ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

การจัดแสงไฟในที่ทำงานเพื่อเพิ่มความตื่นตัวและสภาพอารมณ์ในผู้ปฏิบัติงานช่วงเวลากลางวัน

วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรมนี้คืออะไร

วัตถุประสงค์ของ Cochrane Review นี้เพื่อหาว่าประเภทของแสงที่เฉพาะเจาะจงสามารถเปลี่ยนระดับความตื่นตัวและสภาพอารมณ์ในผู้ปฏิบัติงานช่วงเวลากลางวันได้หรือไม่

เรารวบรวมและวิเคราะห์การศึกษา 5 เรื่องที่ตอบคำถามนี้

ใจความสำคัญ

แสงแบบขาวนวล เป็นที่รู้จักกันในทางทิคนิคว่าเป็นแสงที่มีอุณหภูมิของสีสูง อาจเพิ่มความตื่นตัว แต่ไม่เพิ่มสภาพอารมณ์ในผู้ปฏิบัติงานช่วงเวลากลางวัน แสงแบบขาวนวลอาจทำให้เกิดการระคายเคือง ไม่สบายตา และปวดศีรษะ การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของแสงโดยตรงและโดยอ้อมในพื้นที่ทำงานอาจไม่มีผลต่อความตื่นตัวหรือสภาพอารมณ์ แว่นตาที่ติดตั้ง LEDs (ซึ่งหมายถึง light emitting diode) ที่อุดมด้วยแสงสีฟ้า อาจเพิ่มความตื่นตัวและสภาวะอารมณ์ของคนทำงาน การสัมผัสแสงสว่างในช่วงบ่ายเพิ่มความตื่นตัวและสภาพอารมณ์ได้ดีเท่ากับการสัมผัสแสงสว่างในช่วงเช้า ในคนที่แสดงอาการที่ไม่รุนแรงพอสำหรับการวินิจฉัยภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล ผลที่พบทั้งหมดอยู่บนหลักฐานที่มีคุณภาพต่ำ หรือ คุณภาพต่ำมาก ดังนั้นยังต้องศึกษาเพิ่มเติม

ในการทบทวนวรรณกรรมนี้สิ่งที่ศึกษาคืออะไร

แสงสว่างเป็นสิ่งสำคัญในการทำงานทางชีวภาพหลายอย่าง เช่นการควบคุมการนอนหลับ และอาจมีอิทธิพลต่อสภาวะอารมณ์ของบุคคลและระดับของความตื่นตัว คนทำงานในช่วงกลางวันที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในห้องอาจได้สัมผัสแสงสว่างในระดับต่ำในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งอาจจะนำไปสู่การลดระดับของการตื่นตัวและความผิดปกติทางอารมณ์

เราวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาที่ตรวจสอบผลของแสงประเภทใดก็ตามต่อความตื่นตัวและอารมณ์ในคนทำงานช่วงกลางวันที่ทำงานในห้อง แสงประเภทต่างๆ รวมถึงแสงสีขาวนวลเปรียบเทียบกับแสงแบบ อบอุ่น ความเข้มของแสงระดับต่างๆ การใช้แสงเฉพาะบุคคล หรือการได้รับแสงแดด

ผลลัพธ์หลักของการทบทวนวรรณกรรมคืออะไร

เรานำเข้าการศึกษา 5 เรื่อง ผู้เข้าร่วม 282 คน ผู้เข้าร่วมเป็นพนักงานบริษัทและโรงพยาบาล การศึกษา 2 เรื่องวัดผลของแสงแบบขาวนวลและ การศึกษา 1 เรื่องมุ่งเน้นที่แหล่งกำเนิดแสงโดยตรง การศึกษา 2 เรื่อง วัดผลกระทบของแสงที่ใช้ส่วนบุคคลโดยใช้แว่นตาพิเศษ หรือกล่องแสง (กล่องเรียบที่มีด้านข้างเป็นแก้วโปร่งแสงหรือพลาสติกที่มีแสง)

