ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

การจัดการในครัวเรือนเพื่อป้องกันการสัมผัสสารตะกั่วของเด็กภายในบ้าน

ทำไมการทบทวนนี้จึงสำคัญ

การได้รับสารตะกั่วทำให้มีความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ร้ายแรงโดยเฉพาะสำหรับเด็ก พิษจากสารตะกั่วในระดับสูงอาจทำให้เกิดโรคโลหิตจาง อวัยวะต่างๆ ถูกทำลาย อาการชักโคม่าและเสียชีวิตในเด็ก การได้รับสารตะกั่วในระดับต่ำเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดความบกพร่องทางด้านการรับรู้ (กระบวนการคิด) จิตใจ (สภาวะทางจิตใจและอารมณ์) และพฤติกรรมทางระบบประสาท (เช่น ความก้าวร้าว สมาธิสั้น) ได้ เราอาจพบสารตะกั่วจากแหล่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม ดังนั้นนักวิจัยจึงได้ศึกษาการจัดการในครัวเรือน ทั้งด้านการให้ความรู้และการจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่แตกต่างกันเพื่อลดการสัมผัสสารตะกั่วในเด็ก เช่น การศึกษาของผู้ปกครอง การกำจัดฝุ่นตะกั่วหรือการทำความสะอาดบ้าน อย่างไรก็ตามยังไม่ชัดเจนว่าการจัดการเหล่านี้มีผลทำให้ลดหรือสามารถป้องกันการสัมผัสสารตะกั่วในเด็กได้เท่าใด

บุคคลที่อาจสนใจในการทบทวนนี้

- ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กที่ต้องการป้องกันการสัมผัสสารตะกั่วในเด็ก

- ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและผู้มีอำนาจตัดสินใจที่สนใจวิธีการป้องกันการสัมผัสสารตะกั่วในเด็ก

การทบทวนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถามอะไร

เราต้องการทราบว่าการเพิ่มการจัดการในครัวเรือนด้านการให้ความรู้หรือการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมหรือการผสมผสานของทั้งสองอย่าง จะมีผลในการป้องกันหรือลดการสัมผัสสารตะกั่วในเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีหรือไม่ เราสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับการทางด้านสติปัญญาที่ดีขึ้นและพัฒนาการด้านพฤติกรรมทางระบบประสาท ผลเสียที่อาจเกิดขึ้น การลดระดับตะกั่วในเลือดและระดับฝุ่นตะกั่วในครัวเรือน

การศึกษาใดที่นำเข้าในการทบทวน

เราค้นหาฐานข้อมูลจนถึงเดือนมีนาคม 2020 สำหรับการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ (RCTs; ซึ่งในกรณีนี้ผู้เข้าร่วมจะถูกสุ่มให้กับกลุ่มหนึ่งและอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รับการบำบัด) และ quasi-RCTs (โดยที่เด็กจะถูกสุ่มเข้ากลุ่ม โดยใช้วิธีการที่สุ่มอย่างไม่เคร่งครัด) เราพบการศึกษา 17 เรื่อง (มีการศึกษาใหม่เพิ่มเข้ามาจำนวน 3 เรื่อง สำหรับการปรับปรุงนี้) ซึ่งเกี่ยวข้องกับเด็ก 3282 คน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบ การศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการโดยการให้ความรู้หรือการจัดการกับสิ่งแวดล้อมหรือทั้งสองอย่างร่วมกันเพื่อลดการสัมผัสสารตะกั่วในเด็ก เด็กในการศึกษาทั้งหมดมีอายุต่ำกว่า 6 ปี การศึกษา 15 เรื่อง ได้จัดทำขึ้นในเขตเมืองของอเมริกาเหนือ การศึกษา 1 เรื่อง ในออสเตรเลียและอีก 1 เรื่อง ในจีน การศึกษาส่วนใหญ่ดำเนินการในพื้นที่ที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ เด็กชายและเด็กหญิงเป็นตัวแทนการศึกษาที่เท่าเทียมกัน ระยะเวลาของการจัดการอยู่ระหว่าง 3 เดือนถึง 24 เดือนใน การศึกษา 15 เรื่อง และการศึกษา 2 เรื่อง ดำเนินการจัดการในครั้งเดียว การศึกษา 14 เรื่อง ใช้วิธีการที่มีข้อบกพร่องซึ่งอาจบิดเบือนผลลัพธ์ทำให้การศึกษานั้นไม่น่าเชื่อถือ

ระยะเวลาติดตามผลมีตั้งแต่ 3 เดือนถึง 8 ปี การศึกษา 15 การศึกษาได้รับทุนวิจัยระดับชาติหรือนานาชาติหรือรัฐบาล และการศึกษาสองชิ้นที่ไม่ได้รายงานแหล่งเงินทุน

