การทำความสะอาดมือด้วยเถ้าจะหยุดหรือลดการแพร่กระจายของการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียเมื่อเทียบกับสบู่หรือของอย่างอื่นหรือไม่

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

โรคติดเชื้อบางชนิดแพร่กระจายโดยละอองในอากาศจากการไอและจาม ซึ่งทำให้คนที่สัมผัสกับผิวหนังหรือพื้นผิวที่ปนเปื้อนติดเชื้อได้ การล้างมือด้วยสบู่และน้ำอาจป้องกันโรคไม่ให้แพร่กระจาย ผู้ที่ไม่มีสบู่อาจการทำความสะอาดมือโดยใช้ของอื่น ๆ เช่น เถ้า, โคลน, ดินแห้งหรือดินเปียก หรือน้ำเพียงอย่างเดียว การทำความสะอาดมือด้วยเถ้า (เศษของแข็งจากเตาหุงต้มและไฟ) อาจโดยการถูหรือกำจัดไวรัสหรือแบคทีเรีย อย่างไรก็ตาม สารเคมีในเถ้าสามารถทำลายผิวหนังได้เช่นกัน

หากเถ้ามีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดมือ สามารถลดการแพร่กระจายของ coronavirus (COVID-19) และโรคติดเชื้ออื่น ๆ ในท้องถิ่นที่รายได้ตไม่สามารถใช้สบู่ได้

เราต้องการค้นหาอะไร

เราต้องการทราบว่าคนที่ใช้เถ้าในการทำความสะอาดมือ มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคติดเชื้อมากกว่าหรือน้อยกว่าคนที่ใช้สบู่, โคลนหรือดิน หรือคนที่ไม่ทำความสะอาดมือ นอกจากนี้ เรายังต้องการทราบว่าการใช้เถ้าก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เจ็บมือหรือมีผื่น

วิธีการ

เรามองหาการศึกษาที่ตรวจสอบการทำความสะอาดมือด้วยเถ้าเปรียบเทียบกับสบู่, โคลน, ดิน, น้ำอย่างเดียวหรือไม่มีการทำความสะอาดมือ เพื่อตอบคำถามของเรา อาจศึกษาในเด็กและผู้ใหญ่และเกิดขึ้นได้ทุกที่

COVID-19 กำลังแพร่กระจายอย่างรวดเร็วดังนั้นเราจำเป็นต้องตอบคำถามนี้ให้เร็วที่สุด นี่หมายความว่าเราได้ลดขั้นตอนบางอย่างของกระบวนการรีวิว Cochrane ปกติ เราไม่สามารถค้นหาบทความฉบับเต็มของการศึกษาที่อาจเกี่ยวข้อง 5 เรื่อง หรือติดต่อผู้เขียนการศึกษาเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม แม้ว่าเราจะค้นหาฐานข้อมูลหลายแห่งเราอาจพลาดการศึกษาบางเรื่อง เราวางแผนที่จะรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไว้ในการทบทวนวรรณกรรมในอนาคต

ผลการศึกษา

เรารวบรวมการศึกษา 14 เรื่อง ที่ประเมินการใช้เถ้าในการทำความสะอาดมือ มีเพียงการศึกษาขนาดเล็กเพียงเรื่องเดียวที่เปรียบเทียบโดยศึกษาแบบสุ่มเในการใช้เถ้าหรือสบู่หรือของอย่างอื่น (การศึกษาแบบสุ่มให้หลักฐานได้ดีที่สุด) ผู้เข้าร่วมเป็นคนทุกวัยและส่วนใหญ่อยู่ในชุมชนชนบทที่มีรายได้น้อย การศึกษา 6 เรื่อง ให้ข้อมูลเพื่อช่วยตอบคำถามของเรา

การศึกษา 1 เรื่อง ตรวจสอบเด็กที่เคยไปโรงพยาบาลด้วยอาการท้องร่วงเปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่เคยไป ผู้เขียนดูสถานที่ล้างมือในบ้านของเด็ก ๆ เพื่อดูว่าพวกเขาทำความสะอาดมือได้อย่างไร พบว่าเด็กในครอบครัวที่ใช้เถ้าในการทำความสะอาดมือไปโรงพยาบาลด้วยอาการท้องร่วงเหมือนกับเด็กในครอบครัวที่ใช้สบู่

การศึกษาอื่นตรวจสอบว่าสตรีที่มีอาการคันช่องคลอดผิดปกติหรือมีตกขาว มีแนวโน้มที่จะทำความสะอาดมือด้วยเถ้ามากกว่าสตรีที่ไม่เคยมีอาการดังกล่าว พวกเขาพบว่าสตรีที่ใช้เถ้าและน้ำสำหรับทำความสะอาดมือมีแนวโน้มที่จะมีอาการคันในช่องคลอดหรือตกขาวเหมือนกับสตรีที่ใช้สบู่

การศึกษา 4 เรื่อง วัดแบคทีเรียในมือหลังจากใช้เถ้า, สบู่, น้ำ, โคลนหรือไม่มีการทำความสะอาดมือ เราไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลของเถ้าเปรียบเทียบกับอย่างอื่น ในการทำความสะอาดมือ ต่อแบคทีเรียบนมือ เพราะการศึกษาใช้วิธีการที่ไม่น่าเชื่อถือและผลไม่ชัดเจน

ไม่มีการศึกษาใดที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลข้างเคียง ความรุนแรงของโรคติดเชื้อ การเสียชีวิต ไม่ว่าจะใช้เถ้าหรืออย่างอื่นในการทำความสะอาดด้วยมือ

