ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ทำได้ตามปกติเพื่อวินิจฉัย COVID-19 มีความแม่นยำเพียงใด

การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ทำได้ตามปกติคืออะไร

การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ ทำได้ตามปกติ คือการตรวจเลือดเพื่อประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วย การทดสอบรวมถึง ตรวจดูจำนวนเม็ดเลือดขาวประเภทต่างๆ (สิ่งเหล่านี้ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อ) และการตรวจหาตัวบ่งชี้ (โปรตีน) ที่บ่งบอกถึงความเสียหายของอวัยวะและการอักเสบทั่วไป การทดสอบเหล่านี้มีให้บริการอย่างกว้างขวางและในบางแห่งอาจเป็นการทดสอบเดียวสำหรับวินิจฉัย COVID-19

เราต้องการค้นหาอะไร

ผู้ที่สงสัยว่าเป็น COVID-19 จำเป็นต้องวินิจฉัยโดยเร็วว่าติดเชื้อหรือไม่ เพื่อที่จะสามารถแยกตัว รับการรักษา และแจ้งผู้สัมผัสใกล้ชิดได้

ปัจจุบันการทดสอบมาตรฐานสำหรับ COVID-19 มักเป็นการทดสอบ RT-PCR ใน RT-PCR ตัวอย่าง จากจมูกและลำคอ จะถูกส่งไปเพื่อทำการตรวจ โดยปกติจะไปยังห้องปฏิบัติการกลางขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์เฉพาะทาง การทดสอบอื่นๆ ได้แก่ การทดสอบการถ่ายภาพทางรังสี เช่น การเอกซ์เรย์ ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะ

เราต้องการทราบว่าการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ทำได้ตามปกติมีความแม่นยำเพียงพอที่จะวินิจฉัย COVID-19 ในผู้ที่สงสัยว่าจะเป็น COVID-19 หรือไม่ เราต้องการทราบด้วยว่าการตรวจเหล่านั้นมีความแม่นยำเพียงพอที่จะจัดลำดับความสำคัญของผู้ป่วยสำหรับการรักษาในระดับต่างๆหรือไม่

ผู้วิจัยทำการศึกษาอย่างไร

เราค้นหาการศึกษาที่ประเมินความแม่นยำของการตรวจทางห้องปฏิบัติที่ทำเป็นประจำเพื่อวินิจฉัย COVID-19 เปรียบเทียบกับ RT-PCR หรือการทดสอบอื่น ๆ การศึกษาอาจมีหลายรูปแบบและทำขึ้นที่ไหนก็ได้ การศึกษาอาจรวมถึงผู้เข้าร่วมทุกวัยหรือทุกเพศที่สงสัยว่าเป็น COVID-19 หรือใช้ตัวอย่างจากบุคคลที่ทราบว่ามีหรือไม่มี COVID-19

สิ่งที่เราพบ

เราพบการศึกษา 21 รายการ ที่ดูการทดสอบในห้องปฏิบัติการ 67 อย่างที่แตกต่างกันที่ใช้ในการตรวจผู้ป่วย COVID-19 การศึกษาส่วนใหญ่พิจารณาว่าการทดสอบเหล่านี้วินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิด COVID-19 ได้แม่นยำเพียงใด มี 4 การศึกษาที่มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีการศึกษา 16 รายการ ศึกษาเฉพาะในผู้ใหญ่ และมีการศึกษา 1 รายการที่ศึกษาในเด็กเท่านั้น มีการศึกษาวิจัยในประเทศจีนจำนวน 17 การศึกษา และในอิหร่าน อิตาลี ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา การศึกษาทั้งหมดเกิดขึ้นในโรงพยาบาล ยกเว้นมี 1 การศึกษาที่ใช้ตัวอย่างจากฐานข้อมูล การศึกษาส่วนใหญ่ใช้ RT-PCR เพื่อยืนยันการวินิจฉัย COVID-19

