ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ฮอร์โมนสำหรับการคุมกำเนิดในสตรีที่น้ำหนักเกินหรืออ้วน

น้ำหนักตัวมากเกินไปเป็นปัญหาสุขภาพทั่วโลก การมีน้ำหนักตัวมากเกินไปหรืออ้วนอาจมีผลต่อการทำงานของวิธีการคุมกำเนิดบางชนิดในการป้องกันการตั้งครรภ์การคุมกำเนิดโดย ฮอร์โนนรวมถึง ยาเม็ด แผ่นแปะผิวหนัง วงแหวนช่องคลอด ยาฝัง ยาฉีด และห่วงคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมน

เราสืบค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวกับการคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนในสตรีที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน จนถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2016 เราค้นหางานวิจัยที่เปรียบเทียบสตรีที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนกับสตรีที่มีน้ำหนักหรือดัชนีมวลกายปกติ สูตรสำหรับดัชนีมวลกายคือ น้ำหนัก (กก)/ส่วนสูง (ม)2เรารวบรวมนำเข้าการวิจัยทุกรูปแบบ สำหรับการทบทวนวรรณกรรมเริ่มแรก เราติดต่อผู้วิจัยเพื่อสืบค้นงานวิจัยที่อาจจะหลุดไป

มีงานวิจัยเพิ่มขึ้น 8 เรื่องในการปรับให้ทันสมัยนี้ เราจึงมีงานวิจัย 17 เรื่อง มีสตรีทั้งหมด 63,813 คน ในครั้งนี้เราสนใจงานวิจัย 12 เรื่องที่มีคุณภาพสูง ปานกลาง และต่ำ งานวิจัยเกือบทั้งหมดไม่ได้แสดงว่ามีการตั้ครรภ์มากกว่าในสตรีน้ำหนักเกินหรืออ้วน งานวิจัย 2 ใน 5 ฉบับที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดพบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ดัชนีมวลกายต่างกัน ในงานวิจัยฉบับหนึ่ง สตรีทีน้ำหนักเกินมีความเสี่ยงต่อการเกิดการตั้งครรภ์สูงกว่า อีกฉบับหนึ่งพบอัตราการตั้งครรภ์น้อยกว่าในสตรีอ้วนเมื่อเทียบกับสตรีไม่อ้วน การวิจัยฉบับที่ 2 ศึกษาแผ่นปิดผิวหนังชนิดใหม่ สตรีอ้วนในกลุ่มที่ใช้แผ่นแปะผิวหนังมีอัตราการตั้งครรภ์สูงกว่า จากการวิจัย 5 ฉบับที่ศึกษายาฝัง มี 2 งานวิจัยพบความแตกต่างระหว่างกลุ่มน้ำหนัก เป็นการศึกษายาฝังรุ่นเก่าชนิด 6 แท่ง งานวิจัยฉบับหนึ่งพบอัตราการตั้งครรภ์สูงกว่าในปีที่ 6 และ 7 รวมกันในสตรีที่หนัก 70 กก หรือมากกว่า อีกงานวิจัยรายงานความแตกต่างในปีที่ 5 เฉพาะกลุ่มน้ำหนักตัวน้อย ผลการวิจัยในวิธีคุมกำเนิดชนิดอื่นไม่ได้แสดงว่าน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วนจะสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ วิธีการดังเกล่าได้แก่ ยาฉีด ห่วงที่มีฮอร์โมน และยาฝังที่มี 1 หรือ 2 แท่ง

งานวิจัยเหล่านี้โดยทั่วไปไม่ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลร่างกายหรือน้ำหนักกับผลของฮอร์โมนคุมกำเนิด เราพบงานวิจัยจำนวนน้อยสำหรับวิธีส่วนใหญ่ งานวิจัยที่ใช้ดัชนีมวลกายสามารถบอกได้ว่าไขมันในร่างกายสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการคุมกำเนิดได้ดีกว่างานวิจัยที่ใช้น้ำหนักตัว วิธีการวิจัยที่ใช้ ทำงานได้ดีเมื่อใช้สอดคล้องกับทิศทาง การวิจัยโดยทั่วไปมีคุณภาพต่ำโดยเฉพาะการศึกษาเก่าๆ อย่างไรก็ตามงานวิจัยจำนวนมากน่าจะมีคุณภาพสำหรับวัตถุประสงค์เดิมสูงกว่าสำหรับการเปรียบเทียบครั้งนี้

