โครงการการตรวจคัดกรองมะเร็งในช่องปากเพื่อตรวจหาและป้องกันตั้งแต่เริ่มต้น

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

การทบทวนวรรณกรรมนี้ดำเนินการโดยผู้เขียนของ Cochrane Oral Health Group ดำเนินการเพื่อตรวจสอบประสิทธิผลของโครงการการตรวจคัดกรองมะเร็งในปัจจุบันในการตรวจหามะเร็งช่องปากในระยะเริ่มแรก และเพื่อประเมินว่าสามารถช่วยลดการเสียชีวิตเนื่องจากมะเร็งในช่องปากได้หรือไม่

ความเป็นมา

มะเร็งในช่องปากกำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก และเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดอันดับที่ 6 จากมะเร็งทั้งหมด อัตราการเกิดมะเร็งช่องปากสูงที่สุดเกิดขึ้นในกลุ่มประชากรที่ยากจนที่สุด ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้โรคมะเร็งช่องปากลุกลาม ได้แก่ ยาสูบ แอลกอฮอล์ อายุ เพศ และแสงแดด แม้ว่าจะมีการบันทึกไว้ถึงบทบาทของแคนดิดา (ซึ่งเป็นสาเหตุของเชื้อราในช่องปาก) และไวรัส papillomavirus ในมนุษย์ (ซึ่งเป็นสาเหตุของหูด) ก็ตาม ผู้ที่ดื่มสุราอย่างหนักและสูบบุหรี่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในช่องปากสูงถึง 38 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มสุราไม่สูบบุหรี่ ปัจจัยเหล่าควรถูกพอจารณาเพราะเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการลุกลามของโรคในคนหนุ่มสาว ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประเทศที่มีอุบัติการณ์สูง

ความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ในการเกิดมะเร็งช่องปากมีอย่างกว้างขวางทั่วโลก ตัวอย่างเช่น มะเร็งช่องปากเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้ชายของประเทศอินเดีย ศรีลังกา และปากีสถาน คิดเป็น 30% ของผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ทั้งหมดของประเทศ ในขณะที่มีผู้ป่วยเป็นมะเร็งช่องปากรายใหม่ในสหราชอาณาจักรเพียง 3% เท่านั้น

ตั้งแต่ครั้งแรกที่ไปพบแพทย์มะเร็งในช่องปากที่พบส่วนใหญ่เป็นระยะท้ายๆ ซึ่งมันจะส่งผลต่อการรักษาและทำให้ร่างกายอ่อนแอลงอย่างมาก อัตราการเสียชีวิตและผลกระทบจากมะเร็งช่องปากเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าที่จะลดลง เช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่นๆ อย่างเช่น มะเร็งเต้านมและลำไส้

โปรแกรมครวจคัดกรองมะเร็งเพื่อการป้องกันของมะเร็งชนิดอื่นๆ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการตรวจคัดกรองอาจจะมีข้อดี แต่ก็มีข้อเสียบางอย่าง คือมีความเป็นไปได้ว่าจะให้ผลลัพธ์เป็นผลบวกลวงหรือผลลบลวง การตรวจคัดกรองสามารถกำหนดเป้าหมายไปยังกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง และอาจจะเป็นการฉวยโอกาสด้วย เช่น เมื่อมีคนเข้ารับการบริการด้านสุขภาพด้วยเหตุผลอื่นๆ ก็สามารถที่จะดูสถิติในภาพรวมของประชากรทั้งหมดได้

วัตถุประสงค์ของการจรวจคัดกรองมะเร็งช่องปากในระยะเริ่มแรก เพื่อที่จะตรวจหารอยโรคเป็นรายบุคคลก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง เช่น ลิวโคเพลเกีย วิธีการคัดกรองที่พบบ่อยที่สุดคือการตรวจสอบด้วยสายตาโดยแพทย์ แต่เทคนิคอื่นๆ ได้แก่ การใช้สีย้อมสีน้ำเงินแบบพิเศษ การใช้เทคนิคการถ่ายภาพ และการวัดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีจากค่าปกติ

