การให้ไมโอ-อิโนซิทอลเสริมในสตรีระหว่างตั้งครรภ์มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือไม่

ปัญหาคืออะไร?

ในระหว่างตั้งครรภ์นั้น สตรีตั้งครรภ์จะมีภาวะต้านทานต่ออินซูลินและการดูดซึมของน้ำตาลกลูโคสจากเลือดลดลงทำให้ทารกได้รับน้ำตาลอย่างเพียงพอ ดังนั้นร่างกายจำเป็นต้องผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้นเพื่อรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ซึ่จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์นั้นภาวะที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์และหายไปหลังคลอด ซึ่งภาวะนี้ได้เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนทั้งมารดาและทารกในระยะสั้นและยาวอีกด้วย สตรีที่มีภาวะนี้มีจะมีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและเพิ่มโอกาสการผ่าตัดคลอด ทารกก็จะขนาดใหญ่กว่าอายุครรภ์ส่งผลทำให้มีภาวะบาดเจ็บที่เกิดจากการคลอดได้ เช่น กระดูกหักหรือคลอดติดไหล่ ในระยะยาวนั้นทั้งสตรีและลูกที่มีภาวะนี้จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้

ทำไมเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ

การให้คำปรึกษาเรื่องอาหารและการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตถือเป็นสิ่งแรกของการรักษาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ส่วนการให้ยาในรูปแบบกินหรืออินซูลินนั้นจะให้ในกรณีที่ไม่สามารถที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมาย การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยไม่ส่งผลต่อมารดหรือทารกในครรภ์ถือเป็นสิ่งสำคัญ ไมโอ-อิโนซิทอลนั้นเป็นอิโนซิทอลที่พบในธรรมชาติจากผัก ผลไม้ ถั่วและธัญพืชต่างๆ ซึ่งเป็นสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายต้องการนำไปใช้ในได้หลากหลาย ไมโอ-อิโนซิทอลนั้นจะอยู่ในรูปแบบผงละลายน้ำหรือเป็นแคปซูล

เราพบข้อมูลเชิงประจักษ์อะไรบ้าง

เราค้นหาหลักฐานในเดือนเมษายน ปี 2016 และพบ 2 การศึกษาที่เป็นแบบการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ 142 ราย) ทั้งสองการศึกษาได้ดำเนินการในประเทศอิตาลี (แต่ถูกจัดให้มีความเสี่ยงของอคติที่ยังไม่ชัดเจน) สตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ 12-13 สัปดาห์และในอีกการศึกษาที่อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า ไมโอ-อิโนซิทอลนั้นสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดแบบอดอาหารได้ แต่ความจำเป็นในการได้อินซูลินเสริมไม่แตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับ ไมโอ-อิโนซิทอลและกลุ่มควบคุม และจากการศึกษาพบว่าระดับน้ำตาลที่หนึ่งชั่วโมงหลังอาหาร (โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ 73 ราย) และไม่มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าสามารถลดความเสี่ยงของทารกตัวใหญ่ได้ (โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นทารก 73 ราย) ซึ่งไมโอ-อิโนซิทอลนั้นสามารถลดความเสี่ยงของระดับน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกแรกคลอดแม้จะมีหลักฐานที่มีคุณภาพต่ำ แต่ในการศึกษานี้ไม่ได้รายงานผลลัพท์ของการตั้งครรภ์ของทั้งมารดาและทารกในครรภ์ อาทิเช่น ความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ การผ่าตัดคลอด การพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในมารดา จำนวนทารกที่เสียชีวิตหรือมีความผิดปกติ จำนวนของเด็กที่มีความพิการทางการได้ยิน ผลลัพท์ในระยะยาวต่างๆทั้งสุขภาพของมารดาและทารกที่จะเติบโตต่อไปเป็นผู้ใหญ่ต่อไป

ความหมายของผลการศึกษานี้

เนื่องจากการศึกษาที่เกี่ยวกับ ไมโอ-อิโนซิทอลในการรักษาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์นั้นมีจำนวนจำกัด ขาดข้อมูลที่สำคัญ โดยหลักฐานที่มีคุณภาพต่ำและเป็นการศึกษาที่มีขนาดเล็ก จึงยังไม่สามารถบอกได้ว่าไมโอ-อิโนซิทอลนั้นมีประโยชน์ในการรักษาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ จากหลักฐานที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้ไมโอ-อิโนซิทอล ซึ่งต้องการการศึกษาที่มีคุณภาพสูงและมีขนาดตัวอย่างที่มีมากขึ้นในการศึกษาถึงบทบาทของไมโอ-อิโนซิทอลว่าสามารถรักษาหรือร่วมรักษาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ต่อไป

