โทรเวชกรรมเชิงโต้ตอบ: ผลต่อการปฏิบัติทางวิชาชีพและผลลัพธ์ด้านการดูแลสุขภาพ

ที่มาและความสำคัญ

โทรเวชกรรม (Telemedicine) ใช้ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อให้บริการสุขภาพในระยะไกล การให้บริการสุขภาพด้วยวิธีการนี้อาจช่วยปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ป่วย การเข้าถึงบริการ และลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจถึงผลกระทบของการดูแลทางไกลผ่านโทรเวชกรรมที่อาจมีต่อผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ และสถาบันสุขภาพ

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

เราประเมินประสิทธิผล การยอมรับ และค่าใช้จ่ายของโทรเวชกรรมเชิงโต้ตอบ (Interactive telemedicine) ในการให้บริการสุขภาพเพิ่มเติมหรือทางเลือกเมื่อเทียบกับการดูแลตามปกติเพียงอย่างเดียว

ลักษณะของการศึกษา

นักวิจัยใน The Cochrane Collaboration สืบค้นวรรณกรรมจนถึงเดือนมิถุนายน 2013 และพบว่ามีการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมจำนวน 93 การศึกษา (N = ผู้เข้าร่วม 22,047 คน) การศึกษาคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการที่มีอาการทางคลินิกหลายประเภท ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด (36 การศึกษา) โรคเบาหวาน (21 การศึกษา) ภาวะทางเดินหายใจ (9 การศึกษา) ปัญหาสุขภาพจิตหรือการใช้สารเสพติด (7 การศึกษา) ภาวะที่ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ (6 การศึกษา ), โรคร่วมที่ซับซ้อน (3 การศึกษา), ภาวะทางเดินปัสสาวะ (3 การศึกษา), การบาดเจ็บและโรคทางระบบประสาท (2 การศึกษา), ภาวะทางเดินอาหาร (2 การศึกษา), ภาวะทารกแรกเกิดที่ต้องได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ (2 การศึกษา), ผู้ป่วยที่ฟื้นตัวหลังจากการปลูกถ่ายอวัยวะ (1 การศึกษา) และมะเร็ง (1 การศึกษา)

โทรเวชกรรมประกอบด้วยการติดตามระยะไกล (remote monitoring 55 การศึกษา) หรือการประชุมทางวิดีโอแบบเรียลไทม์ (real-time video-conferencing 38 การศึกษา) ซึ่งถูกใช้เพียงอย่างเดียวหรือใช้ร่วมกันทั้งสองประเภท การทำงานหลักของโทรเวชกรรมจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาวะทางคลินิก แต่โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 6 ประเภทโดยมีความเหลื่อมซ้อนกันอยู่บ้าง ดังต่อไปนี้: i) การติดตามอาการเรื้อรังเพื่อตรวจหาสัญญาณของการเสื่อมสภาพในระยะเริ่มแรก การรักษาและคำแนะนำอย่างทันท่วงที; ii) การให้การรักษาหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพ เช่น การฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง; iii) การศึกษาและคำแนะนำสำหรับการจัดการตนเอง; iv) การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ; v) การประเมินสถานะทางคลินิกแบบเรียลไทม์ เช่น การประเมินหลังการผ่าตัดหลังการผ่าตัดเล็กน้อย vi); การตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้าหรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ผลการศึกษาที่สำคัญ

เราไม่พบความแตกต่างในการเสียชีวิตระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่ได้รับการดูแลผ่านทางโทรเวชกรรม เมื่อเทียบกับผู้ที่ได้รับการดูแลสุขภาพโดยไม่ใช่โทรเวชกรรม ผลการศึกษามีความแตกต่างกันในด้านการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล พบว่า มีการลดลง 64% จนถึงมีการเพิ่มขึ้น 60% คุณภาพชีวิตเฉพาะโรคดีขึ้นเล็กน้อยสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวที่ได้รับโทรเวชกรรมเมื่อเทียบกับผู้ที่ได้รับการดูแลตามปกติเท่านั้น

