ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เทคนิคการเลือกสเปิร์มขั้นสูงสำหรับการช่วยการเจริญพันธุ์

คำถามการทบทวนวรรณกรรม

เราพยายามที่จะตรวจสอบว่าเทคนิคการเลือกตัวอสุจิขั้นสูงที่ใช้สำหรับการช่วยการเจริญพันธุ์ ยกเว้นการใช้เทคนิคการขยายสูงพิเศษ ที่มีผลต่ออัตราการเกิดมีชีพ, การตั้งครรภ์ทางคลินิก, การแท้ง, หรือความผิดปกติของทารกในครรภ์

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

การผสมตัวอ่อนในหลอดทดลอง (in vitro fertilisation; IVF) ที่มีหรือไม่มีการฉีดสเปิร์มภายใน cytoplasmic (intracytoplasmic sperm injection; ICSI) เป็นการรักษาที่ใช้กันทั่วไปสำหรับคู่รักที่มีบุตรยาก มันเป็นความคิดที่ว่าการเลือกของสเปิร์มที่มีคุณภาพสูงอาจช่วยเพิ่มผลลัพธ์ที่ดีสำหรับคู่สมรส เทคนิคการเลือกสเปิร์มขั้นสูงใช้วิธีการที่ซับซ้อนในการเลือกตัวอสุจิที่แข็งแรง โตเต็มวัย และมีโครงสร้างที่ดี เพื่อนำไปปฏิสนธิ แม้จะมีการใช้เทคนิคเหล่านี้ในหลายศูนย์ทั่วโลก แต่ประสิทธิภาพของเทคนิคต่าง ๆเหล่านี้ยังไม่ชัดเจน

ลักษณะการศึกษา

เรารวบรวมการศึกษาทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมจำนวน 8 ฉบับ (ชนิดของการศึกษาที่ผู้เข้าร่วมจะถูกแบ่งออกเป็น หนึ่งในสอง หรือมากกว่าโดยใช้วิธีการสุ่ม) ซึ่งเป็นผู้หญิงทั้งหมด 4147 คน มีการศึกษา 4 ฉบับที่ทำการประเมินการเลือกสเปิร์มโดยอาศัยจากความสามารถในการจับกับกรดไฮยาลูโรนิกในระหว่างกระบวนการ ICSI (HA-ICSI) กับ การทำ ICSI ตามปกติ มีการศึกษา 1 ฉบับ เปรียบเทียบเทคนิค HA-ICSI เมื่อเทียบกับเทคนิค Sperlow มีการศึกษา 1 ฉบับ เปรียบเทียบ HA-ICSI กับการใช้ magnetic-activated cell (MAC) กับ ICSI มีการศึกษา 1 ฉบับเปรียบเทียบการใช้ MAC กับ ICSI มีการศึกษา 1 ฉบับ เปรียบเทียบการเลือกตัวอสุจิโดยการชาร์จพื้นผิว Zeta เมื่อเทียบกับ ICSI มีการศึกษา 6 ฉบับที่มีการรายงานอัตราการเกิดมีชีพ, การศึกษา 7 ฉบับรายงานการตั้งครรภ์ทางคลินิก, การศึกษา 6 ฉบับ รายงานอัตราการแท้งต่อการตั้งครรภ์ทางคลินิก และต่อผู้หญิงที่ได้รับการสุ่ม และไม่พบว่ามีการศึกษาใดที่รายงานเกี่ยวกับความผิดปกติของทารกในครรภ์

ผลลัพธ์ที่สำคัญ

หลักฐานปัจจุบันแสดงให้เห็นว่ากลยุทธ์การเลือกตัวอสุจิขั้นสูงในการช่วยการเจริญพันธุ์ อาจไม่เพิ่มความโอกาสของการเกิดมีชีพ มีเพียง 1 เทคนิคในการเลือกสเปิร์มเท่านั้นที่อาจเพิ่มการเกิดมีชีพและอัตราการตั้งครรภ์ทางคลินิก คือการเลือกสเปิร์มด้วยวิธี Zeta แต่ผลลัพธ์เหล่านี้มีคุณภาพต่ำมาก และมีการศึกษาเพียง 1 ฉบับ ดังนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จึงยังไม่ชัดเจน มีหลักฐานที่มีคุณภาพต่ำที่รายงานว่า การใช้เทคนิค HA-ICSI สามารถลดอัตราการแท้งได้เมื่อเทียบกับเทคนิค ICSI ปกติ เราไม่แน่ใจว่าเทคนิคการเลือกสเปิร์มด้วยวิธีอื่น ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงทั้งการตั้งครรภ์ทางคลินิกหรืออัตราการแท้ง ไม่พบการศึกษาที่รายงานเกี่ยวกับความผิดปกติของทารกในครรภ์ และการศึกษาถึงคุณภาพที่เหมาะสมของเทคนิคการเลือกสเปิร์มขั้นสูงซึ่งได้ถูกแนะนำสำหรับการใช้ในการปฏิบัติทางคลินิก

