ลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในสตรีที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดด้วยการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน

เรื่องนี้มีประเด็นอย่างไร

จุดมุ่งหมายของการทบทวน Cochrane นี้คือการค้นหาจากการทดลองแบบสุ่มที่มีการควบคุมว่า ยาและการรักษาอื่น ๆ มีประสิทธิผลเพียงใดในการลดอาการคลื่นไส้อาเจียนระหว่างและหลังการผ่าตัดคลอดด้วย epidural หรือ spinal anaesthesia เมื่อเปรียบเทียบกับการควบคุมที่ไม่ได้ใช้ เราสืบค้นการศึกษาที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อตอบคำถามการทบทวนวรรณกรรมของเรา (เมษายน 2020)

ทำไมเรื่องนี้จึงมีความสำคัญ

สตรีมักชอบการรู้สึกตัว ในการให้กำเนิดบุตรดังนั้นหากเป็นไปได้การผ่าตัดคลอดจะดำเนินการภายใต้ regional anaesthesia (spinal or epidural) อาการคลื่นไส้อาเจียนมักเกิดขึ้นในระหว่างและทันทีหลังการผ่าตัดคลอดโดยใช้ยาชาเฉพาะส่วน นี่เป็นเรื่องที่น่าวิตกสำหรับสตรี การอาเจียนในระหว่างการผ่าตัดยังสามารถทำให้เกิดปัญหาแก่ศัลยแพทย์ที่ทำการผ่าตัด และทำให้แม่มีความเสี่ยงที่ของเหลวจากกระเพาะอาหารจะเข้าไปในหลอดลม

มักใช้ยาหลายชนิดเพื่อลดอาการคลื่นไส้อาเจียน นอกจากนี้ยังมีแนวทางที่ไม่ใช้ยา เช่นการกดจุด / การฝังเข็มและขิง ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะความดันโลหิตต่ำ และอาการคัน

เราพบหลักฐานอะไร

เราพบการศึกษาแบบสุ่มที่มีการควบคุม 69 รายการ (เกี่ยวกับสตรี 8928 คน) ที่ให้ข้อมูล ข้อมูลส่วนใหญ่เกี่ยวกับการผ่าตัดคลอดแบบไม่ฉุกเฉินและสิ่งที่พบส่วนใหญ่ได้จากหลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำหรือต่ำมากเท่านั้น เนื่องจากการศึกษาจำนวนมากทำมานานแล้ว มีผู้เข้าร่วมจำนวนน้อย หรือวิธีการที่ไม่ชัดเจน ผลลัพธ์บางอย่างมีหลักฐานที่มีความเชื่อมั่นปานกลาง

5-HT 3 antagonists (เช่น ondansetron, granisetron): สิ่งเหล่านี้อาจช่วยลดอาการคลื่นไส้หลังการผ่าตัดและอาจลดอาการคลื่นไส้ระหว่างการผ่าตัด (หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) และการอาเจียนหลังการผ่าตัด แต่ผลต่อการอาเจียนระหว่างการผ่าตัดยังไม่ชัดเจน

Dopamine antagonists (เช่น metoclopramide, droperidol): สิ่งเหล่านี้อาจลดอาการอาเจียนระหว่างการผ่าตัดและอาการคลื่นไส้หลังการผ่าตัด แต่ไม่ชัดเจนว่าจะลดอาการคลื่นไส้ระหว่างการผ่าตัดและอาเจียนหลังการผ่าตัดหรือไม่

Steroids (เช่น dexamethasone): อาจช่วยลดอาการคลื่นไส้หลังการผ่าตัดและอาจลดอาการอาเจียนหลังการผ่าตัด แต่ยังไม่ชัดเจนว่า steroids ช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนระหว่างการผ่าตัดได้หรือไม่

Antihistamines (เช่น dimenhydrinate, cyclizine): อาจช่วยลดอาการคลื่นไส้หลังการผ่าตัดได้ แต่จะทำให้คลื่นไส้อาเจียนระหว่างการผ่าตัดและอาเจียนหลังการผ่าตัดมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่แตกต่าง

Anticholinergics (เช่น glycopyrrolate, scopolamine): อาจลดอาการคลื่นไส้ระหว่างการผ่าตัดและการอาเจียนหลังการผ่าตัด แต่อาจทำให้อาเจียนในระหว่างการผ่าตัดแตกต่างเล็กน้อยหรือไม่แตกต่าง ไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับอาการคลื่นไส้หลังการผ่าตัด