ความน่าเชื่อถือของหลักฐาน

เรามีความมั่นใจในหลักฐานจำกัด เนื่องจากมีศึกษาน้อย สิ่งที่เราค้นพบมีวิธีการที่ไม่น่าเชื่อถือและผู้เข้าร่วมมีลักษณะหลากหลาย และไม่มีการศึกษาใดที่เราตรวจพบอย่างน่าเชื่อถือได้ว่าผู้เข้าร่วมติดเชื้อหรือไม่

บทสรุป

เราไม่แน่ใจว่าการทำความสะอาดมือด้วยเถ้า เมื่อเปรียบเทียบกับการทำความสะอาดมือด้วยสบู่, น้ำ, โคลน, ดินหรือไม่ทำความสะอาดมือสามารถหยุดหรือลดการแพร่กระจายของการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย เราไม่รู้ว่าการทำความสะอาดมือด้วยเถ้ามีผลไม่พึงประสงค์หรือไม่

ช่วงเวลาที่สืบค้น

การตรวจสอบนี้รวมหลักฐานที่เผยแพร่จนถึง 26 มีนาคม 2020

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

จากหลักฐานที่มีอยู่ ประโยชน์และอันตรายของการทำความสะอาดมือด้วยเถ้าเปรียบเทียบกับการใช้สบู่หรือสิ่งอื่น ๆ เพื่อลดการแพร่กระจายของการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียยังไม่ชัดเจน

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

การล้างมือเป็นสิ่งสำคัญในการลดการแพร่กระจายและการแพร่ของโรคติดเชื้อ เถ้าที่เหลือจากเตาและไฟเป็นวัสดุที่ใช้สำหรับทำความสะอาดมือ ในพื้นที่ไม่สามารถหาสบู่ได้

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินประโยชน์และอันตรายของการทำความสะอาดมือด้วยเถ้าเปรียบเทียบกับการทำความสะอาดมือด้วยสบู่หรือสิ่งอื่น ๆ เพื่อลดการแพร่กระจายของการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย

วิธีการสืบค้น: 

ในวันที่ 26 มีนาคม 2020 เราได้ค้นหา CENTRAL MEDLINE, Embase, WHO Global Index Medicus และ WHO International Clinical Trials Registry Platform

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เรารวมการศึกษาทุกประเภทในประชากรใด ๆ ที่ตรวจสอบการทำความสะอาดมือด้วยเถ้าเปรียบเทียบกับการทำความสะอาดมือด้วยสิ่งอื่น ๆ

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนสองคนคัดกรองหัวข้อและบทความฉบับเต็มโดยอิสระต่อกัน และผู้ทบทวนคนหนึ่งได้ดึงผลการศึกษา และประเมินความเสี่ยงของอคติซึ่งผู้ทบทวนอีกคนหนึ่งจะตรวจสอบอีกครั้ง เราใช้เครื่องมือ ROBINS-I สำหรับการศึกษาเชิงสังเกตเราใช้ RoB 2.0 สำหรับ interventional studies 3 เรื่อง และเราใช้ GRADE เพื่อประเมินความแน่นอนของหลักฐาน เราวางแผนที่จะสังเคราะห์ข้อมูลด้วย random-effects meta-analyses ผลการศึกษาที่เราได้กำหนดวิธีการวัดไว้ล่วงหน้าคือ การเสียชีวิตโดยรวม จำนวนผู้ติดเชื้อ (ขึ้นอยู่กับการศึกษาแต่ละเรื่อง) ความรุนแรงของการติดเชื้อ, อันตราย (จากรายงานในการศึกษาแต่ละเรื่อง) และ adherence

ผลการวิจัย: 

เรารวมการศึกษา 14 เรื่อง ที่อธิบายไว้ใน 19 รายการมีการออกแบบการศึกษา 8 แบบที่แตกต่างกัน แต่มี randomised trial เพียงเรื่องเดียว การศึกษาส่วนใหญ่ดำเนินการในชนบทในประเทศที่มีรายได้ต่ำและต่ำปานกลาง การศึกษา 6 เรื่อง รายงานผลที่ที่เกี่ยวข้องกับการทบทวนของเรา

การศึกษาแบบ retrospective case-control และการศึกษาแบบ cohort ประเมินอาการท้องร่วงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีและอาการในระบบสืบพันธุ์สตรี มีความไม่แน่นอนมากถึงอัตราของที่เด็กมีอาการท้องเสียระดับปานกลางถึงรุนแรงที่ต้องไปโรงพยาบาลมีความแตกต่างกันระหว่างครอบครัวที่ทำความสะอาดมือโดยใช้เถ้าเปรียบเทียบกับครอบครัวที่ทำความสะอาดมือด้วยสบู่ (RR 0.97, 95% CI 0.84 ถึง 1.11) หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก) ในทำนองเดียวกันก็ไม่แน่ใจว่าอัตราของสตรีที่มีอาการของการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์แตกต่างกันระหว่างสตรีที่ทำความสะอาดมือด้วยเถ้าเทียบกับการทำความสะอาดมือด้วยสบู่ (RR 0.48, 95% CI 0.12 ถึง 1.86; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก) หรือเมื่อเปรียบเทียบกับการล้างมือด้วยน้ำเท่านั้นหรือไม่ล้างมือ (RR 0.50, 95% CI 0.13 ถึง 1.96 หลักฐานความมั่นใจต่ำมาก)

การศึกษา 4 เรื่อง รายงานเกี่ยวกับจำนวนแบคทีเรียหลังจากล้างมือ เราให้คะแนนการศึกษาทั้งสี่ว่าความเสี่ยงสูงต่อการมีอคติและเราไม่ได้สังเคราะห์ข้อมูลเนื่องจากความหลากหลายของระเบียบวิธีวิจัยและการรายงานผลที่ไม่ชัดเจน

บันทึกการแปล: 

แปลโดย เพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2020

Tools
Information