ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กเพื่อวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมในระยะแรกจากโรคอัลไซเมอร์ในผู้มีสติปัญญาบกพร่องเล็กน้อยมีความแม่ยำแค่ไหน

เหตุใดการปรับปรุงการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ จึงมีวามสำคัญ

ความบกพร่องทางสติปัญญาคือการมีปัญหาในการจดจำ, การเรียนรู้ การมีสมาธิและการตัดสินใจ ผู้มีความบกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย (MCI) มักมีปัญหาด้านความจำกว่าคนในวัยเดียวกัน แต่ปัญหาเหล่านี้ไม่รุนแรงพอที่จะจัดเป็นภาวะสมองเสื่อม การศึกษาพบว่าคนที่มี MCI และสูญเสียความจำมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ (ประมาณ 10% ถึง 15% ของผู้ป่วยต่อปี) กว่าคนที่ไม่มี MCI (1% ถึง 2% ต่อปี) ปัจจุบันมีเพียงวิธีเดียวที่เชื่อถือได้ในการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์คือการติดตามผู้มี MCI และประเมินการเปลี่ยนแปลงด้านสติปัญญาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) อาจตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของสมองที่บ่งบอกถึงการเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์ การวินิจฉัย MCI ในระยะแรกจากโรคอัลไซเมอร์มีความสำคัญ เนื่องจากผู้ที่มี MCI จะได้รับประโยชน์จากการรักษาตั้งแต่ระยะแรกเพื่อป้องกันหรือชะลอการเสื่อมด้านการรับรู้

วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรมนี้

เพื่อประเมินความแม่นยำของ MRI ในการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมในระยะแรกจากโรคอัลไซเมอร์ในผู้ที่มี MCI

ในการทบทวนนี้สิ่งที่ศึกษาคืออะไร

การวัดปริมาตรสมองส่วนต่าง ๆ ด้วย MRI การศึกษาส่วนใหญ่ (22 เรื่อง ผู้เข้าร่วม 2209 คน) วัดปริมาตรฮิบโปแคมปัสซึ่งเป็นพื้นที่ของสมองที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำเป็นหลัก

จุดประสงค์หลักของการทบทวนคืออะไร

มีการรวบรวมการศึกษา 33 เรื่อง ผู้เข้าร่วมที่มี MCI 3935 คน ติดตามเป็นเวลาสองหรือสามปีเพื่อดูว่าพัฒนาเป็นโรคโรคอัลไซเมอร์หรือไม่ ประมาณหนึ่งในสามของพวกเขาเป็นโรคสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์

เราพบว่า MRI นั้น ยังไม่เพียงพอที่จะระบุว่าผู้มี MCI จะพัฒนาสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ การทำนายว่าผู้มี MCI ไม่เป็นโรคอัลไซเมอร์ผิด 81 คนจาก 300 คน (ผลลบลวง) และการทำนายว่าผู้มี MCI เป็นโรคอัลไซเมอร์ผิด 203 คนจากทั้งหมด 700 คน (ผลบวกลวง) จากผลการตรวจ ทำให้คนที่ได้รับการวินิจฉัยผิดพลาดว่ามีผลลบ จะมั่นใจอย่างผิด ๆ และไม่เตรียมตัวรับมือกับโรคอัลไซเมอร์

ความน่าเชื่อถือจากผลของการศึกษานี้เป็นอย่างไร

รวบรวมการศึกษาที่มีการวินิจฉัยอัลไซเมอร์ โดยการประเมินผู้เข้าร่วมทั้งหมดที่มีเกณฑ์ทางคลินิกมาตรฐานหลังจากการติดตามสองหรือสามปี เรามีข้อกังวลระเบียบวิธีวิจัย เนื่องจากผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ได้รับการคัดเลือกจากศูนย์การแพทย์และศูนย์ส่งต่อผู้ป่วย และเรายังมีข้อกังวลเกี่ยวกับการอ่านผล MRI นอกจากนี้ การศึกษายังดำเนินการแตกต่างกัน และใช้วิธีการที่แตกต่างกันในการเลือกผู้มี MCI และการทำ MRI

ผลการทบทวนนี้นำไปใช้กับใคร

ผลการศึกษาไม่ได้นำไปใช้กับผู้มี MCI ในชุมชน แต่ใช้เฉพาะกับผู้มี MCI ที่รักษาในคลินิกความจำหรือศูนยรับการส่งต่อ

การทบทวนนี้มผลกระทบอย่างไร

MRI เป็นการทดสอบอย่างเดียว ไม่ถูกต้องสำหรับการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมในระยะแรกจากโรคอัลไซเมอร์ในผู้มี MCI เนื่องจากผู้เข้าร่วมหนึ่งในสามหรือสี ได้รับการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ผิด การวิจัยในอนาคตไม่ควรมุ่งเน้นไปที่การทดสอบอย่างเดียว (เช่น MRI) แต่มีการทดสอบหลายอย่าง เพื่อปรับปรุงการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ในระยะแรก

