การผ่าตัดแบบส่องกล้องเปรียบเทียบกับการผ่าตัดเปิดหน้าท้องเพื่อรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกระยะเริ่มต้น

ความเป็นมา
ทั่วโลกมะเร็งในมดลูก หรือ 'มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก' เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 5 ของสตรีที่อายุไม่เกิน 65 ปี และมีอุบัติการณ์สูงในประเทศที่มีรายได้สูงมากกว่าในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง สำหรับสตรีที่เป็นมะเร็งในมดลูก การตัดมดลูกออก (การตัดมดลูก) และการกำจัดท่อนำไข่ทั้งสองข้าง (ท่อที่ไข่เดินทางจากรังไข่ไปยังมดลูก) และรังไข่ (ซึ่งผลิตฟองไข่) ถือเป็นการรักษามาตรฐานในปัจจุบัน การรักษาอื่นๆ ได้แก่ การฉายแสงและเคมีบำบัด ตามเนื้อผ้าการผ่าตัดมะเร็งในมดลูกจะดำเนินการโดยการตัดเปิดช่องท้อง (เปิดช่องท้อง)

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม
การทบทวนวรรณกรรมนี้ เปรียบเทียบ การรอดชีวิตโดยรวม; overall survival (ระยะเวลาที่สตรียังมีชีวิตอยู่) และการรอดชีวิตโดยปราศจากโรค; disease free survival (ระยะเวลาที่สตรียังคงปลอดโรค) สำหรับการผ่าตัดผ่านกล้อง (รูกุญแจ) เปรียบเทียบกับการผ่าตัดเปิดหน้าท้องในสตรีที่สันนิษฐานว่าเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกในระยะเริ่มต้น

ผลการศึกษาที่สำคัญ
ผลจากการศึกษา 6 รายการ ที่สตรีถูกสุ่มให้ได้รับการรักษาหนึ่งในสองกลุ่มการรักษา พบว่า ไม่มีความแตกต่างใน ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ระหว่างสตรีที่ได้รับการผ่าตัดแบบส่องกล้องและสตรีที่ได้รับการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง นอกจากนี้ผลจากการทดลองแบบสุ่ม 5 รายการ ยืนยันว่าไม่มีความแตกต่างในความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งซ้ำระหว่างสตรีที่ได้รับการผ่าตัดแบบส่องกล้องและสตรีที่ได้รับการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่องกล้องมีความสัมพันธ์กับการเสียเลือดน้อยลงและการออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น

ความเชื่อมั่นของหลักฐาน
ความเชื่อมั่นของหลักฐานสำหรับการรอดชีวิตโดยรวม (OS) และการกลับเป็นซ้ำ (RFS) อยู่ในระดับปานกลาง ความเชื่อมั่นของหลักฐานสำหรับผลข้างเคียงต่ำ

บทสรุป
การปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมนี้เป็นการยืนยันผลการการทบทวนวรรณกรรมครั้งก่อนว่า การส่องกล้อง (รูกุญแจ) เป็นทางเลือกที่มีประสิทธิผลและเป็นไปได้นอกจากการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (การผ่าตัดแบบเปิด) ในการรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกระยะเริ่มต้น ในส่วนของผลการอยู่รอดในระยะยาว การรักษาโดยการผ่าตัดแบบส่องกล้องเท่าเทียมกันกับการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

การทบทวนวรรณกรรมนี้พบหลักฐานที่มีความเชื่อมั่นในระดับต่ำถึงปานกลางที่สนับสนุนบทบาทของการผ่าตัดแบบส่องกล้องในการรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกในระยะเริ่มต้น สำหรับมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกปฐมภูมิในระยะเริ่มต้น ชนิด Endometrioid ของเยื่อบุโพรงมดลูก (endometrioid adenocarcinoma of the endometrium) การส่องกล้องเกี่ยวข้องกับ OS และ DFS ที่คล้ายคลึงกัน นอกจากนี้การผ่าตัดแบบส่องกล้องยังเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยจากการผ่าตัดและการนอนโรงพยาบาลที่ลดลง ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการเจ็บป่วยอย่างรุนแรงหลังการผ่าตัดระหว่างการผ่าตัดสองรูปแบบ

ความแน่นอนของหลักฐานสำหรับ OS และ RFS อยู่ในระดับปานกลางและถูกลดระดับเนื่องจากความเสี่ยงที่ไม่ชัดเจนของอคติและความไม่แม่นยำในการประมาณผลกระทบ อย่างไรก็ตามการศึกษาส่วนใหญ่ใช้วิธีการสร้างลำดับและการปกปิดการจัดสรรอย่างเพียงพอ ดังนั้นการศึกษาจึงไม่มีแนวโน้มที่จะมีอคติในการเลือก ผลลัพธ์ของเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ถูกลดระดับลงด้วยเหตุผลเดียวกันและนอกจากนี้ low event rates และ low power ดังนั้นผลลัพธ์เหล่านี้จึงทำให้หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

นี่เป็นการปรบปรุงการทบทวนวรรณกรรมก่อนหน้านี้ที่เผยแพร่ในปี 2012 ฉบับที่ 9

การผ่าตัดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (การผ่าตัดมดลูกโดยการเอาท่อนำไข่และรังไข่ออก) สามารถทำได้โดยการผ่าตัดผ่านกล้อง มีการกล่าวว่าวิธีการผ่าตัดแบบส่องกล้องช่วยลดความเจ็บป่วยจากการผ่าตัดลงได้ ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมามีการใช้การผ่าตัดส่องกล้องสำหรับมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การทบทวนนี้ได้ศึกษาหลักฐานเกี่ยวกับประโยชน์และผลเสียของการผ่าตัดผ่านกล้องเปรียบเทียบกับการผ่าตัดเปิดหน้าท้องสำหรับมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกระยะเริ่มต้น

