การใช้ Granulocyte-colony stimulating factor ในระหว่างการรักษาด้วยเด็กหลอดแก้ว

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

เพื่อประเมินความปลอดภัยและประโยชน์ของการให้ Granulocyte-colony stimulating factor (G-CSF) ในสตรีที่ทำเด็กหลอดแก้ว (vitro fertilisation; IVF)

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

มีการแนะนำว่าในสตรีที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกบางอย่างถาวร (เยื่อบุภายในของมดลูก) หรือที่ประสบความล้มเหลวหลายครั้งในการทำเด็กหลอดแก้ว การให้ G-CSF ในระหว่างการรักษาอาจมีส่วนช่วยผลลัพธ์การรักษาของการทำเด็กหลอดแก้ว G-CSF เป็นปัจจัยการเจริญเติบโตชนิดหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นไขกระดูกในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวบางชนิด ในมดลูก, G-CSF ส่งเสริมการสร้างใหม่ของเซลล์และช่วยในการเพิ่มปริมาณเลือดที่มาเลี้ยง มีการเสนอว่า G-CSF อาจเพิ่มความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้วได้โดยการช่วยปรับปรุงการฝังตัวของตัวอ่อน (ยึดกับเยื่อบุของครรภ์) และมีส่วนช่วยต่อความต่อเนื่องของการตั้งครรภ์ มันสามารถฉีดเข้าไปภายในมดลูก ด้วยการใช้เข็มในเวลาเดียวกันกับการถ่ายโอนตัวอ่อนหรือ ฉีดชั้นใต้ผิวหนังหลังจากการถ่ายโอนตัวอ่อน

ลักษณะของการศึกษา

นักวิจัยพบการทดลอง 15 เรื่อง (สตรี 1253 คน) เปรียบเทียบ G-CSF ด้วยยาหลอกหรือไม่มีการรักษา การทดลองสิบเอ็ดเรื่องประเมินบทบาทของ G-CSF ในสตรีในระหว่างการทำเด็กหลอดแก้วที่ส่วนใหญ่ของการทดลองรวบรวมสตรีที่ย้ายตัวอ่อนล้มเหลวมาอย่างน้อยสองครั้ง การทดลองสี่เรื่องที่เหลือจะตรวจสอบบทบาทของ G-CSF ในสตรีที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกบางที่ทำเด็กหลอดแก้ว หลักฐานเป็นปัจจุบันถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2019

ผลการศึกษาที่สำคัญ

นักวิจัยมีความไม่แน่ใจว่าการให้ G-CSF ในสตรีในระหว่างการทำเด็กหลอดแก้วจะช่วยปรับปรุงโอกาสของการตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่องหรืออัตราการตั้งครรภ์โดยรวมหรือลดอัตราการแท้งเมื่อเทียบกับยาหลอกหรือไม่รักษา สำหรับคลินิกทั่วไปที่มีอัตราการตั้งครรภ์ต่อเนื่องที่ 14%, G-CSF จะคาดว่าจะมีอัตราการตั้งครรภ์ที่ต่อเนื่องระหว่าง 12% และ 35% ไม่มีการศึกษาที่รายงานอัตราการตั้งครรภ์แฝด มีเพียงการทดลองสี่เรื่องที่รายงานเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ และไม่มีการรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่สำคัญใดๆ ภายหลัง ทั้งการใช้ G-CSF ยาหลอกหรือไม่มีการรักษา

คุณภาพของหลักฐาน

นักวิจัยมีความไม่แน่ใจว่าการให้ G-CSF ช่วยเพิ่มการตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่องหรือลดอัตราการแท้งในสตรีที่ทำเด็กหลอดแก้วจากหลักฐานที่คุณภาพต่ำมาก คุณภาพของหลักฐานถูกลดเพราะความเสี่ยงของการมีอคติ