หลักฐานจากการทบทวนบอกอะไรเราบ้าง

การให้ความรู้: ไม่มีการศึกษาใดที่รวบรวมมา ได้เปรียบเทียบ ผลของสติปัญญา หรืออันตรายต่อพฤติกรรมทางระบบประสาท เมื่อเทียบกับการไม่มีการให้ความรู้อาจส่งผลให้ระดับตะกั่วในเลือดของเด็กเล็กหรือระดับฝุ่นในพื้นไม่แตกต่างกัน (หลักฐานคุณภาพปานกลาง)

การเพิ่มการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม: การศึกษาหนึ่งได้เปรียบเทียบกลุ่มที่ได้รับมาตรการควบคุมฝุ่นกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการจัดการ พบว่าแทบจะไม่มีความแตกต่างกันเลยในด้านสติปัญญาและพฤติกรรมทางระบบประสาทระหว่างสองกลุ่ม หลังจากศึกษาสามถึงแปดปี การศึกษาเดียวกันนี้ได้ประเมินอันตรายและพบว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเพิ่มการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม แต่สังเกตเห็นเด็กสองคนที่มีผลข้างเคียงในกลุ่มควบคุม การศึกษาทั้งหมดที่รวมอยู่ในการเปรียบเทียบนี้พบว่าการควบคุมฝุ่นไม่ได้ทำให้ระดับตะกั่วในเลือดของเด็กเล็กลดลงไม่ว่าจะปริมาณมากหรือน้อย (หลักฐานคุณภาพปานกลาง) หรือลดระดับฝุ่นตามพื้นมากกว่าที่ไม่มีการเพิ่มการจัดการเข้าไป (หลักฐานคุณภาพต่ำมาก) การศึกษาสองชิ้นประเมินผลของการลดลงของดินและไม่ได้มีข้อสรุปใด ๆ เกี่ยวกับประสิทธิผลของมัน (หลักฐานคุณภาพต่ำมาก)

การผสมผสานกันของการให้ความรู้และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเทียบกับการศึกษามาตรฐาน: มีหลักฐานไม่เพียงพอว่าการจัดการแบบผสมผสานนี้จะช่วยลดระดับตะกั่วในเลือดหรือระดับฝุ่นตะกั่วตามพื้น (หลักฐานมีคุณภาพต่ำมาก) และการศึกษาเพิ่มเติมจำเป็นต้องแก้ไขข้อบกพร่องนี้ของการวิจัย

อะไรที่ควรจะศึกษาต่อไป

จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อค้นหาว่าอะไรมีประสิทธิภาพในการป้องกันไม่ให้เด็กได้รับสารตะกั่ว การศึกษาควรดำเนินการในกลุ่มเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกันในประเทศที่มีรายได้สูงปานกลางและต่ำเพื่อพิจารณาว่าการเพิ่มการจัดการจะช่วยได้อย่างไรในบริบทที่มีความแตกต่างกันของอุตสาหกรรมหรือกฎระเบียบด้านความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย

บทนำ

การได้รับสารตะกั่วทำให้มีผลต่อสุขภาพที่ร้ายแรงโดยเฉพาะสำหรับเด็ก และความเกี่ยวข้องกับความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญาและพฤติกรรมทางระบบประสาทในเด็กอีกด้วย มีแหล่งที่มาของตะกั่วที่ในสิ่งแวดล้อมจากหลายที่ ดังนั้นการทดลองจึงได้ทดสอบการจัดการในครัวเรือนหลายอย่างเพื่อป้องกันหรือลดการสัมผัสสารตะกั่ว นี่คือการปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมที่ตีพิมพ์ก่อนหน้านี้

วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผลของการเพิ่มการจัดการในครัวเรือนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันหรือลดการสัมผัสสารตะกั่วเพิ่มเติมในเด็กต่อพัฒนาการด้านสติปัญญาและพฤติกรรมทางระบบประสาท การลดระดับตะกั่วในเลือดและการลดระดับฝุ่นผงตะกั่วในครัวเรือน

วิธีการสืบค้น

ในเดือนมีนาคม 2020 เราได้ปรับปรุงการค้นหาใน CENTRAL, MEDLINE, Embase, ฐานข้อมูลอื่น ๆ อีก 10 แหล่ง และ ClinicalTrials.gov นอกจากนี้เรายังค้นหา Google Scholar ตรวจสอบรายการอ้างอิงของการศึกษาที่เกี่ยวข้องและติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อระบุการศึกษาที่ไม่ได้เผยแพร่

เกณฑ์การคัดเลือก

การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCTs) และกึ่ง RCT ของการเพิ่มการการให้ความรู้หรือจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนหรือการรวมกันของการจัดการทั้งสองอย่างเพื่อป้องกันการสัมผัสสารตะกั่วในเด็ก (ตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 18 ปี) โดยที่ผู้วิจัยรายงานผลการวัดผลที่เป็นมาตรฐานอย่างน้อยหนึ่งมาตรการ

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้ทบทวนวรรณกรรม 2 คนได้ทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นอิสระต่อกัน เพื่อประเมินงานวิจัยในเรื่องการคัดเข้าของงานวิจัย ความเสี่ยงของการมีอคติ ดึงข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้อง เราได้ทำการติดต่อเจ้าของงานวิจัย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ผู้วิจัยประเมินความเชื่อมั่นของหลักฐานที่ได้โดยวิธี GRADE