เราพบว่าโทรเวชกรรมสามารถปรับปรุงการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ (ค่าเฉลี่ยความแตกต่าง (MD) 0.30 จุดร้อยละ) แต่ผลแตกต่างกันไปในการศึกษา: จาก MD ที่ percentage points -0.72 ถึง 0.20 ในการติดตามผลมัธยฐาน 9 เดือน เราพบหลักฐานบางอย่างสำหรับการลดลงของ LDL cholesterol ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่ 'ไม่ดี' ในผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยที่ได้รับการรักษาด้วยโทรเวชกรรมเมื่อเทียบกับผู้ที่ได้รับการดูแลตามปกติ (MD -12.45 mg / dL) นอกจากนี้เรายังพบว่า ความดันโลหิตลดลงมากขึ้นในผู้ที่ได้รับโทรเวชกรรมเมื่อเทียบกับความดันโลหิตของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยที่ได้รับการดูแลตามปกติ

มี 7 การศึกษาที่คัดเลือกผู้เข้าร่วมที่มีปัญหาสุขภาพจิตและการใช้สารเสพติดที่แตกต่างกันรายงานว่า ไม่มีความแตกต่างในผลของการบำบัดผ่านการประชุมทางวิดีโอเมื่อเทียบกับการส่งแบบตัวต่อตัว ผลการศึกษาจากการศึกษาอื่น ๆ มีความแตกต่างกันไป มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการติดตามผ่านโทรเวชกรรม ช่วยปรับปรุงการควบคุมความดันโลหิตในผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงให้ดีขึ้นและบางการศึกษายังรายงานว่าโทรเวชกรรมช่วยผู้ที่มีภาวะทางเดินหายใจให้มีสภาพที่ดียิ่งขึ้น ในการศึกษาที่มีผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยที่ต้องการคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญสำหรับสภาพผิวหนังรายงานว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม

ความน่าเชื่อถือ ของหลักฐาน

เราสามารถสรุปข้อมูลจาก 16 การศึกษา ที่ศึกษาผู้ที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว (หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับปานกลางถึงสูง) และจาก 21 การศึกษา ที่ศึกษาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน (หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับต่ำถึงสูง) ผลจากการศึกษาเหล่านี้เป็นข้อบ่งชี้ที่ดีถึงผลกระทบที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นจากการใช้โทรเวชกรรมในการบริการด้านสุขภาพแก่ผู้ที่มีภาวะเหล่านี้ต่อผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพ ผลการศึกษาจากการศึกษาอื่น ๆ มีความเชื่อมั่นน้อยกว่าเนื่องจากมีการศึกษาจำนวนค่อนข้างน้อยที่ศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยที่มีอาการทางคลินิกอื่น ๆ

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

ผลการวิจัยของเราระบุว่าการใชโทรเวชกรรมในการจัดการภาวะหัวใจล้มเหลวดูเหมือนจะมีผลลัพธ์ด้านสุขภาพเช่นเดียวกับการดูแลแบบตัวต่อตัวหรือทางโทรศัพท์ มีหลักฐานว่าโทรเวชกรรมสามารถปรับปรุงการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ ค่าใช้จ่ายในการให้บริการด้านสุขภาพและการยอมรับของผู้ป่วยรวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ยังไม่ชัดเจน เนื่องจากมีการรายงานข้อมูลที่จำกัดสำหรับผลลัพธ์เหล่านี้ ประสิทธิผลของโทรเวชกรรมอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการรวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประชากรที่ทำการศึกษา เช่น ความรุนแรงของอาการและวิถีของโรคของผู้เข้าร่วมโครงการ การทำงานของโทรเวชกรรม เช่น หากใช้เพื่อติดตามอาการเรื้อรัง หรือเพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการตรวจวินิจฉัย ตลอดจนผู้ให้บริการและระบบการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการโทรเวชกรรม

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

โทรเวชกรรม (Telemedicine (TM)) เป็นการใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อบริการสุขภาพในระยะไกล มีศักยภาพในการปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยในด้านการเข้าถึงและลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพ เนื่องจากระบบ TM มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญ คือ ต้องเข้าใจถึงผลกระทบของโทรเวชกรรมที่อาจมีต่อผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ และสถาบันสุขภาพ

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินประสิทธิผล การยอมรับ และต้นทุนของโทรเวชกรรมเชิงโต้ตอบที่นำมาใช้เป็นทางเลือกเพิ่มเติมนอกเหนือจากการดูแลรักษาตามปกติ (เช่น การดูแลแบบตัวต่อตัวหรือการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์)

