เปรียบเทียบการบูรณะรอยโรคฟันผุด้วยวิธี atraumatic restoration treatment และ conventional treatment

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

จุดประสงค์ของการทบทวน เพื่อประเมินผลของการบูรณะฟันผุแบบ Atraumatic Restorative Treatment (ART) ในเด็กและผู้ใหญ่ (ฟันน้ำนมและฟันแท้)

ความเป็นมา

โรคฟันผุถือเป็นโรคที่พบได้บ่อย วิธีการรักษารอยโรคฟันผุแบบ conventional (กรอและอุด) เป็นการใช้หัวกรอกำจัดรอยโรคฟันผุแล้วทำการบูรณะด้วยการอุดฟัน มักใช้ยาชาเฉพาะที่เพื่อระงับความเจ็บปวดในระหว่างการรักษา ซึ่งการรักษารอยโรคฟันผุแบบ conventional นั้น จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญของทันตแพทย์และเครื่องมือต่าง ๆ ที่มีราคาแพง ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลต่อการเข้าถึงบริการทางทันตกรรม

Atraumatic Restorative Treatment (ART) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการจัดการฟันผุ ทำการกำจัดรอยโรคฟันผุโดยใช้ hand instrument เพียงอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องใช้ยาชาเฉพาะที่และเครื่องมือในการกรอฟัน

ลักษณะของการศึกษา

การทบทวนวรรณกรรมนี้ได้สืบค้นการศึกษาจนถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2017 พบการศึกษาที่เกี่ยวข้อง 15 การศึกษา ซึ่งมีกลุ่มผู้ป่วยตัวอย่างทั้งหมด 3760 คน อายุเฉลี่ย 25 ปี (ระหว่างช่วง 3 ถึง 101) โดย 48% ของกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย มีการติดตามผลการรักษาตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 36 เดือน การศึกษา 2 จาก 15 เรื่องได้รับการสนับสนุนจากบริษัทผู้ผลิต นอกจากนี้ยังพบว่ามี 4 การศึกษาที่กำลังทำการศึกษา

ผลการศึกษาที่สำคัญ

หลักฐานคุณภาพต่ำที่รายงานว่าการใช้ high viscosity glass ionomer cement บูรณะฟันผุแบบ ART มีความเสี่ยงต่อการล้มเหลวของการบูรณะมากกว่าการบูรณะแบบ conventional การบูรณะแบบ ART ในฟันน้ำนม อาจช่วยลดความเจ็บปวดเมื่อเทียบกับการบูรณะแบบ conventional แต่อย่างไรก็ดี หลักฐานที่เปรียบเทียบการบูรณะแบบ ART และ conventional โดยใช้วัสดุบูรณะชนิดอื่นและการเปรียบเทียบในการบูรณะฟันแท้นั้นมีคุณภาพต่ำจึงไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ไม่มีรายงานเกี่ยวกับผลเสียและค่าใช้จ่ายในการรักษา

คุณภาพของหลักฐาน

หลักฐานมีคุณภาพต่ำถึงต่ำมาก หากในอนาคตมีการศึกษาที่มีคุณภาพสูง ข้อสรุปอาจเปลี่ยนไป มี 4 การศึกษาที่กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งอาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมในอนาคต

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

จากหลักฐานที่มีคุณภาพต่ำรายงานว่าการบูรณะแบบ ART โดยใช้ H-GIC อาจมีความเสี่ยงสูงต่อความล้มเหลวของการรักษามากกว่าการบูรณะแบบ conventional เนื่องจากหลักฐานมีคุณภาพต่ำมาก จึงไม่สามารถหาข้อสรุปผลของการบูรณะแบบ ART โดยใช้ composite และ RM-GIC และการศึกษาส่วนใหญ่ศึกษาการบูรณะแบบ ART ในฟันน้ำนม

ยังคงต้องการการศึกษาแบบ RCTs ที่ออกแบบการทดลองอย่างดีเพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาทางคลินิกและความพึงพอใจของผู้ป่วย เช่น อาการเจ็บปวดหรือความรู้สึกไม่สบาย เนื่องจากการใช้วัสดบูรณะที่แตกต่างกันอาจส่งผลต่อผลของการรักษา จึงจำเป็นต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลของการบูรณะแบบ ART เปรียบเทียบกับการบูรณะแบบ conventional ที่ใช้วัสดุบูรณะชนิดเดียวกัน หวังว่าการศึกษาที่กำลังดำเนินการอยู่ 4 การศึกษานั้นสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวได้

