ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

การกระตุ้นเส้นประสาททางผิวหนังด้วยไฟฟ้า (TENS) สำหรับอาการปวดคอเรื้อรัง

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

อะไรคือประโยชน์และอันตรายจาก TENS สำหรับคนที่ปวดคอเรื้อรัง (> 12 สัปดาห์)

ความเป็นมา

อาการปวดคอเรื้อรังคืออาการปวดอย่างต่อเนื่องในบริเวณของกระดูกสันหลังส่วนคอจากฐานของศีรษะไปยังไหล่ส่วนบน นาน 12 สัปดาห์หรือมากกว่า มักจะมีการเคลื่อนไหวคอลดลง TENS เป็นการรักษาที่เป็นที่นิยมสำหรับอาการปวดคอเรื้อรัง เป็นการใช้อุปกรณ์ที่ส่งกระแสไฟฟ้าให้กับผิว เพื่อบรรเทาอาการปวด แม้ว่ามีการใช้ TENS กันอย่างแพร่หลายในการปฏิบัติทางคลินิก แต่ขาดหลักฐานเกี่ยวกับผลประโยชน์และอันตรายสำหรับคนที่มีอาการปวดคอเรื้อรัง

ช่วงเวลาที่สืบค้น

เรารวมการศึกษาที่ตีพิมพ์เผยแพร่ถึง 9 พฤศจิกายน 2018

ลักษณะของการศึกษา

เรารวบรวมการศึกษาเจ็ดเรื่อง รวบรวมผู้เข้าร่วม 651 คน (อายุเฉลี่ย 31.7 ถึง 55.5 ปี) ที่มีอาการปวดคอเรื้อรัง การศึกษาแต่ละเรื่องมีผู้เข้าร่วมอยู่ระหว่าง 30 ถึง 218 คน ผู้เข้าร่วมได้รับ TENS หรือการรักษาควบคุม (ยาหลอกหรือการรักษาชนิดอื่น) การศึกษามีความแตกต่างกันมากในแง่ของระยะเวลาของการให้ TENS (ตั้งแต่ 20 ถึง 60 นาที) จำนวนครั้ง (ตั้งแต่ 1 ถึง 12) และระยะเวลาทั้งหมดของโปรแกรมการรักษา (ตั้งแต่ 1 ถึง 45 วัน)

ผลการศึกษาที่สำคัญ

เนื่องจากความแตกต่างระหว่างการศึกษาที่รวบรวมได้ เราตัดสินใจว่า ไม่เหมาะสมที่จะนำผลมารวมกัน การศึกษาสองเรื่องจากเจ็ดเรื่อง การศึกษาที่รวบรวมได้ รายงานว่า TENS ไม่ได้ดีกว่าการรักษาหลอก (placebo) ในการลดอาการปวดคอของผู้เข้าร่วม ไม่มีการศึกษาที่ประเมินความทุพพลภาพหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

ความน่าเชื่อถือของหลักฐาน

มีหลักฐานที่ความมั่นต่ำมากเกี่ยวกับผลของ TENS สำหรับการรักษาอาการปวดคอเรื้อรัง

บทนำ

อาการปวดคอเรื้อรังเป็นภาวะที่แพร่หลายมาก มีผลต่อ 10% ถึง 24% ของประชากรทั่วไป การกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้าผ่านทางผิวหนัง (TENS) เป็นวิธีการที่ไม่รุนแรง เป็นการใช้การกระตุ้นด้วยไฟฟ้าผ่านทางผิวหนังเพื่อให้หายปวด TENS เป็นวิธีการที่ง่าย ค่าใช้จ่ายต่ำและปลอดภัยที่ใช้ในการปฏิบัติทางคลินิกเป็นการรักษาเสริมสำหรับการเจ็บปวดกล้ามเนื้อที่มีผลกระทบอย่างมากต่อกิจกรรมประจำวัน เช่นปวดคอเรื้อรัง การทบทวนวรรณกรรมนี้แยกออกมาจากการ Cochrane review เรื่องการบำบัดด้วยไฟฟ้าสำหรับอาการปวดคอ ตีพิมพ์ในปี 2013 และมุ่งเน้นโดยเฉพาะ TENS สำหรับการปวดคอเรื้อรัง

วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินประสิทธิผลของการกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้าทางผิวหนัง (TENS) (เพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับการรักษาอย่างอื่น) เมื่อเทียบกับการรักษาหลอกและการรักษาทางคลินิกอื่น ๆ สำหรับการรักษาอาการปวดคอเรื้อรัง