Steroids (เช่น dexamethasone): อาจช่วยลดอาการคลื่นไส้หลังการผ่าตัดและอาจลดอาการอาเจียนหลังการผ่าตัด แต่ยังไม่ชัดเจนว่า steroids ช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนระหว่างการผ่าตัดได้หรือไม่

Opioid antagonists (เช่น nalbuphine): การศึกษาเล็ก ๆ เพียงรายการเดียวที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังการผ่าตัดและพบว่าอาจสร้างความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีความแตกต่าง

การกดจุด / การฝังเข็ม: อาจช่วยลดอาการอาเจียนระหว่างการผ่าตัดได้ แต่ยังไม่แน่นอนว่าจะช่วยลดอาการคลื่นไส้ระหว่างการผ่าตัดหรือคลื่นไส้อาเจียนหลังการผ่าตัดได้หรือไม่

ขิง: ไม่ชัดเจนว่าขิงช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนระหว่างการผ่าตัดหรือคลื่นไส้อาเจียนหลังการผ่าตัดได้หรือไม่

การศึกษาไม่กี่รายการที่ประเมินมุมมองของสตรี ข้อมูลที่จำกัดของผลข้างเคียง ไม่พบความแตกต่างใด ๆ

สิ่งนี้หมายความว่าอะไร

ยาหลายประเภทอาจช่วยลดจำนวนสตรีที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนระหว่างและหลังการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนสำหรับการผ่าคลอดแม้ว่าจะต้องการข้อมูลเพิ่มเติม การกดจุดอาจช่วยได้เช่นกัน แต่เราไม่พบข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับขิง มีการศึกษาน้อยมากที่ดูมุมมองของสตรี และโดยรวมแล้วไม่มีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่เป็นไปได้

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

การทบทวนวรรณกรรมนี้บ่งชี้ว่า 5-HT3 antagonists dopamine antagonists, corticosteroids, sedatives and การกดจุด อาจมีประสิทธิภาพในการลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในสตรีที่ได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนสำหรับการผ่าตัดคลอด อย่างไรก็ตามความเชื่อมั่นของหลักฐานแตกต่างกันอย่างมาก และโดยทั่วไปอยู่ในระดับต่ำ จำเป็นต้องมีการวิจัยในอนาคตเพื่อประเมินผลข้างเคียงของการรักษา มุมมองของสตรี และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้ยาต่างๆร่วมกัน

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

อาการคลื่นไส้และอาเจียน เป็นอาการที่น่าวิตกซึ่งมักพบในระหว่างการผ่าตัดคลอดภายใต้การระงับความรู้สึกแบบเฉพาะส่วน และในช่วงหลังผ่าตัด

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินประสิทธิภาพของวิธีการใช้ยาและไม่ใช่ยา เทียบกับยาหลอกหรือไม่มีวิธีการใด ๆ เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนในสตรีที่ได้รับการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนสำหรับการผ่าตัดคลอด

วิธีการสืบค้น: 

ในการปรับปรุงนี้ เราสืบค้นข้อมูลจาก Cochrane Pregnancy and Childbirth’s Trials Register, ClinicalTrials.gov WHO International Clinical Trials Registry Platform (ICTRP) (16 เมษายน 2020) และเอกสารอ้างอิงของการศึกษาที่สืบค้นมาได้

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เราได้รวมการศึกษาแบบ randomized controlled trials (RCTs) และบทคัดย่อของการประชุมและคัดออกการศึกษาแบบ quasi-RCTs และ cross-over

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนวรรณกรรมคนได้ทำการประเมินงานวิจัยเพื่อการคัดเข้า ประเมินความเสี่ยงของการมีอคติ และคัดลอกข้อมูล อย่างอิสระต่อกัน ผลลัพธ์หลักของเราคืออาการคลื่นไส้อาเจียนระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด ทำการตรวจสอบการป้อนข้อมูล ผู้เขียนบททบทวนวรรณกรรม 2 คนประเมินความเชื่อมั่นของหลักฐานโดยอิสระโดยใช้แนวทาง GRADE

ผลการวิจัย: 

