ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ระบบสื่อสารทางโทรศัพท์อัตโนมัติสำหรับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันและการจัดการโรคระยะยาว

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

ระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์อัตโนมัติ (ATCS) สามารถส่งข้อความเสียงและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจากผู้ป่วยโดยใช้ได้ทั้งแบบปุ่มกดระบบสัมผัสหรือซอฟต์แวร์จดจำเสียง ATCS สามารถเสริมหรือแทนที่การติดต่อทางโทรศัพท์ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ATCS มีหลายประเภท: ข้อความเสียงทางเดียวไปยังผู้ป่วย (Unidirectional), ระบบตอบสนองด้วยเสียงแบบโต้ตอบ (IVR) ที่มีฟังก์ชันเพิ่มเติม เช่น การส่งต่อเพื่อคำแนะนำ (ATCS Plus) หรือระบบที่ ATCS เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการที่ซับซ้อน (หลายรูปแบบ)

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

การทบทวนนี้เป็นการประเมินประสิทธิภาพของ ATCS ในการป้องกันโรคและการจัดการโรคระยะยาว

ผลการศึกษา

เราพบการทดลอง 132 เรื่องซึ่งมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 4 ล้านคนในขอบเขตการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันและเพื่อการจัดการโรคระยะยาว

การศึกษาเปรียบเทียบประเภท ATCS ในหลาย ๆ ด้าน

งานวิจัยบางเรื่องรายงานการผลการศึกษาระหว่างโรค ATCS อาจเพิ่มการได้รับภูมิคุ้มกันในเด็กและในวัยรุ่นเล็กน้อย แต่ในผู้ใหญ่ยังไม่แน่ชัดสำหรับการป้องกัน สำหรับการป้องกันนั้น Multimodal ATCS ยังเพิ่มจำนวนผู้ที่ได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ และอาจเพิ่มการตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุน ATCS Plus อาจเพิ่มการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเล็กน้อย โดยมีประสิทธิผลที่ไม่แน่นอนต่อการตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุน IVR อาจเพิ่มจำนวนการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้นานถึง 6 เดือน โดยมีผลเพียงเล็กน้อยต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

ATCS (Unidirectional หรือ IVR) อาจปรับปรุงการมาตามนัดหมาย ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันและจัดการโรค

ATCS หลายรูปแบบมีผลที่ไม่สอดคล้องกันในการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอสำหรับการจัดการระยะยาว ATCS Plus อาจปรับปรุงการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอเมื่อเทียบกับการดูแลตามปกติ เมื่อเทียบกับการควบคุม ATCS Plus และ IVR อาจปรับปรุงการความสม่ำเสมอ ในขณะที่ Unidirectional ATCS อาจมีประสิทธิผลเล็กน้อยหรือเชิงบวกเพียงเล็กน้อย ไม่มีการแทรกแซงที่ปรับปรุงผลลัพธ์ทางคลินิกอย่างสม่ำเสมอ IVR อาจช่วยปรับปรุงการความสม่ำเสมอในการตรวจ แต่ ATCS Plus อาจมีผลเพียงเล็กน้อย

ATCS ยังใช้ในโรคเฉพาะอีกด้วย ผลกระทบแตกต่างกันไปตามโรคและประเภท ATCS Multimodal ATCS แต่ไม่ใช่ ATCS ประเภทอื่น อาจช่วยลดความเจ็บปวดจากมะเร็งและความเจ็บปวดเรื้อรัง ผลลัพธ์อาจดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อใช้ ATCS กับการออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก การดื่มแอลกอฮอล์ และโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม ภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง สุขภาพจิต หรือการเลิกบุหรี่มีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ในหลายขอบเขต (แอลกอฮอล์/สารเสพติด การเสพติด โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เอชไอวี/เอดส์ คอเลสเตอรอลสูง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ความผิดปกติของไขสันหลัง ความเครียดทางจิตใจของผู้ดูแล) ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะบอกได้ว่า ATCS มีผลกระทบอย่างไร

