ยา Misoprostol แบบรับประทานสำหรับการชักนำให้เจ็บครรภ์คลอด

ยา Misoprostol แบบรับประทานมีประสิทธิผลในการชักนำ (การเริ่ม) ให้เจ็บครรภ์คลอด มันมีประสิทธิผลมากกว่ายาหลอก มีประสิทธิผลเท่ากับยา Misoprostol และ Dinoprostone แบบเหน็บช่องคลอด และมีผลให้การผ่าครรภ์คลอดน้อยกว่า Oxytocin อย่างไรก็ตามยังคงมีข้อมูลไม่เพียงพอจากการศึกษาแบบ Randomised controlled trials ในการกำหนดปริมาณยาที่ดีที่สุดเพื่อความปลอดภัย

การชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดในการตั้งครรภ์ที่เกินกำหนด ใช้ป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อสตรีตั้งครรภ์หรือเด็กในครรภ์อยู่ในภาวะเสี่ยง เหตุผลสำหรับการชักนำรวมถึง การพ้นกำหนดคลอด ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด และความดันโลหิตสูง Prostaglandins เป็นฮอร์โมนที่มีอยู่ตามธรรมชาติในมดลูก (womb) ทำให้ปากมดลูกอ่อนนุ่มและกระตุ้นการหดตัวของมดลูกในการคลอด Artificial prostaglandin E2 dinoprostone สามารถเหน็บทางช่องคลอดเพื่อชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดแต่ไม่เสถียรในอุณหภูมิห้องและมีราคาแพง Misoprostol แบบรับประทานเป็น Prostaglandin E1 synthetic analogue ที่ราคาถูกและมีความเสถียรต่อความร้อน พัฒนาขึ้นครั้งแรกเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

สืบค้นการทดลองในเดือน มกราคม 2014 การทบทวนจากการศึกษาแบบ Randomised controlled trials 75 ฉบับ (สตรี 13,793 คน) พบว่า Misoprostol แบบรับประทานดูเหมือนว่าจะมีประสิทธิผลอย่างน้อยที่สุดเทียบเท่ากับวิธีการชักนำในปัจจุบัน

การทดลองเก้าเรื่อง (สตรี 1,282 คน) แสดงให้เห็นว่า Misoprostol แบบรับประทานมีผลเท่ากับการฉีดเข้าเส้นเลือดดำด้วย Oxytocin ไม่มีความแตกต่างที่ชัดเจนในจำนวนสตรีซึ่งคลอดทางช่องคลอดภายใน 24 ชั่วโมง หรือจำนวนของสตรีที่มีภาวะมดลูกบีบตัวถี่หรือแรงเกินไป (uterine hyperstimulation) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจของทารกแม้ว่าจะมีการผ่าตัดคลอดน้อยลงในกลุ่มของสตรีที่ได้รับ misoprostol แบบรับประทาน

สำหรับการทดลองจำนวน 37 ฉบับ (สตรี 6,417 คน) ที่เปรียบเทียบ Misoprostol แบบรับประทาน และ Misoprostol แบบเหน็บช่องคลอด พบว่ามีความแตกต่างเล็กน้อยในเรื่องจำนวนสตรีที่คลอดทางช่องคลอดภายใน 24 ชั่วโมง จำนวนของสรตีที่มีภาวะมดลูกบีบตัวถี่หรือแรงเกินไป ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจของทารก หรือจำนวนการผ่าครรภ์คลอด

สำหรับการทดลองจำนวน 10 ฉบับ (สตรี 3,240 คน) เมื่อเปรียบเทียบ Misoprostol แบบรับประทาน และ Prostaglandin แบบเหน็บช่องคลอด (dinoprost) พบว่ามีความแตกต่างเล็กน้อยในเรื่อง จำนวนสตรีที่คลอดทางช่องคลอดภายใน 24 ชั่วโมง จำนวนสตรีที่มีภาวะมดลูกบีบตัวถี่หรือแรงเกินไป ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจของทารก หรือจำนวนการผ่าครรภ์คลอด

การทดลองเก้าเรื่องที่เปรียบเทียบระหว่าง Misoprostol แบบรับประทานกับยาหลอก (สตรี 1,109 คน) และพบว่า Misoprostol แบบรับประทานมีประสิทธิผลในการชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดมากกว่ายาหลอก สตรีในกลุ่มที่ได้รับยา Misoprostol แบบรับประทาน มีแนวโน้มมากที่จะคลอดทางช่องคลอดภายใน 24 ชั่วโมง และมีแนวโน้มที่จะผ่านครรภ์คลอดน้อย มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยระหว่างกลุ่มในแง่ของจำนวนสตรีที่มีภาวะมดลูกบีบตัวถี่หรือแรงเกินไป (uterine hyperstimulation) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจของทารก

การทดลอง 5 ฉบับเปรียบเทียบยา Misoprotol แบบรับประทานกับ Intracervical (เหน็บเข้าไปทางปากช่องคลอด) Prostaglandin E2 (สตรี 681 คน) ยา Misoprostol แบบรับประทานมีความสัมพันธ์กับการลดลงของโอกาสความล้มเหลวในการคลอดทางช่องคลอดภายใน 24 ชั่วโมง แต่มีภาวะมดลูกบีบตัวถี่หรือแรงเกินไป (uterine hyperstimulation) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจของทารกบ่อยมากขึ้น มีข้อจำกัดของข้อมูลที่มีอยู่สำหรับการเปรียบเทียบนี้ และมีความแตกต่างในการผ่าครรภ์คลอดเล็กน้อย

โดยรวมแล้วอุบัติการณ์ของการเจ็บป่วยที่รุนแรงหรือการเสียชีวิตของมารดาหรือลูกของเธอนั้นหายากและไม่มีผลลัพธ์ที่มีความหมายสำหรับการเปรียบเทียบใด ๆ ในรีวิวนี้

การใช้ Misoprostol แบบรับประทานเป็นยาที่ชักนำให้เกิดประสิทธิผลในการคลอดทางช่องคลอด มันมีประสิทธิผลมากกว่ายาหลอก มีประสิทธิผลเท่ากับยา Misoprostol และ Dinoprostone แบบเหน็บช่องคลอด และมีผลให้การผ่าครรภ์คลอดน้อยกว่าการใช้ Oxytocin อย่างเดียว

ยา Misoprostol เพื่อชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในบางประเทศ แพทย์หลายคนอาจต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตอื่น ๆ เช่น Dinoprostone ในกรณีที่ใช้ยา Misoprostol แบบรับประทาน หลักฐานที่พบแนะนำว่าขนาดยาที่เหมาะสมอาจเป็น 20 ถึง 25 mcg พิจารณาถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก หลักฐานสนับสนุนการใช้ยาแบบรับประทานมากกว่ายาแบบเหน็บช่องคลอด นี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดพื้นที่ที่มารดามีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อและพื้นที่ที่มีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอที่จะดูแลมารดาและลูกของเธออย่างใกล้ชิด

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

Misoprostol แบบรับประทานเป็นยาที่ชักนำให้เกิดประสิทธิผลในการคลอดทางช่องคลอด มันมีประสิทธิผลมากกว่ายาหลอก มีประสิทธิผลเท่ากับยา Misoprostol และ Dinoprostone แบบเหน็บช่องคลอด และมีผลให้การผ่าครรภ์คลอดน้อยกว่า การใช้ Oxytocin อย่างเดียว

ในกรณีที่ Misoprostol ยังคงไม่มีใบอนุญาตสำหรับการชักนำการคลอด แพทย์จำนวนมากต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตเช่น Dinoprostone หากใช้ Misoprostol แบบรับประทาน หลักฐานแสดงให้เห็นว่าควรให้ยาในปริมาณ 20-25 mcg ในสารละลาย พิจารณาถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก หลักฐานสนับสนุนการใช้ยาแบบรับประทานมากกว่ายาแบบเหน็บช่องคลอด สิ่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงของการได้รับเชื้อผ่านทางท่อปัสสาวะ (ascending infection) สูงและการขาดบุคลากรซึ่งหมายความว่าสตรีไม่สามารถได้รับการตรวจได้อย่างเข้มข้น

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

Misoprostol เป็น Prostaglandin ที่มีฤทธิ์โดยการรับประทาน ในประเทศส่วนใหญ่ Misoprostol ไม่ได้รับอนุญาตสำหรับใช้ในการชักนำให้เจ็บครรภ์คลอด แต่ใช้บ่อยเนื่องจากราคาถูกและมีความเสถียรต่อความร้อน

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินการใช้ Misoprostol แบบรับประทานสำหรับการชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดในสตรีที่ทารกในครรภ์ยังมีชีวิตอยู่

วิธีการสืบค้น: 

เราสืบค้นใน the Cochrane Pregnancy and Childbirth Group's Trials Register (17 มกราคม 2014)

เกณฑ์การคัดเลือก: 

การศึกษาแบบ Randomised trials เปรียบเทียบ Misoprostol แบบรับประทานกับยาหลอก หรือวิธีการอื่น โดยการให้แก่สตรีที่ทารกในครรภ์ยังมีชีวิตอยู่เพื่อชักนำให้เจ็บครรภ์คลอด

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนสองคนประเมินข้อมูลของการทดลองอย่างอิสระต่อกัน โดยการออกแบบเอกสารส่วนกลางที่ใช้รวบรวมข้อมูล

ผลการวิจัย: 