การศึกษา 84 รายการ (เกี่ยวกับสตรี 10,990 คน) เข้าเกณฑ์การคัดเลือกของเรา การศึกษา 69 รายการเกี่ยวข้องกับสตรี 8928 คนให้ข้อมูล การศึกษาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสตรีที่ได้รับการผ่าตัดคลอดแบบกำหนดล่วงหน้า การศึกษาจำนวนมากมีขนาดเล็ก โดยมีความเสี่ยงที่ไม่ชัดเจนในการเกิดอคติและบางครั้งก็มีเหตุการณ์เพียงเล็กน้อย ความเชื่อมั่นโดยรวมของหลักฐานที่ประเมินโดยใช้ GRADE อยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำมาก

5-HT 3 antagonists: เราพบว่าอาการคลื่นไส้ระหว่างการผ่าตัดอาจลดลงได้โดย 5-HT 3antagonists (อัตราส่วนความเสี่ยงโดยเฉลี่ย (aRR) 0.55, ช่วงความเชื่อมั่น 95% (CI) 0.42 ถึง 0.71, 12 การศึกษา, สตรี 1419 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) อาจมีการลดการอาเจียนระหว่างการผ่าตัด แต่หลักฐานไม่แน่นอนมาก (aRR 0.46, 95% CI 0.29 ถึง 0.73, 11 การศึกษา, สตรี 1414 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก) อาจมีอาการคลื่นไส้หลังผ่าตัดลดลง (aRR 0.40, 95% CI 0.30 ถึง 0.54, 10 การศึกษา, สตรี 1340 คน, หลักฐานที่มีความเชื่อมั่นปานกลาง) และยาเหล่านี้อาจลดอาการอาเจียนหลังผ่าตัด (aRR 0.47, 95% CI 0.31 ถึง 0.69, 10 การศึกษา, สตรี 1450 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ)

Dopamine antagonists: เราพบว่ายา dopamine antagonists อาจลดอาการคลื่นไส้ระหว่างการผ่าตัดได้ แต่หลักฐานยังไม่แน่นอนมาก (aRR 0.38, 95% CI 0.27 ถึง 0.52, 15 การศึกษา, สตรี 1180 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก) ยา dopamine antagonists อาจลดอาการอาเจียนระหว่างการผ่าตัด (aRR 0.41, 95% CI 0.28 ถึง 0.60, 12 การศึกษา, สตรี 942 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) และอาการคลื่นไส้หลังผ่าตัด (aRR 0.61, 95% CI 0.48 ถึง 0.79, 7 การศึกษา, สตรี 601 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) เราไม่แน่ใจว่ายา dopamine antagonists ช่วยลดอาการอาเจียนหลังผ่าตัดได้หรือไม่ (aRR 0.63, 95% CI 0.44 ถึง 0.92, 9 การศึกษา, สตรี 860 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก)

Corticosteroids (steroids): เราไม่แน่ใจว่าอาการคลื่นไส้ระหว่างการผ่าตัดจะลดลงด้วย corticosteroids (aRR 0.56, 95% CI 0.37 ถึง 0.83, 6 การศึกษา, สตรี 609 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก) ในทำนองเดียวกันสำหรับการอาเจียนระหว่างการผ่าตัด (aRR 0.52, 95% CI 0.31 ถึง 0.87, 6 การศึกษา, สตรี 609 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก) Corticosteroids อาจลดอาการคลื่นไส้หลังผ่าตัด (aRR 0.59, 95% CI 0.49 ถึง 0.73, 6 การศึกษา, สตรี 733 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง) และอาจลดอาการอาเจียนหลังผ่าตัด (aRR 0.68, 95% CI 0.49 ถึง 0.95, 7 การศึกษา, สตรี 793 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ)

Antihistamines: Antihistamine อาจมีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีผลต่ออาการคลื่นไส้ระหว่างการผ่าตัด (RR 0.99, 95% CI 0.47 ถึง 2.11, 1 การศึกษา, สตรี 149 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก) หรืออาเจียนระหว่างการผ่าตัด (ไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ ใน 1 การศึกษา สตรี 149 คน) Antihistamine อาจลดอาการคลื่นไส้หลังผ่าตัดได้ (aRR 0.44, 95% CI 0.30 ถึง 0.64, 4 การศึกษา, สตรี 514 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) อย่างไรก็ตามเราไม่แน่ใจว่า antihistamine ช่วยลดอาการอาเจียนหลังผ่าตัดได้หรือไม่ (aRR 0.48, 95% CI 0.29 ถึง 0.81, 3 การศึกษา, สตรี 333 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก)

