วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในเด็กที่มีสุขภาพดี

วัตถุประสงค์ของการทบทวน

วัตถุประสงค์ของ Cochrane Review นี้ ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2007 เพื่อสรุปงานวิจัยเกี่ยวกับการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่แก่เด็กที่มีสุขภาพดีถึงอายุ 16 ปีในช่วงฤดูไข้หวัดใหญ่ เราศึกษา randomised trials ที่เปรียบเทียบวัคซีนชนิดใดชนิดหนึ่งจากวัคซีนสองชนิดกับวัคซีนหลอกหรือไม่ได้ให้วัคซีน วัคซีนชนิดแรกคือวัคซีนไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดมีชีวิตแต่ทำให้อ่อนฤทธ์ลง (live attenuated influenza vaccines) และให้ผ่านทางจมูก วัคซีนอีกชนิหนึ่งผลิตโดยการทำให้เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตายด้วยสารเคมี (inactivated virus) และให้โดยการฉีดผ่านผิวหนัง เราวิเคราะห์จำนวนเด็กที่ยืนยันว่าเป็นไข้หวัดใหญ่และผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยเหมือนไข้หวัดใหญ่ (ILI) (ปวดศีรษะ ไข้ ไอ และปวดกล้ามเนื้อ) และอันตรายจากการฉีดวัคซีน การปรับปรุงในอนาคตของรีวิวนี้จะทำเฉพาะเมื่อมีการศึกษาใหม่หรือมีวัคซีนชนิดใหม่ ข้อมูลจากการศึกษาเชิงพรรณา 33 เรื่อง ที่รวมอยู่ในการทบทวนครั้งก่อนหน้าได้ถูกเก็บรักษาสำหรับเหตุผลทางประวัติศาสตร์ แต่ไม่ได้ปรับปรุงเนื่องจากไม่มีผลต่อข้อสรุปของการทบทวน

ใจความสำคัญ

Live attenuated และinactivated vaccines สามารถลดสัดส่วนของเด็กที่มีไข้หวัดใหญ่และ ILI เนื่องจากความแตกต่างในผลของการศึกษาทำให้ไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลของวัคซีนเหล่านี้ในแต่ละฤดูของโรคไข้หวัดใหญ่

การทบทวนนี้ศึกษาอะไร

ไวรัสมากกว่า 200 ชนิด ทำให้เกิด ILI และทำให้มีอาการ (ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ปวด ไอ และน้ำมูก) เหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ แพทย์ไม่สามารถแยกโรคเหล่านี้ได้โดยไม่มีการทดสอบในห้องปฏิบัติการเนื่องจากอาการต่างๆมักจะมีอยู่เป็นวัน และไม่ค่อยทำให้เกิดการเจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิต เหมือนๆกัน

ชนิดของไวรัสที่มีอยู่ในวัคซีนมักจะเป็นสายพันธ์ุที่คาดว่าจะมีอยู่ในธรรมชาติในฤดูไข้หวัดใหญ่ถัดไป ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (วัคซีนตามฤดูกาล) วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับการระบาด( Pandemic vaccine) ประกอบด้วยไวรัสสายพันธุ์เฉพาะที่ระบาด (เช่นชนิด A H1N1 สำหรับการระบาดในปี 2009 ถึง 2010 )

ผลลัพธ์หลัก

เราพบการศึกษาแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม 41เรื่อง การศึกษาส่วนใหญ่รวมเด็กอายุมากกว่าสองปีขึ้นไป และได้ดำเนินการในสหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก รัสเซีย และประเทศบังกลาเทศ

เมื่อเทียบกับยาหลอก หรือไม่ให้วัคซีน live attenuated วัคซีนอาจลดสัดส่วนของเด็กที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นไข้หวัดใหญ่จาก 18% เป็น 4% (หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง), และอาจลด ILI จาก 17% เป็น 12% (หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) จะต้องมีการฉีดวัคซีนเด็ก 7 คนสำหรับการป้องกันไข้หวัดใหญ่ในเด็ก 1 คน และ ต้องมีการฉีดวัคซีนเด็ก 20 คนเพื่อป้องกัน ILI ในเด็ก 1 คน เราพบข้อมูลจากการศึกษาหนึ่งเรื่องที่แสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงของการติดเชื้อของหูในทั้ง 2 กลุ่มใกล้เคียงกัน มีข้อมูลไม่เพียงพอในการประเมินการขาดโรงเรียนและการที่ผู้ปกครองต้องขาดงาน เราไม่พบข้อมูลการเข้าอยู่รักษาในโรงพยาบาล และมีการรายงานเรื่องอันตรายอย่างไม่สม่ำเสมอ