ความเป็นปัจจุบันของการทบทวนนี้

หลักฐานนี้เป็นข้อมูลล่าสุดจนถึงวันที่ 29 มกราคม 2019

บทนำ

ความบกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย (MCI) จากโรคอัลไซเมอร์ เป็นระยะเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์ซึ่งมีอาการของความบกพร่องทางสติปัญญาและการทำงานยังไม่เข้าเกณฑ์สมองเสื่อม ในกลุ่มตัวอย่างทางคลินิก ผู้มี MCI ที่สูญเสียความทรงจำนั้น มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งมีอัตราความก้าวหน้าต่อปีจาก MCI ไปจนถึงโรคอัลไซเมอร์ประมาณ 10% ถึง 15% เมื่อเทียบกับอัตราอุบัติการณ์ของโรคอัลไซเมอร์ 1% ถึง 2% ต่อปี

วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินความถูกต้องในการวินิจฉัยด้วยการถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) สำหรับการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมในระยะแรกจากโรคอัลไซเมอร์ในผู้มี MCI เปรียบเทียบกับการวินิจฉัยติดตามอาการทางคลินิกของสมองเสื่อมโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน (การตรวจสอบแบบล่าช้า)

การตรวจสอบที่มีความแม่นยำแตกต่างกัน เช่น การใช้การประเมินคุณภาพด้วยสายตาหรือการวัดปริมาตรรวมถึงการใช้ manual หรือโดยอัตโนมัติ (MRI) หรือระยะเวลาในการติดตามและอายุของผู้เข้าร่วม

MRI ได้รับการประเมินว่าเป็นการตรวจผู้มี MCI เพิ่มเติมนอกเหนือจากการวินิจฉัยทางคลินิก เพื่อปรับปรุงการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมในระยะแรกจากโรคอัลไซเมอร์ในผู้มี MCI

วิธีการสืบค้น

วันที่ 29 มกราคม 2019 เราสืบค้น Cochrane Dementia และ Cognitive Improvement's Specialised Register และฐานข้อมูล MEDLINE, Embase, BIOSIS Previews, Science Citation Index, PsycINFO และ LILACS นอกจากนี้เรายังค้นหาจากเอกสารอ้างอิงของการศึกษาที่เข้าเกณฑ์ทั้งหมดจากการค้นหาทางอิเล็กทรอนิกส์

เกณฑ์การคัดเลือก

เราพิจารณาการศึกษาแบบ cohort ติดตามผู้ได้รับการวินิจฉัยโรคว่าเป็น MCI ทุกวัย เรารวมการศึกษาที่เปรียบเทียบความแม่นยำของการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ (การตรวจสอบแบบล่าช้า) ด้วย MRI เปรียบเทียบกับการวินิจฉัยด้วยอาการทางคลินิก เราไม่ได้คัดการศึกษาที่ติดตามระยะยาวออก เรารวมการศึกษาที่ใช้ทั้งการประเมินภาพเชิงคุณภาพหรือการวัดปริมาตรด้วย MRI ในการตรวจสอบว่ามีสมองฝ่อโดยดูจากสมองทั้งหมดหรือเฉพาะเจาะจง เช่น hippocampus, medial temporal lobe, lateral ventricles, entorhinal cortex, medial temporal gyrus, lateral temporal lobe, amygdala และ cortical grey matter

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

มีจำนวน 4 ทีมของผู้เขียนรีวิว 2 คน มีอิสระในการตรวจสอบหัวข้อและบทคัดย่อของบทความที่ระบุตามกระบวนการค้นหา 2 ทีมของผู้เขียนรีวิว 2 คนมีอิสระในการคัดเลือกบทความฉบับเต็ม การสกัดข้อมูลและแก้ไขความขัดแย้งโดยใช้ฉันทามติ ผู้เขียนรีวิว 2 คนทำการประเมินคุณภาพการศึกษาโดยใช้เครื่องมือ QUADAS-2 อย่างเป็นอิสระ เราใช้แบบจำลองคุณลักษณะการดำเนินงานตัวรับสรุปแบบลำดับชั้น (HSROC) เพื่อให้พอดีกับเส้นโค้ง ROC สรุปและเพื่อให้ได้การวัดโดยรวมของความแม่นยำสัมพัทธ์ในการวิเคราะห์กลุ่มย่อย นอกจากนี้เรายังใช้โมเดลเหล่านี้เพื่อประมาณค่าความไวและความเฉพาะเมื่อมีชุดข้อมูลเพียงพอ

ผลการวิจัย

เรารวมการศึกษา 33 เรื่องที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 1999 ถึง 2019 โดยมีผู้เข้าร่วม 3935 รายซึ่ง 1341 คน (34%) ก้าวหน้าเป็นโรคอัลไซเมอร์และ 2594 (66%) ไม่เป็นโรคอัลไซเมอร์ จากผู้เข้าร่วมที่ไม่ก้าวหน้าเป็นโรคอัลไซเมอร์ 2561 (99%) ยังคงมีอาการ MCI คงเดิมและ 33 (1%) ก้าวหน้าไปสู่ภาวะสมองเสื่อมชนิดอื่น สัดส่วนเฉลี่ยที่เป็นสตรีคือ 53% และอายุเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมอยู่ระหว่าง 63 ถึง 87 ปี (มัธยฐาน 73 ปี) ระยะเวลาเฉลี่ยของการติดตามผลทางคลินิกอยู่ระหว่าง 1 ถึง 7.6 ปี (ค่ามัธยฐาน 2 ปี) การศึกษาส่วนใหญ่มีคุณภาพของระเบียบวิธีวิจัยไม่ดีนัก เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ออคติในการการเลือกผู้เข้าร่วมหรือการทดสอบดัชนีหรือทั้งสองอย่าง

