การประเมินการเปลี่ยนแปลงของความจำและการทำงานประจำวันของผู้สูงอายุโดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง IQCODE

การปรับปรุงวิธีที่เราประเมินผู้ที่อาจมีภาวะสมองเสื่อมเป็นสิ่งสำคัญด้านสุขภาพและการดูแลสังคม การริเริ่มล่าสุดเพื่อเพิ่มอัตราการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมได้รับความสนใจอย่างมาก ในปัจจุบันเรายังไม่มีแนวทางที่ตกลงกันไว้สำหรับการทดสอบภาวะสมองเสื่อม มีการทดสอบหลายอย่างที่สามารถช่วยให้เราพบคนที่มีปัญหาความจำและการคิด ที่บ่งบอกถึงภาวะสมองเสื่อมได้ แต่ไม่มีข้อตกลงว่าการทดสอบใดดีที่สุด เป็นไปได้ว่าการทดสอบบางอย่างอาจเหมาะสมกับสถานพยาบาลบางแห่งมากกว่าการทดสอบอื่นๆ

การทบทวนวรรณกรรมของเรามีความสนใจในความถูกต้องของการประเมินภาวะสมองเสื่อมตามแบบสอบถามที่เรียกว่า IQCODE (Informant Questionnaire for Cognitive Decline in the Elderly) เราบรรยายว่า IQCODE มีประโยชน์อย่างไรเมื่อใช้ในโรงพยาบาล ภายใต้คำว่า 'โรงพยาบาล' เรารวมถึงคลินิกเฉพาะทางด้านความจำ และหน่วยจิตเวชผู้สูงอายุ รวมถึงคลินิกและหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลทั่วไป และบริการของผู้สูงอายุภายในนั้น

เราสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของการศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ โดยมองหาการศึกษาทั้งหมดของ IQCODE ในสถานพยาบาล เราสืบค้นจากเอกสารฉบับแรกในฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จนถึงเดือนมกราคม 2013

เราพบ 13 การศึกษาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผลลัพธ์ที่เหมาะสมที่จะนำมารวมกันในการวิเคราะห์ครั้งเดียว ในเอกสารเหล่านี้ 6 ฉบับ (ผู้เข้าร่วม 1352 คน) บรรยายถึงการศึกษาที่ดำเนินการในบริการโดย "ผู้เชี่ยวชาญ" เช่น คลินิกความจำหรือหอผู้ป่วย เอกสาร 3 ฉบับ (ผู้เข้าร่วม 566 คน) บรรยายการศึกษาที่ดำเนินการในบริการสำหรับผู้ใหญ่สูงอายุทั่วไป และ 4 การศึกษา (ผู้เข้าร่วม 827 คน) มีทั้งบริการเฉพาะทางและบริการทั่วไป

เมื่อสรุปเอกสารที่มีอยู่ เราพบว่า IQCODE มีประโยชน์สำหรับการ 'การคัดออก' ภาวะสมองเสื่อมที่เป็นไปได้ในสถานพยาบาลทั่วไป ซึ่งหมายความว่าหากบุคคลมีคะแนนการทดสอบ IQCODE ต่ำ พวกเขาอาจไม่มีภาวะสมองเสื่อม IQCODE มีประโยชน์น้อยกว่าในคลินิกเฉพาะทางด้านความจำ และหอผู้ป่วยจิตเวช นอกจากนี้เรายังพบว่า IQCODE เวอร์ชันสั้น ให้ผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกับเวอร์ชันเดิมที่ยาวกว่า

ในการประเมินของเรา เราได้พิจารณาว่าการออกแบบการศึกษาที่มีอยู่นั้นเหมาะสมกับคำถามในการศึกษาหรือไม่ เราพบหลายกรณีที่การออกแบบการศึกษาสามารถปรับปรุงได้ ตัวอย่างเช่น 7 จาก 13 การศึกษาได้คัดเลือกทุกคนที่เข้าร่วมบริการซึ่งสามารถได้รับการประเมินด้วย IQCODE นอกจากนี้เรายังพิจารณาว่านักวิจัยรายงานการดำเนินการและผลการศึกษาได้ดีเพียงใด เช่นกัน มีหลายกรณีที่การรายงานสามารถปรับปรุงได้ ปัญหาทั่วไปคือ ไม่ได้อธิบายถึงความรุนแรงของความจำและปัญหาการคิดในผู้ที่คิดว่ามีภาวะสมองเสื่อม มีการรายงานในเพียง 3 การศึกษาที่รวมไว้

