ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

การให้ความรู้ด้านสุขภาพแบบ mHealth ผ่านทาง smartphone tablet และโปรแกรมหรือ application บน internet สำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว

คำถามของการทบทวน

อะไรคือหลักฐานการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมสำหรับการให้ความรู้ด้านสุขภาพผ่านทาง mHealth ต่อความรู้เกี่ยวกับหัวใจล้มเหลว (HF) การดูแลตนเองและการรับรู้ความสรรถนะของตนเองสำหรับผู้ที่มี HF เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการให้ความรู้แบบเดิม

ความเป็นมา

การให้ความรู้มีความสำคัญต่อการดูแลตนเอง (กิจกรรมที่บุคคลกระทำอย่างจงใจที่จะปรับปรุงภาวะสุขภาพ ป้องกันโรค จำกัดการเจ็บป่วย และฟื้นฟูสุขภาพ) ใน HF การให้ความรู้แบบดั้งเดิมสำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเป็นการให้ความรู้แบบเผชิญหน้าโดยใช้สื่อแบบกระดาษหรือ video/DVD ในยุคที่เทคโนโลยีพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีการใช้ smart phone และ tablet แพร่หลาย mHealth เทคโนโลยีเป็นวิธีใหม่ในการให้ความรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงหรือไม่ต้องการใช้โปรแกรมการให้ความรู้หรือบริการเกี่ยวกับ HFแบบดั้งเดิม

ช่วงเวลาที่สืบค้น

เราพบการศึกษาที่ทำการสืบค้นในเดือนตุลาคม 2019

ลักษณะของการศึกษา

ในการทบทวนครั้งนี้เรารวบรวมการศึกษาแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพแบบ mHealth สำหรับผู้ป่วย HF ไว้ 5 เรื่อง (ผู้เข้าร่วมการศึกษา 971 คน) อายุเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมการศึกษาอยู่ระหว่าง 60 ถึง 75 ปีและ 63% ของผู้เข้าร่วมการศึกษาเป็นผู้ชาย เป็นการศึกษาจากประเทศออสเตรเลีย จีน อิหร่าน สวีเดน และเนเธอร์แลนด์

ผลลัพธ์ที่สำคัญ

การศึกษาทั้ง 5 เรื่อง กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับ HF; เราพบว่าไม่มีหลักฐานที่แสดงถึงความแตกต่างของความรู้เกี่ยวกับ HF ระหว่างการให้ความรู้ด้านสุขภาพแบบ mHealth เมื่อเทียบกับการให้ความรู้แบบปกติ การศึกษา 1 เรื่องที่ประเมินการรับรู้สมรรถนะของตนเองได้รายงานหลักฐานที่ขาดความชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการให้ความรู้ทางสุขภาพแบบ mHealth กับการให้ความรู้แบบปกติ การศึกษา 3 เรื่องที่ประเมินการดูแลตนเองเกี่ยวกับ HF ใช้เครื่องมือประเมินที่แตกต่างกัน เราไม่ได้รวบรวมการศึกษาเข้าด้วยกันเนื่องจากความแตกต่างของวิธีการวัดผลลัพธ์และหลักฐานที่ขาดความชัดเจน การศึกษาไม่ได้รายงานผลข้างเคียงใด ๆ ของการให้ความรู้แบบ mHealth การศึกษา 4 เรื่องประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ และแสดงถึงหลักฐานที่ขาดความชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการให้ความรู้ด้านสุขภาพแบบ mHealth กับการให้ความรู้แบบปกติ การศึกษา 3 เรื่องรายงานเกี่ยวกับอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับ HF การให้ความรู้ทางสุขภาพแบบ mHealth อาจส่งผลให้เกิดความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่เกิดเลยต่ออัตราการรักษาในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับ HF

คุณภาพของหลักฐาน

เราให้คะแนนคุณภาพของหลักฐานต่ำมากถึงต่ำเนื่องจากข้อจำกัดในการออกแบบและการดำเนินการศึกษาและการมีผู้เข้าร่วมการศึกษาที่นำมาวิเคราะห์น้อยกว่า 500 คน

บทสรุป

ไม่มีหลักฐานแสดงถึงความแตกต่างของการให้ความรู้ด้านสุขภาพแบบ mHealth สำหรับผู้ที่มี HF ต่อความรู้เกี่ยวกับ HF หลักฐานขาดความชัดเจนสำหรับการรับรู้สมรรถนะของตนเอง การดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ อาจมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยในด้านอัตราการรักษาในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับ HF เมื่อเทียบกับการให้ความรู้ตามปกติ 'การดูแลตามปกติ' ในกรณีนี้หมายถึงการลงทะเบียนในโปรแกรมการจัดการภาวะหัวใจล้มเหลว (แบบทำที่คลินิกหรือที่บ้าน) ดังนั้น การวิจัยเกี่ยวกับ HFในด้านนี้ ยังต้องมีการศึกษาต่อไปทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้มีหลักฐานเพิ่มเติม