ส่วนใหญ่มักจะรายงานความแม่นยำของการทดสอบโดยใช้ "ความไว" และ "ความจำเพาะ" ความไว คือ สัดส่วนของผู้ที่ตรวจพบ COVID-19 อย่างถูกต้องจากการทดสอบ ความจำเพาะ คือ สัดส่วนของผู้ที่ไม่มี COVID-19 ซึ่งได้รับการระบุอย่างถูกต้องจากการทดสอบ ความไวและความจำเพาะที่ใกล้ 100% นั่นคือการทดสอบที่ดี การทดสอบเพื่อจัดลำดับการเข้ารับการรักษาจะต้องมีความไวสูงคือมากกว่า 80%

ซึ่งมี 4 การศึกษาขึ้นไป ประเมินการถ่ายภาพทรวงอกประเภทใดประเภทหนึ่ง เราได้รวบรวมผลลัพธ์และวิเคราะห์เข้าด้วยกัน การวิเคราะห์ของเราแสดงให้เห็นว่า มีการทดสอบเพียง 3 รายการ ที่มีทั้งความไวและความจำเพาะที่มากกว่า 50% การทดสอบ 2 รายการจากทั้งหมดเป็นตัวบ่งชี้สำหรับการอักเสบทั่วไป (การเพิ่มขึ้นของ interleukin-6 และ C-reactive protein) การทดสอบประการที่ 3 คือจำนวนเม็ดเลือดขาวลดลง Lymphocytes เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่จำนวนต่ำอาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อ

ผลลัพธ์น่าเชื่อถือแค่ไหน

ความเชื่อมั่นของเราในหลักฐานจากการทบทวนนี้อยู่ในระดับต่ำเนื่องจากการศึกษามีความแตกต่างกันทำให้นำมาเปรียบเทียบกันได้ยาก ตัวอย่าง เช่น บางคนรวมถึงผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก ในขณะที่บางการศึกษาผู้ป่วยแทบจะไม่มีอาการ COVID-19 เลย นอกจากนี้การวินิจฉัย COVID-19 ยังได้รับการยืนยันในรูปแบบที่ต่างกัน: บางครั้งใช้ RT-PCR ร่วมกับการทดสอบอื่น ๆ

ผลการทบทวนวรรณกรรมนี้สามารถนำไปใช้กับใครได้

การตรวจทางห้องปฏิบัติการตามปกติสามารถออกได้โดยสถานพยาบาลส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ของเราอาจไม่ได้เป็นตัวแทนของสถานการณ์ทางคลินิกส่วนใหญ่ที่ใช้การทดสอบเหล่านี้ การศึกษาส่วนใหญ่รวมถึงผู้ป่วยที่มีอัตราการติดเชื้อไวรัส COVID-19 สูง อยู่ระหว่าง 27% ถึง 76% ในสถานพยาบาลหลักส่วนใหญ่ เปอร์เซ็นนี้จะต่ำกว่า

สิ่งนี้หมายความว่าอะไร

การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ทำได้ตามปกติไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่าง COVID-19 และโรคอื่นๆได้ว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ การอักเสบ หรือความเสียหายของเนื้อเยื่อ ไม่มีการทดสอบใดทำได้ดีพอที่จะเป็นการตรวจวินิจฉัย COVID-19 แบบที่สามารถทำเพียงอย่างเดียว หรือจัดลำดับความสำคัญของผู้ป่วยในการรักษา ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อให้เห็นภาพรวมเกี่ยวกับสถานะสุขภาพของผู้ป่วย การวินิจฉัย COVID-19 ขั้นสุดท้ายต้องทำโดยอาศัยการทดสอบอย่างอื่นๆ

ความเป็นปัจจุบันของการทบทวนวรรณกรรมนี้เป็นอย่างไร

เราสืบค้นการศึกษา COVID-19 ทั้งหมดจนถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2020

