ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

แมกนีเซียมสำหรับอาการตะคริว

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

เราได้ตรวจสอบหลักฐานเกี่ยวกับผลของการเสริมแมกนีเซียมต่ออาการตะคริวของกล้ามเนื้อและรวมการศึกษาที่มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งหมายความรวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับทุกคนที่เป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อโดยไม่คำนึงว่าทำไมจึงเป็น นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงการศึกษาที่ให้แมกนีเซียมด้วยวิธีใด ๆ ที่มีอยู่ ซึ่งรวมถึงการกลืนกินเป็นเม็ดยาหรือของเหลว การฉีดช้าๆ เข้าทางหลอดเลือดโดยตรงเป็นเวลาหลายชั่วโมง ('การฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ') และการฉีดเข้ากล้าม ('การฉีดเข้ากล้าม') เรารวมการศึกษาเปรียบเทียบแมกนีเซียมกับยาหลอก เปรียบเทียบแมกนีเซียมกับการไม่รักษา และเปรียบเทียบแมกนีเซียมกับการรักษาตะคริวอื่น ๆ เราพบการศึกษาทั้งหมด 11 การศึกษา เพื่อประเมินผลประโยชน์ เราได้ตรวจสอบผลของแมกนีเซียมต่อความถี่ของตะคริว อาการปวดตะคริว และระยะเวลาที่เป็นตะคริวและเราได้ตรวจสอบจำนวนผู้เข้าร่วมที่มีอัตราการเป็นตะคริวลดลงร้อยละ 25 หรือมากกว่านั้น เพื่อประเมินอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เราได้ตรวจสอบว่าเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ด้านสุขภาพที่สำคัญและไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นบ่อยเพียงใด

ความเป็นมา

ตะคริวเป็นอาการที่พบได้บ่อยและเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ ผู้สูงอายุและสตรีมีครรภ์มักบ่นว่าเป็นตะคริวที่ขาในขณะพักผ่อนนักกีฬาอาจเป็นตะคริวได้เมื่อพวกเขาเร่งขีดจำกัดของความอดทน และบางคนอาจเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อซึ่งเป็นอาการของโรคอื่น ๆ ทางอายุรกรรม การรักษาที่เป็นไปได้อย่างหนึ่งทพบได้ทั่วไปเพื่อป้องกันตะคริวของกล้ามเนื้อคือการเสริมแมกนีเซียม แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่พบได้ทั่วไปในอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเสริมแร่ธาตุ ซึ่งมีจำหน่ายทางอินเทอร์เน็ตหรือในร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพและร้านขายยา (โดยปกติจะอยู่ในรูปแบบของเม็ดหรือผงละลายในน้ำ) เราต้องการรวมการศึกษาเพื่อให้ได้ค่าประมาณผลของแมกนีเซียมที่ดีที่สุดต่อการเป็นตะคริว นอกจากนี้เรายังต้องการตรวจสอบผลของแมกนีเซียมในผู้ที่เป็นตะคริวประเภทต่างๆ ในกรณีที่อาจได้ผลในสถานการณ์หนึ่งแต่ไม่ได้ผลในสถานการณ์อื่น

ลักษณะของการศึกษา

เราค้นหาการศึกษาคุณภาพสูงที่ตีพิมพ์ทั้งหมดที่ประเมินประสิทธิผลของแมกนีเซียมในการป้องกันตะคริวของกล้ามเนื้อและพบการศึกษา 5 รายการในผู้สูงอายุ 5 รายการในสตรีตั้งครรภ์ และการศึกษา 1 รายการในผู้ที่เป็นโรคตับแข็ง การศึกษาในผู้สูงอายุรวมผู้เข้าร่วม 271 คน (อายุ 61.6 ถึง 69.3 ปี) และการศึกษาในสตรีตั้งครรภ์รวมผู้เข้าร่วม 408 คน การศึกษาเดียวในผู้ที่เป็นโรคตับแข็งมีเพียง 29 คนเท่านั้น และไม่ใช่ทุกคนที่มีอาการตะคริว ไม่มีการศึกษาคนที่เป็นตะคริวขณะออกกำลังกาย แมกนีเซียมถูกเปรียบเทียบกับยาหลอกในการศึกษา 9 รายการจาก 11 รายการและเปรียบเทียบกับแคลเซียม วิตามินอี วิตามินบี 1 และบี 6 และไม่มีการรักษา ในสตรีตั้งครรภ์ 2 รายการ ระยะเวลาของการรักษาอยู่ในช่วง 14 ถึง 56 วัน แมกนีเซียมแบบรับประทานในการศึกษา 10 จาก 11 รายการและโดยการให้ทางหลอดเลือดดำในสี่ชั่วโมงในห้าวันติดต่อกันในหนึ่งการศึกษา แหล่งเงินทุนสำหรับการศึกษา มาจากผู้ผลิตแมกนีเซียมชนิดเม็ดใน 2 การศึกษา แหล่งทุนอิสระใน 3 การศึกษา และอีก 6 การศึกษาไม่มีรายงานแหล่งเงินทุน

