ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สารอาหาร-ภูมิคุ้มกันสำหรับผู้ใหญ่ที่มีอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS)

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

กลุ่มอาการหายใจลำบากแบบเฉียบพลัน (ARDS) เป็นภาวะที่คุกคามชีวิตจากปอดอักเสบ (ระคายเคือง) และปอดได้รับความเสียหาย ในภาวะนี้ ปอดไม่สามารถส่งผ่านออกซิเจนเข้าไปในเลือดอย่างเพียงพอสำหรับอวัยวะสำคัญของร่างกาย มักจะพบในผู้ป่วยหนัก ปัจจุบันไม่มีตัวเลือกการรักษาที่มีประสิทธิภาพเฉพาะสำหรับกลุ่มอาการนี้ ทางเลือกหนึ่งคือการปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหาร การปรับเปลี่ยนสารอาหารให้กับผู้ใหญ่ที่มี ARDS รวมถึงส่วนประกอบของอาหารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ สามารถลดการอักเสบของปอดและปรับปรุงผลลัพธ์ในผู้ใหญ่ที่มีอาการนี้ กรดไขมันโอเมก้า 3 (รู้จักในชื่อ DHA และ EPA) พบได้ในน้ำมันปลาและมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ผู้ตรวจสอบได้ตรวจสอบผลการศึกษาจากรายงานและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางโภชนาการในการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับผู้ใหญ่ที่มี ARDS

ลักษณะของการศึกษา

หลักฐานเป็นปัจจุบันจนถึงเมษายน 2018 เรารวบรวมการศึกษา 10 เรื่อง ผู้เข้าร่วม 1015 คน การศึกษาเหล่านี้ดำเนินการในหอผู้ป่วยหนัก เปรียบเทียบโภชนาการมาตรฐาน (โภชนาการปกติที่จัดให้แก่ผู้ป่วย ARDS) กับโภชนาการที่เสริมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 หรือยาหลอก (สารที่ไม่มีฤทธิ์) และเปรียบเทียบกับการใช้หรือไม่ใช้สารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระเป็นโมเลกุลที่สามารถยับยั้งหรือชะลอการเกิด oxidation - ปฏิกิริยาที่อาจทำให้เกิดการอักเสบและทำลายเซลล์

ผลการศึกษาที่สำคัญ

ยังไม่ชัดเจนว่าการบริโภคสารอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 และสารต้านอนุมูลอิสระในผู้ป่วย ARDS ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตในระยะยาวหรือไม่ ไม่แน่ใจว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 และสารต้านอนุมูลอิสระจะลดระยะเวลารักษาในไอซียูและจำนวนวันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือได้รับออกซิเจนดีขึ้นหรือไม่ ยังไม่ชัดเจนว่าอาหารประเภทนี้ทำให้เกิดอันตรายเพิ่มขึ้น

คุณภาพของหลักฐาน

ผลของการทบทวนนี้มีความจำกัด จากการขาดมาตรฐานในการศึกษาในเรื่องวิธีการ, ประเภทของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและการรายงานการวัดผล เราประเมินคุณภาพของหลักฐานว่าต่ำมาก

บทนำ

อาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS) เกิดจากกระบวนการอักเสบของร่างกายทั้งระบบเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยและการเสียชีวิต ยังขาดการรักษาด้วยยาในการอักเสบระดับปานกลางใน ARDS การทดลองหลายเรื่องศึกษาโดยใช้ยาเป็นส่วนหนึ่งของการให้อาหารหรือเป็นอาหารเสริมต่อผลทางคลินิกในการป่วยหนัก และ ARDS

วัตถุประสงค์

เพื่อทบทวนและประเมินหลักฐานอย่างเป็นระบบ เกี่ยวกับผลของการใช้สารอาหาร-ภูมิคุ้มกันโดยเปรียบเทียบกับการให้อาหารที่ไม่ใช่สารอาหาร-ภูมิคุ้มกันในผู้ใหญ่ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ (อายุ 18 ปีขึ้นไป) ที่มีอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS)

วิธีการสืบค้น

เราสืบค้นจาก MEDLINE, Embase, CENTRAL, เอกสารจากการประชุมและการทดลองที่ได้ลงทะเบียนไว้ จนถึงวันที่ 25 เมษายน 2018 เราตรวจสอบเอกสารอ้างอิงจากการศึกษาที่ตีพิมพ์และการทบทวนวรรณกรรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เกณฑ์การคัดเลือก

เรารวม randomized controlled trials (RCTs) และ quasi-randomized เปรียบเทียบการใช้สารอาหาร-ภูมิคุ้มกันเทียบกับกลุ่มควบคุมหรือสูตรอาหารหลอกในผู้ใหญ่ (อายุ 18 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะ ARDS ตามนิยามของ Berlin definition of ARDS กรณีการศึกษาเก่าใช้นิยามของ American-European Consensus Criteria สำหรับทั้ง ARDS และภาวะที่ปอดถูกทำลายเฉียบพลัน