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

โรคฟันผุเกี่ยวข้องกับการบริโภคน้ำตาล ที่ทำให้เกิดการสูญเสียแร่ธาตุในโครงสร้างของฟัน อาจทำให้เกิดเป็นโพรงฟันในที่สุด โรคฟันผุถือเป็นโรคที่มีความชุกและถูกให้ความสำคัญมากในปัญหาสุขภาพช่องปาก การบูรณะรอยโรคฟันผุแบบ conventional ที่มีการกรอกำจัดรอยโรคฟันผุภายใต้การฉีดยาชาเฉพาะที่ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ ด้ามกรอฟันที่มีราคาแพง และอาศัยความชำนาญของบุคลากรด้านทันตกรรม อาจจำกัดการเข้าถึงการรักษาทางทันตกรรมโดยเฉพาะพื้นที่ที่ด้อยพัฒนา

เพื่อขจัดข้อจำกัดนี้ การบูรณะแบบ Atraumatic Restorative Treatment (ART) ได้ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับการบูรณะรอยโรคฟันผุในเด็กที่อาศัยอยู่ในพื้นทีห่างไกลซึ่งขาดแคลนทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวกและบุคลากร ART เป็นวิธีการบูรณะแบบ minimal invasive ที่มีการกำจัดรอยโรคฟันผุโดยใช้ hand instrument เพียงอย่างเดียว โดยไม่ใช้ยาชาเฉพาะที่และหัวกรอ แล้วบูรณะด้วย adhesive material เช่น glass ionomer cement, composite resin, resin-modified glass ionomer และ cement compomer

วัตถุประสงค์: 

เพื่อเปรียบเทียบผลของการบูรณะด้วยวิธี Atraumatic Restorative Treatment (ART) และวิธี conventional ในฟันน้ำนมและฟันแท้ในเด็กและผู้ใหญ่

วิธีการสืบค้น: 

ผู้เชี่ยวชาญ Cochrane Oral Health’s Information Specialist สืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลดังต่อไปนี้ Cochrane Oral Health's Trials Register (ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2017), Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL) (the Cochrane Library, 2017, Issue 1), MEDLINE Ovid (1946 ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2017), Embase Ovid (1980 ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2017), LILACS BIREME Virtual Health Library (Latin American and Caribbean Health Science Information; 1982 ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2017) และ BBO BIREME Virtual Health Library (Bibliografia Brasileira de Odontologia; 1986 ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2017) และได้สืบค้นจาก The US National Institutes of Health Trials Registry (ClinicalTrials.gov) และ the World Health Organization International Clinical Trials Registry สำหรับการทดลองที่กำลังดำเนินการ โดยการสืบค้นข้อมูลแบบไม่จำกัดภาษาและวันที่ตีพิมพ์ จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

เกณฑ์การคัดเลือก: 

การศึกษาแบบ randomised clinical trials (RCT) ที่มีการติดตามผลการรักษาอย่างน้อย 6 เดือน ที่เปรียบเทียบผลของการบูรณะฟันผุแบบ ART กับการบูรณะแบบ conventional โดยใช้วัสดุบูรณะที่เหมือนกันหรือต่างกัน

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนวรรณกรรม 2 คน คัดเลือกการศึกษา รวมข้อมูลและประเมินความเสี่ยงของการมีอคติอย่างเป็นอิสระต่อกัน ใช้กระบวนการตามวิธีการมาตรฐานของ Cochrane เพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดอคติและการวิเคราะห์ข้อมูล กรณีที่มีความเหมาะสมในการรวมข้อมูลจะทำการวิเคราะห์แบบ meta analyses โดยใช้ random-effects model โดยประเมินคุณภาพของการศึกษาตามเกณฑ์ GRADE

ผลการวิจัย: 