วัตถุประสงค์: 

เพื่อเปรียบเทียบการรอดชีวิตโดยรวม (OS) และการอยู่รอดโดยปราศจากโรค (DFS) สำหรับการผ่าตัดผ่านกล้องเปรียบเทียบกับการผ่าตัดเปิดหน้าท้องในสตรีที่เป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกระยะเริ่มต้น

วิธีการสืบค้น: 

สำหรับการปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้เราค้นหาจาก Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL; 2018, Issue 5) ใน Cochrane Library, MEDLINE ผ่าน Ovid (เมษายน 2012 ถึง มิถุนายน 2018) และ Embase ผ่าน Ovid (เมษายน 2012 ถึง มิถุนายน 2018) นอกจากนี้เรายังค้นหาจากทะเบียนการทดลองทางคลินิก บทคัดย่อของการประชุมทางวิทยาศาสตร์ และรายการอ้างอิงของการศึกษาที่นำเข้ามาในการทบทวน การลงทะเบียนการทดลองประกอบด้วย NHMRC Clinical Trials Register, UKCCCR Register of Cancer Trials, Meta-Register และ Physician Data Query Protocol

เกณฑ์การคัดเลือก: 

การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCTs) เปรียบเทียบการผ่าตัดแบบส่องกล้องและการผ่าตัดเปิดหน้าท้องสำหรับมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกระยะเริ่มต้น

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนวรรณกรรมดึงข้อมูล และประเมินความเสี่ยงของการมีอคติ อย่างเป็นอิสระต่อกัน เราใช้ hazard ratios (HRs) สำหรับ การรอดชีวิตโดยรวม (OS) และการรอดชีวิตโดยไม่มีโรคกลับเป็นซ้ำ (RFS) risk ratios (RR) ใช้สำหรับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง และ mean differences (MD) สำหรับผลลัพธ์ที่ต่อเนื่องในสตรีที่ได้รับการส่องกล้องหรือการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง โดยมีช่วงความเชื่อมั่น (CI) 95% และผลของการศึกษาเหล่านั้นจะถูกวิเคราะห์รวมกันโดยใช้วิธี random-effects meta-analyses

ผลการวิจัย: 

เราได้ระบุการศึกษาใหม่ 1 รายการในการปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้ การตรวจสอบประกอบด้วยการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม 9 รายการ เปรียบเทียบการผ่าตัดแบบส่องกล้องกับการผ่าตัดเปิดหน้าท้องเพื่อรักษาตัดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกระยะเริ่มต้น

การศึกษาทั้ง 9 รายการเป็นไปตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าและมีสตรี 4389 คนที่รวมอยู่ในการศึกษา มี 6 การศึกษา ที่ประเมินผู้เข้าร่วม 3993 คนที่เป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกระยะเริ่มต้น พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตระหว่างสตรีที่ได้รับการผ่าตัดแบบส่องกล้องและสตรีที่ได้รับการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (HR 1.04, 95% 0.86 ถึง 1.25; หลักฐานมีความเชื่อมั่นปานกลาง) และ 5 การศึกษาประเมินผู้เข้าร่วม 3710 คน ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในความเสี่ยงของการกลับเป็นซ้ำระหว่างกลุ่มที่ได้รับารผ่าตัดแบบส่องกล้องและกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (HR 1.14, 95% CI 0.90 ถึง 1.43; หลักฐานมีความเชื่อมั่นปานกลาง) อัตราการเสียชีวิตจากการผ่าตัดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในเรื่องของ ความต้องการการได้รับเลือด และการบาดเจ็บต่อกระเพาะปัสสาวะ ท่อไต ลำไส้ และหลอดเลือด อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์เมตต้า 1 ใน 3 การศึกษาพบว่าสตรีในกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดแบบส่องกล้องสูญเสียเลือดน้อยกว่าสตรีในกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดเปิดหน้าท้องอย่างมีนัยสำคัญ (MD –106.82 mL, 95% CI –141.59 ถึง –72.06; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) การวิเคราะห์เมตต้าเพิ่มเติมของ 2 การศึกษา ซึ่งประเมินสตรี 3344 คน และรวมการการศึกษาที่มีขนาดใหญ่มากจากผู้เข้าร่วมกว่า 2500 คน พบว่าไม่มีความแตกต่างทางคลินิกในความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดที่รุนแรงในสตรีในกลุ่มที่ผ่าตัดแบบส่องกล้องและกลุ่มที่ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (RR 0.78, 95% CI 0.44 ถึง 1.38) การศึกษาส่วนใหญ่มีความเสี่ยงของการมีอคติปานกลาง การศึกษาทั้ง 9 รายการ ราายงานเรื่องการนอนโรงพยาบาลและผลการศึกษา พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วการผ่าตัดแบบส่องกล้องมีความสัมพันธ์กับการนอนโรงพยาบาลที่สั้นลง

บันทึกการแปล: 

แปลโดย พญ.วิลาสินี หน่อแก้ว วันที่ 15 พฤษภาคม 2021

Tools
Information