ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

การรักษาด้วยการสอดสายสวนหลอดเลือดเทียบกับการรักษาทางการแพทย์ทั่วไปสำหรับภาวะหลอดเลือดแดงในกะโหลกศีรษะตีบแบบมีอาการ

หลอดเลือดแดงในสมองตีบคืออะไร

หลอดเลือดแดงในสมองตีบ (ICAS) คือการตีบของหลอดเลือดในสมองที่เกิดจากการสะสมของคราบพลัค (ไขมันสะสม) เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองที่พบได้บ่อยทั่วโลก เมื่อภาวะนี้ทำให้เกิดอาการของโรคหลอดเลือดสมอง จะเรียกว่า ICAS ที่มีอาการ

หลอดเลือดสมองตีบรักษาได้อย่างไร

ICAS สามารถรักษาได้ด้วยการสอดสายสวนหลอดเลือดหรือการรักษาทางการแพทย์ทั่วไป แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าวิธีใดได้ผลดีที่สุด ในการรักษาด้วยการสอดสายสวน ศัลยแพทย์จะสอดท่อบาง ๆ ที่เรียกว่าสายสวนเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่แขนหรือขาหนีบของผู้เข้ารับการรักษา และนำท่อดังกล่าวไปยังหลอดเลือดแดงในสมองที่ได้รับผลกระทบ จากนั้นศัลยแพทย์สามารถขยายหลอดเลือดแดงที่ตีบด้วยบอลลูนขนาดเล็ก หรือวางท่อตาข่ายขนาดเล็กไว้ภายในหลอดเลือดแดงที่ตีบเพื่อเปิด หรือใช้ทั้งสองเทคนิคในขั้นตอนเดียวกัน การรักษาทางการแพทย์ทั่วไปได้แก่การรับประทานยาต้านเกล็ดเลือด (ยาที่ทำให้เกล็ดเลือดหยุดการเกาะตัวกัน) และการพยายามควบคุมปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง (ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง และเบาหวาน) ด้วยยาและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต

เราต้องการค้นหาอะไร

เราต้องการทราบว่าการรักษาด้วยการสอดสายสวนร่วมกับการรักษาทางการแพทย์แบบเดิมมีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาทางการแพทย์แบบเดิมเพียงอย่างเดียวในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและการเสียชีวิตในผู้ที่มีอาการ ICAS หรือไม่

เราทำอะไร

เราค้นหาการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (การศึกษาที่จัดผู้เข้าร่วมให้เข้าร่วมกลุ่มการรักษา 1 ใน 2 กลุ่มขึ้นไปโดยใช้วิธีการสุ่ม) ซึ่งเปรียบเทียบการรักษา 2 รายการในผู้ที่มีอาการ ICAS เราเปรียบเทียบและสรุปผลการศึกษาและให้คะแนนความเชื่อมั่นในหลักฐาน โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น วิธีการศึกษาและขนาด

เราพบอะไร

เรารวมการทดลองสี่เรื่องที่มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 989 คนซึ่งเพิ่งมีอาการของ ICAS มีการทดลองสามเรื่องในหลายศูนย์ และเปรียบเทียบการรักษาด้วยการสอดสายสวนหลอดเลือดที่เกี่ยวข้องกับการใส่ขดลวดกับการรักษาทางการแพทย์แบบเดิม การทดลองสองเรื่องเกิดขึ้นในศูนย์การแพทย์ของจีนและเปรียบเทียบการรักษาด้วยการสอดสายสวนประเภทต่างๆ กับการรักษาทางการแพทย์ทั่วไปในผู้เข้าร่วมชาวจีน

ผลลัพธ์หลัก

ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการสอดท่อสวนหลอดเลือดเช่นเดียวกับผู้มี่ได้รับการรักษาทางการแพทย์ทั่วไปมีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตหรือเป็นโรคหลอดเลือดสมองในระยะสั้นและระยะยาว ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในอัตราของโรคหลอดเลือดสมองตีบและการเสียชีวิตหรือการพึ่งพาในระยะยาว

ข้อจำกัด ของหลักฐานคืออะไร

เรามีความมั่นใจปานกลางในผลลัพธ์บางรายการ และไม่มั่นใจในผลลัพธ์อื่นๆ เนื่องจากการศึกษาวิจัยนี้มีคนเพียงไม่กี่คน

หลักฐานเป็นปัจจุบันแค่ไหน

หลักฐานมีถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2022

บทนำ

หลอดเลือดแดงในสมองตีบ (ICAS) คือการตีบของหลอดเลือดแดงในสมองซึ่งอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบได้ การรักษาด้วยการสอดสายสวน (ET) และการรักษาทางการแพทย์ทั่วไปแบบดั้งเดิม (CMT) อาจป้องกันภาวะหลอดเลือดสมองตีบซ้ำที่เกิดจาก ICAS อย่างไรก็ตาม ไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่มี ICAS

วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการรักษาด้วยการสอดสายสวนร่วมกับการรักษาทางการแพทย์แบบดั้งเดิม เปรียบเทียบกับการรักษาทางการแพทย์ทั่วไปเพียงอย่างเดียวสำหรับการจัดการภาวะหลอดเลือดแดงในกะโหลกศีรษะตีบตามอาการ

วิธีการสืบค้น

เราสืบค้นใน Cochrane Stroke Group Trials Register, CENTRAL, MEDLINE, Embase ฐานข้อมูลอื่นๆ สี่ฐานข้อมูล และทะเบียนการทดลอง 3 แหล่งในวันที่ 16 สิงหาคม 2022 เราติดต่อผู้วิจัยการศึกษาเมื่อต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

เกณฑ์การคัดเลือก

เรารวมการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCTs) ที่เปรียบเทียบ ET บวก CMT เทียบกับ CMT เพียงอย่างเดียวสำหรับการรักษา ICAS ที่มีอาการ รูปแบบ ET รวมถึงการขยายหลอดเลือดเพียงอย่างเดียว การใส่ขดลวดแบบใส่บอลลูน และการขยายหลอดเลือดตามด้วยการใส่ขดลวดที่ขยายเอง CMT รวมการรักษาด้วยยาต้านเกล็ดเลือด นอกเหนือจากการควบคุมปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้ทบทวน 2 คนคัดกรองข้อมูลที่บันทึกไว้อย่างอิสระเพื่อเลือก RCT ที่เข้าเกณฑ์ จากนั้นดึงข้อมูล เราแก้ไขข้อขัดแย้งผ่านการสนทนา บรรลุการตัดสินใจที่เป็นเอกฉันท์ระหว่างทีมงานทั้งหมด เราประเมินความเสี่ยงของการมีอคติและใช้วิธี GRADE เพื่อประเมินความแน่นอนของหลักฐาน ผลลัพธ์หลักคือการตายด้วยสาเหตุใด ๆ หรือโรคหลอดเลือดสมองชนิดไม่ร้ายแรงใด ๆ ภายใน 3 เดือนของการสุ่ม ผลลัพธ์ทุติยภูมิ ได้แก่ การตายจากทุกสาเหตุหรือโรคหลอดเลือดสมองชนิดไม่ร้ายแรงใดๆ ที่เกิดขึ้นหลังการสุ่มมากกว่า 3 เดือน โรคหลอดเลือดสมองตีบตันข้างเดียว โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดชั่วคราว โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดสมองจากภาวะเลือดออก การเสียชีวิต การตีบตัน ที่กลับเป็นอีก การต้องพึ่งพาผู้อื่น และคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ

ผลการวิจัย

เรารวบรวม RCTs 4 ฉบับ โดยมีผู้เข้าร่วม 989 คนซึ่งมีอาการ ICAS ช่วงอายุ 18 ถึง 85 ปี เราพบการศึกษาที่กำลังดำเนินอยู่ 2 รายการ การทดลองทั้งหมดมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอคติด้านประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมและบุคลากรไม่ทราบวิธีการที่ใช้ (intervention) การทดลอง 3 เรื่อง เลิกทำก่อนกำหนด การทดลอง 1 ฉบับมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอคติจากการขาดการติดตามอย่างมากหลังจากผ่านไป 1 ปี และผู้เข้าร่วมการศึกษาในสัดส่วนสูงที่ย้ายจาก ET ไปเป็น CMT ความเชื่อมั่นของหลักฐานอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง เราลดระดับความเชื่อมั่นลงเนื่องจากความไม่แม่นยำ