Anticholinergics: Anticholinergics อาจลดอาการคลื่นไส้ระหว่างการผ่าตัด (aRR 0.67, 95% CI 0.51 ถึง 0.87, 4 การศึกษา, สตรี 453 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) แต่อาจมีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีผลต่อการอาเจียนระหว่างการผ่าตัด (aRR 0.79, 95% CI 0.40 ถึง 1.54, 4 การศึกษา, สตรี 453 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก) ไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับ anticholinergics ในอาการคลื่นไส้หลังผ่าตัด แต่อาจลดอาการอาเจียนหลังผ่าตัดได้ (aRR 0.55, 95% CI 0.41 ถึง 0.74, 1 การศึกษา, สตรี 161 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ)

Sedatives: เราพบว่ายา sedatives ระงับประสาทอาจช่วยลดอาการคลื่นไส้ระหว่างการผ่าตัด (aRR 0.65, 95% CI 0.51 ถึง 0.82, 8 การศึกษา, สตรี 593 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง) และการอาเจียนระหว่างการผ่าตัด (aRR 0.35, 95% CI 0.24 ถึง 0.52, 8 การศึกษา, สตรี 593 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง) อย่างไรก็ตามเราไม่แน่ใจว่ายา sedatives ช่วยลดอาการคลื่นไส้หลังผ่าตัดได้หรือไม่ (aRR 0.25, 95% CI 0.09 ถึง 0.71, 2 การศึกษา, สตรี 145 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก) และอาจลดอาการอาเจียนหลังผ่าตัด (aRR 0.09, 95% CI 0.03 ถึง 0.28, 2 การศึกษา, สตรี 145 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ)

Opioid antagonists: ไม่มีการศึกษาใดที่ประเมินอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนระหว่างการผ่าตัด Opioid antagonists อาจส่งผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีผล ในจำนวนสตรีที่มีอาการคลื่นไส้หลังผ่าตัด (aRR 0.75, 95% CI 0.39 ถึง 1.45, 1 การศึกษา, สตรี 120 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) หรืออาเจียนหลังผ่าตัด (aRR 1.25, 95% CI 0.35 ถึง 4.43, 1 การศึกษา, สตรี 120 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ)

การกดจุด: ไม่แน่ใจว่าการกดจุด / การฝังเข็มช่วยลดอาการคลื่นไส้ระหว่างการผ่าตัดได้หรือไม่ (aRR 0.55, 95% CI 0.41 ถึง 0.74, 9 การศึกษา, สตรี 1221 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก) การกดจุดอาจลดอาการอาเจียนระหว่างการผ่าตัด (aRR 0.52, 95% CI 0.33 ถึง 0.80, 9 การศึกษา, สตรี 1221 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) แต่ไม่แน่ใจว่าจะช่วยลดอาการคลื่นไส้หลังผ่าตัดได้หรือไม่ (aRR 0.46, 95% CI 0.27 ถึง 0.75, 7 การศึกษา, สตรี 1069 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก) หรืออาเจียนหลังผ่าตัด (aRR 0.52, 95% CI 0.34 ถึง 0.79, 7 การศึกษา, สตรี 1069 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก)

ขิง: ไม่แน่ใจว่าขิงสร้างความแตกต่างในจำนวนสตรีที่มีอาการคลื่นไส้ระหว่างการผ่าตัด (aRR 0.66, 95% CI 0.36 ถึง 1.21, 2 การศึกษา, สตรี 331 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก), อาเจียนระหว่างการผ่าตัด (aRR 0.62, 95% CI 0.38 ถึง 1.00, 2 การศึกษา สตรี 331 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก), คลื่นไส้หลังผ่าตัด (aRR 0.63, 95% CI 0.22 ถึง 1.77, 1 การศึกษา, สตรี 92 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก) และอาเจียนหลังผ่าตัด (aRR 0.20, 95% CI 0.02 ถึง 1.65, 1 การศึกษา, สตรี 92 คน, มีหลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก)

การศึกษาไม่กี่รายการ ประเมินผลลัพธ์รองของเรารวมถึงผลข้างเคียงหรือมุมมองของสตรี

บันทึกการแปล: 

แปลโดย ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 24 พฤษภาคม 2021

Tools
Information