การให้วิตามินเอเสริมสำหรับลดการส่งผ่านเชื้อเอชไอวีของแม่สู่ลูก

จุดมุ่งหมายของการทบทวนนี้คืออะไร

จุดมุ่งหมายหลักของการทบทวนของ Cochrane คือการ ประเมินผลกระทบของการให้อาหารเสริมวิตามินเอแก่สตรีที่มีเชื้อเอชไอวีบวกในระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอด หรือในทั้งสองช่วง ที่มีความเสี่ยงของการส่งผ่านเชื้อเอชไอวีจากแม่ไปสู่ทารก นักวิจัยรวบรวม และตรวจสอบการศึกษาที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อตอบคำถามนี้ได้ห้าการทดลอง นี่คือการปรับปรุงการทบทวนที่ถูกเผยแพร่ในปี 2011

ข้อสำคัญของรีวิวนี้คืออะไร

การให้อาหารเสริมวิตามินเอแก่สตรีเอชไอวีบวกในระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอดหรือในทั้งสองช่วง อาจจะทำให้มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีความแตกต่างเลยในเรื่องความเสี่ยงของการส่งเอชไอวีจากแม่สู่ลูก (mother-to-child transmission) (หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง)

ผลลัพธ์ของการทบทวนคืออะไร

มีห้าการทดลองที่ตรงตามเกณฑ์การศึกษาของการทบทวนนี้ สองการทดลองมาจากแอฟริกาใต้และมาจากมาลาวี แทนซาเนีย ซิมบับเวที่ละหนึ่งการทดลอง การทดลองเปรียบเทียบสตรีที่ได้รับอาหารเสริมวิตามินเอกับสตรีที่ไม่ได้รับอาหารเสริมดังกล่าว ไม่มีผู้เข้าร่วมการศึกษาคนใดได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส (ART)

การรีวิวแสดงในผู้หญิงที่ใช้ชีวิตกับเชื้อเอชไอวีและไม่ได้รับยา ART

-การให้อาหารเสริมวิตามินเอแก่สตรีเอชไอวีบวกในระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังจากการคลอดทันทีหรือในทั้งสองช่วง อาจมีผลน้อยหรือไม่มีผลต่อความเสี่ยงของการส่งเอชไอวีจากแม่สู่ลูก(หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง) และอาจมีผลน้อย หรือไม่มีผลต่อการตายของเด็กเมื่ออายุสองปี (หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ);

-การให้อาหารเสริมวิตามินเอแก่สตรีเอชไอวีบวกในระหว่างตั้งครรภ์อาจเพิ่มค่าเฉลี่ยของน้ำหนักแรกคลอด (หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) และอาจลดจำนวนทารกน้ำหนักแรกคลอดต่ำ (หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง) แต่ก็ไม่แน่ใจว่าการให้วิตมินเอมีผลต่อจำนวนเกิดคลอดบุตรก่อนกำหนด stillbirths หรือการตายของมารดา (หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก)

การให้วิตามินเอได้ถูกแทนที่ด้วยยา ART ซึ่งสามารถใช้ได้อย่างกว้างขวาง และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการส่งผ่านเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก

การทบทวนนี้ทันสมัยอย่างไร

ผู้ประพันธ์การทบทวนสืบค้นการศึกษาจนถึง 25 สิงหาคม 2017

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

การให้อาหารเสริมวิตามินเอในช่วงระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอดหรือทั้งสองช่วงอาจมีผลน้อยหรือไม่มีผลต่อการส่งผ่านเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกในสตรีที่มีเชื้อเอชไอวีที่ไม่ได้รับยา ART การให้วิตามินเอได้ถูกแทนที่ด้วยยา ART ซึ่งสามารถใช้ได้อย่างกว้างขวาง และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการส่งผ่านเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

กลยุทธ์การลดความเสี่ยงของการส่งไวรัสเอชไอวี (HIV) จากแม่สู่ลูกของมนุษย์ได้แก่การรักษาด้วยยาต้านไวรัส (ART) ตลอดชีวิตสำหรับสตรีเอชไอวีบวก ให้นมลูกอย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดจนหกสัปดาห์ร่วมกับการให้ยา nevirapine หรือให้นมทดแทนร่วมกับการให้ยา nevirapine ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงสี่ถึงหกสัปดาห์ การวางแผนผ่าคลอดทางหน้าท้อง และหลีกเลี่ยงการให้เด็กเคี้ยวอาหาร ในบางพื้นที่ การให้การดูแลเหล่านี้อาจไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปไม่ได้หรือแพง การดูแลที่ง่าย ราคาถูกและมีประสิทธิภาพ (ที่สามารถใช้ได้แม้ในกรณีไม่มีโปรแกรมการตรวจเอชไอวีก่อนคลอด) ควรถูกพิจารณา วิตามิน A ซึ่งมีบทบาทในการทำงานของภูมิคุ้มกัน เป็นการให้การดูแลที่ราคาถูกที่ถูกแนะนำในพื้นที่ดังกล่าว

