วิธีการที่ใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อสนับสนุนการวางแผนครอบครัว/การคุมกำเนิด

การแปลนี้ไม่ทันสมัย โปรด คลิกที่นี่ เพื่อดูฉบับภาษาอังกฤษล่าสุดของการทบทวนนี้

การคุมกำเนิด - วิธีการหรืออุปกรณ์ที่ใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ - มีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพของสตรีและเด็ก แม้จะมีประโยชน์ แต่สตรีประมาณ 225 ล้านคนในประเทศกำลังพัฒนายังไม่ได้ใช้วิธีคุมกำเนิดที่ทันสมัยในปี 2014 แม้ว่าจะต้องการหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ก็ตาม การใช้โทรศัพท์มือถือในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการขยายตัวอย่างมาก ทำให้มีความสนใจในการดูแลสุขภาพผ่านทางโทรศัพท์มือถือ และมีศักยภาพในการให้การสนับสนุนไม่ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ที่ใดเมื่อใดก็ตามที่มีความจำเป็น และเพื่อเข้าถึงประชากรที่มีการเข้าถึงบริการที่จำกัด วิธีการที่ใช้โทรศัพท์มือถือได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิผลในด้านสุขภาพอื่นๆ แต่ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการคุมกำเนิด

ในปี 2014 เราดำเนินการค้นหาโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อค้นหาการทดลองแบบสุ่ม (randomised trials) ที่ใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อเพิ่มการคุมกำเนิด เราพบการทดลอง 5 เรื่อง การทดลอง 3 เรื่อง ใช้การส่งข้อความเพื่อสนับสนุนให้สตรีใช้วิธีคุมกำเนิดต่อเนื่อง การทดลอง 2 เรื่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความเข้าใจและคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่อง - 1 เรื่องใช้เสียงและอีก 1 เรื่องใช้การส่งข้อความ การทบทวนของเราให้หลักฐานที่จำกัดว่าการใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มการใช้วิธีการคุมกำเนิด การทดลอง 1 เรื่อง ในสหรัฐอเมริกา รายงานว่าสตรีมีแนวโน้มที่จะใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดหลังจากได้รับวิธีการที่เป็นการส่งข้อความในการให้ความรู้ การทดลอง 1 เรื่อง ในกัมพูชารายงานว่ามีการใช้การคุมกำเนิดเพิ่มขึ้นใน 4 เดือนหลังแท้ง จากการได้รับข้อความเสียงและการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ การทดลองอีก 1 เรื่อง ในสหรัฐอเมริการายงานการกลับมารับยาฉีดคุมกำเนิดตามนัดหมายหลังการรับยาฉีดคุมกำเนิดเข็มแรกดีขึ้น หลังจากได้รับวิธีการที่เป็นการส่งข้อความตือนความจำและข้อความเกี่ยวกับจัดการสุขภาพ ข้อความแบบธรรมดาเพื่อแจ้งเตือนให้รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ไม่ช่วยลดจำนวนการไม่รับประทานยาในการทดลองขนาดเล็กในสหรัฐอเมริกา ไม่มีรายงานความแตกต่างในการใช้ยาคุมกำเนิดในผู้ใช้ isotretinoin (ยารักษาสิว) หลังจากได้รับวิธีการที่เป็นการให้ข้อมูลด้านสุขภาพผ่านข้อความและจดหมาย

โดยสรุป หลักฐานบ่งชี้ว่าชุดข้อความเสียงและการให้คำปรึกษาสามารถเพิ่มการคุมกำเนิดในสตรีที่กำลังมองหาบริการทำแท้งซึ่งยังไม่ต้องการตั้งครรภ์อีกในเวลานี้ และจากข้อมูลแนะนำว่าข้อความให้ความรู้รายวันสามารถปรับปรุงการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและประสิทธิผลระยะยาวของวิธีการเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการทดลองที่มีคุณภาพดีขึ้น เพื่อให้ได้วิธีการที่ใช้โทรศัพท์มือถือที่มีประสิทธิผล เพื่อเพิ่มการใช้การคุมกำเนิด

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

การทบทวนของเราให้หลักฐานที่จำกัดว่า การใช้โทรศัพท์มือถือสามารถเพิ่มการคุมกำเนิด ในขณะที่หลักฐานชี้ให้เห็นว่าชุดข้อความเสียงแบบโต้ตอบและการให้คำปรึกษาสามารถปรับปรุงการคุมกำเนิดหลังการแท้งและการผสมผสานข้อความให้ความรู้รายวันแบบมีทิศทางเดียวและแบบโต้ตอบสามารถเพิ่มการปฏิบัติตามในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ยังไม่ทราบถึงประสิทธิผลด้านต้นทุนและผลระยะยาวของวิธีการเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการทดลองที่มีคุณภาพดีขึ้น เพื่อให้ได้ วิธีการที่ใช้โทรศัพท์มือถือที่มีประสิทธิผล เพื่อเพิ่มการใช้การคุมกำเนิด