คุณภาพหลักฐาน

หลักฐานที่รวบรวมไว้อยู่ในระดับต่ำถึงต่ำมาก ข้อจำกัดหลัก คือ ความไม่เที่ยงตรงเนื่องจากจำนวนของผู้เข้าร่วมวิจัยและจำนวนเหตุการณ์ที่มีน้อยและความเสี่ยงของการมีอคติสูง ไม่พบว่ามีรายงานข้อมูลทางคลินิกที่สำคัญ เช่น ความผิดปกติของทารก

บทนำ

เทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์ (assisted reproductive technologies; ART) รวมถึงในการทำเด็กหลอดแก้ว (in vitro fertilisation; IVF) และการทำ intracytoplasmic sperm injection (ICSI) คือ การเพิ่มโอกาสการปฏิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์​และเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ เทคนิคการเลือกสเปิร์มขั้นสูงมีการใช้มากขึ้นในเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์, ส่วนใหญใช้ในการทำ ICSI เทคนิคการเลือกสเปิร์มขั้นสูงถูกพัฒนาเพื่อเพิ่มโอกาสท่ีว่าสเปิร์มที่มีโครงสร้างปกติ และสเปิร์มที่มีการพัฒนาสมบูรณ์จะถูกคัดเลือกมาเพื่อการปฏิสนธิ กระบวนการนั้นรวมถึงการคัดเลือกโดยการอ้างถึงประจุบนพื้นผิว การสลายของสเปิร์ม ความสามารถของสเปิร์มในการจับกับ hyaluronic acid และรูปร่างของสเปิร์มภายใต้การขยายกำลังสูง เทคนิคเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเพิ่มผลลัพธ์ของการทำ ART ให้ดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของเทคนิคการเลือกสเปิร์มขั้นสูงในเทคโนโลยีการช่วยเจริญพันธ์ุ

วิธีการสืบค้น

เราได้ดำเนินการค้นหาผ่านทางระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Cochrane Gynaecology and Fertility Group Specialised Registe , CENTRAL ผ่านทางการลงทะเบียน the Cochrane Register of Studies Online, MEDLINE, Embase, PsycINFO, Cumulative Index to Nursing and Allied Health Literature (CINAHL); ทะเบียนการทดลอง (ClinicalTrials.gov, Current Controlled Trials, และ the World Health Organization International Clinical Trials Registry Platform); บทคัดย่อการประชุม ((Web of Knowledge) และ grey literature (OpenGrey) เพื่อค้นหาการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (randomised controlled trials; RCTs) ที่เกี่ยวข้อง เราค้นหาด้วยมือผ่านรายการอ้างอิงรวมถึงการศึกษาและความคิดเห็นที่คล้ายกัน การค้นหาได้ดำเนินการในเดือนมิถุนายน 2018

เกณฑ์การคัดเลือก

เรารวบรวมการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ เทคนิคการเลือกตัวอสุจิขั้นสูงเทียบกับวิธีมาตรฐานของการทำ IVF, ICSI หรือเทคนิคอื่น เราได้คัดการศึกษาที่ศึกษาที่ใช้วิธี intracytoplasmic morphologically selected sperm injection (IMSI) ออกจากการศึกษาวิจัยนี้ เนื่องจากไม่เข้าข่ายใน Cochrane Review ผลลัพธ์หลัก คือ อัตราการคลอดทารกมีชีพและการแท้งต่อหญิงที่ได้รับการสุ่มในการทดลอง ผลลัพธ์รอง รวมถึงอัตราการตั้งครรภ์ทางคลินิกต่อผู้หญิงที่ได้รับการสุ่มในการทดลอง เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทุติยภูมิวัดรวม อัตราการแท้งต่อการตั้งครรภ์ทางคลินิก และความผิดปกติของทารกในครรภ์

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้ประพันธ์ 2 คนทำการประเมินการศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก รวมถึงการประเมินความเสี่ยงของการมีอคติ และดึงข้อมูลอย่างอิสระต่อกัน ข้อขัดแย้งต่าง ๆ ได้รับสรุปโดยผู้ประพันธ์คนที่ 3 เราปรึกษาเจ้าของโครงการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหา อัตราส่วนความเสี่ยง (risk ratios; RRs) ได้รับการคำนวณด้วยช่วงความเชื่อมั่น (confidence intervals; CIs) 95% เรารวมการศึกษาโดยใช้ fixed-effect model เราได้ประเมินคุณภาพของหลักฐานที่ได้โดยวิธีการของ GRADE

