ยาปฏิชีวนะสำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะในสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่มีอาการ

เรื่องนี้มีปัญหาอย่างไร

การให้ยาปฏิชีวนะกับสตรีตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะแต่ไม่มีอาการจะมีผลลัพธ์ดีขึ้นสำหรับสตรีและทารกหรือไม่

ทำไมเรื่องนี้จึงมีความสำคัญ

การติดเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะโดยไม่มีอาการทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (asymptomatic bacteriuria) เกิดขึ้นในจำนวน (2% ถึง 15%) ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในร่างกายของพวกเขา สตรีตั้งครรภ์มีแนวโน้มที่จะเกิดการติดเชื้อไต (pyelonephritis) ถ้าพวกเขามีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อยังอาจนำไปสู่ทารกที่เกิดก่อนครบกำหนด (ก่อน 37 สัปดาห์), หรือน้ำหนักที่น้อย (น้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม (5.5 ปอนด์))

เราพบหลักฐานอะไรบ้าง

เราพบการศึกษาแบบ randomised controlled studies 15 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับสตรีตั้งครรภ์มากกว่า 2000 คน ที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ แต่ไม่มีอาการ ยาปฏิชีวนะอาจจะมีประสิทธิภาพในการลดอุบัติการณ์ของการติดเชื้อไตในแม่ (การศึกษา 12 เรื่อง สตรี 2017 คน) และกำจัดการติดเชื้อจากปัสสาวะ (การศึกษา 4 เรื่อง สตรี 596 คน) และยังอาจลดอุบัติการณ์ของการคลอดก่อนกำหนด (การศึกษา 3 เรื่อง สตรี 327 คน) และทารกที่มีน้ำหนักน้อย (การศึกษา 6 เรื่อง ทารก 1437 คน) ไม่มีการศึกษาที่ประเมินผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ของการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะสำหรับมารดาหรือลูกน้อยของเธออย่างเพียงพอ และมักจะไม่ได้อธิบายวิธีการศึกษาได้ดี

เราได้ประเมินผลลัพธ์หลัก 3 อย่างด้วยวิธีการ GRADE และพบหลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำว่า การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอาจป้องกันไม่ให้เกิด pyelonephritis, คลอดก่อนครบกำหนด และน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 2500 กรัม

หลักฐานนี้หมายความว่าอย่างไร

การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอาจลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในไตในสตรีตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อปัสสาวะแต่ไม่แสดงอาการของการติดเชื้อ ยาปฏิชีวนะอาจช่วยลดโอกาสที่ทารกจะเกิดเร็วเกินไปหรือมีน้ำหนักแรกคลอดน้อย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความแน่นอนของหลักฐานต่ำ มันเป็นเรื่องยากที่จะสรุปผล จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอาจมีประสิทธิผลในการลดความเสี่ยงของการ pyelonephritis ในการตั้งครรภ์ แตความ่มั่นใจในผลการประมาณการของเราจะถูกจำกัดเนื่องจากความเชื่อมั่นต่ำของหลักฐาน อาจมีการลดลงของการคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักแรกคลอดน้อยโดยการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีที่เกี่ยวกับบทบาทของการติดเชื้อต่อผลการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ แต่ความเชื่อมั่นในผลมีจำกัดเนื่องจากความเชื่อมั่นของหลักฐานต่ำ

ข้อสรุปต่อการวิจัยที่ระบุไว้ในการทบทวนนี้รวมถึง ความจำเป็นในการประเมิน cost effectiveness ที่ทันสมัยของขั้นตอนวิธีการวินิจฉัย และหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อเรียนรู้ว่ามีกลุ่มสตรีที่มีความเสี่ยงที่ไม่น่าจะได้รับประโยชน์จากการรักษา การติดเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะโดยไม่มีอาการ

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

การติดเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะโดยไม่มีอาการที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (asymptomatic bacteriuria) เกิดขึ้นใน 2% ถึง 15% ของการตั้งครรภ์ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง สูงถึง 30% ของมารดาพัฒนาเป็น acute pyelonephritis การติดเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะโดยไม่มีอาการมีความเกี่ยวข้องกับทารกแรกคลอดน้ำหนักตัวน้อยและการคลอดก่อนกำหนด การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบนี้เป็นการปรับปรุงงานที่ถูกเผยแพร่ในปี ค.ศ. 2015