ผลลัพธ์ที่สำคัญและความเชื่อมั่นของหลักฐาน

ผลรวมของการศึกษาที่น่าเชื่อถือ 5 รายการ ชี้ให้เห็นว่าด้วยความเชื่อมั่นระดับปานกลาง แมกนีเซียมไม่น่าจะลดความถี่หรือความรุนแรงของการเป็นตะคริวของกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ ในทางตรงกันข้ามการศึกษาทั้ง 5 รายการในสตรีตั้งครรภ์มีข้อ จำกัดที่สำคัญ ในเรื่องความน่าเชื่อถือ (ทั้งในการออกแบบการศึกษาและการรายงานผล) ไม่ได้แสดงประโยชน์อย่างสม่ำเสมอและไม่สามารถรวมกันได้ ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่แน่ใจว่าสตรีมีครรภ์ที่เป็นตะคริวกล้ามเนื้อจะได้รับประโยชน์จากแมกนีเซียมหรือไม่ การศึกษา 1 รายการในผู้ที่เป็นโรคตับแข็ง ไม่พบความแตกต่างของความถี่หรือความรุนแรงของตะคริว แต่มีขนาดเล็กเกินไปที่จะสามารถหาข้อสรุปได้

จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับแมกนีเซียมในสตรีตั้งครรภ์ เช่นเดียวกับผู้ที่เป็นตะคริวที่เกี่ยวกับปัญหาทางการแพทย์หรือตะคริวขณะออกกำลังกาย อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุที่เป็นตะคริวไม่น่าจะได้รับประโยชน์จากการรักษานี้ ผลข้างเคียงที่สำคัญเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก และผู้เข้าร่วมก็ถอนตัวออกจากการศึกษาในอัตราที่ใกล้เคียงกันเมื่อได้รับแมกนีเซียมหรือยาหลอก อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงเล็กน้อย คือ ส่วนใหญ่คืออาการท้องเสีย (ตามที่คาดไว้จากเกลือแมกนีเซียม) และอาการคลื่นไส้เป็นเรื่องปกติและได้รับผลกระทบประมาณร้อยละ 11 (ร้อยละ 10 ในกลุ่มควบคุม) ถึง ร้อยละ 37 (ร้อยละ 14 ในกลุ่มควบคุม) ของผู้เข้าร่วมทั้งหมด

การทบทวนวรรณกรรมนี้เป็นปัจจุบันถึงเดือนกันยายน 2019

บทนำ

ตะคริวเป็นได้บ่อยและมักเกิดร่วมกับการตั้งครรภ์ อายุที่มากขึ้น การออกกำลังกาย หรือความผิดปกติของเซลล์ประสาทสั่งการ (เช่น amyotrophic lateral sclerosis) โดยปกติแล้วตะคริวดังกล่าวไม่มีพยาธิสภาพที่ชัดเจน ดังนั้นจึงเรียกว่า idiopathic ผลิตภัณฑ์เสริมแมกนีเซียมมีจำหน่ายทั่วไปเพื่อป้องกันโรคตะคริว แต่ประสิทธิภาพของแมกนีเซียมเพื่ออาการนี้ยังไม่ชัดเจน

นี่คือการปรับปรุงของ Cochrane Review ที่เผยแพร่ครั้งแรกในปี 2012 และดำเนินการเพื่อระบุและรวมการศึกษาล่าสุด

วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผลของการเสริมแมกนีเซียมเมื่อเทียบกับการไม่ได้รับการรักษา การควบคุมด้วยยาหลอก หรือการรักษาตะคริวแบบอื่น ๆ ในผู้ที่เป็นตะคริว

วิธีการสืบค้น

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2019 เราได้ค้นหาจาก Cochrane Neuromuscular Specialized Register, CENTRAL, MEDLINE, Embase, LILACS, CINAHL Plus, AMED และ SPORTDiscus นอกจากนี้เรายังค้นหา WHO-ICTRP และ ClinicalTrials.gov สำหรับการทดลองที่ลงทะเบียนซึ่งอาจดำเนินต่อไปหรือไม่ได้เผยแพร่ และ ISI Web of Science สำหรับการศึกษาที่อ้างถึงการศึกษาที่รวมอยู่ในการทบทวนนี้