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

ในสตรีที่มีภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนที่ทำเด็กหลอดแก้ว นักวิจัยมีความไม่แน่นอนว่าการให้ G-CSF เพิ่มการตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่องหรืออัตราการตั้งครรภ์โดยรวมหรือลดอัตราการแท้งเมื่อเทียบกับการไม่รักษาหรือยาหลอก ไม่ว่าในสตรีทั่วไปหรือสตรีที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกบางตามหลักฐานที่มีคุณภาพต่ำมาก หลักฐานที่มีคุณภาพต่ำแสดงให้เห็นว่าการให้ G-CSF อาจช่วยอัตราการตั้งครรภ์ทางคลินิกในสตรีที่มีความล้มเหลวของการทำเด็กหลอดแก้วมากกว่าสองครั้ง, แต่การศึกษาที่รวบรวมอยู่มีความไม่ชัดเจนในเรื่องของ allocation concealment หรือมีความเสี่ยงสูงของ performance bias

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

Granulocyte-colony stimulating factor (G-CSF) ดูเหมือนว่าจะมีบทบาทสำคัญในกระบวนการการฝังตัวของตัวอ่อนและความต่อเนื่องของการตั้งครรภ์ มันได้ถูกนำมาใช้ในระหว่างการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) สำหรับสตรีที่มีภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อน ที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกบางเรื้อรังและผู้ที่มีความล้มเหลวในการทำ IVF หลายครั้งก่อนหน้านี้ ขณะนี้ยังไม่ทราบว่า G-CSF มีประสิทธิภาพในการปรับปรุงผลลัพธ์ภายหลังการรักษาด้วยเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ (ART)

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ G-CSF ในสตรีที่ทำ ART

วิธีการสืบค้น: 

นักวิจัยทำการสืบค้นใน Cochrane Gynaecology and Fertility Group Specialised Register, CENTRAL CRSO, MEDLINE, Embase, ClinicalTrials.gov และ the World Health Organization International Clinical Trials Registry Platform ในเดือนกุมภาพันธ์ 2019 นักวิจัยทำการสืบค้นรายชื่อเอกสารอ้างอิงของบทความที่เกี่ยวข้องและทำการสืบค้นด้วยมือในหนังสือที่รวบรวมบทความวิจัยที่เกี่ยวข้อง

เกณฑ์การคัดเลือก: 

Randomised controlled trials (RCTs) เปรียบเทียบการให้ G-CSF กับไม่มีการรักษาหรือยาหลอกในสตรีที่มีภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนระหว่างการทำเด็กหลอดแก้ว

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนสองคนเลือกและดึงข้อมูลจากรายงานการศึกษาที่รวบรวมได้อย่างเป็นอิสระต่อกัน ผลลัพธ์หลักคืออัตราการเกิดมีชีพและอัตราการแท้งภายหลังการให้ G-CSF นักวิจัยได้รายงานอัตราการตั้งครรภ์ต่อเนื่องในกรณีที่การศึกษาไม่ได้รายงานการเกิดมีชีพแต่รายงานการตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่อง ผลลัพธ์รองได้แก่ อัตราการตั้งครรภ์ทางคลินิก, อัตราการตั้งครรภ์แฝด, เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์, อัตราการตั้งครรภ์นอกมดลูก, ทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่าอายุครรภ์เมื่อแรกเกิด, รกเกาะแน่นผิดปกติ, และอัตราความพิการแต่กำเนิด นักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัดส่วนความเสี่ยง (RR) Peto odds ratio และ fixed-effect model นักวิจัยได้ประเมินคุณภาพของหลักฐานที่ได้โดยวิธีการของเกรด (GRADE)

ผลการวิจัย: 

