การหนีบสายสะดือช้าหรือรีดเลือดจากสายสะดือขณะคลอดช่วยให้สุขภาพของทารกคลอดก่อนกำหนดดีขึ้นหรือไม่

ปัญหาคืออะไร

ในการทบทวน Cochrane นี้เราสนใจว่าการหนีบสายสะดือช้าหรือรีดเลือดจากสายสะดือช่วยให้สุขภาพสำหรับทารกที่เกิดก่อน 37 สัปดาห์ดีขึ้นหรือไม่ การทดลองนี้เปรียบเทียบการหนีบสายสะดือช้ากับการหนีบสายสะดือทันที

ทำไมจึงสำคัญ

ทารกคลอดก่อน 37 สัปดาห์หรือคลอดก่อนกำหนดมีสุขภาพไม่ดีกว่าทารกคลอดครบกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคลอดก่อน 32 สัปดาห์ ทารกคลอดก่อนกำหนดมีปัญหากับการทำงานของหลายอวัยวะที่สำคัญรวมถึงปอด, ลำไส้และหัวใจ พวกเขามีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเสียชีวิตหรือมีปัญหาระยะยาว เช่น สมองพิการ หลังคลอดทารกอาจต้องรับเลือดและยาที่เพิ่มการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ (inotropes) และเพื่อเพิ่มความดันโลหิต มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะพยายามที่จะหาวิธีการส่งเสริมสุขภาพของทารกเล็กๆ เหล่านี้

การหนีบสายสะดือทันทีได้รับการปฏิบัติมาตรฐานเป็นเวลาหลายปี เพื่อให้ทารกย้ายออกไปให้รับการดูแลจากทีมงานที่เชี่ยวชาญอย่างรวดเร็ว ที่ด้านข้างของห้องคลอดหรือในห้องอื่น การหนีบสายสะดือช้าครึ่งนาที ถึงสามนาที หรือช้ากว่าสามนาที มีการไหลเวียนของเลือดระหว่างแม่กับลูกต่อ และนี้อาจช่วยให้ทารกที่จะปรับตัวในสิ่งแวดล้อมภายนอก การบีบเลือดตามสายสะดือให้ทารก (การรีดสายสะดือ) สามารถเพิ่มปริมาณเลือดของทารกและอาจสุขภาพของทารกให้ดีขึ้น เราต้องการดูว่ามีประโยชน์หรืออันตรายจากการหนีบสายสะดือช้าหรือรีดเลือดจากสายสะดือ

เราพบหลักฐานอะไรบ้าง

เรารวบรวมและวิเคราะห์การศึกษาที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่มีคำถามนี้ (วันที่สืบค้น: พฤศจิกายน 2017) การปรับปรุงการทบทวนนี้รวบรวมการศึกษา 40 เรื่อง ซึ่งมีข้อมูลของมารดาและทารก 4884 คน การศึกษาจากทั่วโลก ส่วนใหญ่ศึกษาในประเทศที่มีรายได้สูง การคลอดในโรงพยาบาลมีการหนีบสายสะดือทันที ผลหลายอย่างมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะให้ความมั่นใจจริงๆของการค้นพบของเรา

1) การหนีบสายสะดือช้า (ทารกได้รับการดูแลทันทีหลังจากหนีบสายสะดือ) เมื่อเทียบกับการหนีบสายสะดือทันที เราพบว่ามีแนวโน้มที่ทารกเสียชีวิตน้อยลงก่อนออกจากโรงพยาบาล (การศึกษา 20 เรื่อง, ทารก 2680 คน) นอกจากนี้ ทารกอาจมีเลือดออกในสมอง (การศึกษา 15 เรื่อง, ทารก 2333 คน) แต่อาจจะไม่แตกต่างกันในทารกที่มีเลือดออกในสมองรุนแรง (การศึกษา 10 เรื่อง, ทารก 2058 คน)

2) เพียงการศึกษาหนึ่งเรื่อง ทารก 276 คนและมารดาให้ข้อมูลเกี่ยวกับหนีบสายสะดือช้ากับการดูแลทารกได้ทันทีข้างตัวมารดาในขณะที่สายสะดือยังอยู่เหมือนเดิมเปรียบเทียบกับการหนีบสายสะดือทันที การศึกษานี้มีขนาดเล็กและไม่ได้ระบุความแตกต่างถึงผลต่อสุขภาพ