บทนำ

การตรวจวินิจฉัยเฉพาะเพื่อตรวจหากลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงของ coronavirus 2 (SARS-CoV-2) และผลที่เกิดจากโรค COVID-19 ไม่สามารถทำได้เสมอไปและต้องใช้เวลาสักระยะเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ ตัวบ่งชี้ทางห้องปฏิบัติการที่ทำได้ตามปกติ เช่น การนับเม็ดเลือดขาว การวัดการแข็งตัวของเลือด C-reactive protein (CRP) และ procalcitonin ใช้เพื่อประเมินสถานะทางคลินิกของผู้ป่วย การตรวจทางห้องปฏิบัติการเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์สำหรับการแยกแยะคนที่มีโอกาสติดเชื้อ COVID-19 เพื่อจัดลำดับความสำคัญของการรักษาในระดับต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่มีเวลาและทรัพยากรที่จำกัด

วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินความแม่นยำในการวินิจฉัยของการทดสอบในห้องปฏิบัติการที่ทำได้ตามปกติ เพื่อเป็นการแยกแยะและตรวจสอบว่าบุคคลนั้นมี COVID-19 หรือไม่

วิธีการสืบค้น

ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2020 เราได้ทำการค้นหาทางอิเล็กทรอนิกส์ใน Cochrane COVID-19 Study Register และ COVID-19 Living Evidence Database จากมหาวิทยาลัยเบิร์น ซึ่งมีการปรับปรุงทุกวันด้วยบทความที่เผยแพร่จาก PubMed และ Embase และด้วยการพิมพ์ล่วงหน้าจาก medRxiv และ bioRxiv นอกจากนี้เรายังตรวจสอบแหล่งรวบรวมของสิ่งพิมพ์ COVID-19 ไม่มีข้อจำกัดด้านภาษาใด ๆ

เกณฑ์การคัดเลือก

เราได้รวมทั้งการออกแบบที่เป็น case-control designs และ consecutive series ของผู้ป่วย ซึ่งประเมินความแม่นยำในการวินิจฉัยของการทดสอบในห้องปฏิบัติการที่ทำเป็นปกติเพื่อใช้แยกแยะและเพื่อตรวจสอบว่าบุคคลนั้นมี COVID-19 หรือไม่ มาตรฐานอ้างอิงอาจเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส transcriptase ย้อนกลับ (RT-PCR) เพียงอย่างเดียว RT-PCR ร่วมกับความเชี่ยวชาญทางคลินิกหรือและการถ่ายภาพ; RT-PCR ซ้ำหลายๆ วัน หรือจากตัวอย่างที่แตกต่างกัน; WHO และคำจำกัดความกรณีอื่นๆ; และมาตรฐานอ้างอิงอื่นๆ ที่นักวิจัยใช้

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้ทบทวนวรรณกรรม 2 คน ดึงข้อมูลจากการศึกษาที่นำเข้าอย่างเป็นอิสระต่อกัน นอกจากนี้ยังประเมินคุณภาพระเบียบวิธีของการวิจัยโดยใช้ QUADAS-2 เราใช้ขั้นตอน 'NLMIXED' ใน SAS 9.4 สำหรับการวิเคราะห์เมตต้า แบบลำดับชั้นสรุปลักษณะการทำงาน (HSROC) ของการทดสอบซึ่งเรารวมการศึกษาไว้ 4 การศึกษาขึ้นไป เพื่ออำนวยความสะดวกในการตีความผลลัพธ์สำหรับการวิเคราะห์เมตต้า แต่ละครั้งเราจะประมาณค่าความไวสรุปที่จุดบนเส้นโค้ง SROC ที่สอดคล้องกับค่ามัธยฐานและขอบเขตช่วงระหว่างควอไทล์ของความจำเพาะในการศึกษาที่รวมไว้