ผลการวิจัย

เรารวบรวม RCTs จำนวน 8 ฉบับ (จำนวนผู้หญิงทั้งหมด 4147 คน) คุณภาพของงานวิจัยอยู่ในระดับต่ำถึงต่ำมาก ข้อจำกัดหลัก คือ ความไม่แม่นยำ ความโน้มเอียงประสิทธิภาพและอคติโดยการคัดเลือก

กรดไฮยาลูโรที่ใช้คัดเลือกสเปิร์มในการทำ ICSI (HA-ICSI) เมื่อเทียบกับ ICSI

มี RCTs 2 เปรียบเทียบผลของ HA-ICSI เทียบกับ ICSI ในการคลอดทารกมีชีพ คุณภาพของหลักฐานอยู่ในระดับต่ำ อาจมีความแตกต่างเล็กน้อยหรือไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มเลย โอกาสของการคลอดมีชีวิตในการทำ ICSI เท่ากับ 25% เมื่อเทียบกับ 24.5% ถึง 31% จากการใช้วิธี HA-ICSI ในการคัดเลือก สเปิร์ม (RR 1.09, 95% CI 0.97 to 1.23, จำนวนผู้หญิง 2903 คน, I 2 = 0%, หลักฐานที่มีคุณภาพต่ำ) RCTs 3 ฉบับ รายงานเกี่ยวกับการแท้งบุตร HA -ICSI สามารถลดอัตราการแท้งต่อผู้หญิงที่ได้รับการทดลอง โอกาส ของการแท้งและต่อการตั้งครรภ์ทางคลินิกในการทำ ICSI เท่ากับ 7% เมื่อเทียบกับ 3% ถึง 6% จากการใช้วิธี HA-ICSI (RR 0.61, 95% CI 0.45 ถึง 0.83, จำนวนผู้หญิง 3005 คน, I 2 = 0%, หลักฐานที่มีคุณภาพต่ำ) โอกาส ของการแท้งในการทำ ICSI เท่ากับ 20% เมื่อเทียบกับ 9% ถึง 16% จากการใช้วิธี HA-ICSI (RR 0.62, 95% CI 0.46 to 0.82, จำนวนผู้หญิง 1065 คน, I 2 = 0%, หลักฐานที่มีคุณภาพต่ำ) RCTs 4 ฉบับ รายงานเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ทางคลินิก อาจมีความแตกต่างเล็กน้อยหรือไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มเลย โอกาสของการคลอดมีชีพในการ ICSI เท่ากับ 37% เมื่อเทียบกับ 34% ถึง 40% โดยการใช้วิธี HA-ICSI ในการคัดเลือก สเปิร์ม (RR 1.00, 95% CI 0.92 ถึง 1.09, จำนวนผู้หญิง 3492 คน, I 2 = 0%, หลักฐานที่มีคุณภาพต่ำ)

เปรียบเทียบระหว่างเทคนิค HA-ICSI กับ SpermSlow

มี RCT 1 ฉบับ ที่เปรียบเทียบเทคนิค HA-ICSI กับ Spermslow คุณภาพของหลักฐานอยู่ในระดับต่ำมาก เราไม่แน่ใจว่า HA-ICSI ช่วยเพิ่มการอัตราการคลอดมีชีพเมื่อเทียบกับ วิธี SpermSlow (RR 1.13, 95% CI 0.64 ถึง 2.01, จำนวนผู้หญิง 100 คน), หรือการตั้งครรภ์ทางคลินิก (RR 1.05, 95% CI 0.66 ถึง 1.68, จำนวนผู้หญิง 100 คน) เราไม่แน่ใจว่า HA-ICSI สามารถช่วยลดอัตราการแท้งบุตรต่อจำนวนผู้หญิง (RR 0.80, 95% CI 0.23 ถึง 2.81, จำนวนผู้หญิง 100 คน) หรือ ต่อการตั้งครรภ์ทางคลินิก (RR 0.76, 95% CI 0.24 ถึง 2.44, จำนวนผู้หญิง 41 คน)