วิธีการสืบค้น: 

เราค้นหาใน the Effective Practice and Organisation of Care (EPOC) Group's specialised register, CENTRAL, MEDLINE, EMBASE, ฐานข้อมูลอื่น ๆ อีก 5 รายการ และทะเบียนการทดลอง 2 ฐาน จนถึงเดือนมิถุนายน 2013 พร้อมกับการตรวจสอบรายการเอกสารอ้างอิง การค้นหาการอ้างอิงการ ค้นหาด้วยมือและติดต่อกับผู้เขียนการศึกษาเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เราพิจารณาการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมเกี่ยวกับโทรเวชกรรมเชิงโต้ตอบที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและผู้ให้บริการโดยตรงและได้รับการบริการสุขภาพเพิ่มเติมหรือทดแทนการดูแลตามปกติเมื่อเทียบกับการดูแลตามปกติเพียงอย่างเดียวสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการอาการทางคลินิกทุกชนิด เราคัดการศึกษาที่มีเฉพาะการใช้ทางโทรศัพท์และโทรเวชกรรมที่มีการจัดการตนเองโดยอัตโนมัติทั้งหมด

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

สำหรับแต่ละอาการทางคลินิก เรารวบรวมข้อมูลผลลัพธ์ที่มีลักษณะเดียวกันโดยใช้ fixed effect meta-analysis เรารายงานเป็น risk ratios (RR) และ 95% confidence intervals (CI) สำหรับผลลัพธ์แบบกลุ่ม และความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (MD) สำหรับผลลัพธ์แบบต่อเนื่อง

ผลการวิจัย: 

เรารวมการทดลองที่เข้าเกณฑ์ 93 การศึกษา (N = 22,047 คน) ซึ่งประเมินประสิทธิผลของโทรเวชกรรมเชิงโต้ตอบที่ให้บริการนอกเหนือจากการดูแลปกติ (32% ของการศึกษา) เป็นทางเลือก (57% ของการศึกษา) หรือเป็นบางส่วนทดแทนการดูแลตามปกติ (11% ) เมื่อเทียบกับการดูแลตามปกติเพียงอย่างเดียว

การศึกษาที่รวมไว้นี้คัดเลือกผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกดังต่อไปนี้: โรคหัวใจและหลอดเลือด (36 การศึกษา), เบาหวาน (21 การศึกษา), ภาวะทางเดินหายใจ (9 การศึกษา), สุขภาพจิตหรือสภาวะการใช้สารเสพติด (7 การศึกษา), เงื่อนไขที่ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ (6 การศึกษา), โรคร่วม (3 การศึกษา), ปัญหาทางเดินปัสสาวะ (3 การศึกษา) การบาดเจ็บและปัญหาทางระบบประสาท (2 การศึกษา), ภาวะระบบทางเดินอาหาร (2 การศึกษา), ภาวะทารกแรกเกิดที่ต้องได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ (2 การศึกษา), การปลูกถ่ายอวัยวะที่เป็นของแข็ง (1 การศึกษา) และมะเร็ง (1 การศึกษา)

โทรเวชกรรมประกอบด้วยการติดตามระยะไกล (remote monitoring 55 การศึกษา) หรือการประชุมทางวิดีโอแบบเรียลไทม์ (real-time video-conferencing 38 การศึกษา) ซึ่งถูกใช้เพียงอย่างเดียวหรือใช้ร่วมกันทั้งสองประเภท การทำงานหลักของโทรเวชกรรมจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพทางคลินิก โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 6 ประเภทโดยมีความเหลื่อมซ้อนกันอยู่บ้าง ดังต่อไปนี้: i) การติดตามอาการเรื้อรังเพื่อตรวจหาสัญญาณของการเสื่อมสภาพในระยะเริ่มแรกและการรักษาและคำแนะนำอย่างทันท่วงที (41 การศึกษา); ii) การให้การรักษาหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพ (12 การศึกษา) เช่นการให้การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญาหรือการฝึกอบรมภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่; iii) การให้ความรู้และคำแนะนำในการจัดการตนเอง (23 การศึกษา) เช่นพยาบาลให้การศึกษาแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือให้การสนับสนุนผู้ปกครองของทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำมาก หรือผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดที่บ้าน; iv) การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อการวินิจฉัยและการตัดสินใจในการรักษา (8 การศึกษา), v) การประเมินสถานะทางคลินิกแบบเรียลไทม์เช่นการประเมินหลังการผ่าตัดหลังการผ่าตัดเล็กน้อยหรือการติดตามผลหลังการทำ solid organ transplantation (8 การศึกษา) vi) การตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (1 การศึกษา)