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินผลของการให้อาหารเสริมวิตามิน A แก่สตรีเอชไอวีบวกระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอด

วิธีการสืบค้น: 

เราค้นจาก Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL), PubMed, Embase, and the World Health Organization International Clinical Trials Registry Platform (WHO ICTRP) up to 25 August 2017 และตรวจสอบรายการเอกสารอ้างอิงของบทความที่เกี่ยวข้องเพื่อรวมเข้าในการศึกษา

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เรารวบรวมการศึกษาแบบ randomized controlled trials ที่ดำเนินการในทุกพื้นที่ที่เปรียบเทียบอาหารเสริมวิตามินเอกับยาหลอกหรือไม่ให้การรักษาใดในหมู่สตรีที่มีเอชไอวีบวกในระหว่างตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดหรือในทั้งสองช่วง

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ประพันธ์การทบทวนสองคนประเมินคุณสมบัติการศึกษา และดึงข้อมูลอย่างเป็นอิสระต่อกัน เราแสดงผลการศึกษาเป็นอัตราส่วนความเสี่ยง (RR) หรือค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (MD) ตามความเหมาะสม โดยมีค่าช่วงความเชื่อมั่น 95% (CI) และดำเนินการทำ random-effects meta-analyses การทบทวนครั้งนี้เป็นการปรับปรุงการทบทวนที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในปี 2011

ผลการวิจัย: 

มีห้าการทดลองที่เข้าเกณฑ์การศึกษา การศึกษาเหล่านี้ได้ดำเนินการในมาลาวี แอฟริกาใต้ แทนซาเนีย และประเทศไทยระหว่างปี 1995 ถึง 2005 และไม่มีผู้เข้าร่วมคนใดได้รับยา ART สตรีที่อยู่ในกลุ่มได้รับอาหารเสริมวิตามินเอได้รับในขนาดยาที่ต่างกัน(ทุกวันระหว่างตั้งครรภ์ ครั้งเดียวทันทีหลังคลอด หรือปริมาณรายวันระหว่างการตั้งครรภ์บวกครั้งเดียวหลังคลอด) สตรีที่อยู่ในกลุ่มเปรียบเทียบได้รับยาหลอกเหมือนกัน (สตรี 6601 ราย ใน 4 การทดลอง) หรือไม่ได้รับยา (สตรี 697 รายใน 1 การทดลอง) สี่การทดลอง (สตรี 6995 ราย) ที่มีความเสี่ยงของการมีอคติต่ำ และหนึ่งทดลอง (สตรี 303 ราย) ที่มีความเสี่ยงของการมีอคติสูงจากการขาดหายไปของกลุ่มตัวอย่าง (risk of attrition bias)

การศึกษาแสดงให้เห็นว่าการให้วิตามินเอแก่สตรีที่มีเอชไอวีบวกระหว่างตั้งครรภ์ หลังคลอดทันที หรือทั้งสองช่วงอาจมีผลน้อยหรือไม่มีผลต่อการส่งผ่านเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก (RR 1.07, 95% CI 0.91 ถึง 1.26; สตรี 4428 ราย 5 การศึกษา หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง) และอาจมีผลน้อยหรือไม่มีผลต่อการตายของเด็กอายุสองปี (RR 1.06, 95% CI 0.92 ถึง 1.22; สตรี 3883 ราย, 3 การศึกษา, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) อย่างไรก็ตามการให้อาหารเสริมวิตามินเอระหว่างการตั้งครรภ์อาจเพิ่มค่าเฉลี่ยน้ำหนักของทารกแรกเกิด (ค่าเฉลี่ยความแตกต่าง (MD) 34.12 g, 95% CI −12.79 ถึง 81.02; สตรี 2181 ราย, 3 การศึกษา, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) และอาจลดอุบัติการณ์ของทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อย (RR 0.78, 95% CI 0.63 ถึง 0.97; สตรี1819ราย, 3 การศึกษา, หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง); แต่ก็ไม่แน่ใจว่าการให้วิตมินเอมีผลต่อจำนวนเกิดคลอดบุตรก่อนกำหนด (สตรี 1577 ราย, 2 การศึกษา) stillbirths (สตรี 2335 ราย, 3 การศึกษา) หรือการตายของมารดา (สตรี 1267 ราย, 2การศึกษา)

บันทึกการแปล: 

ผู้แปล พญ.สุกัญญา ไชยราช ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 29 พฤศจิกายน 2017

Tools
Information