วิธีการสืบค้น

เราสืบค้น Cochrane Back and Neck Trials Register, CENTRAL, MEDLINE, Embase, ฐานขู้มูลอื่น ๆ ห้าฐาน และ สอง trials registers ถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2018 นอกจากนี้เรายังสืบค้นเอกสารอ้างอิงของการศึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อค้นหาการทดลองเพิ่มเติม ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับภาษา ที่มา หรือวันที่ตีพิมพ์

เกณฑ์การคัดเลือก

เรารวบรวม randomised controlled trials (RCTs) ที่ทำในผู้ใหญ่ (≥18ปี) ที่มีอาการปวดคอเรื้อรัง (นาน > 12 สัปดาห์) ที่เปรียบเทียบ TENS อย่างเดียวหรือร่วมกับการรักษาอื่นกับ การรักษาอื่น หรือการรักษาหลอก ผลลัพธ์หลักคือความเจ็บปวด ความพิการและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้ทบทวนสองคน คัดเลือกการศึกษา ดึงข้อมูลและประเมินความเสี่ยงของการมีอคติอย่างเป็นอิสระต่อกัน ผู้วิจัยคนที่สามจะได้รับการปรึกษาในกรณีที่เกิดความขัดแย้ง เราใช้เครื่องมือ Cochrane ‘Risk of Bias’ (ดัดแปลงโดย Cochrane Head and Neck) เพื่อประเมินความเสี่ยงของอคติของการทดลองแต่ละเรื่อง และ GRADE เพื่อประเมินความเชื่อมั่นของหลักฐาน เราใช้อัตราส่วนความเสี่ยง (RRs) เพื่อวัดผลการรักษาสำหรับผลลัพธ์แบบสองขั้ว และ mean differences สำหรับผลลัพธ์แบบต่อเนื่อง และช่วงเชื่อมั่น 95 % (CIs)

ผลการวิจัย

เรารวบรวม RCTs เจ็ดเรื่อง โดยมีผู้เข้าร่วม 651 คน อายุเฉลี่ย 31.7 ถึง 55.5 ปี ดำเนินการในสามประเทศที่แตกต่างกัน (ตุรกี, จอร์แดนและจีน) ระยะเวลาของการติดตามผลตั้งแต่หนึ่งสัปดาห์ถึงหกเดือน RCTs ส่วนใหญ่ใช้ TENS ต่อเนื่อง มีความถี่ของ 60 Hz ถึง 100 Hz, ความกว้างของชีพจร 40 μs ถึง 250 μs และความแรงที่ทนได้ บรรยายว่าเป็นความรู้สึกเสียวซ่าโดยไม่หดตัว ทำเป็นช่วงเวลาประจำวันที่ยาว 20 ถึง 60 นาที เนื่องจากความหลากหลายในการรักษาและผลลัพธ์ที่ได้ เราไม่ได้สังเคราะห์ข้อมูลแต่ละการศึกษาในการทำ met-analysis โดยรวม เราตัดสินว่าการศึกษาเกือบทั้งหมดมีความเสี่ยงต่ำสำหรับ selection bias และความเสี่ยงสูงสำหรับ performance และ detection

โดยวิธีการของ GRADE มีหลักฐานที่มีเชื่อมั่นต่ำมากจากการทดลองสองเรื่อง เกี่ยวกับผลของ TENS แบบดั้งเดิม เมื่อเทียบกับTENS หลอก ในเรื่องความเจ็บปวดระยะสั้น (ถึง 3 เดือนหลังการรักษา) (ประเมินโดย Visual Analogue Scale (VAS)) (MD - 0.10, 95% CI -0.97 ถึง 077) และเปอร์เซ็นต์ของผู้เข้าร่วมที่อาการปวดดีขึ้น (RR 1.57, 95% CI 0.84 ถึง 2.92) ไม่มีการศึกษาที่รายงาน ความทุพพลภาพหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

ข้อสรุปของผู้วิจัย

การทบทวนวรรณกรรมนี้พบหลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำมากของความแตกต่างระหว่าง TENS เมื่อเทียบกับ TENS หลอกในการลดอาการปวดคอ ดังนั้นเราจึงไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลลัพธ์ ปัจจุบันมีหลักฐานไม่เพียงพอเกี่ยวกับผลการใช้ TENS ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอเรื้อรัง ต้องการ RCTs ที่ออกแบบ ดำเนินการ และรายงานเป็นอย่างดีเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถได้ข้อสรุปที่ชัดเจน

บันทึกการแปล

แปลโดย ศ.นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 19 มกราคม 2020

Citation
Martimbianco ALC, Porfírio GJM, Pacheco RL, Torloni MR, Riera R. Transcutaneous electrical nerve stimulation (TENS) for chronic neck pain. Cochrane Database of Systematic Reviews 2019, Issue 12. Art. No.: CD011927. DOI: 10.1002/14651858.CD011927.pub2.