มีการศึกษา 4 เรื่องรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ความเชื่อมั่นในหลักฐานของเราแตกต่างกันไป (มากไปน้อย) และมักถูกลดลงเนื่องจากข้อจำกัดในการศึกษา ซึ่งหมายความว่าการวิจัยเพิ่มเติมอาจเปลี่ยนแปลงข้อค้นพบบางอย่าง

บทสรุป

ATCS อาจมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพบางอย่าง ปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสุขภาพ และเพิ่มการรับรู้ด้านการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น

บทนำ

ระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์อัตโนมัติ (ATCS) สามารถส่งข้อความเสียงและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจากผู้ป่วย โดยใช้ได้ทั้งปุ่มกดระบบสัมผัสหรือซอฟต์แวร์จดจำเสียง ATCS สามารถเสริมหรือแทนที่การติดต่อทางโทรศัพท์ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ATCS มีสี่ประเภทที่แตกต่างกัน ได้แก่ ระบบทิศทางเดียว ((Unidirectional), ทางเดียว, การสื่อสารด้วยเสียงแบบไม่โต้ตอบ), ระบบตอบกลับด้วยเสียงแบบโต้ตอบ (Interactive voice response (IVR)), ATCS พร้อมฟังก์ชั่นเพิ่มเติม เช่น การเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำ (ATCS Plus) และ ATCS หลากหลายรูปแบบ ซึ่งการโทรถูกนำไปใช้โดยเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการแบบหลายองค์ประกอบ (Multicomponent intervention)

วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินประสิทธิผลของ ATCS ในการป้องกันโรคและจัดการโรคระยะยาวต่อการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม คลินิก กระบวนการ การรับรู้ ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์

วิธีการสืบค้น

เราสืบค้นจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 10 แห่ง (Cochrane Central Register of Controlled Trials; MEDLINE; Embase; PsycINFO; CINAHL; Global Health; WHOLIS; LILACS; Web of Science และ ASSIA); เอกสารที่ไม่ได้พิมพ์เผยแพร่จำนวน 3 ฐานข้อมูล (Dissertation Abstracts, Index to Theses, Australasian Digital Theses); และการลงทะเบียนงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิกจำนวน 2 ฐานข้อมูล (www.controlled-trials.com; www.clinicaltrials.gov) สำหรับเอกสารที่เผยแพร่ระหว่างปี 1980 ถึงเดือนมิถุนายน 2015

เกณฑ์การคัดเลือก

เราคัดเข้าการทดลองแบบสุ่ม แบบคลัสเตอร์ แบบกึ่งสุ่ม แบบ interrupted time series และการศึกษาก่อนและหลังที่มีการควบคุมซึ่งเปรียบเทียบวิธีการแบบ ATCS กับกลุ่มควบคุมใดๆ หรือ ATCS ประเภทอื่น ๆ การศึกษาในทุกขอบเขต การศึกษาสำหรับผู้รับบริการ/ผู้ให้บริการ การศึกษาในการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันหรือบทบาทการจัดการสภาพในระยะยาวนั้นผ่านเกณฑ์การคัดเข้าเช่นกัน

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

เราใช้วิธีมาตรฐานของ Cochrane ในการคัดเลือก สกัดข้อมูล และประเมินการศึกษาที่เข้าเกณฑ์

ผลการวิจัย

เรานำเข้าการทดลองจำนวน 132 การศึกษา (N = 4,669,689 คน) การศึกษาครอบคลุมในหลายขอบเขตทางคลินิก โดยประเมินการเปรียบเทียบจำนวนมากโดยพิจารณาจากการประเมินประเภท ATCS ต่างๆ และกลุ่มเปรียบเทียบทหลากหลาย การศึกษา 41 เรื่องประเมิน ATCS ในการให้บริการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน การศึกษา 84 เรื่องประเมินการจัดการโรคระยะยาว และการศึกษา 7 เรื่องเพื่อเตือนการนัดหมาย เราลดระดับความเชื่อมั่นของเราในหลักฐานหลัก เนื่องจากความเสี่ยงของการเกิดอคติในผลลัพธ์หลายๆ อย่าง เราประเมินความเสี่ยงของการเกิดอคติเกิดจากกระบวนการจัดสรรในระดับต่ำสำหรับการศึกษาเพียงครึ่งเดียวและการศึกษาที่เหลือนั้นไม่ชัดเจน เราพิจารณาว่าการศึกษาส่วนใหญ่มีความเสี่ยงที่ไม่ชัดเจนในประสิทธิภาพหรือการตรวจจับอคติ เนื่องจากการปกปิด (blinding) ในขณะที่มีเพียง 16% ของการศึกษาที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยทั่วไปเราประเมินความเสี่ยงของการเกิดอคติ เนื่องจากข้อมูลสูญหายและการเลือกผลลัพธ์เพื่อรายงานที่ไม่ชัดเจน

สำหรับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ATCS (ATCS Plus, IVR, Unidirectional) อาจเพิ่มการรับวัคซีนในเด็ก (ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (RR) 1.25, 95% ช่วงความเชื่อมั่น (CI) 1.18 ถึง 1.32; 5 การศึกษา, N = 10,454; ความเชื่อมั่นปานกลาง) และ ระดับที่น้อยกว่าในวัยรุ่น (RR 1.06, 95% CI 1.02 ถึง 1.11; 2 การศึกษา, N = 5725; ความเชื่อมั่นปานกลาง) ประสิทธิผลของ ATCS ในผู้ใหญ่ไม่ชัดเจน (RR 2.18, 95% CI 0.53 ถึง 9.02; 2 การศึกษา, N = 1743; ความเชื่อมั่นต่ำมาก)

สำหรับการตรวจคัดกรองนั้น Multimodal ATCS เพิ่มการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (RR 2.17, 95% CI 1.55 ถึง 3.04; 2 การศึกษา, N = 462; ความเชื่อมั่นสูง) และมะเร็งลำไส้ใหญ่ (CRC) (RR 2.19, 95% CI 1.88 ถึง 2.55; การศึกษา 3 เรื่อง N = 1,013; ความเชื่อมั่นสูง) เทียบกับการดูแลตามปกติ นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มการตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุนอีกด้วย วิธีการแบบ ATCS Plus อาจเพิ่มการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเล็กน้อย (ความเชื่อมั่นปานกลาง) แต่ผลต่อการตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุนยังไม่แน่นอน ระบบ IVR อาจเพิ่มการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ 6 เดือน (RR 1.36, 95% CI 1.25 ถึง 1.48; 2 การศึกษา, N = 16,915; ความเชื่อมั่นปานกลาง) แต่ไม่ใช่ที่ 9 ถึง 12 เดือน โดยอาจมีประสิทธิผลของ IVR เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย (RR 1.05, 95% CI 0.99, 1.11; 2 การศึกษา, ผู้เข้าร่วมโครงการ 2599 คน; ความเชื่อมั่นปานกลาง) หรือ Unidirectional ATCS ในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

การแจ้งเตือนการนัดหมายที่ส่งผ่าน IVR หรือ Unidirectional ATCS อาจปรับปรุงอัตราการเข้าร่วมเมื่อเทียบกับไม่มีการโทร (ความเชื่อมั่นต่ำ) สำหรับการจัดการในระยะยาวนั้น การปฏิบัติตามการใช้ยาหรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการให้หลักฐานในระดับทั่วไปมากที่สุดในโรคต่างๆ (การศึกษา 25 เรื่อง ไม่มีการรวมข้อมูล) Multimodal ATCS เทียบกับการดูแลตามปกติมีผลที่ขัดแย้งกัน (ในเชิงบวกและความไม่แน่นอน) ต่อการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ATCS Plus อาจช่วยเล็กน้อย (เทียบกับกลุ่มควบคุม ความแน่นอนปานกลาง) หรืออาจ (เทียบกับการดูแลตามปกติ ความแน่นอนปานกลาง) ช่วยเพิ่มความสม่ำเสมอในการรับประทานยา แต่อาจมีผลเพียงเล็กน้อยต่อการยึดมั่นในการทดสอบ (เทียบกับการควบคุม) IVR อาจช่วยให้การรับประทานยาดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (ความเชื่อมั่นปานกลาง) เมื่อเทียบกับการดูแลตามปกติ IVR อาจช่วยปรับปรุงความร่วมมือในการตรวจและเพิ่มเพียงเล็กน้อยในการใช้ยาถึง 6 เดือน แต่จะมีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยในช่วงเวลาที่นานขึ้น (ความเชื่อมั่นปานกลาง) Unidirectional ATCS เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม อาจให้ผลเพียงเล็กน้อยหรือปรับปรุงความสม่ำเสมอของยาเล็กน้อย (ความเชื่อมั่นต่ำ) หลักฐานชี้ให้เห็นถึงประสิทธิผลเพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่มีเลยของ ATCS ทุกประเภทต่อผลลัพธ์ทางคลินิก (การควบคุมความดันโลหิต ไขมันในเลือด การควบคุมโรคหอบหืด ความครอบคลุมในการรักษา) ที่เกี่ยวข้องกับความสม่ำเสมอ แต่มีการศึกษาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ให้ข้อมูลผลลัพธ์ทางคลินิก