บทนำ

โรคอ้วนได้เพิ่มขึ้นถึงสัดส่วนการเป็นโรคระบาดไปทั่วโลก ประสิทธิผลของฮอร์โมนคุมกำเนิด อาจจะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเมตาโบลิซึ่มในโรคอ้วน หรือดัชนีมวลกาย หรือไขมันในร่างกาย ฮอร์โมนคุมกำเนิดได้แก่ ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีด ห่วงคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมน แผ่นแปะผิวหนัง และวงแหวนสำหรับช่องคลอด (vaginal ring) จากปัญหาความชุกของการมีน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน ผลกระทบทางสารธารณสุขต่อประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดอาจจะมีความสำคัญ

วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินประสิทธิผลของฮอร์โมนคุมกำเนิดในการป้องกันการตั้งครรภ์ในสตรีทีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วนเปรียบเทียบกับสตรีที่ดัชนีมวลกายหรือน้ำหนักน้อยกว่า

วิธีการสืบค้น

จนถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2016 เราสืบค้นงานวิจัยใน PubMed (MEDLINE), CENTRAL, POPLINE, Web of Science, ClinicalTrials.gov และ ICTRP เราตรวจสอบเอกสารอ้างอิงของงานวิจัยเหล่านี้เพื่อค้นหางานวิจัยอื่น ในการทบทวนวรรณกรรมครั้งแรก เราติดต่อผู้วิจัยเพื่อค้นหางานวิจัยเพิ่มเติมทั้งที่ได้ตีพิมพ์และไม่ได้ตีพิมพ์

เกณฑ์การคัดเลือก

งานวิจัยทุกชนิดสามารถนำมาใช้ได้ งานวิจัยฮอร์โมนคุมกำเนิดอะไรก็ได้ รายงานต้องมีข้อมูลวิธีคุมกำเนิดที่ใช้ ผลลัพธ์หลักคือการตั้งครรภ์ น้ำหนักเกินหรืออ้วนจะต้องมีการกำหนดโดยน้ำหนักหรือค่าดัชนีมวลกาย(kg/m2)(kg/m2)

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัย 2 คนดึงข้อมูลจากงานวิจัยโดยเป็นอิสระต่อกัน คนหนึ่งบันทึกข้อมูลลงใน RevMan และอีกคนตรวจสอบความถูกต้อง การเปรียบเทียบที่สำคัญคือสตรีน้ำหนักเกินหรืออ้วนกับสตรีที่น้ำหนักหรือดัชนีมวลกายน้อยกว่า เราประเมินคุณภาพของข้อมูลโดยใช้ Newcastle-Ottawa Quality Assessment Scale เราใช้ life-table rates ถ้ามี เราใช้อัตราการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ปรับ relative risk หรือ rate ratio สำหรับตัวแปร dichotomous เราคำนวน odds ratio และ 95% confidence interval (CI).