โดยรวมแล้วมีการทดลอง 75 เรื่อง (สตรี 13,793 คน) ซึ่งมีคุณภาพหลากหลาย

การทดลองเก้าฉบับเปรียบเทียบ Misoprostol แบบรับประทานกับยาหลอก (สตรี 1109 คน) สตรีที่ใช้ Misoprostol แบบรับประทานมีแนวโน้มมากที่จะคลอดทางช่องคลอดภายใน 24 ชั่วโมง (risk ratio (RR) 0.16, 95% confidence interval (CI) 0.05 ถึง 0.49; การทดลองหนึ่งฉบับ; สตรี 96 คน) และมีแนวโน้มผ่าครรภ์คลอดลดลง (RR 0.72, 95% CI 0.54 ถึง 0.95; การทดลอง 8 ฉบับ; สตรี 1029 คน) ความแตกต่างในเรื่อง ‘ภาวะมดลูกบีบตัวถี่หรือแรงเกินไป ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจของทารก’ สอดคล้องกันโดยไม่มีผลกระทบ (RR 2.71, 95% CI 0.84 ถึง 8.68; การทดลอง 7 ฉบับ; สตรี 669 ฉบับ)

การทดลองสิบฉบับเปรียบเทียบยา Misoprostol แบบรับประทาน กับ Prostaglandin (dinoprostone) (สตรี 3,240 คน) มีความแตกต่างเล็กน้อยในเรื่องจำนวน: การคลอดทางช่องคลอดภายใน 24 ชั่วโมง (RR 1.10, 95% CI 0.99 ถึง 1.22; การทดลอง 5 ฉบับ; สตรี 2,128 คน) จำนวนการมีภาวะมดลูกบีบตัวถี่หรือแรงเกินไป ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจของทารก (RR 0.95, 95% CI 0.59 ถึง 1.53; การทดลอง 7 ฉบับ; สตรี 2,352 คน), จำนวนการผ่าครรภ์คลอด (RR 0.92, 95% CI 0.81 ถึง 1.04; การทดลอง 10 ฉบับ; สตรี 3240 คน)

การทดลองห้าฉบับเปรียบเทียบการได้รับยา Misoprostol แบบรับประทาน กับ prostaglandin E2 แบบเหน็บช่องคลอด (สตรีจำนวน 681 คน) ยา Misoprostol แบบรับประทานมีความสัมพันธ์กับการลดลงของโอกาสความล้มเหลวในการคลอดทางช่องคลอดภายใน 24 ชั่วโมง (RR 0.78, 95% CI 0.63 ถึง 0.97; การทดลอง 3 ฉบับ; สตรี 452 คน) แต่บ่อยครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์มากขึ้น (RR 3.57, 95% CI 1.11 ถึง 11.54; การทดลอง 3 ฉบับ; สตรี 490 คน) มีข้อจำกัดของข้อมูลที่มีอยู่สำหรับการเปรียบเทียบนี้ และมีความแตกต่างในการผ่าครรภ์คลอดเล็กน้อย (RR 0.85, 95% CI 0.63 ถึง 1.16; การทดลอง 5 ฉบับ; สตรี 742 คน)

การทดลองเก้าฉบับเปรียบเทียบ Misoprostol แบบรับประทานกับ Intravenous Oxytocin (จำนวนสตรี 1282 คน) มีความแตกต่างเล็กน้อยในเรื่องจำนวน: การคลอดทางช่องคลอดภายใน 24 ชั่วโมง (RR 0.79, 95% CI 0.59 ถึง 1.05; การทดลอง 6 ฉบับ; จำนวนสตรี 789 คน) หรือภาวะมดลูกบีบตัวถี่หรือแรงเกินไป ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์ (RR 1.30, 95% CI 0.43 ถึง 3.91; การทดลอง 7 ฉบับ; จำนวนสตรี 947 คน) อย่างไรก็ตามมีการผ่าท้องคลอดน้อยลงด้วยการใช้ยา Misoprostol แบบรับประทาน (RR 0.77, 95% CI 0.60 ถึง 0.98; การทดลอง 9 ฉบับ, สตรีจำนวน 1282 คน)

การทดลองสามสิบเจ็ดฉบับเปรียบเทียบยา Misoprostol แบบรับประทาน กับ Misoprostol แบบเหน็บทางช่องคลอด (สตรีจำนวน 6417 คน) มีความแตกต่างเล็กน้อยในเรื่องจำนวน: การคลอดทางช่องคลอดภายใน 24 ชั่วโมง (RR 1.08, 95% CI 0.86 ถึง 1.36; การทดลอง 14 ฉบับ; จำนวนสตรี 2,448 คน) ภาวะมดลูกบีบตัวถี่หรือแรงเกินไป (uterine hyperstimulation) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์ (RR 0.71, 95% CI 0.47 ถึง 1.08; การทดลอง 29 ฉบับ; จำนวนสตรี 5,503 คน) การผ่าครรภ์คลอด (RR 0.93, 95% CI 0.81 ถึง 1.07; การทดลอง 35 ฉบับ; จำนวนสตรี 6,326 คน)

อุบัติการณ์ของการเจ็บป่วยที่รุนแรงหรือการเสียชีวิตของมารดาหรือลูกนั้นหายากและไม่มีผลลัพธ์ที่มีความหมายสำหรับการเปรียบเทียบใด ๆ ในรีวิวนี้

บันทึกการแปล: 

แปลโดย นางสาวน้ำเพชร จำปาทอง (Cochrane ประเทศไทย) ปรับปรุงการแปลเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2019

Tools
Information