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้ทบทวนสองคนได้ทำการประเมินคุณภาพของการศึกษาและดึงข้อมูลอย่างเป็นอิสระต่อกัน เราได้หาข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ประพันธ์ เราทำการวิเคราะห์ทางสถิติตามมาตรฐานระเบียบวิธีของ Cochrane ผลการศึกษาหลักของเราคือการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ผลการศึกษารอง ได้แก่ ระยะเวลาเข้าพักในหน่วยผู้ป่วยหนัก (ICU), จำนวนวันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ, ดัชนีออกซิเจน, เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของหัวใจ, เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของระบบทางเดินอาหารและจำนวนเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทั้งหมด เราใช้ GRADE เพื่อประเมินคุณภาพของหลักฐาน

ผลการวิจัย

เราใด้ randomized controlled trials 10 เรื่อง ผู้เข้าร่วม 1,015 คน การศึกษาทั้งหมดเปรียบเทียบสูตรอาหารทางเลือกหรือเพิ่มกรดไขมันโอเมก้า 3 (เช่น eicosapentaenoic acid (EPA), docosahexaenoic acid (DHA)), gamma-linolenic acid (GLA) และสารต้านอนุมูลอิสระ เราประเมินผลการศึกษาที่รวบรวมมาว่ามีความเสี่ยงของการมีอคติสูงเนื่องจากข้อบกพร่องของระเบียบวิธีวิจัย การศึกษามีความแตกต่างกัน ในธรรมชาติและวิธีการ รวมถึงประเภทและระยะเวลาของวิธีการที่ใช้ (intervention), แคลอรี่ และการรายงานผลการศึกษา ทุกการศึกษามีการรายงานการเสียชีวิต สำหรับผลการศึกษาหลัก ผู้วิจัยรายงานว่าไม่มีความแตกต่างของการเสียชีวิตจากสาเหตุทั้งหมด (จากรายงานที่นานที่สุด) จากการใช้สูตรอาหารเสริม-ภูมิคุ้มกันหรืออาหารเสริมเพิ่มกรดไขมันโอเมก้า 3 และสารต้านอนุมูลอิสระ (risk ratio (RR) 0.79, ช่วงเชื่อมั่น 95% (CI) 0.59 ถึง 1.07 ผู้เข้าร่วม = 1015; การศึกษา = 10 เรื่อง; หลักฐานคุณภาพต่ำ)

สำหรับผลการศึกษารอง เราไม่แน่ใจว่าอาหารเสริม-ภูมิคุ้มกันกรดไขมันโอเมก้า 3 และสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถลดระยะเวลาการเข้าพักของ ICU (mean difference (MD) -3.09 วัน 95% CI -5.19 ถึง -0.99; ผู้เข้าร่วม = 639; การศึกษา = 8 เรื่อง; หลักฐานคุณภาพต่ำมาก) และจำนวนวันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ (MD -2.24 วัน, 95% CI -3.77 ถึง -0.71; ผู้เข้าร่วม = 581; การศึกษา = 7 เรื่อง; หลักฐานคุณภาพต่ำมาก) นอกจากนี้ เรายังไม่แน่ใจว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 และสารต้านอนุมูลอิสระช่วยเพิ่มออกซิเจนหรือไม่ ซึ่งวัดจากอัตราส่วนของความดันบางส่วนของออกซิเจนในหลอดเลือดแดง (PaO₂) ต่อสัดส่วนของออกซิเจนที่หายใจเข้า (FiO₂), ในวันที่ 4 (MD 39 mmHg 95% CI 10.75 ถึง 67.02 ; ผู้เข้าร่วม = 676; การศึกษา = 8 เรื่อง) หรือมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของหัวใจเพิ่มขึ้น (RR 0.87, 95% CI 0.09 ถึง 8.46; ผู้เข้าร่วม = 339; การศึกษา = 3 เรื่อง; หลักฐานคุณภาพต่ำมาก), เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของระบบทางเดินอาหาร 1.11, 95% CI 0.71 ถึง 1.75; ผู้เข้าร่วม = 427; การศึกษา = 4 เรื่อง; หลักฐานคุณภาพต่ำมาก), หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทั้งหมด (RR 0.91, 95% CI 0.67-1.23, ผู้เข้าร่วม = 517; การศึกษา = 5 เรื่อง; หลักฐานคุณภาพต่ำ)

ข้อสรุปของผู้วิจัย

การวิเคราะห์เมตต้าของการศึกษา 10 เรื่องเพื่อตรวจสอบคุณภาพของกรดไขมันโอเมก้า 3 และ / หรือสารต้านอนุมูลอิสระในผู้ใหญ่ที่มี ARDS วิธีการ (intervention) นี้อาจมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยในการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุระหว่างกลุ่ม เราไม่แน่ใจว่าอาหารเสริม-ภูมิคุ้มกันกรดไขมันโอเมก้า -3 และสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจและระยะเวลารักษาใน ICU หรือปริมาณออกซิเจนในวันที่ 4 จากหลักฐานมีคุณภาพต่ำมาก เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารเสริม-ภูมิคุ้มกันยังไม่แน่นอน เนื่องจากช่วงเชื่อมั่นรวมถึงมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่อหัวใจ, ระบบทางเดินอาหารและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทั้งหมด

บันทึกการแปล

แปลโดย เพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที 4 กรกฎาคม 2020

Citation
Dushianthan A, Cusack R, Burgess VA, Grocott MPW, Calder PC. Immunonutrition for acute respiratory distress syndrome (ARDS) in adults. Cochrane Database of Systematic Reviews 2019, Issue 1. Art. No.: CD012041. DOI: 10.1002/14651858.CD012041.pub2.