บทนำ

โรคหัวใจล้มเหลว (HF) เป็นโรคเรื้อรังที่มีผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตและทำให้เกิดความท้าทายหลายประการต่อผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการดูแลตนเองที่ค่อนข้างซับซ้อนในแต่ละวัน ได้แก่ ยา การเฝ้าระวังน้ำหนักและอาการ การระบุสัญญาณของการเสื่อมถอยของโรค และการมาตรวจติดตามการรักษาและการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคลากรสุขภาพที่หลากหลาย การให้ความรู้มีความสำคัญต่อความตระหนักถึงประโยชน์ของแนวทางการรักษาและการยึดมั่นปฏิบัติตาม การให้ความรู้แบบดั้งเดิมสำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ในชุมชนหรือในโรงพยาบาล ใช้วิธีการให้ความรู้แบบเผชิญหน้าโดยใช้สื่อแบบกระดาษหรือ video/DVD ในยุคที่เทคโนโลยีพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีการใช้ smart phone และ tablet แพร่หลาย เทคโนโลย mHealth (นิยามโดยองค์การอนามัยโลกว่าเป็นเทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ได้และไร้สายเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ด้านสุขภาพ) เป็นนวัตกรรมใหม่ในการให้ความรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงหรือไม่ต้องการใช้โปรแกรมการให้ความรู้หรือบริการเกี่ยวกับ HF แบบดั้งเดิม

วัตถุประสงค์

เพื่อทำการทบทวนอย่างเป็นระบบและประเมินผลเชิงปริมาณด้านความเป็นไปได้ที่จะได้รับประโยชน์และโทษจากการให้ความรู้ด้านสุขภาพแบบ mHealth แก่ผู้ป่วย HF

วิธีการสืบค้น

เราทำการสืบค้นฐานข้อมูลและทะเบียนบรรณานุกรมที่หลากหลาย (CENTRAL, MEDLINE, Embase, CINAHL, PsycINFO, IEEE Xplore, ClinicalTrials.gov และ WHO International Clinical Trials Registry Platform (ICTRP) Search Portal) โดยใช้คำที่ระบุถึง HF, การให้ความรู้ และ mHealth เราสืบค้นทุกฐานข้อมูลตั้งแต่ระยะเวลาเริ่มต้นฐานข้อมูจนถึง ตุลาคม 2019 โดยไม่จำกัดภาษาที่ตีพิมพ์

เกณฑ์การคัดเลือก

เราคัดการศึกษาเข้าในกรณีที่เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCT) ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่ (≥ 18 ปี) ที่ได้รับการวินิจฉัย HF การศึกษาที่เราคัดเลือกเข้าเป็นการศึกษาที่เปรียบเทียบการให้ความรูด้านสุขภาพแบบ mHealth เช่น โปรแกรมบน internet และ web-based ที่ให้ความรู้ผ่านทาง smartphones และ tablet (รวมถึง application) และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่อื่น ๆ ข้อความ SMS และโปรแกรมการให้ความรู้ผ่านทาง social media เปรียบเทียบกับการดูแล HF ตามปกติ

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้ทำการทบทวน 2 คน คัดเลือกการศึกษา ประเมินความเสี่ยงต่ออคติ และสกัดข้อมูลจากรายงานการศึกษาที่คัดเลือก อย่างเป็นอิสระต่อกัน เราคำนวณความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (MD) หรือความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมาตรฐาน (SMD) สำหรับข้อมูลต่อเนื่อง และคำนวณค่า odds ratio (OR) สำหรับข้อมูลแบบ dichotomous โดยกำหนดช่วงความเชื่อมั่นที่ 95% (CI) เราประเมินความแตกต่างกันโดยใช้สถิติ I2 และประเมินคุณภาพของหลักฐานโดยใช้เกณฑ์ของ GRADE

ผลการวิจัย

เราได้คัดเลือกการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCTs) จำนวน 5 เรื่อง (ผู้เข้าร่วมการศึกษา 971 คน) ที่ทำการศึกษาโดยให้ความรู้ด้านสุขภาพแบบ mHealth แก่ผู้ที่เป็น HF จำนวนของผู้เข้าร่วมการศึกษามีตั้งแต่ 28 ถึง 512 คน อายุเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมการศึกษาอยู่ระหว่าง 60 ถึง 75 ปี และ 63% ของผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมดเป็นผู้ชาย เป็นการศึกษาในประเทศออสเตรเลีย จีน อิหร่าน สวีเดน และเนเธอร์แลนด์ การศึกษาส่วนใหญ่คัดเลือกผู้เข้าร่วมที่มีอาการของ HF, NYHA Class II - III