เกณฑ์การคัดเลือก

การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCTs) ของการเสริมแมกนีเซียม (ในรูปแบบใดก็ได้) เพื่อป้องกันการเป็นตะคริวในกลุ่มผู้ป่วยใด ๆ (เช่น การแสดงคลินิกทั้งหมดของตะคริว) เราพิจารณาการเปรียบเทียบการให้แมกนีเซียมกับไม่มีการรักษา การควบคุมยาหลอก หรือการรักษาแบบอื่น

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้ทบทวนวรรณกรรม 2 คน เลือกงานวิจัยเพื่อการคัดเข้า และคัดลอกข้อมูลอย่างเป็นอิสระต่อกัน ผู้เขียนการทบทวนวรรณกรรม 2 คนประเมินความเสี่ยงของอคติ เราพยายามติดต่อผูทำการศึกษาทั้งหมดเมื่อมีคำถามเกิดขึ้นและได้รับข้อมูลระดับผู้เข้าร่วมสำหรับการทดลอง 4 รายการซึ่งหนึ่งในนั้นไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ เรารวบรวมข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นใน RCT ที่รวมไว้

ผลการวิจัย

เราพบุการทดลอง 11 รายการ (9 parallel-group, 2 cross-over) โดยรวมผู้เข้าร่วมทั้งหมด 735 คน ในบรรดาผู้เข้าร่วมการทดลอง cross over 118 คน ยังทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมของตนเอง 5 การทดลองที่รวมสตรีที่มีอาการปวดขาที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ (ผู้เข้าร่วม 408 คน) และ 5 การทดลองที่รวมผู้ที่เป็นตะคริวที่ไม่ทราบสาเหตุ (ผู้เข้าร่วม 271 คนโดยมี 118 คนที่ข้ามไปเป็นกลุ่มควบคุมเพิ่มเติม) การศึกษาอีก 1 รายการรวมผู้ป่วยโรคตับแข็ง 29 คน มีเพียงบางคนเท่านั้นที่มีอากาตะคริวกล้ามเนื้อ การทดลองทั้งหมดให้แมกนีเซียมเป็นอาหารเสริมโดยการรับประทาน ยกเว้นการลอง 1 รายการที่ให้แมกนีเซียมเป็นชุดของการให้ยาทางหลอดเลือดดำอย่างช้าๆ การทดลอง 9 รายการเปรียบเทียบแมกนีเซียมกับยาหลอก 1 รายการเปรียบเทียบแมกนีเซียมกับไม่มีการรักษา แคลเซียมคาร์บอเนต หรือวิตามินบี และการทดลองอีก 1 รายการเปรียบเทียบแมกนีเซียมกับวิตามินอีหรือแคลเซียม เราได้ตัดสินการทดลอง 1 ราการในผู้ป่วยโรคตับแข็งและทั้ง 5 การทดลองในผู้เข้าร่วมที่มีอาการปวดขาที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะมีอคติ ในทางตรงกันข้ามเราให้คะแนนความเสี่ยงของการเกิดอคติสูงใน 1 ใน 5 การทดลองที่ผู้เข้าร่วมเป็นตะคริวที่ไม่ทราบสาเหตุ

สำหรับตะคริวที่ไม่ทราบสาเหตุ ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ (อายุเฉลี่ย 61.6 ถึง 69.3 ปี) สันนิษฐานว่าเป็นตะคริวที่ขาตอนกลางคืน (เป็นอาการแสดงที่พบบ่อยที่สุด) ความแตกต่างในการวัดความถี่ของตะคริวเมื่อเปรียบเทียบแมกนีเซียมกับยาหลอกมีขนาดเล็ก ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติและมีความแตกต่างกันน้อยที่สุด (I² = 0% ถึง 12%) ซึ่งรวมถึงจุดสิ้นสุดหลัก เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงจากค่าพื้นฐานของจำนวนตะคริวต่อสัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ (mean difference (MD) −9.59%, 95% confidence interval (CI) −23.14% ถึง 3.97%; 3 การศึกษา; ผู้เข้าร่วม 177 คน หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง); และความแตกต่างของจำนวนตะคริวต่อสัปดาห์ ที่ 4 สัปดาห์ (MD −0.18 cramps/week, 95% CI −0.84 ถึง 0.49; 5 การศึกษา; ผู้เข้าร่วม 307 คน; หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง) ร้อยละของบุคคลที่มีอัตราการเป็นตะคริวลดลงอย่างน้อยร้อยละ 25 หรือมากกว่าจากการตรวจวัดพื้นฐานก็ไม่แตกต่างกัน (RR 1.04, 95% CI 0.84 ถึง 1.29; 3 การศึกษา, ผู้เข้าร่วม 177 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นสูง) ในทำนองเดียวกันไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 4 สัปดาห์ในการวัดความรุนแรงของตะคริวหรือระยะเวลาของตะคริว ซึ่งรวมถึงจำนวนผู้เข้าร่วมให้คะแนนการเป็นตะคริวในระดับปานกลางหรือรุนแรงที่ 4 สัปดาห์ (RR 1.33, 95% CI 0.81 ถึง 2.21; 2 การศึกษา, ผู้เข้าร่วม 91 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นปานกลาง); และร้อยละของผู้เข้าร่วมที่มีระยะเวลาตะคริวส่วนใหญ่เป็นเวลา 1 นาทีหรือมากกว่า ที่ 4 สัปดาห์ (RR 1.83, 95% CI 0.74 ถึง 4.53, 1 การศึกษา, ผู้เข้าร่วม 46 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ)