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะประเมินผลของการให้ไมโอ-อิโนซิทอลสำหรับการรักษาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เนื่งอจากไม่มีในเรื่องผลลัพธ์ต่างๆจากการทบทวนนี้ และยังไม่พบว่ามีประโยชน์ในกรณีอื่นๆต่อทารกในครรภ์ในการลดทารกตัวใหญ่ ถึงแม้ว่าความเสี่ยงของภาวะน้ำตาลต่ำจะลดลงในกลุ่มที่ได้รับไมโอ-อิโนซิทอลแต่ยังไม่ที่มีหลักฐานแน่ชัด ซึ่งจากหลักฐานจากการศึกษาทั้งสองพบว่าไมโอ-อิโนซิทอลนั้นมีความสัมพันธ์กับการลดค่าดัชนีมวลกายและระดับน้ำตาลในช่วงงดอาการได้เมื่อเทียบกับยาหลอก แต่ยังไม่พบความสำคัญทางคลินิกจากงานทบทวนนี้

ยังไม่มีความแน่นอนในเรื่องของประสิทธิผลของไมโอ-อิโนซิทอลในการรักษาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์และยังต้องการการศึกษาที่มีคุณภาพสูง ขนาดตัวอย่างที่เหมาะสม ซึ่งการศึกษาวิจัยควรรายงานถึงผลลัพธ์ของภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่ได้กล่าวไว้ในส่วนของวิธีการวิจัย ผู้ที่เข้าร่วมวิจัยควรมีความหลากหลายด้านเชื้อชาติและความเสี่ยงต่างๆต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ท้ังนี้ควรจะศึกษาถึงปริมาณการให้ไมโอ-อิโนซิทอลที่เหมาะสม ความถี่และช่วงเวลาในการให้ รวมถึงผลข้างเคียงในระยะยาว การวิเคราะห์ความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ด้วย

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นภาวะของการดื่อต่อน้ำตาลที่พบครั้งแรกในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์และหายไปหลังคลอด โดยภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์นั้นมีความสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การดูแลรักษาประกอบไปด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตประกอบกับการรักษาด้วยยา (การรักษาด้วยยาทานหรืออินซูลิน) โดยมีจุดประสงค์ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ การค้นพบการรักษาใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับและปลอดภัยสำหรับการมารดาและทารกในครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญ หนึ่งในนั้นคือไมโอ-อิโนซิทอล ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของอิโนซิทอลซึ่งพบได้ในธรรมชาติจากอาการ ผัก ผลไม้ ถั่วและธัญพืชต่างๆ

วัตถุประสงค์: 

การประเมินอาหารที่มีไมโอ-อิโนซิทอลในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อการรักษาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

วิธีการสืบค้น: 

ผู้วิจัยได้สืบค้นในฐานข้อมูล Pregnancy and Childbirth Group'sTrials Register (30 เมษายน 2559), Pubmed Clinical Trials.gov, Pubmed Clinical Trials.gov, the WHO International Clinical Trials Registry Platform (ICTRP) (7 เมษายน 2559) และสืบค้นเอกสารอ้างอิงของรายงานการศึกษาที่สืบค้นได้

เกณฑ์การคัดเลือก: 

การวิจัยแบบ quasi-randomised, cross-over หรือ cluster-randomised trials จะไม่ได้นำมาเข้าร่วมในการทบทวนนี้ สตรีที่มีโรคเบาหวานอยู่ก่อนแล้วจะไม่นำมาเข้าร่วมวิจัย

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้วิจัย 2 คนประเมินการศึกษาเพื่อนำเข้ามาทบทวน ตรวจสอบอคติและประเมินคุณภาพอย่างอิสระต่อกัน คัดลอกและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่รวบรวมได้ ผู้วิจัยทั้ง 2 คนประเมินคุณภาพของหลักฐานโดยใช้ GRADE

ผลการวิจัย: 

ผู้วิจัยได้รวมสองการศึกษา (สตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ 142 ราย) โดยทั้งสองได้ศึกษาในประเทศอิตาลีและเปรียบเทียบไมโอ-อิโนซิทอลกับยาหลอก

ไม่มีผลลัพธ์หลักของมารดาจากการรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัย ซึ่งได้แก่ ความดันโลหิตสูงของขณะตั้งครรภ์ ; การผ่าตัดคลอด; การพัฒนาไปเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โดยไม่มีข้อมูลของผลลัพธ์รองของมารดา ซึ่งเพียงได้แค่ทำการวิเคราะห์อภิมานสำหรับผลลัพธ์รอง ได้แก่ การทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลกลูโคสและการรักษาด้วยยาแบบอื่นๆ ส่วนผลอื่นๆ นั้นจะขึ้นอยู่กับข้อมูลจากการศึกษาเดียว โดยรวมแล้วความเสี่ยงของอคติในการศึกษาถูกจัดให้อยู่ในแบบไม่ชัดเจนเนื่องจากการขาดข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับระเบียบวิธีการวิจัย

ยังไม่มีมีหลักฐานที่แสดงความแตกต่างของทั้งสองกลุ่มในเรื่องความต้องการการใช้ยาอื่นเพิ่มเติมหรือน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ แม้ว่าไมโอ-อิโนซิทอลนั้นจะมีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายลดต่ำลง (ค่าความแตกต่าง -1.50 kg/m2 ; ช่วงความเชื่อมั่น (95%CI) -2.35 ถึง -0.65 จากการศึกษาเดียวโดยมีจำนวนประชากร 73 ราย) ไมโอ-อิโนซิทอลมีความสัมพันธ์กับการลดลงของระดับนำ้ตาลในเลือดในช่วงงดอาหาร (ค่าความต่าง -0.47 มิลลิโมลต่อลิตร; ค่าความเชื้่อมั่น 95%CI -0.59 ถึง -0.35 จากสองการศึกษาโดยมีจำนวนประชากร 142 ราย) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม จากการศึกษาวิจัยขนาดเล็กพบว่าไมโอ-อิโนซิทอลนั้นสามารถลดระดับน้ำตาลหลังอาหารหนึ่งชั่วโมง (ค่าความต่าง -0.90 มิลลิโมล/ลิตร; ช่วงความเชื่อมั่น (95%CI) -1.73 ถึง -0.07 จากการศึกษาเดียวโดยมีจำนวนประชากร 73 ราย) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ส่วนระดับน้ำตาลหลังอาหารสองชั่วโมงนั้นไม่มีความแตกต่างกัน (ค่าความต่าง -0.70 มิลลิโมล/ลิตร; ช่วงความเชื่อมั่น (95%CI) -1.46 ถึง 0.06; จากการศึกษาเดียวโดยมีจำนวนประชากร 73 ราย) แต่ระดับน้ำตาลหลังอาหารหนึ่งและสองชั่วโมงพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนโดยมีค่าความเชื่อมั่นกว้างและมีจำนวนประชากรน้อย

สำหรับทารกนั้นยังไม่มีหลักฐานที่บอกถึงความแตกต่างในเรื่อง ทารกตัวใหญ่ ระหว่างการได้ไมโอ-อิโนซิทอลและกลุ่มควบคุม (อัตราส่วนความเสี่ยง (RR) 0.36; ช่วงความเชื่อมั่น (95%CI) 0.02 ถึง 8.58 จากการศึกษาเดียวโดยมีจำนวนประชากร 73 ราย; หลักฐานคุณภาพต่ำ ) ส่วนในเรื่องผลลัพธ์ที่สำคัญนั้นไม่ได้รายงานไว้ ได้แก่ อัตราการตายในช่วงระยะคลอด (ตายคลอดและตายหลังคลอด); อัตราการบาดเจ็บและอัตราการตาย (ตามที่ได้อธิบายไว้ในการทดลอง) การทุพพลภาพทางหูทารกในกลุ่มที่ได้รับไมโอ-อิโนซิทอลนั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะน้ำตาลต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้ยาหลอก (อัตราส่วนความเสี่ยง (RR) 0.05; ช่วงความเชื่อมั่น (95%CI) 0.00 ถึง 0.85 จากการศึกษาเดียวโดยมีจำนวนประชากร 73 ราย; หลักฐานคุณภาพต่ำ) จากหลักฐานที่มีผลลัพธ์ไม่ชัดเจนและขนาตัวอย่างน้อย ทั้งยังไม่มีความแตกต่างทั้งสองกลุ่มในด้านการคลอดก่อนกำหนดและคลอดทารกน้ำหนักตัวน้อย ไมโอ-อิโนซิทอลมีความสัมพันธ์กับการคลอดที่อายุครรภ์มากกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (ค่าความแตกต่าง 2.1 สัปดาห์; ช่วงความเชื่อมั่น (95%CI) 1.27 ถึง 2.93 จากการศึกษาเดียวโดยมีจำนวนประชากร 73 ราย) แต่ไม่มีข้อมูลในด้านผลลัพธ์ของทารกในด้านอื่นๆ

ในการทบทวนนี้ไม่มีผลลัพธ์ในระยะยาวต่อมารดาและทารกหรือสุขภาพของเด็ก

บันทึกการแปล: 

หมายเหตุการแปล แปลโดย นพ.เกียรติศักดิ์ คงวัฒนกุล ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 26 มกราคม 2559

Tools
Information