ท่อช่วยหายใจแบบมี cuff เปรียบเทียบกับ ไม่มี cuff สำหรับทารกแรกเกิด

ความเป็นมา: ทารกแรกเกิดแทบไม่ต้องการท่อในหลอดลม; อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้อาจเกิดขึ้นก่อนทำหัตถการหรือเพื่อช่วยในการหายใจ ท่ออาจมีหรือไม่มี cuff ก็ได้ มาตรฐานการดูแลทารกแรกเกิดคือท่อที่ไม่มี cuff ท่อที่มี cuff ถูกนำมาใช้บ่อยขึ้นในทารกโตและเด็ก เพื่อลดการรั่วไหลของก๊าซรอบท่อ ความเสี่ยงของการสำลัก (การหายใจเอาอาหาร น้ำลาย หรือกระเพาะอาหารเข้าไปในทางเดินหายใจหรือปอด) ความจำเป็นในการเปลี่ยนท่อหรือท่อหลุดออกมา

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม: ในการทบทวนวรรณกรรมนี้ เราประเมินหลักฐานว่าสนับสนุนหรือคัดค้านการใช้ cuffed tube ในทารกแรกเกิด

ลักษณะการศึกษา: เรารวบรวมและวิเคราะห์การศึกษาที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อตอบคำถามการทบทวน และพบการศึกษาหนึ่งเรื่องที่มีทารก 76 คน โดย 69 คนมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติสำหรับการทบทวนวรรณกรรมนี้ การทบทวนวรรณกรรมเป็นข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2021

ผลลัพธ์ที่สำคัญ: ไม่มีหลักฐานเพียงพอสำหรับสนับสนุนหรือคัดค้านท่อที่มี cuff เพื่อป้องกันปัญหาทางเดินหายใจ ทารกแรกเกิดที่มี cuffed tube อาจต้องเปลี่ยน tube น้่อยกว่าไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม และเปลี่ยนท่อเพื่อหาขนาดที่ถูกต้องน้อยกว่าทารกที่มี uncuffed tube

ความน่าเชื่อถือของหลักฐาน: เราถือว่าความน่าเชื่อถือของหลักฐานต่ำมาก นี่เป็นเพราะมีทารกเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่อยู่ในการทดลองเดียวและมีความเป็นไปได้ที่จะมีอคติ มี 1 การทดลองที่กำลังดำเนินการ เราจัด 2 การศึกษาเป็น awaiting classification เนื่องจากไม่ได้รายงานข้อมูลผลลัพธ์แยกกันสำหรับทารกแรกเกิดและทารกที่มีอายุมากกว่า

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

หลักฐานสำหรับการเปรียบเทียบ cuffed ETT กับ uncuffed ETTs ในทารกแรกเกิดนั้นจำกัดด้วยทารกจำนวนน้อยใน 1 RCT ที่อาจมีอคติ มีหลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมากสำหรับผลลัพธ์ทั้งหมดของการทบทวนวรรณกรรมนี้ CIs ของการประมาณค่าสำหรับ postextubation stridor กว้าง ไม่มีทารกแรกเกิดมีหลักฐานทางคลินิกสำหรับ subglottic stenosis; อย่างไรก็ตามไม่มีผลการส่องกล้องเพื่อประเมิน

RCTs เพิ่มเติมมีความจำเป็นในการประเมินประโยชน์และอันตรายของ cuffed ETT (inflated and non-inflated) ในประชากรทารกแรกเกิด การศึกษาเหล่านี้ต้องรวมทารกแรกเกิดและดำเนินการทั้งในการใช้ระยะสั้น (ในห้องผ่าตัด) และการใช้ระยะยาว (ในบริบทของโรคปอดเรื้อรัง) ของ cuffed ETT

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

การใส่ท่อช่วยหายใจเป็นขั้นตอนที่ดำเนินการบ่อยในทารกแรกเกิด ซึ่งมีการอธิบายความเสี่ยงไว้เป็นอย่างดี ท่อช่วยหายใจ (ETT) บางท่อมี cuff ที่สามารถเติมลมได้หลังจากใส่ ETT เข้าไปในทางเดินหายใจเพื่อจำกัดการรั่วไหลหรือการสำลัก มีการแสดงการใช้ cuffed ETT ในเด็กโตและผู้ใหญ่เพื่อลดการรั่วไหลของก๊าซรอบๆ ETT, การเปลี่ยน ETT, การเอาท่อออกโดยไม่ได้ตั้งใจ และการให้บุคลากรทางการแพทย์สัมผัสกับก๊าซชาระหว่างการผ่าตัด ด้วยความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับกายวิภาคของทางเดินหายใจของทารกแรกเกิดและการใช้ cuffed ETT อย่างแพร่หลายโดยวิสัญญีแพทย์ การใช้ท่อแบบมี cuff ในทารกแรกเกิดจึงเพิ่มมากขึ้น

