เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกสำหรับภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกี่ยวข้องกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับกลางจากความผิดปกติของสมองส่วนกลาง

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

โรคหัวใจขาดเลือดรวมทั้งหัวใจล้มเหลวเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุดในโลก และอุบัติการณ์ของโรคก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาวะหัวใจล้มเหลวนั้นมีอาการ เช่น ความเหนื่อยล้า และหายใจไม่ออกระหว่างกิจกรรมเบา ๆ เช่นเดียวกับการหายใจที่ผิดปกติระหว่างหลับ ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังมีสัดส่วนของการหายใจผิดปกติรวมถึงภาวะหยุดหายใจขณะหลับกลางจากความผิดปกติของสมองส่วนกลาง (CSA) และการหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการรักษาด้วยการหายใจด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (PAP) สำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอาการ CSA

วิธีการ

เราค้นหา randomised controlled trials (RCTs) (ประเภทของการศึกษาที่ผู้เข้าร่วมได้รับการแทรกแซงหนึ่งในสองกลุ่มการรักษาหรือมากกว่าโดยวิธีการสุ่ม) ที่เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการบำบัดด้วย PAP กับการดูแลตามปกติในผู้มีภาวะหัวใจล้มเหลว ที่มีภาวะ CSA การใช้ PAP ประกอบด้วยการใช้ PAP อย่างต่อเนื่องและ adaptive servo-ventilation และการดูแลตามแผนการรักษาปกติ หลักฐานเป็นปัจจุบันถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2019

ผลการศึกษา

เรารวม RCT ทั้งหมด 16 เรื่อง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 2125 คน ผลของการรักษาด้วย PAP ต่อการตายทุกสาเหตมีความไม่แน่ชัด นอกจากนี้การรักษาด้วย PAP ไม่ได้ช่วยลดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ, ทุกสาเหตุที่กลับเข้ารักษาในโรงพยาบาล และกลับเข้ารักษาในโรงพยาบาลจากหัวใจวายเปรียบเทียบกับการดูแลตามปกติ อย่างไรก็ตามการรักษาด้วย PAP แสดงให้เห็นว่าคะแนนคุณภาพชีวิตดีขึ้น การเสียชีวิตจากปอดบวม (N = 1, 3% ของกลุ่ม PAP); ภาวะหัวใจหยุดเต้น (N = 18, 3% ของกลุ่ม PAP); การปลูกถ่ายหัวใจ (N = 8, 1% ของกลุ่ม PAP); หัวใจแย่ลง (N = 3, 9% ของกลุ่ม PAP); หลอดเลือดดำมีลิ่มเลือดอุดตัน/ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (N = 1, 3% ของกลุ่ม PAP); และแผลที่เท้า (N = 1, 3% ของกลุ่ม PAP) กลุ่มการรักษาด้วย PAP ในขณะที่หัวใจหยุดเต้น (N = 16, 2% ของกลุ่มการดูแลตามปกติ); การปลูกถ่ายหัวใจ (N = 12, 2% ของกลุ่มการดูแลตามปกติ); หัวใจแย่ลง (N = 5, 14% ของกลุ่มการดูแลตามปกติ); และแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (N = 1, 3% ของกลุ่มการดูแลปกติ) เกิดขึ้นในกลุ่มการดูแลตามปกติในการศึกษา 3 เรื่อง

คุณภาพของหลักฐาน

เราประเมินคุณภาพของหลักฐานสำหรับผลการศึกษารวมถึงการกลับเข้ารักษาในโรงพยาบาลจากอาการเกี่ยวกับโรคหัวใจว่ามีคุณภาพต่ำหรือต่ำมาก เนื่องจากการศึกษามีความแปรปรวนสูง (ความหลากหลาย) ช่วงเชื่อมั่นกว้าง การสร้างลำดับสุ่ม และมีการอธิบายไม่ได้ชัดเจนเกี่ยวกับการปกปิดผู้เข้าร่วมเข้ากลุ่มและบุคลากร