ลักษณะของการศึกษา

หลักฐานที่ใช้ในการทบทวนวรรณกรรมอัพเดตข้อมูลล่าสุดถึง 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 การศึกษาในพื้นที่ชนบทมีที่เดียวคือเมือง Trivandrum ใน Kerala ประเทศอินเดีย ผู้เข้าร่วมการศึกษาในครั้งนี้เป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีจำนวน 191,873 ราย อายุ 35 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ใน 13 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีผู้เข้าร่วมเฉลี่ย 14,759 ราย กลุ่มที่มีการคัดกรองมี 7 กลุ่ม (ผู้เข้าร่วมจำนวน 96,517 ราย) และหกกลุ่มเป็นกลุ่มควบคุม (ผู้เข้าร่วม 95,356 ราย) ผู้เข้าร่วมการศึกษาจะถูกคัดออก ถ้าหากพวกเขาเกิดล้มป่วย เป็นวัณโรค โรคอื่นๆ ที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ หรือเป็นมะเร็งช่องปากอยู่แล้ว

เจ้าหน้าที่ด้านการดูแลสุขภาพที่ได้รับการฝึกอบรมในการตรวจหารอยโรคในช่องปากจะตรวจคัดกรองและบันทึกประวัติของผู้เข้าร่วม รวมถึงประวัติ การเคี้ยวหมาก กรรสูบยาสูบ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารด้วย

ผลการศึกษาที่สำคัญ

การทบทวนวรรณกรรมพบว่าในภาพรวมมีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะตัดสินว่าการตรวจคัดกรองด้วยการตรวจด้วยสายตาสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งช่องปากได้ และไม่มีหลักฐานสำหรับวิธีการตรวจคัดกรองแบบอื่น อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าอาจช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งช่องปากในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ถึงแม้ว่าเป็นการศึกษาเฉพาะอาจเกิดอคติได้ก็ตาม

คุณภาพของหลักฐาน

หลักฐานที่นำมามีคุณภาพต่ำและมีเพียงการศึกษาเดียว แล้วยังได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอคติสูง

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

มีหลักฐานว่าการตรวจด้วยสายตาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการตรวจคัดกรองประชากร ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งช่องปากในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ยังมีระยะของโรคมะเร็งที่เปลี่ยนแปลงและอัตราการรอดชีวิตดีขึ้นของประชากรโดยรวม อย่างไรก็ตาม หลักฐานมีข้อจำกัดแล้วยังมีอยู่เพียงการศึกษาเดียวซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดอคติสูง และไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบของการสุ่มแบบคลัสเตอร์ในการวิเคราะห์ ไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเสริม เช่น การใช้สีย้อมโทลูอิดีนบลู การตรวจทรงเซลล์วิทยาโดยการใช้แปรง หรือการถ่ายภาพด้วยแสงฟลูออเรสเซนส์ ใช้เป็นเครื่องมือตรวจคัดกรองเพื่อลดการเสียชีวิตด้วยมะเร็งช่องปาก RCT ถูกแนะนำให้ใช้เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของการตรวจคะดกรองด้วยสายตา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการตรวจคัดกรองของประชากรในประเทศที่มีรายได้ต่ำ ปานกลาง และสูง

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

มะเร็งในช่องปากเป็นปัญหาสำคัญของสุขภาพผู้คนทั่วโลก อุบัติการณ์ของมะเร็งในช่องปากกำลังเพิ่มมากขึ้น และพบมะเร็งในระยะหลังเป็นเรื่องปกติ มะเร็งที่เป็นปัญหาลำดับต้นๆ ถูกแนะนำให้ทำโครงการการตรวจคัดกรองมะเร็งซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรก เนื่องจากอัตราการป่วยและการเสียชีวิตสูงจากโรคมะเร็งในช่องปาก จึงมีความจำเป็นต้องพิจารณาประสิทธิภาพของโครงการตรวจคัดกรองโรคนี้ ไม่ว่าจะเป็นกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ตามโอกาส หรือวัดตามกลุ่มประชากร หลักฐานยังคงมาจากข้อมูลการตรวจในช่องปากด้วยสายตาของคนที่มีความเสี่ยงสูงอาจเป็นกลยุทธ์การตรวจคัดกรองที่คุ้มค่า และการพัฒนาและการใช้เครื่องช่วยเสริมและตัวบ่งชี้ทางชีวภาพกำลังกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้น

