ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

โปรแกรมการวางแผนครอบครัวสำหรับสตรีที่ติดเชื้อเอชไอวี

ความเป็นมา

การบริการวางแผนครอบครัวสามารถช่วยสตรีที่มีเชื้อเอชไอวีใช้การคุมกำเนิดและป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการ ประชาชนที่มีเชื้อเอชไอวีกำลังมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นเนื่องมาจากการรักษาที่ดีขึ้น สตรีที่ติดเชื้อเอชไอวีจำนวนมากขึ้นต้องการที่จะเลือกมีและเวลาที่จะมีบุตร

วิธีการ

ผู้ทบทวนได้ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาการศึกษาที่เกี่ยวกับโปรแกรมการคุมกำเนิดสำหรับสตรีที่มีเชื้อเอชไอวี จนถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2016 การให้บริการสามารถเปรียบเทียบในโปรแกรมที่แตกต่างกันไป การดูแลปกติ หรือ ไม่มีการให้คำปรึกษา การศึกษาสามารถเปรียบเทียบระหว่างสตรีที่มีเชื้อเอชไอวีและสตรีที่ไม่มีเชื้อเอชไอวี เราพยายามที่จะค้นหาผลที่มีการปรับค่าสำหรับปัจจััยที่มีผลกระทบกับผลลัพธ์ของการศึกษา นอกเหนือจากนั้น เราใช้ข้อมูลที่ไม่มีการปรับผลลัพธ์ เราประเมินคุณภาพของงานวิจีย

ผลการศึกษา

เราได้รวบรวมการศึกษาใหม่ 3 ฉบับจากจำนวนทั้งหมด 10 การศึกษาเหล่านี้มาจากประเทศแถบแอฟริกัน 7 ประเทศ มีอาสาสมัคร 16,116 คน มี 3 การศึกษาเปรียบเทียบการส่งเสริมโปรแกรมวางแผนครอบครัวเปรียบเทียบกับการดูแลตามปกติ อีก 3 การศึกษาดูที่การบริการด้านวางแผนครอบครัวร่วมกับการดูแลเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี และมี 4 การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสตรีที่มีการติดเชื้อเอชไอวีและไม่มีการติดเชื้อเอชไอวี

สำหรับ 4 การศึกษามีคุณภาพงานวิจัยดี โปรแกรมพิเศษสัมพันธ์กับการใช้การคุมกำเนิดหรือตั้งครรภ์ ในประเทศไนจีเรีย สถานที่ศึกษาเป็นการให้บริการร่วมกันเกียวกับการวางแผนครอบครัวกับการให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี สตรีในกลุ่มที่มีการส่งเสริมการบริการด้านวางแผนครอบครัวมีการใช้วิธีการคุมกำเนิดสมัยใหม่มากกว่าสตรีที่รับบริการด้านวางแผนครวแบบปกติ การศึกษาในประเทศเคนยา เปรียบเทียบ การรวมการให้บริการด้านวางแผนครอบครัวร่วมกับการให้การดูแลผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี กับการส่งต่อผู้ป่วยไปยังคลินิกวางแผนครอบครัวที่แยกต่างหาก สตรีในกลุ่มที่ให้บริการร่วมมีการใช้การคุมกำเนิดได้มีประสิทธิภาพมากกว่าสตรีที่ส่งไปคลินิกวางแผนครอครัวที่แยกไปต่างหาก การศึกษาหนึ่งที่ประเทศเคนยา นามิเบีย และแทนซาเนีย ได้ทดสอบการป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีและโปรแกรมการวางแผนครอบครัว สตรีที่อยู่ในโปรแกรมพิเศษในประเทศแทนซาเนียใช้การคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพมากกว่าสตรีที่ได้รับการดูแลปกติ พวกเธอยังรายงานการใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธุ์มากกว่า โดยภาพรวม สตรีที่อยู่ในโครงการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีมีการไม่ใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธุแบบไม่ป้องกันน้อยกว่าในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา การศึกษาจากประเทศโกตดิวัวร์ มีการให้บริการการตรวจเอชไอวีร่วมกับการให้บริการวางแผนครอบครัว อัตราการตั้งครรภ์มีความคล้ายกันระหว่างสตรีที่มีเชื้อเอชไอวีและสตรีที่ไม่มีเชื้อ แต่สตรีที่มีเชื้อเอชไอวีมีการตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการน้อยกว่า

ผลสรุปของผู้ทบทวน

การศึกษาตั้งแต่ปี 2009 มีคุณภาพดีกว่าการศึกษาจากปี 1990 การฝึกอบรมการวางแผนครอบครัวและการให้คำปรึกษาพบได้บ่อย กว่า ซึ่งสามารถทำให้การวางแผนครอบครัวแข็งแรงขึ้น งานวิจัยยังจำกัดเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการคุมกำเนิดสำหรับสตรีที่ติดเชื้อเอชไอวี วิธีการให้คำปรึกษาที่ดีกว่าสามารถช่วยสตรีเลือกและใช้วิธีการคุมกำเนิด ความต้องการยิ่งมีมากในสถานที่ที่มีทรัพยากรจำกัด เช่น คลินิกเอชไอวี

