ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

การฝังเข็มสำหรับภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการฝังเข็มสำหรับการรักษาภาวะตกไข่ผิดปกติในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) คืออะไร

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบเป็นภาวะที่ที่สตรีมีซีสต์ (ถุงที่เต็มไปด้วยของเหลว) หลายอันบนรังไข่ (อวัยวะที่ผลิตไข่) ของพวกเขา และมีลักษณะทางคลินิกของการมีประจำเดือนไม่บ่อยหรือน้อยมาก (รอบเดือน) ความล้มเหลวในการตั้งครรภ์ (ท้อง) และการเจริญเติบโตของขนมากเกินไป สตรีอาจมีหรืออาจจะไม่มีอาการ การรักษาแบบตะวันตกมาตรฐานในปัจจุบันสำหรับสตรีที่มี PCOS เป็นการจ่ายยา การผ่าตัดและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต มีหลักฐานแนะนำการฝังเข็มอาจมีอิทธิพลต่อการตกไข่ (การปล่อยไข่) โดยมีผลต่อระดับของฮอร์โมนต่างๆ การฝังเข็มเป็นการรักษาแบบจีนที่มีการใส่เข็มขนาดเล็กเข้าไปในผิวหนังในจุดเฉพาะ กลไกที่แน่นอนของวิธีการทำงานของการฝังเข็มสำหรับ PCOS ไม่เป็นที่รู้ชัดและเรามีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการใช้งานใน PCOS ในการทบทวนนี้

ลักษณะของการศึกษา

เราสืบค้นจากฐานข้อมูลทางการแพทย์สำหรับการศึกษาวิจัยที่ผู้เข้าร่วมถูกสุ่มเข้ากลุ่มการทดลองหนึ่งกลุ่มจากทั้งหมดสองกลุ่มหรือมากกว่าสองกลุ่มการรักษา ที่ประกอบด้วยการรักษาด้วยการฝังเข็มสำหรับสตรีที่มี PCOS ที่มีการตกไข่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตกไข่เลย การฝังเข็มถูกเปรียบเทียบกับการแสร้งฝังเข็ม (วิธีหลอก) ไม่มีการรักษา การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต (เช่น การพักผ่อน) และการรักษาทั่วไป

เรารวบรวมการทดลองแปดฉบับ มีสตรี 1546 คนในการทบทวนวรรณกรรมนี้ การศึกษาเมื่อเทียบกับการฝังเข็มที่แท้จริงเทียบกับการฝังเข็มหลอก clomiphene (ยาเพื่อก่อให้เกิดการตกไข่) การพักผ่อนและไดแอน-35 (ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม); และการฝังเข็มร่วมกับไฟฟ้าความถี่ต่ำ (ที่กระแสไฟฟ้าขนาดเล็กจะถูกส่งผ่านเข็มฝังเข็ม) กับการออกกำลังกาย เรารวมสตรีที่ต้องการที่จะตั้งครรภ์และสตรีที่ต้องการการตกไข่เป็นประจำและการควบคุมอาการเป็นประชากรหลักทั้งสองของเราที่น่าสนใจ

ผลการศึกษาที่สำคัญ

ผลประโยชน์หลักของเราคืออัตราการเกิดมีชีพ อัตราการตั้งครรภแฝด (สำหรับสตรีที่ต้องการที่จะตั้งครรภ์) และอัตราการตกไข่ (สำหรับสตรีที่ต้องการตกไข่ปกติ/การควบคุมอาการ) เนื่องจากหลักฐานมีคุณภาพต่ำมากและผลที่ไม่แม่นยำ เราไม่แน่ใจในผลของการฝังเข็มต่ออัตราการเกิดมีชีพ อัตราการตั้งครรภ์แฝดและอัตราการตกไข่เมื่อเทียบกับการฝังเข็มหลอก ด้วยเหตุผลเดียวกัน เรายังไม่แนใจในผลของการฝังเข็มต่อการตั้งครรภ์ทางคลินิกและอัตราการแท้ง การฝังเข็มอาจมีการฟื้นฟูการมีประจำเดือนที่สม่ำเสมอขึ้น การฝังเข็มอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่แย่ลงเมื่อเทียบกับการฝังเข็มหลอก