ผลการวิจัย

เราได้รวมการศึกษา 21 รายการ ไว้ในการทบทวนนี้ซึ่งรวมผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 จำนวน 14,126 คน และผู้ป่วยที่ไม่ได้ติดเชื้อ COVID-19 จำนวน 56,585 คน การศึกษาประเมินผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการที่แตกต่างกันทั้งหมด 67 รายการ แม้ว่าเราจะสนใจเกี่ยวกับความแม่นยำของการทดสอบที่ทำได้ตามปกติสำหรับ COVID-19 แต่การศึกษาที่รวมไว้นั้นใช้การตรวจหาการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ผ่าน RT-PCR เป็นมาตรฐานอ้างอิง มีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างการทดสอบ ค่าเกณฑ์ และการตั้งค่าที่ใช้ สำหรับการทดสอบบางอย่าง ผลลัพธ์ที่เป็นบวกถูกกำหนดให้ลดลงเมื่อเทียบกับค่าปกติ สำหรับการทดสอบอื่นๆ ผลลัพธ์ที่เป็นบวกถูกกำหนดให้เป็นการเพิ่มขึ้น และสำหรับบางการทดสอบมีทั้งที่เพิ่มขึ้นและลดลงเพื่อบ่งบอกถึงความเป็นบวกในการทดสอบ ไม่มีการศึกษาใดที่มีความเสี่ยงต่ำในการเกิดอคติในทุกโดเมนหรือมีข้อกังวลต่ำสำหรับการบังคับใช้กับทุกโดเมน การทดสอบที่ประเมินเพียงสามครั้งเท่านั้นที่มีความไวในการสรุปและความจำเพาะมากกว่า 50% เหล่านี้ ได้แก่: การเพิ่มขึ้นของ interleukin-6, การเพิ่มขึ้นของ C-reactive protein และการลดจำนวนของ lymphocyte

การนับเม็ดเลือด

การศึกษา 11 รายการ ที่ประเมินการลดลงของจำนวนเม็ดเลือดขาว โดยมีค่ามัธยฐานจำเพาะ 93% และความไวสรุป 25% (95% CI 8.0% ถึง 27%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก) การศึกษา 15 รายการ ที่ประเมินการเพิ่มขึ้นของจำนวนเม็ดเลือดขาว มีความจำเพาะของค่ามัธยฐานที่ต่ำกว่าและความไวที่ลดลง การศึกษา 4 รายการ ประเมินการลดลงของจำนวน neutrophil ค่ามัธยฐานความจำเพาะคือ 93% ซึ่งสอดคล้องกับความไวสรุป 10% (95% CI 1.0% ถึง 56%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) การศึกษา 11 การศึกษาที่ประเมินการเพิ่มขึ้นของจำนวน neutrophil มีความจำเพาะของค่ามัธยฐานที่ต่ำกว่าและความไวที่ลดลง ความไวโดยสรุปของการเพิ่มขึ้นของเปอร์เซ็นของ neutrophil (4 การศึกษา) คือ 59% (95% CI 1.0% ถึง 100%) ที่ค่ามัธยฐานจำเพาะ (38%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก) ความไวโดยสรุปของการเพิ่มจำนวน monocyte (4 การศึกษา) คือ 13% (95% CI 6.0% ถึง 26%) ที่ค่ามัธยฐานจำเพาะ (73%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก) ความไวโดยสรุปของการลดลงของจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte (13 การศึกษา) คือ 64% (95% CI 28% ถึง 89%) ที่ค่ามัธยฐานเฉพาะ (53%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) การศึกษา 4 การศึกษาที่ประเมินการลดลงของเปอร์เซ็นต์ของ lymphocyte แสดงให้เห็นว่าลดลงและความไวที่ลดลง ความไวโดยสรุปของการลดลงของเกล็ดเลือด (4 การศึกษา) คือ 19% (95% CI 10% ถึง 32%) ที่ค่ามัธยฐานความจำเพาะ (88%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ)