บทนำ

การให้บริการการคุมกำเนิดสามารถช่วยให้บรรลุจุดมุ่งหมายการวางแผนครอบครัวสำหรับสตรีที่อยู่กับเชื้อเอชไอวีในขณะเดียวกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูก เนื่องจากการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ชีวิตรอดเพิ่มขึ้นสำหรับสตรีที่อยู่กับเอชไอวี และ สตรีที่มีเชื้อเอชไอวีจำนวนมากขึ้นที่ต้องการมีลูกหรือมีลูกอีกคน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาหรือการศึกษา สามารถช่วยสตรีเลือกและใช้วิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม

วัตถุประสงค์

เราได้ทบทวนการศึกษาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับสตรีที่มีเชื้อเอชไอวีตั้งใจที่จะสื่อสารทางเลือกของการคุมกำเนิด ส่งเสริมการใช้การคุมกำเนิดหรือส่งเสริมการคงใช้การคุมกำเนิดชนิดต่างๆ

วิธีการสืบค้น

ผู้ทบทวนได้ค้นหาข้อมูลจาก MEDLINE, CENTRAL, Web of Science, POPLINE, Clinicaltrial.gov จนถึงวันที่ 2 สิหาคม 2016 และ ICTRP สำหรับการทนทวนเริ่มต้น ผู้วิจัยได้ตรวจสอบรายชื่อเอกสารอ้างอิงและรายงานโครงการที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ และผู้วิจัยได้ติดต่อผู้ทำการค้นคว้าในสาขานั้นๆ

เกณฑ์การคัดเลือก

การศึกษาประเมินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อเพิ่มการใช้การคุมกำเนิดสำหรับการวางแผนครอบครัว การเปรียบเทียบสามารถใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างอื่น การดูแลปกติ หรือ ไม่มีการปรับเปลี่ยน เราได้พิจารณาการศึกษาที่เปรียบเทียบสตรีที่มีเชื้อเอชไอวีกับสตรีที่ไม่มีเชื้อ เราได้รวมการศึกษาแบบไม่สุ่ม หร้อมๆ กับการศึกษาแบบสุ่ม

ผลลัพธ์หลัก คือ การตั้งครรภ์และการใช้การคุมกำเนิด เช่น ยอมรับการใช้วิธีใหม่ หรือเพิ่มการใช้ หรือการใช้การคุมกำเนิตต่อเนื่องของวิธีที่ใชัในปัจจุบัน ผลลัพธ์รอง คือความรู้เกี่ยวกับประสิทธิผลของการคุมกำเนิดและทัศนคติเกี่ยวกับการคุมกำเนิดหรือวิธีการคุมกำเนิดที่เฉพาะเจาะจง

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้ทบทวนสองคนสกัดขอ้มูลอย่างเป็นอิสระต่อกัน ผู้ทบทวนหนึ่งคนลงข้อมูลใน RevMan และคนที่สองตรวจสอบความถูกต้อง เราประเมินการวิจัยแบบสุ่มตามคำแนำหลัก สำหรับการศึกษาที่ไม่ใช่การทดลองแบบสุ่ม ผู้ทบทวนได้ตรวจสอบคุณภาพของหลักฐานโดยใช้ Newcastle-Ottawa Quality Assessment Scale มีความจำเป็นที่ต้องควบคุมปัจจัยกวนในการศึกษาแบบไม่สุ่ม ผู้ทบทวนได้ปรับค่าจากรูปแบบเพื่อความเหมาะสม สำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องปรับเมื่อวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ทบทวนได้คำนวนโดยใช้ odd ratio(OR) กับ 95% confidence interval (CI) เนื่องจากความหลากหลายของรูปแบบการศึกษาและการกระทำ เราไม่ได้ทำ meta-analysis

ผลการวิจัย

รวมกับ 3 รายงานใหม่ มี 10 การศึกษามาจาก 7 ประเทศแอฟริกันซึ่งตรงตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ของเรา การศึกษาแบบไม่สุ่ม 8 การศึกษามีผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 8980 คน มี 2 กลุ่มการศึกษาแบบสุ่ม มีผู้เข้าร่วมวิจัย 7136 คนจาก 36 สถานที่ มี 3 การศึกษาเปรียบเทียบการวางแผนครอบครัวแบบพิเศษกับการดูแลปกติ มี 3 การศึกษาศึกษาเกี่ยวกับการบริการวางแผนครอครัวบูรณาการกับการให้บริการเกี่ยวกับเอชไอวี และ 4 การศึกษาเปรียบเทียบผลสำหรับสตรีที่มีเชื้อเอชไอวีและสตรีที่ไม่มีเชื้อ