ผลลัพธ์ข้างต้นมุ่งเน้นไปที่ขอบเขตที่มีข้อค้นพบทั่วไปมากที่สุดในโรคต่างๆ ในขอบเขตเฉพาะตามโรคนั้น ประสิทธิผลของ ATCS จะแตกต่างกันรวมไปถึงประเภทของวิธีการแบบ ATCS ที่ใช้งาน

Multimodal ATCS อาจลดทั้งความเจ็บปวดจากมะเร็งและความเจ็บปวดเรื้อรัง เช่นเดียวกับภาวะซึมเศร้า (ความเชื่อมั่นปานกลาง) แต่ ATCS ประเภทอื่นๆ มีประสิทธิภาพน้อยกว่า ATCS อาจมีผลเล็กน้อยต่อผลลัพธ์ของการออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก การดื่มแอลกอฮอล์ และโรคเบาหวาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวิธีการที่ใช้ ATCS มีประสิทธิผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยต่อผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง สุขภาพจิต หรือการเลิกบุหรี่ และไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะระบุผลกระทบในการป้องกันการใช้แอลกอฮอล์/สารเสพติด หรือการจัดการการติดยาที่ผิดกฎหมาย โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เอชไอวี /โรคเอดส์ คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ภาวะหยุดหายใจอุดกั้นขณะหลับ ความผิดปกติของไขสันหลังอักเสบ หรือความเครียดทางจิตใจในผู้ดูแล

มีเพียง 4 การทดลอง (3%) ที่รายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และไม่ชัดเจนว่าสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับวิธีการที่ใช้หรือไม่

ข้อสรุปของผู้วิจัย

วิธีการแบบ ATCS สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย ปรับปรุงผลลัพธ์ทางคลินิก และเพิ่มการดูแลด้านการรักษาพยาบาล มีผลในเชิงบวกในหลายด้านที่สำคัญ ได้แก่ การสร้างภูมิคุ้มกัน การตรวจคัดกรอง การนัดหมาย และการปฏิบัติตามยาหรือการทดสอบ การตัดสินใจรวมวิธีการแบบ ATCS ในการให้บริการการดูแลสุขภาพเป็นประจำควรสะท้อนถึงความแปรปรวนในความเชื่อมั่นของหลักฐานที่มีอยู่และขนาดของผลกระทบในโรคต่างๆ ร่วมกับลักษณะที่หลากหลายของวิธีการแบบ ATCS ที่ประเมิน การวิจัยในอนาคตควรประเมินทั้งเนื้อหาของวิธีการแบบ ATCS และรูปแบบการให้บริการ ประสบการณ์ของผู้ใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการยอมรับ และชี้แจงว่า ATCS ประเภทใดมีประสิทธิภาพและคุ้มทุนมากที่สุด

บันทึกการแปล

แปลโดย นายอนุวัตน์ เพ็งพุฒ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ 17 มิถุนายน 2021

Citation
Posadzki P, Mastellos N, Ryan R, Gunn LH, Felix LM, Pappas Y, Gagnon M-P, Julious SA, Xiang L, Oldenburg B, Car J. Automated telephone communication systems for preventive healthcare and management of long-term conditions. Cochrane Database of Systematic Reviews 2016, Issue 12. Art. No.: CD009921. DOI: 10.1002/14651858.CD009921.pub2.