จากทั้งหมด 15 การศึกษา มีกลุ่มผู้ป่วยตัวอย่าง 3760 ราย อายุของผู้ป่วยตัวอย่างอยู่ระหว่าง 3 ถึง 101 ปีโดยมีค่าเฉลี่ย 25.42 ปี 48% ของผู้ป่วยเป็นเพศชาย ที่ตีพิมพ์ระหว่างปี 2002 ถึง 2016 การศึกษา 2 จาก 15 เรื่อง พบว่าได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากบริษัทที่ผลิตวัสดุบูรณะ มี 5 การศึกษา เป็นการศึกษาแบบ individually randomised parallel-group; 6 การศึกษาเป็นการศึกษาแบบ cluster randomised parallel-group และ 4 การศึกษาเป็นการศึกษาแบบ split-mouth design มี 11 การศึกษาที่ศึกษาการบูรณะแบบ ART ในฟันน้ำนม และ 4 การศึกษาทำการศึกษาในฟันแท้ ระยะเวลาติดตามผลของการรักษาอยู่ในช่วง 6 เดือน ถึง 36 เดือน โดยการศึกษาทั้งหมดมีความเสี่ยงของการมีอคติสูง

สำหรับการเปรียบเทียบการบูรณะแบบ ART และแบบ conventional โดยใช้วัสดุบูรณะชนิดเดียวกัน: การศึกษาทั้งหมดใช้ high-viscosity glass ionomer cement (H-GIC) เป็นวัสดุบูรณะ ยกเว้น 2 การศึกษาที่ใช้วัสดุบูรณะชนิดอื่น คือ 1 การศึกษาใช้ composite และอีก 1 การศึกษาใช้ resin-modified glass ionomer cement (RM-GIC)

เมื่อเปรีบยเทียบกับการบูรณะแบบ conventional โดยใช้ H-GIC พบว่าการบูรณะแบบ ART อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อความล้มเหลวของการบูรณะในฟันแท้ เมื่อติดตามผลการรักษาตั้งแต่ 12 ถึง 24 เดือน (OR 1.60, 95% CI 1.13 ถึง 2.27 จาก 5 การศึกษา ที่มีกลุ่มผู้ป่วยตัวอย่าง 643 คน; หลักฐานคุณภาพต่ำ) การทบทนวรรณกรรมนี้มีความเชื่อมั่นในการประเมินผลของการศึกษาค่อนข้างจำกัด เนื่องจากอคติในการปฏิบัติต่อ ผู้เข้าร่วมโครงการ และอคติในการติดตามผู้เข้าร่วมโครงการ สำหรับการเปรียบเทียบนี้ การบูรณะแบบ ART อาจลดความเจ็บปวดระหว่างการรักษาได้มากกว่าการบูรณะแบบ conventional (MD -0.65, 95% CI -1.38 ถึง 0.07; ผู้เข้าร่วม 40 ราย; หลักฐานคุณภาพต่ำ)

การศึกษาเปรียบเทียบการบูรณะแบบ ART และ แบบ conventional ที่บูรณะโดย composite และ RM-GIC ถูกประเมินเป็นการศึกษาที่มีคุณภาพต่ำมาก เนื่องจาก indirectness, imprecision และมีความเสี่ยงของการมีอคติสูง ด้วยคุณภาพหลักฐานที่ต่ำมาก จึงไม่สามารถสรุปความล้มเหลวในการบูรณะแบบ ART เมื่อเทียบกับการบูรณะแบบ conventional โดยใช้ composite หลังติดตามผลการรักษา 24 เดือน (OR 1.11, 95% CI 0.54 ถึง 2.29;1 การศึกษา; ผู้เข้าร่วม 57 ราย) และ การบูรณะแบบ ART โดยใช้ RM-GIC ในฟันแท้ของผู้ใหญ่ หลังติดตามผลการรักษา 6 เดือน (OR 2.71, 95% CI 0.94 ถึง 7.81; 1 การศึกษา; ผู้เข้าร่วม 64 ราย)

ไม่มีรายงานถึงปัญหาของผลข้างเคียงและค่าใช้จ่ายในการรักษา

บันทึกการแปล: 

แปลโดย ทพ กิตติศักดิ์ สะนนท์ วันที่ 15 สิงหาคม 2020

Tools
Information