เราไม่สามารถทำการ meta-analysis สำหรับการทดลองของตะคริวที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ได้ การศึกษาเดียวที่เปรียบเทียบแมกนีเซียมกับไม่มีการรักษาไม่สามารถพบประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับลำดับสามจุดของประสิทธิภาพการรักษาโดยรวม จากการทดลอง 3 รายการเปรียบเทียบแมกนีเซียมกับยาหลอกพบว่าไม่มีประโยชน์ในเรื่องความถี่หรือความรุนแรง อีก 1 การทดลองพบประโยชน์สำหรับทั้งสองอย่าง และการทดลองที่ 3 รายงานผลลัพธ์ที่ไม่สอดคล้องกันสำหรับความถี่ การศึกษาเดียวในผู้ป่วยโรคตับแข็ง มีจำนวนผู้เข้าร่วมน้อยและมีรายงานการเกิดตะคริวที่จำกัด แต่ไม่พบความแตกต่างในแง่ของความถี่ของตะคริวหรือความรุนแรงของตะคริว

การวิเคราะห์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของเรารวบรวมการศึกษาทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงบริบทที่เกิดตะคริว เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่สำคัญ (เกิดขึ้นในผู้รับแมกนีเซียม 2 ใน 72 ราย และผู้รับยาหลอก 3 ใน 68 ราย) และการถอนตัวเนื่องจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ไม่แตกต่างกับกลุ่มยาหลอก อย่างไรก็ตามในการศึกษา 4 รายการที่สามารถระบุได้ ผู้เข้าร่วมมีอาการไม่พึงประสงค์เล็กน้อยในกลุ่มแมกนีเซียมมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก (RR 1.51, 95% CI 0.98 ถึง 2.33; 4 การศึกษา, ผู้เข้าร่วม 254 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) โดยรวมแล้วแมกนีเซแบบรับประทานมีความสัมพันธ์กับอาการไม่พึงประสงค์ในระบบทางเดินอาหารเป็นส่วนใหญ่ (เช่นอาการท้องเสีย) ซึ่งพบได้ร้อยละ 11 (ร้อยละ 10% ในกลุ่มควบคุม) ถึงร้อยละ 37 (ร้อยละ 14 ในกลุ่มควบคุม) ของผู้เข้าร่วม

ข้อสรุปของผู้วิจัย

ไม่น่าเป็นไปได้ที่การเสริมแมกนีเซียมจะช่วยป้องกันตะคริวที่มีความหมายทางการแพทย์สำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการตะคริว ในทางตรงกันข้ามสำหรับผู้ที่มีอาการตะคริวจากการตั้งครรภ์วรรณกรรมยังมีความขัดแย้งกันและจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมในประชากรกลุ่มนี้ เราไม่พบ RCTs ที่ประเมินแมกนีเซียมสำหรับการเป็นตะคริวของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายหรือการเป็นตะคริวของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับโรค (ตัวอย่างเช่น amyotrophic lateral sclerosis/motor neuron disease) นอกเหนือจากการศึกษาขนาดเล็กเพียงครั้งเดียว (สรุปไม่ได้) ในผู้ที่เป็นโรคตับแข็งซึ่งมีเพียงบางคนเท่านั้นที่เป็นตะคริว

บันทึกการแปล

Translation notes CD009402.pub3

Citation
Garrison SR, Korownyk CS, Kolber MR, Allan GM, Musini VM, Sekhon RK, Dugré N. Magnesium for skeletal muscle cramps. Cochrane Database of Systematic Reviews 2020, Issue 9. Art. No.: CD009402. DOI: 10.1002/14651858.CD009402.pub3.