เมื่อเทียบกับยาหลอกหรือไม่ฉีดวัคซีน inactivated vaccines ลดความเสี่ยงของโรคไข้หวัดใหญ่จาก 30% เป็น 11% (หลักฐานความเชื่อมั่นสูง), และลด ILI จาก 28% เป็น 20% (หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง) จะต้องมีการฉีดวัคซีนเด็ก 5 คนเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ในเด็ก 1 คน และ เด็ก 12 คนจะต้องมีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน ILI 1 คน ความเสี่ยงของหูชั้นกลางอักเสบใกล้เคียงกันระหว่างเด็กที่ฉีดวัคซีนและเด็กที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน (31% เมื่อเทียบกับ 27% หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง) มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะประเมินการขาดโรงเรียนเนื่องจากมีหลักฐานความแน่นอนต่ำมากจากเพียง 1 การศึกษา ไม่พบข้อมูลการขาดงานของผู้ปกครอง การอยู่รักษาในโรงพยาบาล ไข้ หรืออาการคลื่นไส้

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ monovalent สำหรับการระบาดชนิดหนึ่งถูกเชื่อมโยงกับการสูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อกระตุ้นให้เกิดโดยการเกิดอารมณ์รุนแรง (cataplexy) และความผิดปกติของการนอนหลับ (narcolepsy) ในเด็ก

มีเพียงไม่กี่การศึกษาที่ออกแบบ และดำเนินการอย่างดี และผลกระทบของการศึกษามีความเสี่ยงการเกิดอคติที่แตกต่างกันระหว่างผลลัพธ์ที่ประเมิน ไข้หวัดใหญ่และหูชั้นกลางอักเสบเป็นผลลัพธ์ 2 อย่างเท่านั้นที่มั่นใจว่าไม่ถูกกระทบโดยอคติ

ความเป็นปัจจุบันของการทบทวนนี้

หลักฐานเป็นปัจจุบันถึง 31 ธันวาคม 2016

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

ในเด็ก อายุระหว่าง 3 ถึง 16 ปี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดมีชีวิต (live influenza vaccines) อาจลดการเป็นไข้หวัดใหญ่ (หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง) และอาจลด ILI (หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) ในฤดูกาลเดียวของไข้หวัดใหญ่ ในประชากรกลุ่มนี้ วัคซีนชนิดไม่มีชีวิต (inactivated vaccines) ลดไข้หวัดใหญ่ (หลักฐานความเชื่อมั่นสูง) และอาจลด ILI (หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) สำหรับวัคซีนทั้งสองชนิด ผลการลดไข้หวัดใหญ่และ ILI มีตวามแตกต่างกันมากในแต่ละประชากรที่ศึกษา ทำให้ยากที่จะแปลผลในแต่ละสถานการณ์ได้ เราพบการศึกษาแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุมในเด็กอายุต่ำกว่าสองปีน้อยมาก ข้อมูลเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ไม่ได้อธิบายไว้อย่างดีในการศึกษาที่รายงานเรื่องนี้ มีความจำเป็นต้องมีมาตรฐานในการให้คำจำกัดความ การตรวจสอบ และการรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ การค้นหากรณีที่อาจเกิดอันตรายจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่พบทั่วโลกอยู่นอกเหนือขอบเขตของรีวิวนี้

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

ผลที่ตามมาของไข้หวัดใหญ่ในเด็กและผู้ใหญ่ส่วนใหญ่คือการขาดโรงเรียนและขาดงาน อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนสูงสุดในเด็กและคนอายุมากกว่า 65 ปี นี่คือการปรับปรุงรีวิวที่เผยแพร่ในปี 2011 การปรับปรุงในอนาคตของรีวิวนี้จะทำเฉพาะเมื่อมีการศึกษาใหม่หรือมีวัคซีนชนิดใหม่ ข้อมูลแบบสังเกตการณ์ที่รวมอยู่ในการทบทวนก่อนหน้านี้ได้ถูกเก็บรักษาไว้สำหรับเหตุผลทางประวัติศาสตร์ แต่ไม่ได้ปรับปรุง เพราะไม่มีผลต่อบทสรุปของการทบทวน