การศึกษาส่วนใหญรายงานข้อมูลเกี่ยวกับปริมาตรของฮิปโปแคมปัส (ความไวเฉลี่ยรวม 0.73 (95%CI 0.64 ถึง 0.80); ความจำเพาะฉลี่ยรวม 0.71 (95%CI 0.65 ถึง 0.77); การศึกษา 22 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 2209 คน) หลักฐานนี้มีความเชื่อมั่นต่ำ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ออคติและความไม่สอดคล้องกัน

การศึกษา 7 เรื่อง มีรายงานข้อมูลเกี่ยวกับ medial temporal lobe ฝ่อ (ความไวเฉลี่ย 0.64 (95% CI 0.53 ถึง 0.73); ความจำเพาะเฉลี่ย 0.65 (95% CI 0.51 ถึง 0.76), ผู้เข้าร่วม 1077 คน และการศึกษา 5 เรื่องศึกษาเกี่ยวกับปริมาตร (ความไวเฉลี่ย 0.57 (95% CI 0.49 ถึง 0.65); ความจำเพาะเฉลี่ย 0.64 (95% CI 0.59 ถึง 0.70); ผู้เข้าร่วม 1077 คน) หลักฐานนี้มีความเชื่อมั่นต่ำ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ออคติและความไม่สอดคล้องกัน

การศึกษา 4 เรื่อง ผู้เข้าร่วม 529 คน วิเคราะห์ปริมาตรของ entorhinal cortex ทั้งหมดและ การศึกษา 4 เรื่อง ผู้เข้าร่วม 424 คน วิเคราะห์ปริมาตรของสมองทั้งหมด เราไม่ได้ประมาณการความไวและความจำเพาะของปริมาตรของทั้งสองพื้นที่ เนื่องจากข้อมูลที่มีอยู่กระจัดกระจายและแตกต่างกัน

เราไม่สามารถประเมินทางสถิติถึงปริมาตรของ lateral temporal lobe, amygdala, medial temporal gyrus, หรือ cortical grey matter ที่ประเมินในการศึกษาเล็ก ๆ เพียงงานเดียว

เราไม่พบหลักฐานถึงความแตกต่างระหว่างการศึกษาในความถูกต้องของปริมาตรฮิปโปแคมปัสทั้งหมด กับระยะเวลาการติดตามหรืออายุของผู้เข้าร่วม แต่เทคนิค MRI แบบแมนนวลนั้นดีกว่าเทคนิคอัตโนมัติในการเปรียบเทียบแบบผสม เราไม่ได้ประเมินความแม่นยำสัมพัทธ์ของปริมาตรของพื้นที่สมองที่แตกต่างกันที่วัดโดย MRI เนื่องจากมีการเปรียบเทียบทางอ้อมเท่านั้น มีการศึกษาต่างกันและความแม่นยำโดยรวมของทุกพื้นที่สมองอยู่ในระดับปานกลาง

ข้อสรุปของผู้วิจัย

ปริมาตรของฮิปโปแคมปัสหรือ medial temporal lobe ซึ่งเป็นพื้นที่สมองที่ได้รับการศึกษามากที่สุด มีความไวและความจำเพาะต่ำในการตรวจด้วย MRI อย่างเดียว ควรเป็นการตรวจเพิ่มเติมสำหรับการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมในระยะแรกเนื่องจากโรคอัลไซเมอร์ในผู้มี MCI สอดคล้องกับแนวปฎิบัติสากลแนะนำให้ถ่ายภาพ เพื่อแยกสาเหตุที่ไม่เสื่อมหรือการผ่าตัดของความบกพร่องทางสติปัญญาและไม่วินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ ในมุมมองของการศึกษาคุณภาพต่ำส่วนใหญ่ที่รวมในการศึกษา การค้นพบของการทบทวนนี้ควรตีความด้วยความระมัดระวัง การวิจัยในอนาคตไม่ควรมุ่งเน้นไปที่การทดสอบอย่างเดียว แต่ควรทดสอบหลายอย่าง เพื่อปรับปรุงการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ในระยะแรก

บันทึกการแปล

แปลโดย เพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Citation
Lombardi G, Crescioli G, Cavedo E, Lucenteforte E, Casazza G, Bellatorre A-G, Lista C, Costantino G, Frisoni G, Virgili G, Filippini G. Structural magnetic resonance imaging for the early diagnosis of dementia due to Alzheimer's disease in people with mild cognitive impairment. Cochrane Database of Systematic Reviews 2020, Issue 3. Art. No.: CD009628. DOI: 10.1002/14651858.CD009628.pub2.