3) การหนีบสายสะดือช้า (ดูแลทารกในทันทีหลังจากหนีบสายสะดือ) เปรียบเทียบกับการรีดเลือดจากสายสะดือ, มีข้อมูลไม่เพียงพอ (การศึกษาสามเรื่อง, ทารก 322 คน)

4) การรีดเลือดจากสายสะดือกับการหนีบสายสะดือทันที เราพบการศึกษา 11 เรื่อง มารดาและทารก 1183 คน อีกครั้ง มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะทำให้การเปรียบเทียบที่ชัดเจนในผลลัพธ์

หลักฐานนี้หมายความว่าอย่างไร

การหนีบสายสะดือช้าอาจลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในทารกคลอดก่อนกำหนด การหนีบสายสะดือทันทีอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ไม่มีการศึกษาระยะเวลาการล่าช้าว่านานเท่าใดจึงดีที่สุด และเพียงไม่กี่การศึกษาที่ติดตามสุขภาพทารกในวัยเด็กช่วงต้น มีหลักฐานไม่เพียงพอสำหรับข้อสรุปที่เชื่อถือได้ในการให้การดูแลทารกในทันทีข้างมารดาในขณะที่มีสายสะดือเหมือนเดิม ในทำนองเดียวกัน มีหลักฐานไม่เพียงพอสำหรับข้อสรุปที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับรีดเลือดจากสายสะดือ การศึกษาเพิ่มเติมอยู่ในระหว่างดำเนินการ

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

การหนีบสายสะดือช้าแทนที่จะหนีบสายสะดือทันทีอาจลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตของทารกที่คลอดก่อนกำหนดก่อนออกจากโรงพยาบาล มีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะแสดงว่าระยะเวลาใดของความล่าช้าที่ดีที่สุด หนึ่งหรือหลายนาที และเวลาที่เหมาะสมที่จะหนีบสายสะดือยังคงไม่ชัดเจน ขณะที่หลักฐานไม่สนับสนุนการหนีบสายสะดือทารกคลอดก่อนกำหนดอก่อน 30 วินาที การศึกษาในอนาคตอาจเปรียบเทียบระยะเวลาที่ควรรอที่จะหนีบสายสะดือ ยังคงต้องการการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดทันทีที่สายสะดือยังอยู่เหมือนเดิม และมียังข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับ UCM

การศึกษาใหม่เก้าเรื่องยังรอการจัดหมวดหมู่เพิ่มเติม ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงข้อสรุปนี้

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

ทารกคลอดก่อนกำหนด (อายุครรภ์ก่อน 37 สัปดาห์) มีผลลัพธ์ด้อยกว่าทารกคลอดครบกำหนด, โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดก่อนอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ การหนีบสายสะดือทันทีเป็นการปฏิบัติมาตรฐานเป็นเวลาหลายปี ช่วยให้สามารถย้ายทารกไปให้ทีมดูแลทารกแรกเกิดได้อย่างรวดเร็ว การหนีบสายสะดือช้าช่วยให้มีการไหลเวียนของเลือดระหว่างรก สายสะดือและทารกอย่างต่อเนื่อง การให้ทารกอยู่ข้างมารดา ช่วยให้การดูแลทารกแรกเกิดในขณะที่สายสานสะดือยังเหมือนเดิม ร่วมกับการหนีบสายสะดือช้าอาจช่วยสุขภาพทารก การรีดเลือดจากสายสะดือ (UCM) ถูกนำเสนอเพื่อเพิ่มเลือดจากรก เมื่อจำเป็นต้องให้การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดทันที Cochrane Review นี้ เป็นการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังจากเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2004 และมีการปรับปรุงล่าสุดในปี 2012