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินประโยชน์และอันตรายของ cuffed ETT (แบบเติมลมหรือไม่เติมลม) เปรียบเทียบกับ uncuffed ETT สำหรับการช่วยหายใจในทารกแรกเกิด

วิธีการสืบค้น: 

เราค้นหา CENTRAL, PubMed และ CINAHL เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2021; เรายังค้นหาทะเบียนการทดลองและตรวจสอบรายการอ้างอิงเพื่อหาการศึกษาเพิ่มเติม

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เรารวมการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ (RCTs) quasi-RCTs และ cluster-randomized trials ที่เปรียบเทียบ cuffed ETT (แบบเติมลมและไม่เติมลม) กับ uncuffed ETT ในทารกแรกเกิด เราพยายามเปรียบเทียบ 1. cuffed ETT ทีเติม่ลม กับ uncuffed ETT; 2. cuffed ETT แบบไม่เติมลมกับ uncuffed ETT และ 3. cuffed ETT แบบเติมลมกับ cuffed ETT ที่ไม่เติมลม

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

เราใช้วิธีการมาตรฐานของ Cochrane Neonatal ผู้ทบทวนวรรณกรรมสองคนประเมินการศึกษาที่ได้จากการค้นหาเพื่อรวมเข้า คัดลอกข้อมูล และประเมินความเสี่ยงของอคติโดยอิสระ เราใช้แนวทาง GRADE เพื่อประเมินความเชื่อมั่นของหลักฐาน

ผลการวิจัย: 

เราพบ 1 RCT ที่เข้าเกณฑ์รวมเข้า ซึ่งเปรียบเทียบการใช้ cuffed ETT (เติมลมถ้ารั่วมากกว่า 20% ด้วยแรงกดที cuff 20 ซม. H 2 O หรือน้อยกว่า) กับ uncuffed ETT ผู้วิจัยจัดทำแผ่นตารางข้อมูล ในทารก 76 คนในบทความต้นฉบับ มี 69 คนผ่านเกณฑ์การรวมและการยกเว้นสำหรับ Cochrane Review นี้ เราพบอคติที่เป็นไปได้เนื่องจากขาดการปกปิดและอคติอื่นๆ

เราไม่แน่ใจเกี่ยวกับความถี่ของ postextubation stridor เนื่องจากช่วงความเชื่อมั่น (CI) ของ risk ratio (RR) กว้างมาก (RR 1.36, 95% CI 0.35 ถึง 5.25; risk difference (RD) 0.03, −0.11 ถึง 0.18; 1 การศึกษา ผู้เข้าร่วม 69 คน หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก)

ไม่มีทารกแรกเกิดที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามี subglottic postextubation stenosis; อย่างไรก็ตาม ไม่มีการส่องกล้องเพื่อยืนยันการวินิจฉัยทางคลินิก

เราไม่แน่ใจอย่างมากเกี่ยวกับการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำสำหรับ stridor หรือ subglottic stenosis เนื่องจาก CIs ของ RR กว้างมาก (RR 0.27, 95% CI 0.01 ถึง 6.49; RD −0.03, 95% CI −0.11 ถึง 0.05; 1 การศึกษา, ผู้เข้าร่วม 69 คน; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก)

ไม่มีทารกแรกเกิดที่ได้รับการผ่าตัด (เช่น endoscopic balloon dilation, cricoid split, tracheostomy) สำหรับ stridor หรือ subglottic stenosis (1 การศึกษา ผู้เข้าร่วม 69 คน)

ทารกแรกเกิดที่สุ่มได้ cuffed ETT อาจมีโอกาสน้อยที่จะได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม (RR 0.06, 95% CI 0.01 ถึง 0.45; RD −0.39, 95% CI −0.57 ถึง −0.21; จำนวนที่จำเป็นในการรักษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติม 3 , 95% CI 2 ถึง 5; 1 การศึกษา ผู้เข้าร่วม 69 คน หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก)

เราไม่แน่ใจมากเกี่ยวกับการเอาท่อหายใจออกโดยไม่ได้ตั้งใจเพราะ CIs ของ RR กว้าง (RR 0.82, 95% CI 0.12 ถึง 5.46; RD −0.01, 95% CI −0.12 ถึง 0.10; 1 การศึกษา ผู้เข้าร่วม 69 คน; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก)

เราไม่แน่ใจอย่างมากเกี่ยวกับอัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุในระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาลครั้งแรก เนื่องจาก CIs ของ RR กว้างมาก (RR 2.46, 95% CI 0.10 ถึง 58.39; RD 0.03, 95% CI −0.05 ถึง 0.10; 1 การศึกษา ผู้เข้าร่วม 69 คน; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก)

มี 1 การทดลองที่กำลังดำเนินการ เราจัด 2 การศึกษาเป็น awaiting classification เนื่องจากไม่ได้รายงานข้อมูลผลลัพธ์แยกกันสำหรับทารกแรกเกิดและทารกที่มีอายุมากกว่า

บันทึกการแปล: 

แปลโดย ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4 กุมภาพันธ์ 2022

Tools
Information