บทสรุป

ผลของการรักษาด้วย PAP ต่อการตายทุกสาเหตุไม่ชัดเจน นอกจากนี้ แม้ว่าการรักษาด้วย PAP ไม่ได้ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและการกลับเข้ารักษาในโรงพยาบาล แต่ก็มีข้อบ่งชี้ว่าคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจวายด้วย CSA ดีขึ้น นอกจากนี้ หลักฐานไม่เพียงพอที่จะตรวจสอบว่าเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดในกลุ่ม PAP มากกว่ากลุ่มดูแลตามปกติ การค้นพบเหล่านี้มีจำกัดจากหลักฐานคุณภาพต่ำหรือต่ำมาก การรักษาด้วย PAP อาจคุ้มค่าสำหรับเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

ผลของการรักษาด้วย PAP ต่อการตายทุกสาเหตุไม่ชัดเจน นอกจากนี้ แม้เราพบว่าการรักษาด้วย PAP ไม่สามารถลดความเสี่ยงของการตายจากโรคหัวใจและการกลับเข้ารักษาในโรงพยาบาล แต่มีข้อบ่งชี้ว่าคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหัวใจวายที่มีภาวะ CSA ดีขึ้น นอกจากนี้ หลักฐานไม่เพียงพอที่จะตรวจสอบว่าเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดในกลุ่ม PAP มากกว่ากลุ่มดูแลตามปกติ การค้นพบเหล่านี้มีจำกัดจากหลักฐานคุณภาพต่ำหรือต่ำมาก การรักษาด้วย PAP อาจคุ้มค่าสำหรับเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

โรคหัวใจขาดเลือดรวมทั้งหัวใจล้มเหลวเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุดในโลก และอุบัติการณ์ของโรคก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาวะหัวใจล้มเหลวนั้นมีอาการ เช่น ความเหนื่อยล้า และหายใจไม่ออกระหว่างกิจกรรมเบา ๆ เช่นเดียวกับการหายใจที่ผิดปกติระหว่างหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้มีภาวะหัวใจวายเรื้อรังมีสัดส่วนของการหายใจผิดปกติขณะหลับ (SDB) ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากความผิดปกติของสมองส่วนกลาง (CSA) และการหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น (OSA) การวิเคราะห์เมตต้าก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นว่าการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (PAP) เพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่มี CSA อย่างมากและอาจนำไปสู่การปรับปรุงการพยากรณ์โรคของผู้ป่วยเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม การทดลองเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่าการใช้เครื่องแบบ adaptive servo-ventilation (ASV) รวมถึงการใช้ PAP มีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุและอัตราการตายของหัวใจและหลอดเลือด จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะหเมตต้าที่รวมการทดลองเมื่อไม่นานมานี้ด้วย

วัตถุประสงค์: 

การประเมินผลการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (PAP) กับผู้มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่มี CSA

วิธีการสืบค้น: 

เราค้นหาจาก Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL) Cochrane Library, MEDLINE, Embase, และ Web of Science Core Collectio เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2019 โดยไม่มีข้อจำกัดด้านวันที่, ภาษาหรือสถานะการตีพิมพ์ นอกจากนี้ เรายังค้นหาในทะเบียนการทดลองทางคลินิก 2 แหล่ง ในเดือนกรกฎาคม 2019 และตรวจสอบจากเอกสารอ้างอิงของการศึกษา

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เราไม่รวมการทดลองแบบ cross-over และรวมการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม รายงานเป็นแบบฉบับเต็ม การเผยแพร่เฉพาะบทคัดย่อและข้อมูลที่ไม่ถูกเผยแพร่

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนวรรณกรรม 2 คนดึงข้อมูลจากการศึกษาอย่างอิสระต่อกัน เราตรวจสอบอีกครั้งว่าข้อมูลได้นำเข้าอย่างถูกต้อง โดยการเปรียบเทียบข้อมูลที่นำเสนอในการทบทวนอย่างเป็นระบบกับรายงานการศึกษา เราวิเคราะห์ข้อมูลแบบกลุ่มด้วยค่า risk ratios (RRs) กับช่วงเชื่อมั่น 95% (CIs) และข้อมูลต่อเนื่องด้วย mean difference (MD) หรือ standardised mean difference (SMD) ร่วมกับ 95% CIs นอกจากนี้ เราทำการวิเคราะห์กลุ่มย่อยในกลุ่ม ASV หรือกลุ่ม PAP ต่อเนื่องแยกกัน เราใช้ซอฟต์แวร์ GRADEpro GDT เพื่อประเมินคุณภาพของหลักฐานที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์เมตต้า สำหรับผลการศึกษาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