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินผลกระทบต่อมารดาและทารกคลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์: 1) การหนีบสายสะดือช้า (delayed cord clamping; DCC) เมื่อเทียบกับการหนีบสายสะดือทันที (early cord clamping; ECC) โดยทารกทั้งสองกลุ่มได้รับการดูแลทันทีหลังจากการหนีบสายสะดือ 2) DCC ทารกได้รับการดูแลทันทีในขณะที่สายะดือยังอยู่เหมือนเดิมเมื่อเทียบกับ ECC ที่ทารกได้รับการดูแลทันทีหลังจากการหนีบสายสะดือ 3) DCC ทารกได้รับการดูแลทันทีหลังจากที่หนีบสายสะดือเมื่อเทียบกับ UCM 4) UCM เทียบกับ ECC ทารกได้รับการดูแลดทันทีหลังจากการหนีบสายสะดือ

วิธีการสืบค้น: 

เราได้ทำการสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูล Cochrane Pregnancy and Childbirth Group's Trials Register, ClinicalTrials.gov WHO International Clinical Trials Registry Platform (ICTRP) (จนถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2017) และรายการเอกสารอ้างอิงของงานวิจัยที่สืบค้นได้ เราปรับปรุงการค้นหาในเดือนพฤศจิกายน 2018 และเพิ่มรายงานทดลองใหม่เก้าเรื่อง ไว้รอการจัดหมวดหมู่ที่จะได้รับการประเมินในการปรับปรุงต่อไป

เกณฑ์การคัดเลือก: 

Randomised controlled trials (RCTs) ที่เปรียบเทียบการหนีบสายสะดือช้ากับการหนีบสายสะดือทันที (การดูแลทารกแรกเกิดทันทีหลังจากทีหนีบสายสะดือหรือสายสะดือเหมือนเดิม) และ UCM สำหรับการคลอดที่อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ไม่รวมการทดลองแบบ Quasi-RCTs

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้วิจัยสองคนได้ทำการประเมินงานวิจัยอย่างเป็นอิสระต่อกันในการคัดเข้า และการประเมินความเสี่ยงของการมีอคติ การดึงข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้อง ในการวิเคราะห์เมตต้า ทั้งหมด ใช้ Random-effects ผู้วิจัยทั้งสองคนประเมินคุณภาพของหลักฐานโดยใช้ GRADE

ผลการวิจัย: 

การปรับปรุงนี้รวบรวมการศึกษา 48 เรื่อง มารดาและทารกผู้เข้าร่วม 5721 คน ข้อมูลที่มีอยู่จาก 40 เรื่อง มารดาและทารกผู้เข้าร่วม 4884 คน ทารกคลอดเมื่ออายุครรภ์ระหว่าง 24 และ 36+6 สัปดาห์ รวมถึงการคลอดแฝด ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากประเทศที่มีรายได้สูง การหนีบสายสะดือช้าอยู่ระหว่าง 30 ถึง 180 วินาที การศึกษาส่วนใหญ่หนีบสายสะดือล่าช้า 30 ถึง 60 วินาที การหนีบสายสะดือทันทีคือหนีบสายสะดือภายใน 30 วินาทีและมักจะหนีบทันที ส่วนใหญ่แล้วทำ UCM ก่อนที่จะหนีบสายสะดือแต่ในบางรายรีดเลือดหลังจากหนีบสายสะดือแลัว เราใช้การวิเคราะห์กลุ่มย่อยตามอายุงครรภ์และวิธีจัดการกับสายสะดือ และการวิเคราะห์ความไวตามการมีความเสี่ยงของอคติต่ำในเรื่อง selection และ attrition bias

การศึกษาทั้งหมดมีความเสี่ยงของการมีอคติสูงเกี่ยวกับ performance bias และมีความไม่ชัดเจนในเรื่องความเสี่ยงของการมีอคติด้านอื่นๆ ความเชื่อมั่นของหลักฐานจากการใช้ GRADE ส่วนใหญ่ต่ำ, ส่วนใหญ่เกิดจาก imprecision และมีความเสี่ยงของอคติที่ไม่ชัดเจน

การหนีบสายสะดือช้า (DCC) เมื่อเทียบกับการหนีบสายสะดือทันที (ECC) ทั้งที่มีการดูแลทารกแรกเกิดทันทีหลังจากการหนีบสายสะดือ (การศึกษา 25 เรื่อง มารดาและทารก 3100 คน)