แสงแบบขาวนวลอาจช่วยเรื่องความตื่นตัว แต่ไม่ช่วยเรื่องสภาพอารมณ์ และอาจทำให้ลดการหงุดหงิด อาการไม่สบายตาและการปวดศีรษะลง ผลการวิจัยเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการศึกษา 2 เรื่องที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคอุสาหกรรม

การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของแสงโดยตรงและโดยอ้อมในพื้นที่ทำงานอาจไม่มีผลต่อความตื่นตัวหรือสภาพอารมณ์

แสงที่อุดมด้วยสีฟ้า แต่มีข้อกำหนดให้ใช้แว่นตาที่ติดตั้ง LEDs อาจช่วยเรื่องความตื่นตัวและสภาพอารมณ์

การสัมผัสแสงจ้าส่วนบุคลโดยใช้กล่องแสงในช่วงบ่ายอาจช่วยเรื่องความตื่นตัวและสภาพอารม์เช่นเดียวกับการสัมผัสแสงจ้าในช่วงเช้าในผู้ที่แสดงอาการไม่รุนแรงพอสำหรับการวินิฉัยภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล

ผลการวิจัยทั้งหมดขึ้นอยู่กับหลักฐานที่มีคุณภาพต่ำหรือต่ำมาก (เนื่องจากมีจำนวนการศึกษาและผู้เข้าร่วมน้อยและปัญหาเรื่องวิธีการศึกษา) ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติม

เราไม่พบการศึกษาที่วัดผลกระทบของความเข้มแสง ความเข้มแสงร่วมกับสีของแสง หรือการสัมผัสแสงแดด

การทบทวนวรรณกรรมนี้ทันสมัยอย่างไร

เราสืบค้นการศึกษาที่ตีพิมพ์ถึงวันที่ 17 มกราคม 2018

บทนำ

การสัมผัสกับแสงมีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางชีวภาพ มีอิทธิพลต่อสภาพอารมณ์และความตื่นตัว ผู้ปฏิบัติงานในช่วงเวลากลางวันอาจได้รับแสงที่ไม่เพียงพอ หรือไม่เหมาะสมในช่วงเวลากลางวัน ทำให้เกิดความแปรปรวนของสภาพอารมณ์ และลดระดับความตื่นตัว

วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยของแสงเพื่อเพิ่มความตื่นตัวและสภาพอารมณ์ของผู้ปฏิบัติงานในช่วงเวลากลางวัน

วิธีการสืบค้น

เราสืบค้น the Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL), MEDLINE, Embase ฐานข้อมูลอื่นๆอีก 7 ฐาน ClinicalTrials.gov และ the World Health Organization trials portal จนถึงเดือนมกราคม 2018

เกณฑ์การคัดเลือก

เรานำเข้าการศึกษาแบบ randomised controlled trials (RCTs) และ non-randomised controlled before-after trials (CBAs) ที่ใช้การออกแบบ แบบ cross-over หรือ parallel-group มุ่งเน้นที่ชนิดของแสงที่ใช้ในผู้ปฏิบัติงานช่วงเวลากลางวัน

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัย 2 คนคัดกรองเอกสารอ้างอิงใน 2 ขั้นตอน คัดลอกข้อมูลผลลัพธ์และประเมินความเสี่ยงของการมีอคติอย่างอิสระต่อกัน เราใช้ standardised mean differences (SMDs) และช่วงเชื่อมั่น (CI) 95% เพื่อรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและสเกลต่างๆ เพื่อประเมินผลลัพธ์เดียวกันในการศึกษาต่างๆ เรารวมการศึกษาทางคลินิกที่คล้ายคลึงกันใน meta-analysis เราใช้ระบบ GRADE เพื่อประเมินคุณภาพของหลักฐาน