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินผล (ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และอันตราย) ของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในเด็กสุขภาพดี

วิธีการสืบค้น: 

เราค้น the Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL) (the Cochrane Library 2016 Issue 12), ซึ่งรวมถึง the Cochrane Acute Respiratory Infections Group Specialised Register, MEDLINE (1966 ถึง 31 ธันวาคม 2016), Embase (1974 ถึง 31 ธันวาคม 2016), WHO International Clinical Trials Registry Platform (ICTRP; 1 กรกฎาคม 2017), และ ClinicalTrials.gov (1 กรกฎาคม 2017 )

เกณฑ์การคัดเลือก: 

การศึกษาแบบสุ่มมีกลุ่มเปรียบเทียบการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่กับยาหลอกหรือไม่ให้วัคซีนในการเกิดไข้หวัดใหญ่ตามธรรมชาติในเด็กสุขภาพดีอายุน้อยกว่า 16 ปี การทบทวนก่อนหน้ารวมการศึกษาแบบ cohort 19 เรื่องและการศึกษาแบบ case-control studies 11 เรื่อง เราไม่ปรับปรุงการค้นหาการศึกษาทีออกแบบเหล่านี้ แต่เก็บไว้เป็นข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนประเมินความเสี่ยงของอคติ และดึงข้อมูลอย่างเป็นอิสระต่อกัน เราใช้ GRADE เพื่อประเมินความแน่นอนของหลักฐานสำหรับผลลัพธ์สำคัญได้แก่ไข้หวัดใหญ่ การเจ็บป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ (ILI), ภาวะแทรกซ้อน (การอยู่รักษาในโรงพยาบาล หูติดเชื้อ), และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เนื่องจากมีความแตกต่างกันของความเสี่ยงในการเกิดไข้หวัดใหญ่ และ ILI ในกลุ่มควบคุม จึงรายงานผลลัพธ์รวมเป็น median control group risk (ความเสี่ยงของกลุ่มควบคุมเฉลี่ย)และจำนวนเด็กที่ต้องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้เด็ก 1 คน (NNVs) มีรายงานตามลำดับ สำหรับผลลัพธ์อื่นๆ รายงานเป็นผลรวมในกลุ่มควบคุม

ผลการวิจัย: 

เรารวมการศึกษาทางคลินิก 41 การศึกษา (เด็ก > 200,000 คน) การศึกษาส่วนใหญ่ทำในเด็กอายุมากกว่า 2 ปีและเปรียบเทียบวัคซีน live attenuated หรือ inactivated กับยาหลอกหรือไม่ได้วัคซีน การศึกษาทำในฤดูไข้หวัดใหญ่มากกว่า 1 ฤดูในสหรัฐอเมริกา ยุโรป รัสเซีย และประเทศบังกลาเทศระหว่างปี 1984 และ 2013 การจำกัดการวิเคราะห์เฉพาะการศึกษาที่มีความเสี่ยงต่ำของอคติแสดงให้เห็นว่า การเป็นไข้หวัดใหญ่และหูชั้นกลางอักเสบ เป็นผลลัพธ์เพียง 2 อย่างที่ถูกกระทบด้วยอคติน้อยมาก ความแตกต่างกันในการออกแบบการศึกษาและการรายงานทำให้ไม่สามารถทำ meta-analysis ของอันตรายของวัคซีนได้