การทดสอบการทำงานของตับ

ความไวโดยสรุปของการเพิ่มขึ้นของอะลานีนอะมิโนทรานสเฟอเรส (alanine aminotransferase) (9 การศึกษา) คือ 12% (95% CI 3% ถึง 34%) ที่ค่ามัธยฐานความจำเพาะ (92%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) ความไวโดยสรุปของการเพิ่มขึ้นของแอสพาเทตอะมิโนทรานสเฟอเรส (aspartate aminotransferase) (7 การศึกษา) คือ 29% (95% CI 17% ถึง 45%) ที่ค่ามัธยฐานความจำเพาะ (81%) (หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) ความไวโดยสรุปของการลดลงของโปรตีนไข่ขาว (albumin) (4 การศึกษา) คือ 21% (95% CI 3% ถึง 67%) ที่ค่ามัธยฐานความจำเพาะ (66%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) ความไวโดยสรุปของการเพิ่มขึ้นของโปรตีนไข่ขาวทั้งหมด (total albumin) (4 การศึกษา) คือ 12% (95% CI 3.0% ถึง 34%) ที่ค่ามัธยฐานความจำเพาะ (92%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก)

ตัวบ่งชี้ของการอักเสบ

ค่าความไวโดยสรุปของการเพิ่มขึ้นของ CRP (14 การศึกษา) คือ 66% (95% CI 55% ถึง 75%) ที่ค่ามัธยฐานความจำเพาะ (44%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก) ค่าความไวโดยสรุปของการเพิ่มขึ้นของ procalcitonin (6 การศึกษา) คือ 3% (95% CI 1% ถึง 19%) ที่ค่ามัธยฐานความจำเพาะ (86%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก) ค่าความไวโดยสรุปของการเพิ่มขึ้นของ IL-6 (4 การศึกษา) คือ 73% (95% CI 36% ถึง 93%) ที่ค่ามัธยฐานความจำเพาะ (58%) (หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก)

ตัวชี้วัดอื่น ๆ

ค่าความไวโดยสรุปของการเพิ่มขึ้นของ creatine kinase (5 การศึกษา) คือ 11% (95% CI 6% ถึง 19%) ที่ค่ามัธยฐานความจำเพาะ (94%) (หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) ค่าความไวโดยสรุปของการเพิ่มขึ้นของ creatinine ในเลือด (4 การศึกษา ) คือ 7% (95% CI 1% ถึง 37%) ที่ค่ามัธยฐานความจำเพาะ (91%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) ความไวโดยสรุปของการเพิ่มขึ้นของ lactate dehydrogenase (4 การศึกษา) คือ 25% (95% CI 15% ถึง 38%) ที่ค่ามัธยฐานความจำเพาะ (72%; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก)

ข้อสรุปของผู้วิจัย

แม้ว่าการทดสอบเหล่านี้จะบ่งชี้เกี่ยวกับสถานะสุขภาพโดยทั่วไปของผู้ป่วยและการทดสอบบางอย่างอาจเป็นตัวบ่งชี้เฉพาะสำหรับกระบวนการอักเสบ แต่ไม่มีการทดสอบใดที่เราตรวจสอบว่ามีประโยชน์ในการวินิจฉัย COVID-19 การศึกษาได้ทำในกลุ่มประชากรที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยเฉพาะ และการศึกษาในอนาคตควรพิจารณาทำในที่ที่ไม่ใช่โรงพยาบาล เพื่อประเมินว่าการทดสอบเหล่านี้จะดำเนินการอย่างไรในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง

บันทึกการแปล

แปลโดย พญ.วิลาสินี หน่อแก้ว วันที่ 18 พฤษภาคม 2021

Citation
Stegeman I, Ochodo EA, Guleid F, Holtman GA., Yang B, Davenport C, Deeks JJ, Dinnes J, Dittrich S, Emperador D, Hooft L, Spijker R, Takwoingi Y, Van den Bruel A, Wang J, Langendam M, Verbakel JY, Leeflang MMG, Cochrane COVID-19 Diagnostic Test Accuracy Group. Routine laboratory testing to determine if a patient has COVID-19. Cochrane Database of Systematic Reviews 2020, Issue 11. Art. No.: CD013787. DOI: 10.1002/14651858.CD013787.