ผลการวิจัย: 

เรารวบรวมการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม 16 เรื่อง ซึ่งมีผู้ข้าร่วม 2125 คน การทดลองประเมินการรักษาด้วย PAP ประกอบด้วยแบบ ASV หรือ PAP แบบต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ถึง 31 เดือน การทดลองหลายเรื่องรวมผู้เข้าร่วมที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวชนิดการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายลดลง มีเพียงการทดลองเรื่องเดียวที่ผู้เข้าร่วมมีภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดร่วมกับการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายปกติ

เราไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลการรักษาด้วย PAP ต่อการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ (RR 0.81, 95% CI 0.54 ถึง 1.21; ผู้เข้าร่วม 1804 คน; การศึกษา 6 เรื่อง; I2= 47% หลักฐานคุณภาพต่ำมาก) เราพบหลักฐานคุณภาพปานกลางว่าไม่มีความแตกต่างของการเสียชีวิตจากสาเหตุที่สัมพันธ์กับโรคหัวใจระหว่างการรักษาด้วย PAP กับการดูแลตามปกติุ (RR 0.97, 95% CI 0.77 ถึง 1.24; ผู้เข้าร่วม = 1775; การศึกษา = 5; I2= 11%) เราพบหลักฐานความมั่นใจต่ำว่าไม่มีความแตกต่างของการกลับเข้ารักษาในโรงพยาบาลในทุกสาเหตุระหว่างการรักษาด้วย PAP และการดูแลตามปกติ (RR 0.95, 95% CI 0.70 ถึง 1.30; ผู้เข้าร่วม 1533 คน; การศึกษา 5 เรื่อง ; I2= 40%) และการกลับเข้ารักษาในโรงพยาบาลจากสาเหตุที่สัมพันธ์กับโรคหัวใจ (RR 0.97, 95% CI 0.70 ถึง 1.35; ผู้เข้าร่วม 1533 คน; การศึกษา 5 เรื่อง ; I2= 40%) ในทางตรงกันข้าม การรักษาด้วย PAP แสดงให้เห็นว่าคุณภาพชีวิตดีขึ้น จากการประเมินตรวจวัดทั้งหมด (SMD −0.32, 95% CI −0.67 ถึง 0.04, ผู้เข้าร่วม 1617 คน; การศึกษา 6 เรื่อง; I2= 76%;หลักฐานคุณภาพต่ำ) และจากการวัดคุณภาพชีวิต Minnesota Living with Heart Failure (MD −0.51, 95% CI −0.78 ถึง −0.24; ผู้เข้าร่วม 1458 คน; การศึกษา 4 เรื่อง; I2 = 0% หลักฐานคุณภาพต่ำ) เปรียบเทียบกับการดูแลตามปกติ การเสียชีวิตจากปอดบวม (N = 1, 3% ของกลุ่ม PAP); ภาวะหัวใจหยุดเต้น (N = 18, 3% ของกลุ่ม PAP); การปลูกถ่ายหัวใจ (N = 8, 1% ของกลุ่ม PAP); หัวใจแย่ลง (N = 3, 9% ของกลุ่ม PAP); หลอดเลือดดำมีลิ่มเลือดอุดตัน/ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (N = 1, 3% ของกลุ่ม PAP); และแผลที่เท้า (N = 1, 3% ของกลุ่ม PAP) กลุ่มการรักษาด้วย PAP ในขณะที่หัวใจหยุดเต้น (N = 16, 2% ของกลุ่มการดูแลตามปกติ); การปลูกถ่ายหัวใจ (N = 12, 2% ของกลุ่มการดูแลตามปกติ); หัวใจแย่ลง (N = 5, 14% ของกลุ่มการดูแลตามปกติ); และแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (N = 1, 3% ของกลุ่มการดูแลปกติ) เกิดขึ้นในกลุ่มการดูแลตามปกติในการศึกษา 3 เรื่อง

บันทึกการแปล: 

แปลโดย เพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2020

Tools
Information