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

การคุมกำเนิดให้ประโยชน์ที่สำคัญต่อสุขภาพของสตรีและเด็ก แต่มีสตรีประมาณ 225 ล้านคน ยังไม่รับวิธีคุมกำเนิดสมัยใหม่ในปี 2014 วิธีการที่ใช้โทรศัพท์มือถือมีประสิทธิผลในด้านสุขภาพอื่น ๆ แต่ยังไม่ทราบว่ามีประสิทธิผลในการคุมกำเนิด

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อเพิ่มการคุมกำเนิด

วิธีการสืบค้น: 

เราค้นหาการทดลองแบบสุมที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ ( randomised controlled trials (RCTs)) ที่ใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อเพิ่มการคุมกำเนิดเปรียบเทียบกับการดูแลมาตรฐานหรือ วิธีการอื่นๆ เราค้นหาฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL), MEDLINE, EMBASE, Global Health, PsycINFO, POPLINE, Africa-Wide Information and Latin American Caribbean Health Sciences Literature (LILACS) ตั้งแต่มากราคม 1993 ถึงตุลาคม 2014, และจากทะเบียนการทดลองทางคลินิกออนไลน์, mHealth resources และบทคัดย่อจากการประชุมที่สำคัญ

เกณฑ์การคัดเลือก: 

การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบเกี่ยวกับวิธีการที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นหลัก เพื่อเพิ่มการคุมกำเนิดทุกรูปแบบหรือในผู้ที่อาจต้องการคุมกำเนิด การวัดผลลัพธ์ประกอบด้วย การใช้การคุมกำเนิด, การวัดการปฏิบัติตาม, การตั้งครรภ์ และการแท้ง

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ประพันธ์สองคนคัดกรองหัวเรื่องและบทคัดย่อของการศึกษาที่ดึงมาโดยใช้กลยุทธ์การสืบค้น และดึงข้อมูลจากการศึกษาที่นำเข้า เราใช้วิธีคำนวณ Mantel-Haenszel risk ratio (RR) สำหรับตัวแปร dichotomous และ mean difference (MD) สำหรับข้อมูลต่อเนื่องพร้อมกับช่วงเชื่อมั่น 95% (CIs) เราไม่สามารถวิเคราะห์ meta-analysis เนื่องจากมีความแตกต่างในวิธีการ (intervention) ที่ใช้ และการวัดผลการศึกษา

ผลการวิจัย: 

มี RCTs 5 เรื่อง ตรงตามเกณฑ์การคัดเลือก การทดลอง 3 เรื่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติตามวิธีการคุมกำเนิดที่เฉพาะเจาะจงในกลุ่มผู้ใช้การคุมกำเนิดรายเดิมกับผู้ใช้การคุมกำเนิดรายใหม่ๆ โดยเปรียบเทียบวิธีการที่เป็นข้อความอัตโนมัติกับการดูแลมาตรฐาน การทดลอง 2 เรื่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงทั้งการใช้และการปฏิบัติตาม ซึ่งไม่จำกัดเพียงวิธีเดียวทั้งในผู้ใช้และผู้ที่ยังไม่ใช้การคุมกำเนิด ไม่มีการทดลองใดที่มีความเสี่ยงของการมีอคติต่ำในทุกประเด็นที่มีการประเมิน

การทดลอง 1 เรื่องในสหรัฐอเมริการายงานถึงการเพิ่มการใช้ยาเม็ดคุมเนิด (OC) อย่างต่อเนื่อง ที่ 6 เดือน จากการได้รับ ข้อความแบบทิศทางเดียว และการได้รับข้อความลักษณะโต้ตอบ (RR 1.19, 95% CI 1.05 ถึง 1.35) การทดลอง 1 เรื่อง ในกัมพูชารายงานว่ามีการใช้การคุมกำเนิดเพิ่มขึ้นที่ 4 เดือนหลังแท้ง จากการได้รับข้อความเสียงโต้ตอบอัตโนมัติและการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ (RR 1.39, 95% CI 1.17 ถึง 1.66)

การศึกษาความเป็นไปไดเรื่องหนึ่งในสหรัฐอเมริการายงานว่าจำนวนวันเฉลี่ยระหว่างวันนัดกับวันที่มารับ Depo-Provera หลังจากครั้งแรกลดลง จากการได้รับข้อความเตือนกับข้อความแนะนำการดูแลสุขภาพ (mean difference (MD) -8.60 วัน, 95% CI -16.74 ถึง -0.46) ข้อความแบบธรรมดาแจ้งเตือนให้รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ไม่ช่วยลดจำนวนการไม่รับประทานยา จากการประเมินโดยการตรวจติดตามยาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในการทดลองขนาดเล็กในสหรัฐอเมริกา (MD 0.5 missed pills, 95% CI -1.08 ถึง 2.08) ไม่มีผลต่อการใช้การคุมกำเนิดที่รายงานด้วยตนเองในหมู่ผู้ใช้ isotretinoin จากการได้รับข้อมูลด้านสุขภาพผ่านข้อความแบบส่งทางเดียวและจดหมาย (RR 1.26, 95% CI 0.84 ถึง 1.89) การทดลอง 1 เรื่อง ประเมินผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจาก วิธีการที่ใช้และรายงานว่าไม่มีหลักฐานของอุบัติเหตุบนท้องถนนหรือความรุนแรงในครอบครัว

บันทึกการแปล: 

แปลโดย เพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที 3่ กรกฎาคม 2020