โดยสรุป IQCODE อาจเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการประเมินในผู้ใหญ่ที่อาจมีภาวะสมองเสื่อม ยังมีคำถามที่ยังไม่ได้ตอบจำนวนหนึ่งว่า IQCODE มีประโยชน์อย่างไรในสถานพยาบาล ตัวอย่างเช่น ก่อนที่เราจะเริ่มใช้ IQCODE เป็นประจำ เราต้องอธิบายว่ามันใช้ได้จริงและเป็นที่ยอมรับของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ผู้ป่วย และผู้ดูแลของพวกเขาหรือไม่

การทบทวนวรรณกรรมดำเนินการโดยทีมงานในศูนย์วิจัยในสหราชอาณาจักร (Glasgow, Leicester, Oxford) เราไม่มีเงินทุนภายนอกเฉพาะสำหรับการศึกษานี้ และเราไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนที่อาจส่งผลต่อการประเมินข้อมูลการวิจัยของเรา

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

IQCODE สามารถใช้เพื่อค้นหาผู้สูงอายุในสถานพยาบาลทั่วไปที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมและต้องได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ มีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการคัดผู้ที่ไม่มีหลักฐานว่าสติปัญญาเสื่อมถอยลง ภาษาที่ใช้ไม่ส่งผลต่อความถูกต้องของการทดสอบ ซึ่งสนับสนุนการใช้เครื่องมือข้ามวัฒนธรรม การค้นพบนี้มีเงื่อนไงเรื่อง การมี heterogeneity อย่างมีนัยสำคัญ, ความเป็นไปได้ในการมีอคติ และการรายงานที่ไม่เหมาะสมที่พบในการศึกษาที่รวบรวมไว้

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมขึ้นอยู่กับการเริ่มมีอาการใหม่ของความบกพร่องทางสติปัญญาที่ส่งผลต่อการทำงานและกิจกรรมในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล Informant Questionnaire on Cognitive Decline in the Elderly (IQCODE) เป็นเครื่องมือแบบสอบถามที่กรอกโดย 'ผู้ให้ข้อมูล' ที่เหมาะสมซึ่งรู้จักผู้ป่วยเป็นอย่างดี ออกแบบมาเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงในประสิทธิภาพการทำงานจากการเปลี่ยนแปลงของสติปัญญา ใช้เป็นเครื่องมือในการหาผู้ที่อาจมีภาวะสมองเสื่อม

ในการดูแลระดับทุติยภูมิ มี 2 กรณีที่เฉพาะเจาะจงซึ่งผู้ป่วยอาจได้รับการประเมินว่ามีภาวะสมองเสื่อม สิ่งเหล่านี้อยู่ในโรงพยาบาลฉุกเฉินทั่วไป ซึ่งอาจมีการตรวจคัดกรองแบบบังเอิญ หรือในหน่วยบริการเฉพาะทางด้านความจำ ซึ่งคนได้ถูกส่งต่อมาเนื่องจากมีปัญหาการรับรู้ เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องมือนี้เหมาะสำหรับใช้ในการวินิจฉัยในบริบทเหล่านี้ ต้องทราบความแม่นยำในการทดสอบ

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินความถูกต้องของแบบสอบถาม IQCODE สำหรับการตรวจหาภาวะสมองเสื่อมในสถานพยาบาลระดับทุติยภูมิ

วิธีการสืบค้น: 

เราสืบค้นแหล่งข้อมูลต่อไปนี้ในวันที่ 28 มกราคม 2013: ALOIS (Cochrane Dementia and Cognitive Improvement Group), MEDLINE (Ovid SP), EMBASE (Ovid SP), PsycINFO (Ovid SP), BIOSIS Previews (Thomson Reuters Web of Science), Web of Science Core Collection (รวมถึง Conference Proceedings Citation Index) (Thomson Reuters Web of Science), CINAHL (EBSCOhost) และ LILACS (BIREME) นอกจากนี้เรายังค้นหาแหล่งข้อมูลเฉพาะสำหรับความแม่นยำในการทดสอบวินิจฉัย: MEDION (Universities of Maastricht and Leuven); DARE (Database of Abstracts of Reviews of Effects - via the Cochrane Library); HTA Database (Health Technology Assessment Database via the Cochra นอกจากนี้เรายังตรวจสอบรายการอ้างอิงของการศึกษาและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ใช้การค้นหาการศึกษาที่เกี่ยวข้องที่เป็นที่รู้จักใน PubMed เพื่อติดตามบทความที่เกี่ยวข้อง และติดต่อกลุ่มวิจัยที่ดำเนินงานเกี่ยวกับ IQCODE สำหรับการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมเพื่อพยายามค้นหาการศึกษาเพิ่มเติม เราพัฒนากลยุทธ์การค้นหาที่มีความไว ซึ่ง search term ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ครอบคลุมแนวคิดหลักโดยใช้วิธีการต่างๆ ที่ดำเนินการควบคู่กัน และรวมถึงคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบสติปัญญา การคัดกรองด้านสติปัญญา และภาวะสมองเสื่อม เราใช้หัวเรื่องฐานข้อมูลที่ได้มาตรฐาน เช่น คำศัพท์ MeSH (ใน MEDLINE) และหัวข้อมาตรฐานอื่นๆ (คำศัพท์ที่ควบคุม) ในฐานข้อมูลอื่น ตามความเหมาะสม