DCC อาจลดจำนวนของทารกที่เสียชีวิตก่อนออกจากโรงพยาบาลเมื่อเทียบกับ ECC (average risk ratio (aRR) 0.73, 95% CI 0.54 ถึง 0.98, การศึกษา 20 เรื่อง, ทารก 2680 คน (หลักฐานมีความเชื่อมั่นปานกลาง))

ไม่มีการศึกษารายงานเกี่ยวกับการตายหรือความบกพร่องทางประสาทในปีแรกๆ

DCC อาจมีผลน้อยหรือไม่มีความแตกต่างกับจำนวนของทารกที่มีภาวะเลือดออกในสมองรุนแรง (IVH เกรด 3 และ 4) (aRR 0.94, 95% CI 0.63 ถึง 1.39 การศึกษา 10 เรื่อง, ทารก 2058 คน, หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) แต่ลดจำนวนของทารกที่มีภาวะเลือดออกในสมองในทุกระดับลงเล็กน้อย (aRR 0.83, 95% CI 0.70 ถึง 0.99 การศึกษา 15 เรื่อง,ทารก 2333 คน, หลักฐานมีความเชื่อมั่นสูง)

DCC มีผลน้อยหรือไม่มีผลต่อโรคปอดเรื้อรัง (chronic lung disease; CLD) (aRR 1.04, 95% CI 0.94 ถึง 1.14 การศึกษา 6 เรื่อง, ทารก 1644 คน,หลักฐานมีความเชื่อมั่นสูง)

เนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอ เราไม่สามารถที่จะสรุปเกี่ยวกับ periventricular leukomalacia (PVL) (aRR 0.58, 95% CI 0.26 ถึง 1.30 การศึกษา 4 เรื่อง, ทารก 1544 คน, หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) หรือมารดาเสียเลือด 500 มล. หรือมากกว่า (aRR 1.14, 95% CI 0.07 ถึง 17.63 การศึกษา 2 เรื่อง มารดา 180 คน หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก)

เราไม่พบความแตกต่างที่สำคัญในการวิเคราะห์กลุ่มย่อยหรือความไว

การหนีบสายสะดือช้า (DCC) ร่วมกับการดูแลทารกแรกเกิดทันทีในขณะที่สายสะดือเหมือนเดิม เปรียบเทียบกับการหนีบสายสะดือทันที (ECC) (การศึกษาหนึ่งเรื่อง มารดาและทารก 276 คน)

มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะมั่นใจในการค้นพบของเรา แต่ DCC ร่วมกับการดูแลทารกแรกเกิดทันทีในขณะที่สายสะดือเหมือนเดิม อาจลดจำนวนของทารกที่เสียชีวิตก่อนออกจากโรงพยาบาล แม้ว่าข้อมูลยังเข้ากันได้กับการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ ECC ( aRR 0.47, 95% CI 0.20 ถึง 1.11, การศึกษา 1 เรื่อง ทารก 270 คน, หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) นอกจากนี้ DCC ยังอาจลดจำนวนทารกที่ตายหรือมีความบกพร่องทางพัฒนาการทางระบบประสาทในปีแรกๆ (aRR 0.61, 95% CI 0.39 ถึง 0.96, การศึกษา 1 เรื่อง ทารก 218 คน, หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) อาจมีน้อยหรือไม่แตกต่างกันใน: IVH รุนแรง; ระดับความรุนแรงทั้งหมดของ IVH; PVL; CLD การเสียเลือดของมารดา ≥ 500 มล. หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ ส่วนใหญ่เนื่องจากการมี serious imprecision

การหนีบสายสะดือช้า (DCC) ร่วมกับการดูแลทารกแรกเกิดทันทีในขณะที่สายสะดือเหมือนเดิม เปรียบเทียบการรีดสายสะดือ (UCM) (การศึกษาสามเรื่อง, มารดาและทารก 322 คน) และ UCM เปรียบเทียบกับการหนีบสายสะดือทันที (ECC) (การศึกษา 11 เรื่อง, มารดาและทารก 1183 คน)

มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุปผลการเปรียบเทียบของ UCM เมื่อเทียบกับการหนีบสายสะดือช้า หรือการหนีบสายสะดือทันที (ส่วนใหญ่หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำหรือต่ำมาก)

บันทึกการแปล: 

แปลโดยเพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 25 มีนาคม 2020

Tools
Information