ผลการวิจัย

จากการสืบค้นพบ 2844 รายการ หลังจากการคัดกรองจากชื่อเรื่องและบทคัดย่อ เราพิจารณาบทความแบบเต็มฉบับ 34 เรื่องเพื่อนำเข้า เราพิจารณารายงานตามเกณฑ์การคัดเข้า มีการศึกษา 5 เรื่องที่เป็นไปตามเกณฑ์คัดเข้า (การศึกษาแบบ RCTs 3 เรื่อง และการศึกษาแบบ CBAs 2 เรื่อง) มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 282 คน การศึกษาเหล่านี้ได้ประเมินการเปรียบเทียบ 4 ประเภท ได้แก่ แสงแบบขาวนวล ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในทางเทคนิคว่ามีความสัมพันธ์สูงกับอุณหภูมิของสี เปรียบเทียบกับแสงมาตรฐาน; สัดส่วนความแตกต่างของแสงทางอ้อมและแสงทางตรง; การใช้แสงแบบขาวนวลส่วนบุคคลเปรียบเทียบกับไม่มีการรักษา; และใช้แสงสว่างยามเช้ากับแสงสว่างในเวลากลางวันเพื่อความผิดปกติทางอารมณ์ตามฤดูกาล

เราไม่พบการศึกษาที่เปรียบเทียบแสงหนึ่งระดับเปรียบเทียบกับอีกหนึ่งระดับ

เราพบการศึกษาแบบ CBA 2 เรื่อง (ผู้เข้าร่วม 163 คน) เปรียบเทียบแสงแบบ CCT สูงกับแสงแบบมาตรฐาน เมื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ด้วย meta-analysis พบว่า แสงแบบ CCT สูงอาจเพิ่มความตื่นตัว (SMD -0.69, 95% CI -1.28 ถึง -0.10; Columbia Jet Lag Scale และ the Karolinska Sleepiness Scale) เมื่อเปรียบเทียบกับแสงมาตรฐาน 1 ใน 2 การศึกษาแบบ CBA มีผู้เข้าร่วม 94 คน ไม่มีความแตกต่างของสภาพอารมณ์เชิงบวก (ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (MD) 2.08, 95% CI -0.1 ถึง 4.26) หรือสภาพอารมณ์เชิงลบ (MD -0.45, 95% CI -1.84 ถึง 0.94) ประเมินโดยการใช้สเกล the Positive and Negative Affect Schedule (PANAS) แสงแบบ CCT สูงอาจมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์น้อยกว่าแสงมาตรฐาน (การศึกษาแบบ CBA 1 เรื่อง มีผู้เข้าร่วม 94 คน) การศึกษาทั้ง 2 เรื่องได้รับการสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรม เราประเมินคุณภาพของหลักฐานว่าต่ำมาก

เราไม่พบการศึกษาใดที่เปรียบเทียบความเข้มของการส่องสว่าง และ สเปกตรัมของแสงหรือ CCT เปรียบเทียบกับการรวมกันของความเข้มของการส่องสว่างและสเปกตรัมแสงหรือ CCT

เราไม่พบการศึกษาที่เปรียบเทียบแสงแดดกับแสงที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง

เราพบการศึกษาแบบ RCT 1 เรื่อง (ผู้เข้าร่วม 64 คน) เปรียบเทียบผลของสัดส่วนของแสงแบบทางตรงและทางอ้อม แสงทางตรง 100%, แสงทางตรง 70% บวกกับแสงแบบทางอ้อม 30%, แสงแบบทางตรง 30% บวกกับแสงแบบทางอ้อม 70% และแสงแบบทางอ้อม 100% มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญต่อสภาพอารมณ์ตามที่ประเมินโดย The Beck Depression Inventory หรือต่อเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับสายตา การอ่าน หรือสมาธิ ในระยะสั้นและระยะกลาง เราประเมินคุณภาพของหลักฐานว่าอยู่ในระดับต่ำ