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินผลของการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะสำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะโดยไม่มีอาการต่อการเกิด pyelonephritis และความเสี่ยงของการเกิดทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยและการคลอดก่อนกำหนด

วิธีการสืบค้น: 

ในการปรับปรุงนี้เราสืบค้น Cochrane Pregnancy and Childbirth’s Trials Register, ClinicalTrials.gov, WHO International Clinical Trials Registry Platform (ICTRP) (4 พฤศจิกายน 2018) และเอกสารอ้างอิงของการศึกษาที่สืบค้นมาได้

เกณฑ์การคัดเลือก: 

Randomised controlled trials (RCT) เปรียบเทียบการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะกับยาหลอกหรือไม่มีการรักษาในสตรีตั้งครรภ์ที่พบการติดเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะโดยไม่มีอาการในการคัดกรองตอนฝากครรภ์ การทดลองใช้การออกแบบ cluster-RCT และ quasi-RCTs มีสิทธิ์ในการรวมเข้า รวมทั้งการทดลองที่ตีพิมพ์ในรูปแบบบทคัดย่อหรือจดหมาย แต่ไม่รวมการศึกษาแบบ cross over

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้วิจัย 2 คน ประเมินการทดลองเพื่อรวมนำเข้า และความเสี่ยงของอคติ ดึงข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องอย่างอิสระ เราได้ประเมินคุณภาพของหลักฐานที่ได้โดยวิธีการของเกรด (GRADE)

ผลการวิจัย: 

เรารวบรวมการศึกษาวิจัย 15 เรื่องเกี่ยวข้องกับสตรีรวมมากกว่า 2000 คน การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเมื่อเทียบกับยาหลอกหรือไม่มีการรักษาอาจลดอุบัติการณ์ของ pyelonephritis (อัตราส่วนความเสี่ยงเฉลี่ย (RR) 0.24,95% CI 0.13 ถึง 0.41; การศึกษา 12 เรื่อง สตรี 2017 คน; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอาจจะเกี่ยวข้องกับการลดอุบัติการณ์ของการคลอดก่อนกำหนด (RR 0.34, 95% CI 0.13 ถึง 0.88; การศึกษา 3 เรื่อง สตรี 327 คน; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) และทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อย (average RR 0.64, 95% CI 0.45 ถึง 0.93; การศึกษา 6 เรื่อง ทารก 1437 คน; หลักฐานความเชื่อ่มั่นต่ำ) อาจมีการลดลงของ persistent bacteriuria ขณะคลอด (RR เฉลี่ย 0.30, 95% CI 0.18 ถึง 0.53; การศึกษา 4 เรื่อง; สตรี 596 คน) แต่ผลที่ได้ก็สรุปไม่ได้สำหรับผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ร้ายแรง (RR เฉลี่ย 0.64, 95% CI 0.23 ถึง 1.79, การศึกษา 3 เรื่อง; ทารก 549 คน) มีข้อมูลจำกัดมากที่จะประเมินผลของยาปฏิชีวนะในผลลัพธ์อื่น ๆของทารก และผลกระทบของมารดาก็ไม่ค่อยมีการเสนอ

โดยรวมเราได้ตัดสินการทดลองเพียงเรื่องเดียวว่ามีความเสี่ยงต่ำของอคติในทุกโดเมน อีก14 การศึกษาได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงสูงหรือไม่ชัดเจนของอคติ หลายการศึกษาขาดคำอธิบายที่เพียงพอของวิธีการ และเราสามารถตัดสินความเสี่ยงของอคติได้ไม่ชัดเจน แต่ในการศึกษาส่วนใหญ่ เราประเมินว่าอย่างน้อยหนึ่งโดเมนที่มีความเสี่ยงสูงของอคติ เราได้ประเมินคุณภาพของข้อมูล สำหรับผลลัพธ์หลัก 3 อย่างด้วยวิธีการ GRADE และพบหลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำสำหรับ pyelonephritis, คลอดก่อนครบกำหนด และน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 2500 กรัม

บันทึกการแปล: 

แปลโดย ศ.นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 ธ้นวาคม 2019

Tools
Information