ผลการวิจัย

มีงานวิจัยเพิ่มเติม 8 ฉบับในการ update ครั้งนี้ มีงานวิจัยเข้าข่าย 17 ฉบับ มีสตรีทั้งหมด 63813 คน เราพิจารณางานวิจัย 12 ฉบับที่มีข้อมูลที่มีคุณภาพสูง ปานกลางและต่ำ งานวิจัยเกือบทั้งหมดไม่ได้แสดงอัตราการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้นในสตรีน้ำหนักเกินหรืออ้วน งานวิจัยยาเม็ดคุมกำเนิด 5 ฉบับพบว่า ดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์กับอัตราการตั้งครรถ์ แต่ในทิศทางต่างกัน สำหรับยาเม็ดคุมกำเนิดที่มี norethindrone acetate and ethinyl estradiol (EE)อัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้นในสตรีน้ำหนักเกิน กล่าวคือ เปรียบเทียบ BMI ≥ 25 กับ < 25 พบ relative risk 2.49, 95% CI 1.01 to 6.13. ในทางตรงข้าม งานวิจัยยาเม็ดคุมกำเนิดที่มี levonorgestrel และ EE รายงาน Pearl Index เท่ากับ 0 ในสตรีอ้วน(BMI ≥ 30) เปรียบเทียบกับ 5.59 ในสตรีที่ BMI < 30. งานวิจัยเดียวกันประเมินแผ่นแปะผิวหนังที่มี levonorgestrel and EE ในกลุ่มแผ่นแปะผิวหนัง สตรีอ้วนในกลุ่มย่อย"treatment-compliant"มี Pearl Index สูงกว่าสตรีไม่อ้วน (4.63 versus 2.15) งานวิจัย 2 ใน 5 ฉบับที่ศึกษายาฝังที่มี levonorgestrel 6 แท่งพบความสัมพันธ์ระหว่างการตั้งครรภ์กับน้ำหนัก งานวิจัยฉบับหนึ่งพบว่าน้ำหนักที่มากกว่าจะมีอัตราการตั้งครรภ์ในปีที่ 6 และ 7 รวมกันสูงกว่า (P < 0.05) งานวิจัยอีกฉบับหนึ่งพบอัตราการตั้งครรภ์แตกต่างกันในปีที่ 5 เฉพาะกลุ่มที่น้ำหนักตัวน้อยกว่า (P < 0.01) และไม่เกี่ยวกับสตรีที่หนัก 70 กกหรือมากกว่า

การวิเคราะห์ข้อมูลของการคุมกำเนิดชนิดอื่นไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการตั้งครรภ์กับน้ำหนักเกินหรืออ้วน ทั้งนี้ครอบคลุมถึง ยาฉีด ห่วงที่มี levonorgestrel ยาฝังชนิด 2 แท่ง และยาฝังชนิด etonogestrel

ข้อสรุปของผู้วิจัย

หลักฐานโดยทั่วไปไม่ได้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายหรือน้ำหนักตัวที่สูงกับประสิทธิผลของการคุมกำเนิดที่ใช้ฮอร์โมน อย่างไรก็ตาม เราพบงานวิจัยบางเรื่องสำหร้บวิธีคุมกำเนิดส่วนใหญ่ งานวิจัยที่ใช้ดัชนีมวลกายร่วมกับน้ำหนักตัวด้วยสามารถให้ข้อมูลว่าส่วนประกอบของร่างกายจะเกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของการคุมกำเนิดหรือไม่ วิธีการคุมกำเนิดที่มีการศึกษานี้เป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลสูงสุดถ้าได้ใช้ตามที่กำหนดไว้

เราพิจารณาว่าคุณภาพโดยรวมของงานวิจัยสำหรับวัตถุประสงค์ของการทบทวนนี้อยู่ในระดับต่ำ งานวิจัยระยะหลังมีคุณภาพต่างกัน แต่งานวิจัยเก่าๆโดยทั่วไปมีคุณภาพต่ำ คุณภาพของงานวิจัยสำหรับวัตถุประสงค์เบื้องต้นน่าจะดีกว่าในการเปรียบเทียบที่ไม่ได้สุ่มนี้ ผู้วิจัยควร พิจารณาควบคุมตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับดัชนีมวลกายและประสิทธิผลของการคุมกำเนิด งานวิจัยใหม่ซึ่งมีสัดส่วนของสตรีน้ำหนักเกินและอ้วน จะช่วยประเมินประสิทธิผลและอาการข้างเคียงของฮอร์โมนคุมกำเนิดในกลุ่มดังกล่าว

บันทึกการแปล

ผู้แปล ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Citation
Lopez LM, Bernholc A, Chen M, Grey TW, Otterness C, Westhoff C, Edelman A, Helmerhorst FM. Hormonal contraceptives for contraception in overweight or obese women. Cochrane Database of Systematic Reviews 2016, Issue 8. Art. No.: CD008452. DOI: 10.1002/14651858.CD008452.pub4.