ประเภทของข้อมูลที่ส่งโดยผู้ป่วย ได้แก่ ความถี่ในการถ่ายโอนข้อมูล (เช่น โทรศัพท์ อีเมล SMS) และความถี่ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพมีความแตกต่างกันไปตามการศึกษา เช่นเดียวกับประเภทของผู้ให้บริการและระบบการดูแลสุขภาพที่มีส่วนร่วมในการบริการโทรเวชกรรม

เราไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มสำหรับการเสียชีวิตจากทุกสาเหตในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว (16 การศึกษา; N = 5239; RR: 0.89, 95% CI 0.76 ถึง 1.03, P = 0.12; I 2 = 44%) (หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับปานกลางถึงสูง) ที่ค่ามัธยฐานของการติดตามผล 6 เดือน การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (11 การศึกษา; N = 4529) อยู่ในช่วงระหว่างลด 64% ถึงเพิ่มขึ้น 60% ที่ค่ามัธยฐานการติดตามผล 8 เดือน (หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับปานกลาง) เราพบหลักฐานบางอย่างเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (5 การศึกษา; N = 482; MD: -4.39, 95% CI -7.94 ถึง -0.83; P <0.02; I 2 = 0%) (หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับปานกลาง) สำหรับผู้ที่ได้รับการจัดสรรให้ใช้โทรเวชกรรมเมื่อเทียบกับการดูแลตามปกติที่ค่ามัธยฐานการติดตามผล 3 เดือน ในการศึกษาที่คัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นโรคเบาหวาน (16 การศึกษา; N = 2768) เราพบว่าระดับไกลเคตเฮโมโกลบิน (HbA1c%) อยู่ในระดับต่ำกว่าในกลุ่มโทรเวชกรรมเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (MD -0.31, 95% CI -0.37 ถึง -0.24; P <0.00001; I 2 = 42%, P = 0.04) (หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับสูง) ที่ค่ามัธยฐานของการติดตามผล 9 เดือน เราพบหลักฐานบางอย่างสำหรับการลดลงของ LDL (4 การศึกษา, N = 1692; MD -12.45, 95% CI -14.23 ถึง -10.68; P <0.00001; I 2 = 0%) (หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับปานกลาง) และความดันโลหิต (4 การศึกษา, N = 1770: MD: SBP: -4.33, 95% CI -5.30 ถึง -3.35, P <0.00001; I 2 = 17%; DBP: -2.75 95% CI -3.28 ถึง -2.22, P <0.00001; I 2 = 45% (หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับปานกลาง) ในโทรเวชกรรมเมื่อเทียบกับการดูแลตามปกติ

มี 7 การศึกษาที่คัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการที่มีปัญหาสุขภาพจิตและการใช้สารเสพติดที่แตกต่างกัน รายงานว่าไม่มีความแตกต่างในผลของการบำบัดผ่านการประชุมทางวิดีโอเมื่อเทียบกับการส่งแบบตัวต่อตัว ผลการศึกษาจากการศึกษาอื่น ๆ ไม่มีความแน่นอน มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการติดตามผ่านโทรเวชกรรม ช่วยปรับปรุงการควบคุมความดันโลหิตในผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงให้ดีขึ้นและบางการศึกษายังรายงานว่าโทรเวชกรรมช่วยผู้ที่มีภาวะทางเดินหายใจให้มีสภาพที่ดียิ่งขึ้น ในการศึกษาที่มีผู้เข้าร่วมโครงการที่ต้องการคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญสำหรับสภาพผิวหนังรายงานว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม

บันทึกการแปล: 

แปลโดย นายอนุวัตน์ เพ็งพุฒ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 25 พฤษภาคม 2564

Tools
Information