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินประสิทธิผลของการคัดกรองในปัจจุบันในการลดการเสียชีวิตด้วยมะเร็งช่องปาก

วิธีการสืบค้น: 

เราสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์: Cochrane Oral Health’s Trials Register (ถึง 22 กรกฏาคม 2013), Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL) (Cochrane Library, 2013, ฉบับที่ 6), MEDLINE via Ovid (1946 ถึง 22 กรกฎาคม 2013), Embase via Ovid (1980 ถึง 22 กรกฎาคม 2013) และ CancerLit via PubMed (1950 ถึง 22 กรกฎาคม 2013) ไม่มีข้อจำกัดด้านภาษาในการค้นหาฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

เกณฑ์การคัดเลือก: 

การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCT) ของการตรวจคัดกรองมะเร็งในช่องปากหรือรอยโรคก่อมะเร็ง โดยใช้การตรวจด้วยสายตา ใช้สีย้อมโทลูอิดีนบลู การถ่ายภาพด้วยแสงฟลูออเรสเซนส์ หรือการตรวจทางเซลล์วิทยาโดยการใช้แปรง

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ประพันธ์ 2 คน ทบทวนวรรณกรรมจากผลการสืบค้นตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ดึงข้อมูลและประเมินความเสี่ยงของการมีอคติอย่างเป็นอิสระกันและใช้บทความที่เหมือนกัน เราใช้ความแตกต่างค่าเฉลี่ย และช่วงความเชื่อมั่น 95% สำหรับข้อมูลต่อเนื่อง และ risk ratios (RR) และช่วงความเชื่อมั่น 95% สำหรับข้อมูลแบบมีสองทางเลือก การวิเคราะห์เมตาควรใช้แบบจำลองผลกระทบแบบสุ่ม (Random-effects model) หากจำนวนการศึกษามากกว่า 3 ฉบับ หากมีข้อมูลที่สูญหายผู้ประพันธ์การศึกษาจะติดต่อเจ้าของบทความหากเป็นไปได้และเมื่อเห็นว่าจำเป็น

ผลการวิจัย: 

พบบทความทั้งหมด 3239 รายการ ได้มาจากการค้นหา RCT เพียง 1 ฉบับ ที่มีการติดตามผล 15 ปีตรงตามเกณฑ์การคัดเลือก (n = 13 กลุ่ม: ผู้เข้าร่วม 191,873 คน) มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งช่องปากสำหรับกลุ่มที่ได้รับการตรวจคัดกรอง (15.4/100,000 คน-ปี) และกลุ่มควบคุม (17.1/100,000 คน-ปี) โดยมี RR 0.88 (ช่วงเชื่อมั่น 95% 0.69 ถึง 1.12) มีรายงานการเสียชีวิตลดลง 24% ระหว่างกลุ่มคัดกรอง (30/100,000 คน-ปี) และกลุ่มควบคุม (39.0/100,000 คน-ปี) สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงที่ใช้ยาสูบหรือดื่มแอลกอฮอล์หรือทั้งสองอย่าง ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (RR 0.76; CI 95% 0.60 ถึง 0.97) พบความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับอัตราอุบัติการณ์ การลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในจำนวนผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งในช่องปากระยะที่ 3 หรือแย่กว่านั้นพบผู้ที่อยู่ในกลุ่มการตรวจคัดกรอง (RR 0.81; ช่วงเชื่อมั่น 95% 0.70 ถึง 0.93) ไม่มีรายงานเรื่องความไม่ปลอดภัย การศึกษานี้ได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอคติสูง

บันทึกการแปล: 

แปลโดย นายฎลกร จำปาหวาย วันที่ 12 กันยายน 2023

Tools
Information