เมื่อเปรียบเทียบกับ CMT เพียงอย่างเดียว ET ร่วมกับ CMT อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในระยะสั้นหรือโรคหลอดเลือดสมอง (อัตราส่วนความเสี่ยง (RR) 2.93, ช่วงความเชื่อมั่น 95% (CI) 1.81 ถึง 4.75; 4 RCTs, ผู้เข้าร่วม 989 คน; ความเชื่อมั่นปานกลาง) โรคหลอดเลือดสมอง ipsilateral ระยะสั้น (RR 3.26, 95% CI 1.94 ถึง 5.48; 4 RCTs, ผู้เข้าร่วม 989 คน; ความเชื่อมั่นปานกลาง), โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะสั้น (RR 2.24, 95% CI 1.30 ถึง 3.87; 4 RCTs, ผู้เข้าร่วม 989 คน; ความเชื่อมั่นปานกลาง), และการเสียชีวิตในระยะยาวหรือโรคหลอดเลือดสมอง (RR 1.49, 95% CI 1.12 ถึง 1.99; 4 RCTs, ผู้เข้าร่วม 970 คน; ความเชื่อมั่นปานกลาง) เมื่อเปรียบเทียบกับ CMT เพียงอย่างเดียว ET ร่วมกับ CMT อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในระยะสั้น (RR 13.49, 95% CI 2.59 ถึง 70.15; RCTs 4 ฉบับ, ผู้เข้าร่วม 989 คน; ความเชื่อมั่นต่ำ), การเสียชีวิตในระยะสั้น (RR 5.43, 95% CI 1.21 ถึง 24.40; RCTs 4 ฉบับ, ผู้เข้าร่วม 989 คน; มีความเชื่อมั่นต่ำ) และโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกระยะยาว (RR 7.81, 95% CI 1.43 ถึง 42.59; RCTs 3 ฉบับ, ผู้เข้าร่วม 879 คน; มีความเชื่อมั่นต่ำ) ไม่ชัดเจนว่า ET บวก CMT เทียบกับ CMT เพียงอย่างเดียวมีผลต่อความเสี่ยงของการขาดเลือดชั่วคราวในระยะสั้น (RR 0.79, 95% CI 0.30 ถึง 2.07; RCTs 3 ฉบับ, ผู้เข้าร่วม 344 คน; ความเชื่อมั่นปานกลาง), ภาวะขาดเลือดชั่วคราวในระยะยาว (RR 1.05, 95% CI 0.50 ถึง 2.19; RCTs 3 ฉบับ, ผู้เข้าร่วม 335 คน; ความเชื่อมั่นปานกลาง), โรคหลอดเลือดสมอง ipsilateral ระยะยาว (RR 1.78, 95% CI 1.00 ถึง 3.17; RCTs 4 ฉบับ, ผู้เข้าร่วม 970 คน; ความเชื่อมั่นปานกลาง), โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะยาว (RR 1.56, 95% CI 0.77 ถึง 3.16; RCTs 4 ฉบับ, ผู้เข้าร่วม 970 คน; ความเชื่อมั่นปานกลาง), การเสียชีวิตระยะยาว (RR 1.61, 95% CI 0.77 ถึง 3.38; RCTs 4 ฉบับ, ผู้เข้าร่วม 951 คน; ความเชื่อมั่นปานกลาง) และ การพึ่งพาผู้อื่นระยะยาว (RR 1.51, 95% CI 0.93 ถึง 2.45; RCTs 4 ฉบับ, ผู้เข้าร่วม 947 คน; ความเชื่อมั่นปานกลาง) ไม่มีการวิเคราะห์กลุ่มย่อยใดที่ปรับเปลี่ยนผลกระทบของ ET บวก CMT เทียบกับ CMT เพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญ การทดลองเหล่านี้ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการกลับมาตีบซ้ำหรือคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ

ข้อสรุปของผู้วิจัย

การทบทวนนี้แสดงหลักฐานที่มีความเชื่อมั่นในระดับปานกลางว่า ET ร่วมกับ CMT เมื่อเทียบกับ CMT เพียงอย่างเดียวจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองในระยะสั้นและการเสียชีวิตในผู้ที่เพิ่งมี ICAS ที่มีอาการรุนแรง ผลกระทบนี้ยังคงชัดเจนในการติดตามผลระยะยาว แต่ดูเหมือนจะเกิดจากความเสี่ยงในระยะแรกเริ่มของ ET; ดังนั้น อาจไม่มีความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างสิ่งแทรกแซงในแง่ของผลกระทบต่อโรคหลอดเลือดสมองในระยะยาวและการเสียชีวิต ผลกระทบของการแทรกแซง ET ที่ล่าช้า (มากกว่าสามสัปดาห์หลังจากเหตุการณ์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม) ควรจะมีการศึกษาเพิ่มเติม

บันทึกการแปล

แปลโดย พญ.วิลาสินี หน่อแก้ว โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี Edit โดย ผกากรอง 17 มีนาคม 2023

Citation
Luo J, Wang T, Yang K, Wang X, Xu R, Gong H, Zhang X, Wang J, Yang R, Gao P, Ma Y, Jiao L. Endovascular therapy versus medical treatment for symptomatic intracranial artery stenosis. Cochrane Database of Systematic Reviews 2023, Issue 2. Art. No.: CD013267. DOI: 10.1002/14651858.CD013267.pub3.