การใช้ Magnetic-activated cell sorting (MAC) เทียบกับ ICSI

RCT 1 ฉบับ เปรียบทียบ MAC กับ ICSI ในการคลอดมีชีพ; มีรายงานการตั้งครรภ์ทางคลินิก 3 ; และมีรายงานการแท้ง 2 คุณภาพของหลักฐานอยู่ในระดับต่ำมาก เราไม่แน่ใจว่า MAC ช่วยเพิ่มการอัตราการคลอดมีชีพ (RR 1.95, 95% CI 0.89 ถึง 4.29, จำนวนผู้หญิง 62 คน) หรือ การตั้งครรภ์ทางคลินิก (RR 1.05, 95% CI 0.84 ถึง 1.31, จำนวนผู้หญิง 413 คน, I 2 = 81%) เราไม่แน่ใจว่า MAC สามารถช่วยลดอัตราการแท้งบุตรต่อจำนวนผู้หญิง (RR 0.95, 95% CI 0.16 ถึง 5.63, จำนวนผู้หญิง 150 คน, I 2 = 0%) หรือ ต่อการตั้งครรภ์ทางคลินิก (RR 0.51, 95%CI 0.09 ถึง 2.82, จำนวนผู้หญิง 53 คน, I 2 =0)

การเลือกสเปิร์มด้วยวิธี Zeta เปรียบเทียบกับ ICSI

RCT 1 ฉบับ ประเมินการเลือกสเปิร์ม ด้วยวิธี Zeta คุณภาพของหลักฐานอยู่ในระดับต่ำมาก เราไม่แน่ใจว่า Zeta ช่วยเพิ่มการอัตราการคลอดมีชีพ (RR 2.48, 95% CI 1.34 ถึง 4.56, จำนวนสตรี 203 คน) หรือ การตั้งครรภ์ทางคลินิก (RR 1.82, 95% CI 1.20 ถึง 2.75, จำนวนสตรี 203 คน) เราไม่แน่ใจว่า Zeta สามารถช่วยลดอัตราการแท้งบุตรต่อจำนวนสตรี (RR 0.73, 95% CI 0.16 ถึง 3.37, จำนวนผู้หญิง 203 คน) หรือ ต่อการตั้งครรภ์ทางคลินิก (RR 0.41, 95% CI 0.10 ถึง 1.68, RCT 1 ฉบับ, จำนวนผู้หญิง 62 คน)

MACS เมื่อเทียบกับ HA-ICSI

RCT 1 ฉบับ เปรียยเทียบ MACS กับ HA-ICSI การศึกษานี้ไม่ได้รายงานเกี่ยวกับการคลอดมีชีพ คุณภาพของหลักฐานอยู่ในระดับต่ำมาก เรามีความไม่เชื่อมั่นในเรื่องผลต่อการแท้งต่อจำนวนผู้หญิง (RR 1.52, 95% CI 0.10 ถึง 23.35, จำนวนผู้หญิง 78 คน) หรือต่อการตั้งครรภ์ทางคลินิก (RR 1.06, 95% CI 0.07 ถึง 15.64, จำนวนผู้หญิง 37 คน) นอกจากนี้เรายังมีความไม่เชื่อมั่นในผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ทางคลินิก (RR 1.44, 95% CI 0.91 ถึง 2.27, จำนวนสตรี 78 คน)

ข้อสรุปของผู้วิจัย

หลักฐานแสดงให้เห็นว่าสเปิร์มที่เลือกโดยการใช้กรดไฮยาลูโรนิกอาจมีผลน้อยหรือไม่มีผลต่อการคลอดมีชีพหรือการตั้งครรภ์ทางคลินิกแต่อาจสามารถลดการแท้งบุตรได้ เราไม่มั่นใจในผลของการเลือกสเปิร์มด้วยวิธี Zeta ในการคลอดมีชีพ การตั้งครรภ์ทางคลินิก และการแท้ง เนื่องจากมีคุณภาพของหลักฐานต่ำมาก เราไม่แน่ใจถึงผลกระทบของเทคนิคการเลือกอื่น ๆในการคลอดบุตร การแท้ง หรือการตั้งครรภ์

การศึกษาที่มีคุณภาพสูงในอนาคต, รวมทั้งข้อมูลที่ยังมีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีความจำเป็นเพื่อใช้ในการประเมินว่า เทคนิคการเลือกสเปิร์มขั้นสูงเหล่านี้ใด ๆจะถูกแนะนำใช้ในเป็นการคัดเลือกแบบมาตรฐานในการปฏิบัติหรือไม่

บันทึกการแปล

แปลโดยพญ.ชุติมา ชุณหะวิจิตร วันที่ 21 มกราคม 2025

Citation
Lepine S, McDowell S, Searle LM, Kroon B, Glujovsky D, Yazdani A. Advanced sperm selection techniques for assisted reproduction. Cochrane Database of Systematic Reviews 2019, Issue 7. Art. No.: CD010461. DOI: 10.1002/14651858.CD010461.pub3.