Live attenuated วัคซีน

เมื่อเทียบกับยาหลอก หรือไม่ทำอะไร live attenuated วัคซีนอาจลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในเด็กอายุ 3-16 ปีจาก 18% เป็น 4% (อัตราความเสี่ยง (RR) 0.22 ช่วงความเชื่อมั่น 95% (CI) 0.11 ถึง 0.41 เด็ก 7718 คน หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง ), และอาจลด ILI ได้เล็กน้อย จาก 17% เป็น 12% (RR 0.69, 95% CI 0.60 ถึง 0.80 เด็ก 124,606 คน หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) จะต้องมีการฉีดวัคซีนเด็ก 7 คนสำหรับการป้องกันไข้หวัดใหญ่ในเด็ก 1 คน และ ต้องมีการฉีดวัคซีนเด็ก 20 คนเพื่อป้องกัน ILI ในเด็ก 1 คน การเป็นหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันจะคล้ายกันในกลุ่มได้วัคซีนหรือยาหลอกในช่วงไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล แต่ผลนี้มาจากการศึกษาเดียวที่มีอัตราการเป็นหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันสูง (RR 0.98, 95% CI 0.95 ถึง 1.01 หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง) ข้อมูลไม่เพียงพอที่จะประเมินผลของวัคซีนกับการขาดโรงเรียนเนื่องจากมีคุณภาพของหลักฐานต่ำมากจากการศึกษาเพียง 1 เรื่อง การให้วัคซีนแก่เด็กอาจนำไปสู่การที่พ่อแม่ขาดงานน้อยลง แม้ว่า CI จะรวมการไม่มีผลด้วย(RR 0.69, 95% CI 0.46 ถึง 1.03 หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบร้ายแรงที่สุดของภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่ที่ทำให้ต้องอยู่รักษาในโรงพยาบาล ข้อมูลจากการศึกษา 4 เรื่องที่วัดไข้หลังฉีดวัคซีน มีความแตกต่างกันมาก จาก 0.16% ถึง 15% ในเด็กที่ได้ live vaccines ในขณะที่เด็กที่รับยาหลอกพบ 0.71% ถึง 22% (หลักฐานความแน่นอนต่ำมาก) ไม่มีรายงานข้อมูลอาการคลื่นไส้

Inactivated vaccines

เมื่อเทียบกับยาหลอกหรือไม่ฉีดวัคซีน Inactivated vaccines ลดความเสี่ยงของโรคไข้หวัดใหญ่ในเด็กอายุตั้งแต่ 2 ถึง 16 ปีจาก 30% เป็น 11% (RR 0.36, 95% CI 0.28 ถึง 0.48 เด็ก 1628 คน หลักฐานความเชื่อมั่นสูง), และคงลด ILI จาก 28% เป็น 20% (RR 0.72 , 95% CI 0.65 ถึง 0.79 เด็ก 19,044 คน หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง) ต้องมีการฉีดวัคซีนเด็ก 5 คนเพื่อป้องกันไม่ให้คนเป็นไข้หวัดใหญ่หนึ่งคน และจะต้องมีการฉีดวัคซีน 12 คนเพื่อป้องกันการเกิด ILI หนึ่งคน ความเสี่ยงของหูชั้นกลางอักเสบคล้ายกันระหว่างเด็กที่ฉีดวัคซีนและเด็กที่ไม่ได้วัคซีน (31% เมื่อเทียบกับ 27%), แม้ว่า CI ไม่สามารถตัดความเสี่ยงของการเพิ่มขึ้นที่มีความหมายในเด็กที่ฉีดวัคซีนได้ (RR 1.15, 95% CI 0.95 ถึง 1.40; 884 คน หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง) ข้อมูลไม่เพียงพอที่จะประเมินผลของวัคซีนกับการขาดโรงเรียนเนื่องจากมีคุณภาพของหลักฐานต่ำมากจากการศึกษาเพียง 1 เรื่อง ไม่พบข้อมูลการขาดงานของผู้ปกครอง การอยู่รักษาในโรงพยาบาล ไข้ หรืออาการคลื่นไส้

เราพบหลักฐานที่จำกัดเกี่ยวกับการเกิดไข้หวัดใหญ่ในคนที่สัมผัสกับผู้ป่วย (secondary cases) การต้องรับการรักษาโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง และการสั่งใช้ยา วัคซีนไข้หวัดใหญ่ monovalent สำหรับการระบาดชนิดหนึ่งถูกเชื่อมโยงกับการสูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อกระตุ้นให้เกิดโดยการเกิดอารมณ์รุนแรง (cataplexy) และความผิดปกติของการนอนหลับ (narcolepsy) ในเด็ก หลักฐานของอันตรายร้ายแรง (เช่นไข้ชัก) มีน้อย

บันทึกการแปล: 

หมายเหตุ แปลโดย ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ผกากรอง ลุมพิกานนท์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 7 มีนาคม 2018

Tools
Information