผล ความปลอดภัย และการที่จะยอมรับได้ของการรักษาโรครอยฝ่าขาวที่เยื่อเมือกในการป้องกันมะเร็งช่องปาก

วิธีการสืบค้น: 

เราสืบค้นในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังต่อไปนี้: ฐานข้อมูล Cochrane Oral Health’s Trials Register (ถึง 16 พฤษภาคม 2016), Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL) (Cochrane Library, 2016, ฉบับที่ 4), MEDLINE Ovid (1946 ถึง 16 พฤษภาคม 2016), Embase Ovid (1980 ถึง 16 พฤษภาคม 2016) และ CancerLit via PubMed (1950 ถึง 16 พฤษภาคม 2016) เราค้นหา metaRegister ของ Controlled Trials (ถึง 10 กุมภาพันธ์ 2015), ClinicalTrials.gov (ถึง 16 พฤษภาคม 2016) และ the World Health Organisation (WHO) International Clinical Trials Registry Platform สำหรับการทดลองที่กำลังดำเนินอยู่ (ถึง 16 พฤษภาคม 2016) เมื่อค้นหาฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เราไม่ได้มีข้อจำกัดของภาษาหรือวันที่ตีพิมพ์

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เรารวบรวมการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCTs) ของกลุ่มผู้ป่วยที่มีผลการวินิจฉัยว่าเป็นโรครอยฝาขาวที่เยื่อเมือกในช่องปาก และเปรียบเทียบกับได้รับการรักษา กับการรักษาหลอกหรือไม่ได้รับการรักษา

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

เรารวบรวมข้อมูลโดยใช้รูปแบบการดึงเอาข้อมูล พัฒนาการของมะเร็งในช่องปากถูกแสดงโดยการตรวจทางจุลพยาธิวิทยาและนั้นคือผลลัพธ์หลักของเรา ผลลัพธ์รอง ได้แก่ การหายของรอยโรคทางคลินิก การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีของลักษณะทางเนื้อเยื่อวิทยา และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เราติดต่อผู้เขียนการวิจัยเพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมถ้าข้อมูลไม่ชัดเจน เมื่อมีข้อมูลที่ถูกต้องและมีความเกี่ยวข้องแล้ว เราได้ดำเนินการวิเคราะห์เมตต้าของข้อมูลโดยใช้แบบจำลองผลกระทบคงที่ (fixed-effect model) เมื่อเราพบการศึกษาน้อยกว่า 4 ฉบับที่ไม่แตกต่างกัน สำหรับผลลัพธ์แบบสองตัวเลือก (binary) เราคำนวณ risk ratio (RRs) และช่วงความเชื่อมั่น 95% (CI) เราประเมินความเสี่ยงของการเกิดอคติในการศึกษาโดยการใช้เครื่องมือของ Cochrane เราประเมินคุณภาพในภาพรวมของหลักฐานที่ปรากฏโดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน (กลุ่มการทำงาน เกณฑ์ที่แนะนำ การประเมิน การพัฒนาและประเมินผล (GRADE))

ผลการวิจัย: 

เรารวบรวมการศึกษา 14 ฉบับ (ผู้เข้าร่วม 909 คน) ในการทบทวนวรรณกรรมนี้ ยังไม่เคยมีการศึกษาการเกี่ยวกับการผ่าตัด ทั้งในแบบการรักษาด้วยเลเซอร์และการรักษาด้วยความเย็นจัดที่เป็นในลักษณะของการทดลองแบบ RCT ที่มีกลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษาหรือกลุ่มที่ได้รับยาหลอก การทดลองที่รวบรวมมาได้ทดสอบการรักษาทางการแพทย์และการรักษาเสริมต่างๆ โดยเฉพาะวิตามินเอและเรตินอยด์ (การศึกษา 4 ฉบับ) เบต้าแคโรทีนหรือแคโรทีนอยด์ (การศึกษา 3 ฉบับ); ยาแก้การอักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) โดยเฉพาะ ketorolac และ celecoxib (การศึกษา 2 ฉบับ); สารสกัดจากสมุนไพร (การศึกษา 4 ฉบับ) รวมทั้งส่วนประกอบของชา ส่วนผสมผสานของสมุนไพรจีน และเจลราสเบอร์รี่แบบแห้งและแช่แข็งสีดำ เบโลมัยซิน (1 การศึกษา); และสารยับยั้ง Bowman-Birk (1 การศึกษา)

เราจัดกลุ่มของการศึกษา 1 ฉบับ มีความเสี่ยงต่อการเกิดอคติต่ำ การศึกษา 7 ฉบับ มีความเสี่ยงไม่ชัดเจน และการศึกษา 6 ฉบับ มีความเสี่ยงสูง โดยทั่วไป เราจัดกลุ่มคุณภาพของหลักฐานที่ปรากฏทั้งหมดคือต่ำหรือต่ำมาก ดังนั้นผลการศึกษาจึงไม่แน่นอนและจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม

การศึกษา 5 ฉบับ มีการบันทึกอุบัติการณ์ของโรคมะเร็ง โดยมีเพียง 3 ฉบับ เท่านั้นที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้ ไม่มีการศึกษาใดที่แสดงให้เห็นว่าการรักษาใดสามารถลดความเสี่ยงของมะเร็งในช่องปากได้มากกว่าการรักษาหลอก: วิตามินเอ (RR 0.11, 95% CI 0.01 ถึง 2.05; ผู้เข้าร่วม 85 คน, การศึกษา 1 ฉบับ); เบต้าแคโรทีน (RR 0.71, 95% CI 0.24 ถึง 2.09; ผู้เข้าร่วม 132 คน, การศึกษา 2 ฉบับ); และ ยาเฉพาะที่ Bleomycin (RR 3.00, 95% CI 0.32 ถึง 27.83; ผู้เข้าร่วม 20 คน, การศึกษา 1 ฉบับ) การติดตามผลอยู่ระหว่าง 2 ถึง 7 ปี

บางการศึกษาแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของการรักษาบางส่วน ได้แก่ วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน และไลโคปีน สำหรับการรักษารอยแผลทางคลินิกที่สำเร็จมากกว่ายาหลอก ในทำนองเดียวกัน การศึกษาแบบเดี่ยวพบว่ากรดเรติโนอิกและไลโคปีนอาจจะให้ผลบางอย่างที่เป็นประโยชน์ในแง่พัฒนาการของลักษณะทางเนื้อเยื่อวิทยา บางการศึกษารายงานผลว่ามีอัตราการกลับมาเป็นซ้ำที่สูง

บ่อยครั้งมีการอธิบายผลข้างเคียงที่รุนแรงหลากหลายแบบ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าการรักษาจะได้รับการยอมรับอย่างดีจากผู้เข้าร่วม เนื่องจากอัตราการตกออกระหว่างกลุ่มการรักษาและกลุ่มควบคุมมีความคล้ายคลึงกัน

บันทึกการแปล: 

แปลโดย ฎลกร จำปาหวาย

Tools
Information