ไม่มีการศึกษารายงานข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการเกิดมีชีพและอัตราการตั้งครรภ์แฝดสำหรับการเปรียบเทียบอื่นๆ: การออกกำลังกายหรือไม่มีการรักษา การพักผ่อนและ clomiphene การศึกษาที่ใช้ไดแอน-35 ไม่ได้วัดผลในทางการเจริญพันธ์เนื่องจากสตรีมีความสนใจเพียงการควบคุมอาการ

เราไม่แน่ใจว่าการฝังเข็มช่วยอัตราการตกไข่ที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการพักผ่อนหรือไดแอน-35 (วัดโดยอัลตราซาวนด์ ซึ่งใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อสร้างภาพ สามเดือนหลังการรักษา) การเปรียบเทียบอื่นๆไม่ได้รายงานเกี่ยวกับอัตราการตกไข่

ผลข้างเคียงถูกบันทึกไว้ในกลุ่มการฝังเข็มสำหรับการเปรียบเทียบกับการออกกำลังกายหรือไม่มีการรักษา clomiphene และ Diane-35 ผลข้างเคียงเหล่านี้ได้แก่ อาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ (รู้สึกป่วย) และช้ำ

คุณภาพของหลักฐานการศึกษาอยู่ในระดับต่ำหรือต่ำมาก มีหลักฐานไม่เพียงพอในขณะนี้เพื่อสนับสนุนการใช้การฝังเข็มสำหรับการรักษาภาวะตกไข่ผิดปกติในสตรีที่มี PCOS

คุณภาพของหลักฐาน

หลักฐานที่อยู่ในระดับที่ต่ำมากถึงระดับปานกลาง ข้อจำกัดหลักคือไม่ได้มีการรายงานผลทางคลินิกที่สำคัญและข้อมูลไม่เพียงพอ

บทนำ

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) มีเอกลักษณ์ด้วยอาการทางคลินิกของประจำเดือนมาน้อย ภาวะมีบุตรยากและขนดก การรักษาแบบดั้งเดิมของ PCOS ได้แก่ ยากินหลายชนิด การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการผ่าตัดแบบต่างๆ เบต้า-เอนดอร์ฟิน มีอยู่ในของเหลวในฟองไข่ ของทั้งรังไข่ปกติและ polycystic มันแสดงให้เห็นว่าระดับเบต้า-เอนดอร์ฟิน ของเหลวฟองไข่ในรังไข่ ของสตรีที่มีสุขภาพดีที่อยู่ระหว่างการตกไข่จะวัดได้สูงกว่าระดับที่วัดในพลาสมา การฝังเข็มส่งผลกระทบต่อการผลิตเบต้า เอนดอร์ฟิน ซึ่งอาจมีผลต่อ การหลั่ง gonadotropin-releasing hormone (GnRH) จึงมีการตั้งสมมติฐานว่าการฝังเข็มอาจมีบทบาทในการเหนี่ยวนำการตกไข่ผ่านการเพิ่มขึ้นของ เบต้า เอนดอร์ฟิน ที่ส่งผลต่อการหลั่ง GnRH และนี่คือการปรับปรุงการทบทวนที่เผยแพร่ในปี 2016

วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการรักษาด้วยการฝังเข็มสำหรับ การตกไข่น้อยหรือไม่ตกไข่ในสตรีที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) สำหรับทั้งด้านการเจริญพันธ์และการควบคุมอาการ

วิธีการสืบค้น

เราได้ระบุการศึกษาที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูลรวมถึง Gynaecology and Fertility Group Specialised Register, CENTRAL, MEDLINE, Embase, PsycINFO, CNKI, CBM และ VIP นอกจากนี้เรายังค้นหาการลงทะเบียนการวิจัยและรายการอ้างอิงจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสืบค้นจาก CENTRAL, MEDLINE, Embase, PsycINFO, CNKI และ VIP เป็นปัจจุบันถึงเดือนพฤษภาคม 2018 การสืบค้นจากฐานข้อมูล CBM เป็นปัจจุบันถึงเดือนพฤศจิกายน 2015