เราพบการศึกษาแบบ RCT 2 เรื่อง เปรียบเทียบแสงที่ให้รายบุคคลกับ no treatment ตามรายงานของการศึกษาแบบ RCT 1 เรื่อง มีผู้เข้าร่วม 25 คน ให้แสงแบบขาวนวลแต่ละคนเป็นเวลา 30 นาทีต่อวัน อาจเพิ่มความตื่นตัว (MD -3.30, 95% CI -6.28 ถึง -0.32; Epworth Sleepiness Scale) และอาจเพิ่มสภาพอารมณ์ (MD -4.8, 95% CI -9.46 ถึง -0.14; Beck Depression Inventory) เราประเมินคุณภาพของหลักฐานว่าต่ำมาก การศึกษาแบบ RCT 1 เรื่อง มีผู้เข้าร่วม 30 คน เปรียบเทียบการใช้แสงสว่างของแต่ละคนในตอนเช้ากับแสงสว่างในยามบ่ายสำหรับภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล ไม่มีความแตกต่างที่สำคัญเกี่ยวกับระดับการตื่นตัว (MD 7.00, 95% CI -10.18 ถึง 24.18) อาการภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล (RR 1.60, 95% CI 0.81 ถึง 3.20; จำนวนผู้ร่วมที่มีคะแนน SIGH-SAD ลดลงอย่างน้อย 50%) หรือความถี่ของเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ (RR 0.53 95% CI 0.26 ถึง 1.07) ในบรรดาผู้เข้าร่วมทั้งหมด 57% มีคะแนน SIGH-SAD ลดลงอย่างน้อย 50% เราประเมินคุณภาพของหลักฐานว่าอยู่ในระดับต่ำ

ไม่สามารถประเมินอคติในการตีพิมพ์ได้สำหรับการเปรียบเทียบใด ๆ เหล่านี้

ข้อสรุปของผู้วิจัย

มีหลักฐานที่มีคุณภาพต่ำมากตามการศึกษาแบบ CBA 2 เรื่อง ที่รายงานว่าแสงแบบ CCT สูงอาจเพิ่มความตื่นตัว แต่ไม่ช่วยในเรื่องสภาวะอารมณ์ในผู้ปฏิบัติงานในช่วงเวลากลางวัน มีหลักฐานที่มีคุณภาพต่ำมากจากการศึกษาแบบ CBA 1 เรื่อง ที่รายงานว่าแสงที่มี CCT สูงอาจทำให้เกิดอาการหงุดหงิด ความไม่สบายตาและอาการปวดศีรษะน้อยลงกว่าแสงสว่างตามมาตรฐาน มีหลักฐานที่มีคุณภาพต่ำมากจากการศึกษาแบบ RCT 1 เรื่อง รายงานว่าสัดส่วนของแสงแบบทางตรงและทางอ้อมต่างกันในพื้นที่ทำงานไม่ส่งผลต่อความตื่นตัวหรือสภาวะอารมณ์ หลักฐานมีคุณภาพต่ำมากจากการศึกษาแบบ RCT 1 เรื่อง ที่ใช้แสงที่อุดมด้วยสีฟ้าส่วนบุคคลเพิ่มทั้งความตื่นตัวและสภาวะอารมณ์ หลักฐานที่มีคุณภาพต่ำมากอ้างอิงจากการศึกษาแบบ RCT 1 เรื่อง ที่ให้แสงสว่างแต่ละคนในช่วงเวลากลางวันมีประสิทธิผลเท่ากับการสัมผัสแสงสว่างในช่วงเช้าเพื่อเพิ่มความตื่นตัวและสภาพอารมณ์ในผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล

บันทึกการแปล

แปลโดย ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2020

Citation
Pachito DV, Eckeli AL, Desouky AS, Corbett MA, Partonen T, Rajaratnam SMW, Riera R. Workplace lighting for improving alertness and mood in daytime workers. Cochrane Database of Systematic Reviews 2018, Issue 3. Art. No.: CD012243. DOI: 10.1002/14651858.CD012243.pub2.