ใน 4 การศึกษาที่มีคุณภาพของหลักฐานระดับปานกลางและระดับสูง การให้การปรับเปลี่ยนแบบพิเศษมีความสัมพันธ์กับการใช้การคุมกำเนิด หรือ การตั้งครรภ์ การศึกษาจากประเทศไนจีเรียเปรียบเทียบการส่งเสริมกับการให้การบริกาด้านวางแผนครอบครัวพื้นฐาน ทุกสถานที่มีบริการการวางแผนครอบครัวและ HIV แบบบูรณาการ สตรีที่ได้รับการบริการที่ส่งเสริมมีการใช้วิธีคุมกำเนิดสมัยใหม่มากกว่าสตรีที่ได้รับบริการปกติ (OR 2.48, 95% CI 1.31 ถึง 4.72) การศึกษาเป็นกลุ่มการทดลองแบบสุ่มในประเทศเคนยาเปรียบเทียบการบูรณาการการวางแผนครอบครัวและการบริการเรื่องเอชไอวีกับการส่งต่อตามมาตรฐานไปยังคลินิควางแผนครอบครัวที่แยกออกไป สตรีในกลุ่มที่มีการบูรณาการการบริการมีการใช้การคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ((adjusted OR 1.81, 95% CI 1.24 ถึง 2.63). การศึกษาอีกหนึ่งเรื่องแบบ cluster RCT เปรียบเทียบการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมวางแผนครอบครัวกับการดูแลปกติในประเทศเคนยา นามิเบีย และแทนซาเนีย สตรีในสถานที่ที่มีการปรับเปลี่ยนพิเศษในประเทศแทนซาเนียมีการการใช้การคุมกำเนิดอย่างมีประสิทธิภาพสูงมากกว่า (adjusted OR 2.25, 95% CI 1.24 ถึง 4.10). เธอทั้งหลายมีโอกาสน้อยที่รายงานการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน (ไม่ใช้ถุงยางอนามัย ) ในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด สำหรับสามประเทศ สตรีในสถานที่ที่มีการปรับเปลี่ยนพิเศษมีโอกาสน้อยที่จะรายงานการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันในสองสัปดาห์ล่าสุด ( adjusted OR 0.56, 95%CI 0.32 ถึง 0.99) การศึกษาในประเทศโกตดิวัวร์ ได้บูรณาการบริการด้านเอชไอวีและการวางแผนครอบครัว สตรีที่มีเชื้อเอชไอวีมีอุบัติการณ์ของการไม่อยากตั้งครรภ์ต่ำกว่า แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของการตั้งครรภ์ การเปรียบเทีนบระหว่างสตรีที่มีเชื้อเอชไอวีและไม่มีเชื้อ ( 1.07 กับ 2.38 รายงาน p=0. 203)

ข้อสรุปของผู้วิจัย

การศึกษาตั้งแต่ปี ค.ศ 2009 ได้มุ่งไปที่วิธีการคุมกำเนิดที่่มีประสิทธิภาพและทันสมัยมากกว่า ในรายงานเหล่านั้น การฝึกเกี่ยวกับวิธีการวางแผนครอบครัวและการให้คำแนะนำจะพบบ่อยกว่า ซึ่งจะทำให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีความแข็งแรงขึ้นและเพิ่มความสามารถให้เท่ากับสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการ คุณภาพของหลักฐานอยู่ในระดับปานกลางในการศึกษาระยะใกล้ๆ และมีคุณภาพต่ำในรายงานตั้งแต่ปี 1990s

งานวิจัยเปรียบเทียบการให้คำปรึกษาเรื่องวางแผนครอบครัวสำหรับสตรีที่มีเชื้อเอชไอวียังจำกัด การวางแผนครอบครัวต้องการทางที่ดีสำหรับการช่วยสตรีเลือกการคุมกำเนิดที่เหมาะสมและมีการใช้วิธีนัั้นอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาวิธีการให้คำแนะนำวิธีคุมกำเนิดมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสถานที่มี่มีทรัพยากรจำกัด เช่นคลินิกทีุ่่งเน้นประชากรสามารถอยู่ได้กับเชื้อเอชไอวีอย่างยาวนาน

บันทึกการแปล

บทคัดย่อและบทสรุปในภาษาธรรมดาเรื่องนี้แปลโดย ประนอม บุพศิริ ภาควิชาสูติศาสตรและนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน

Citation
Lopez LM, Grey TW, Chen M, Denison J, Stuart G. Behavioral interventions for improving contraceptive use among women living with HIV. Cochrane Database of Systematic Reviews 2016, Issue 8. Art. No.: CD010243. DOI: 10.1002/14651858.CD010243.pub3.