เกณฑ์การคัดเลือก

เรารวมถึงrandomised controlled trials (RCTs) ที่ศึกษาประสิทธิภาพของการรักษาฝังเข็มสำหรับ ภาวะตกไข่น้อยหรือไม่ตกไข่ในสตรีที่มี PCOS เราคัดการศึกษาแบบ quasi- or pseudo-RCTs. ออก

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้ทบทวนสองคนเลือกและดึงข้อมูลจากรายงานการศึกษาที่รวบรวมได้อย่างเป็นอิสระต่อกัน เราคำนวณอัตราส่วนความเสี่ยง (RR) ความแตกต่างค่าเฉลี่ย (MD) ค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมาตรฐาน (SMD) และ 95% ช่วงเชื่อมั่น (CIs) ผลลัพธ์หลักคืออัตราการเกิดมีชีพ อัตราการตั้งครรภ์แฝดและอัตราการตกไข่ และผลลัพธ์รองคือ อัตราการตั้งครรภ์ทางคลินิก ระยะเวลาฟื้นฟูประจำเดือนปกติ อัตราการแท้งและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เราได้ประเมินคุณภาพของหลักฐานที่ได้โดยวิธีการของเกรด (GRADE)

ผลการวิจัย

รวบรวม RCTs จำนวนแปดฉบับ (จำนวนสตรี 1546 คน) RCTs ห้าฉบับ ถูกรวมอยู่ในการตรวจสอบก่อนหน้านี้และ RCTs ใหม่จำนวนสามฉบับที่ถูกเพิ่มเข้ามาในการปรับปรุงการทบทวนนี้ พวกเขาเปรียบเทียบการฝังเข็มจริงกับการฝังเข็มหลอก (RCTs สามฉบับ) การฝังเข็มจริงเมื่อเทียบกับการพักผ่อน (RCTs หนึ่งฉบับ) การฝังเข็มเทียบกับ clomiphene (RCTs หนึ่งฉบับ) การฝังเข็มไฟฟ้าความถี่ต่ำเทียบกับการออกกำลังกายหรือไม่มีการรักษา (RCTs หนึ่งฉบับ) การฝังเข็มเทียบกับไดแอน-35 (RCTs สองฉบับ) การศึกษาที่เปรียบเทียบการฝังเข็มจริงเทียบกับ Diane-35 ไม่ได้วัดทางการเจริญพันธ์เนื่องจากพวกเขามุ่งเน้นไปที่การควบคุมอาการ

การศึกษาทั้งหมด ยกเว้นสามการศึกษา มีความเสี่ยงของการมีอคติสูงอย่างน้อยหนึ่งประเด็น

สำหรับการฝังเข็มจริงกับการฝังเข็มหลอก เราไม่สามารถแยกความแตกต่างทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมีชีพ (RR 0.97, 95% CI 0.76 ถึง 1.24; 1 RCT, สตรี 926 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ); อัตราการตั้งครรภ์แฝด (RR 0.89, 95% CI 0.33 ถึง 2.45; 1 RCT, สตรี 926 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ); อัตราการตกไข่ (SMD 0.02, 95% CI –0.15 ถึง 0.19, I2 = 0%; 2 RCTs, สตรี 1010 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ); อัตราการตั้งครรภ์ทางคลินิก (RR 1.03, 95% CI 0.82 ถึง 1.29; I2 = 0%; 3 RCTs, สตรี 1117 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ) และอัตราการแท้ง (RR 1.10, 95% CI 0.77 ถึง 1.56; 1 RCT, สตรี 926 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ)

จำนวนวันระหว่างรอบประจำเดือนอาจดีขึ้นในผู้เข้าร่วมที่ได้รับการฝังเข็มที่แท้จริงเมื่อเทียบกับการฝังเข็ม (MD –312.09 วัน, 95% CI –344.59 ถึง –279.59; 1 RCT, สตรี 141 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ)