จากการศึกษา 3 เรื่องที่กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับ HF; พบว่าไม่มีหลักฐานที่แสดงถึงความแตกต่างของความรู้เกี่ยวกับ HF ระหว่างการให้ความรูด้านสุขภาพแบบ mHealth เมื่อเทียบกับการให้การดูแลตามปกติ (MD 0.10, 95% CI −0.2 to 0.40, P = 0.51, I2 = 0%; การศึกษาจำนวน 3 เรื่อง, ผู้เข้าร่วมการศึกษา 411 คน; คุณภาพหลักฐานระดับต่ำ) จากการศึกษา 1 เรื่องที่ประเมินการรับรู้สมรรถนะของตนเองรายงานว่าทั้งสองกลุ่มมีการรับรู้สมรรถนะของตนเองอยู่ในระดับสูงตั้งแต่แรก และมีความไม่ชัดเจนในหลักฐานของการให้ความรู้ (MD 0.60, 95% CI −0.57 ถึง 1.77; P = 0.31; 1 การศึกษา, ผู้เข้าร่วมการศึกษา 29 คน; คุณภาพหลักฐานระดับต่ำมาก) การศึกษา 3 เรื่องที่ประเมินการดูแลตนเองเกี่ยวกับ HF พบว่าใช้เครื่องมือประเมินที่แตกต่างกัน ดังนั้น เราจึงไม่ได้รวบรวมการศึกษาเข้าด้วยกันเนื่องจากลักษณะที่แตกต่างกันของการประเมินผลลัพธ์ และหลักฐานที่ปรากฏขาดความชัดเจน ไม่มีการศึกษาใดที่รายงานการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ มีการศึกษาจำนวน 4 เรื่องที่ประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ หลักฐานที่ปรากฏไม่ชัดเจนเกี่ยวกับผลของการให้ความรู้ด้านสุขภาพแบบ mHealth ต่อHRQoL (MD −0.10, 95% CI −2.35 ถึง 2.15; P = 0.93, I 2 = 61%; การศึกษาจำนวน 4 เรื่อง, ผู้เข้าร่วมการศึกษา 942 คน; คุณภาพหลักฐานระดับต่ำมาก) จากการศึกษา 3 เรื่องที่รายงานเกี่ยวกับอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับ HF พบว่า การให้ความรู้ด้านสุขภาพแบบ mHealth อาจส่งผลให้อัตราการรักษาในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับ HF แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือไม่แตกต่างกันเลย (OR 0.74, 95% CI 0.52 ถึง 1.06; P = 0.10, I 2 = 0%; การศึกษาจำนวน 3 เรื่อง, ผู้เข้าร่วมการศึกษา 894 คน; คุณภาพหลักฐานระดับต่ำ) เราให้ระดับคุณภาพของหลักฐานต่ำมากถึงต่ำ เนื่องจากจุดอ่อนในการออกแบบและการดำเนินการศึกษา ความแตกต่างระหว่างการศึกษา ค่าช่วงความเชื่อมั่น (CIs) กว้าง และการมีผู้เข้าร่วมการศึกษาที่นำมาวิเคราะห์น้อยกว่า 500 คน

ข้อสรุปของผู้วิจัย

เราพบว่า ไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการให้ความรู้ด้านสุขภาพแบบ mHealth สำหรับผู้ป่วย HF ทำให้เกิดความแตกต่างของความรู้เกี่ยวกับ HF; หลักฐานที่ปรากฏไม่ชัดเจนสำหรับผลด้าน การรับรู้สมรรถนะของตนเอง การดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ; และอาจส่งผลให้เกิดความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่แตกต่างเลยต่ออัตราการเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับ HF จากการศึกษาที่นำมาทบทวนแสดงให้เห็นว่าการศึกษาด้านนี้ยังคงดำเนินการอยู่และยังอยู่ระหว่างการรวบรวมองค์ความรู้จากการวิจัย ที่หลักฐานจะปรากฏเพิ่มเติมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

บันทึกการแปล

แปลโดย ผศ.ดร.วาสนา รวยสูงเนิน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 26 ธันวาคม 2563

Citation
Allida S, Du H, Xu X, Prichard R, Chang S, Hickman LD, Davidson PM, Inglis SC. mHealth education interventions in heart failure. Cochrane Database of Systematic Reviews 2020, Issue 7. Art. No.: CD011845. DOI: 10.1002/14651858.CD011845.pub2.