นักวิจัยรวมการทดลอง 15 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับ สตรี 622 รายที่ได้รับ G-CSF และสตรี 631 รายที่ได้รับยาหลอกหรือไม่มีการรักษาเพิ่มเติมในระหว่างการทำเด็กหลอดแก้ว ข้อจำกัดหลักในคุณภาพของหลักฐานคือมีการรายงานไม่เพียงพอของวิธีการศึกษาและความเสี่ยงสูงของอคติประสิทธิภาพเนื่องจากการขาดไม่ปกปิด นักวิจัยประเมินเพียงสองจาก 15 การทดลองที่รวบรวมมาว่ามีความเสี่ยงของอคติต่ำ ไม่มีการทดลองรายงานผลลัพธ์หลักเกี่ยวกับประสิทธิภาพของอัตราการเกิดมีชีพ

นักวิจัยมีความไม่แนใจว่าการให้ G-CSF ช่วยเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมใน สตรีที่มีภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนที่ทำเด็กหลอดแก้ว (RR 1.42, 95% confidence interval (CI) 0.83 ถึง 2.42; RCTs 2 เรื่อง; ผู้เข้าร่วม = 263 ราย; I² = 0%; หลักฐานมีคุณภาพต่ำมาก) สำหรับคลินิกทั่วไปที่มีอัตราการตั้งครรภ์ต่อเนื่องที่ 14%, G-CSF จะคาดว่าจะมีอัตราการตั้งครรภ์ที่ต่อเนื่องระหว่าง 12% และ 35% นักวิจัยไม่แน่ใจว่าการให้ G-CSF ลดอัตราการแท้ง (Peto odds ratio 0.55, 95% CI 0.17 ถึง 1.83; RCTs 3 เรื่อง; ผู้เข้าร่วม = 391; I² = 0%; หลักฐานมีคุณภาพต่ำมาก) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมในสตรีที่มีภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนที่ทำเด็กหลอดแก้ว

นักวิจัยมีความไม่แน่นอนว่าให้ G-CSF ปรับปรุงอัตราการตั้งครรภ์โดยรวมเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมใน สตรีที่มีภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนที่ทำเด็กหลอดแก้ว (RR 1.63, 95% CI 1.32 ถึง 2.01; 14 RCTs; ผู้เข้าร่วม = 1253 ราย; I² = 13%; หลักฐานที่มีคุณภาพต่ำมาก) สำหรับคลินิกทั่วไปที่มีอัตราการตั้งครรภ์ทางคลินิก 17%, การให้ G-CSF คาดว่าจะส่งผลให้อัตราการตั้งครรภ์ทางคลินิกระหว่างอยู่ 23% และ 35% ในประชากรกลุ่มที่ทำเด็กหลอดแก้วโดยไม่ได้เลือก, นักวิจัยมีความไม่แน่ใจว่าการให้ G-CSF ช่วยเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ทางคลินิกเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (RR 1.11, 95% CI 0.77 ถึง 1.60; RCTs 3 เรื่อง; ผู้เข้าร่วม = 404 ราย; I² = 0%; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ) การให้ G-CSF อาจปรับปรุงอัตราการตั้งครรภ์ทางคลินิกในสตรีทีล้มเหลวในการทำเด็กหลอดแก้วก่อนหน้านี้เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (RR 2.11, 95% CI 1.56 ถึง 2.85; RCTs 7 เรื่อง; ผู้เข้าร่วม = 643 ราย; I² = 0%; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ) ในสตรีที่มีภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อนที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกบางที่ทำเด็กหลอดแก้ว, นักวิจัยมีความไม่แนใจว่าการให้ G-CSF ช่วยเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ทางคลินิกเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (RR 1.58, 95% CI 0.95 ถึง 2.63; RCTs 4 เรื่อง; ผู้เข้าร่วม = 206 ราย; I² = 30%; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ)

ไม่มีการศึกษาที่รายงานอัตราการตั้งครรภ์แฝด มีเพียงการทดลองสี่เรื่องที่รายงานเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ และไม่มีการรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่สำคัญใดๆ ภายหลัง ทั้งการใช้ G-CSF ยาหลอกหรือไม่มีการรักษา

บันทึกการแปล: 

ผู้แปล นพ. เจน โสธรวิทย์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แปลเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ 2020

Tools
Information