การฝังเข็มจริงอาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เมื่อเทียบกับการฝังเข็มหลอก (RR 1.16, 95% CI 1.02 ถึง 1.31; I2 = 0%; 3 RCTs, สตรี 1230 คน; หลักฐานมีคุณภาพระดับปานกลาง)

ไม่มีการศึกษารายงานข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการเกิดมีชีพและอัตราการตั้งครรภ์แฝดสำหรับการเปรียบเทียบอื่นๆ: การออกกำลังกายหรือไม่มีการรักษา การพักผ่อนและ clomiphene การศึกษาไดแอน-35 ไม่ได้วัดผลลัพธ์ด้านการเจริญพันธ์

เราไม่แน่ใจว่าการฝังเข็มมีการปรับปรุงอัตราการตกไข่ (วัดโดยการอัลตร้าซาวด์หลังการรักษาสามเดือน) เมื่อเทียบกับการผ่อนคลาย (MD 0.35, 95% CI 0.14 ถึง 0.56; 1 RCT, สตรี 28 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำมาก) หรือไดแอน-35 (RR 1.45, 95% CI 0.87 ถึง 2.42; 1 RCT, สตรี 58 คน หลักฐานมีคุณภาพต่ำมาก)

คุณภาพของงานวิจัยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำมาก ข้อจำกัดหลักของความล้มเหลวในการรายงานผลทางคลินิกที่สำคัญและ ความไม่แม่นยำที่ร้ายแรงมาก

ข้อสรุปของผู้วิจัย

สำหรับการฝังเข็มที่แท้จริงกับการฝังเข็มหลอก เราไม่สามารถแยกความแตกต่างทางคลินิกในอัตราการเกิดมีชีพ อัตราการตั้งครรภ์แฝด อัตราการตกไข่ อัตราการตั้งครรภ์ทางคลินิกหรือการแท้ง จำนวนวันระหว่างรอบประจำเดือนอาจดีขึ้นในผู้เข้าร่วมได้รับการฝังเข็มที่แท้จริงเมื่อเทียบกับการฝังเข็มหลอก การฝังเข็มจริงอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่แย่ลงเมื่อเทียบกับการฝังเข็มหลอก

ไม่มีการศึกษารายงานข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการเกิดมีชีพและอัตราการตั้งครรภ์แฝดสำหรับการเปรียบเทียบอื่นๆ: การออกกำลังกายหรือไม่มีการรักษา การพักผ่อนและ clomiphene การศึกษารวมถึงไดแอน-35 ไม่ได้วัดการเจริญพันธ์เนื่องจากสตรีในการทดลองเหล่านี้ไม่ได้ต้องการมีบุตร

เราไม่แน่ใจว่าการฝังเข็มช่วยเพิ่มอัตราการตกไข่ (วัดโดยอัลตราซาวนด์หลังการรักษาสามเดือน) เมื่อเทียบกับการพักผ่อนหรือ Diane-35 การเปรียบเทียบอื่นๆไม่ได้รายงานเกี่ยวกับผลลัพธ์นี้

ผลข้างเคียงถูกบันทึกไว้ในกลุ่มการฝังเข็มสำหรับการเปรียบเทียบกับการออกกำลังกายหรือไม่มีการรักษา, clomiphene และ Diane-35 เหล่านี้รวมถึงอาการวิงเวียนศีรษะ อาการคลื่นไส้และเลือดออกใต้ผิวหนัง หลักฐานเป็นที่มีคุณภาพต่ำมากกับความกว้างมาก CIs และอัตราการเกิดเหตุการณ์ที่ต่ำมาก

มี RCTs จำนวนจำกัดของการศึกษาในด้านนี้ ทำให้จำกัดความสามารถในการตรวจสอบประสิทธิภาพของการฝังเข็มสำหรับ PCOS

บันทึกการแปล

แปลโดย นพ. เจน โสธรวิทย์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 15 สิงหาคม 2019

Citation
Lim CE, Ng RW, Cheng NC, Zhang GS, Chen H. Acupuncture for polycystic ovarian syndrome. Cochrane Database of Systematic Reviews 2019, Issue 7. Art. No.: CD007689. DOI: 10.1002/14651858.CD007689.pub4.