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เราเลือกการศึกษาที่ดำเนินการในสถานบริการระดับทุติยภูมิ ซึ่งรวมถึง (ไม่จำเป็นต้องจำกัด) IQCODE เพื่อประเมินว่ามีภาวะสมองเสื่อมและที่ยืนยันการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมด้วยการประเมินทางคลินิก สำหรับบริบท 'การดูแลทุติยภูมิ' เรารวมการศึกษาทั้งหมดที่ประเมินผู้ป่วยในโรงพยาบาล (เช่น การรับผู้ป่วยฉุกเฉินที่ไม่ได้นัดหมายไว้ การส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานบริการการประเมินผู้สูงอายุโดยผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ) และการศึกษาที่ส่งต่อเพื่อการประเมิน 'ความจำ' โดยผู้เชี่ยวชาญ โดยทั่วไปเป็นบริการผู้ป่วยสูงอายุด้านจิตเวช

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

เราคัดกรองชื่อเรื่องทั้งหมดที่ได้จากการสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และทบทวนบทคัดย่อของการศึกษาที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ผู้ประพันธ์การทบทวนวรรณกรรม 2 คนตรวจสอบเอกสารฉบับเต็มเพื่อดูความเหมาะสมและดึงข้อมูลอย่างอิสระต่อกัน เรากำหนดการประเมินคุณภาพ (ความเสี่ยงของการมีอคติและการบังคับใช้) โดยใช้เครื่องมือ QUADAS-2 และการรายงานคุณภาพโดยใช้เครื่องมือ STARD

ผลการวิจัย: 

จากเอกสาร 72 ฉบับที่บรรยายความถูกต้องของการทดสอบ IQCODE เราได้รวมเอกสาร 13 ฉบับซึ่งแสดงข้อมูลจาก 2745 คน (n = 1413 (51%) ที่มีภาวะสมองเสื่อม) การวิเคราะห์แบบรวมผลการศึกษาของการศึกษาทั้งหมดโดยใช้ข้อมูลที่นำเสนอใกล้กับจุดตัดที่ 3.3 มากที่สุด ระบุว่าความไวเท่ากับ 0.91 (95% CI 0.86 ถึง 0.94) ความจำเพาะ 0.66 (95% CI 0.56 ถึง 0.75); positive likelihood ratio คือ 2.7 (95% CI 2.0 ถึง 3.6) และ negative likelihood ratio คือ 0.14 (95% CI 0.09 ถึง 0.22)

มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความแม่นยำในการทดสอบระหว่างบริบทโรงพยาบาลทั่วไปและหน่วยบริการเฉพาะทางด้านความจำ (P = 0.019) ซึ่งบ่งชี้ว่า IQCODE ใช้ได้ดีกว่าในบริบท 'ทั่วไป'

เราไม่พบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญในความถูกต้องของการทดสอบแบบสั้น (16 ข้อ) กับ IQCODE 26 ข้อ หรือในภาษาที่ใช้

มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในการศึกษาที่รวบรวม ซึ่งรวมถึงความชุกของภาวะสมองเสื่อมที่แตกต่างกันอย่างมาก (10.5% ถึง 87.4%) เอกสารที่รวมอยู่มีความเป็นไปได้มากสำหรับการมีอคติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการสุ่มตัวอย่างผู้เข้าร่วมและเกณฑ์การคัดเลือก ซึ่งอาจจำกัดความสามารถในการนำไปใช้ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานการรายงานที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับความรุนแรงของโรคและการจัดการกับผลลัพธ์ที่ไม่แน่นอน ซึ่งมีความสำคัญหากพิจารณานำไปใช้ในการปฏิบัติทางคลินิก

บันทึกการแปล: 

แปลโดย ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 5 สิงหาคม 2021

Tools
Information