ผลการวิจัย

เราได้รวบรวมการศึกษาทั้งหมด 17 เรื่อง (ใหม่สามเรื่องสำหรับการปรับปรุงนี้) ซึ่งเกี่ยวข้องกับเด็ก 3282 คน: การวิจัยแบบสุ่ม (RCT) 16 รายการ (เกี่ยวข้องกับเด็ก 3204 คน) และกึ่ง RCT หนึ่งรายการ (เกี่ยวข้องกับเด็ก 78 คน) เด็กในการศึกษาทั้งหมดมีอายุต่ำกว่า 6 ปี การศึกษา 15 เรื่อง ได้จัดทำขึ้นในเขตเมืองของอเมริกาเหนือ การศึกษา 1 เรื่อง ในออสเตรเลียและอีก 1 เรื่อง ในจีน การศึกษาส่วนใหญ่ดำเนินการในพื้นที่ที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ เด็กหญิงและเด็กชายมีจำนวนเท่าๆกันในการศึกษาที่รายงานข้อมูลนี้ ระยะเวลาของการจัดการอยู่ระหว่างสามเดือนถึง 24 เดือนใน 15 การศึกษาและมีสองการศึกษาได้ดำเนินการจัดการในครั้งเดียว ระยะเวลาติดตามผลมีตั้งแต่ 3 เดือนถึง 8 ปี พบว่ามี 3 RCTs ที่มีความเสี่ยงของการมีอคติต่ำในทุกประเด็นที่ประเมิน การศึกษาอีก 14 รายการมีความเสี่ยงของการมีอคติที่ไม่ชัดเจนหรือมีความเสี่ยงสูง ตัวอย่างเช่นเราพิจารณา RCT 2 รายการและ quasi-RCT 1 รายการที่มีความเสี่ยงของการมีอคติสูงในการคัดเลือกและ RCT 6 รายการที่มีความเสี่ยงของการมีอคติสูงในการติดตามผู้เข้าร่วมโครงการ (attrition bias) การศึกษา 15 รายการได้รับทุนวิจัยระดับชาติหรือนานาชาติหรือรัฐบาล และการศึกษา 2 รายการที่ไม่ได้รายงานแหล่งที่มาของเงินทุน

การให้ความรู้เทียบกับการไม่ได้ให้

ไม่มีการศึกษาใดที่รวบรวมมา ได้เปรียบเทียบ ผลของสติปัญญา หรืออันตรายต่อพฤติกรรมทางระบบประสาท หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ การศึกษาทั้งหมดรายงานข้อมูลเกี่ยวกับผลระดับสารตะกั่วในเลือด
การเพิ่มความรู้พบว่าอาจไม่มีหลักฐานของความแตกต่างในการลดระดับตะกั่วในเลือด (ความแตกต่างค่าเฉลี่ย (MD) –0.03, ช่วงความเชื่อมั่น 95% (CI) –0.13 ถึง 0.07; I² = 0%; 5 การศึกษาผู้เข้าร่วม 815 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นปานกลาง; ข้อมูลแบบ log-transformed data) หรือในการลดระดับฝุ่นพื้น (MD –0.07, 95% CI –0.37 ถึง 0.24; I² = 0%; 2 การศึกษาผู้เข้าร่วม 318 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นปานกลาง)

การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเทียบกับการไม่ได้จัดการใดๆ

การควบคุมฝุ่น: การศึกษา 1 รายการ ในการเปรียบเทียบนี้รายงานข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์ของสติปัญญาและพฤติกรรมทางระบบประสาทและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในเด็ก การศึกษาแสดงให้เห็นในเชิงตัวเลขว่าอาจมีผลลัพธ์ทางระบบประสาทที่ดีกว่าในเด็กของกลุ่มที่ได้รับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามความแตกต่างมีขนาดเล็กและ ค่า CI คร่อมทั้งเส้นผลประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ของการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (เช่น การพัฒนาจิตใจ (Bayley Scales of Infant Development-II): MD 0.1, 95% CI –2.1 ถึง 2.4; การศึกษา 1 รายการ, ผู้เข้าร่วม 302 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) การศึกษาเดียวกันไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มการจัดการในระหว่างการติดตามผล 8 ปี แต่สังเกตเห็นเด็ก 2 คนที่มีอาการไม่พึงประสงค์ในกลุ่มควบคุม (การศึกษา 1 รายการ, ผู้เข้าร่วม 355 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก)
การวิเคราะห์เมตต้า (meta-analysis) ยังไม่พบหลักฐานของประสิทธิผลเกี่ยวกับระดับตะกั่วในเลือด (ต่อเนื่อง: MD –0.02, 95% CI –0.09 ถึง 0.06; I² = 0%; การศึกษา 4 รายการ, ผู้เข้าร่วม 565 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นปานกลาง; log-transformed data) เราไม่สามารถรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระดับฝุ่นพื้นได้ แต่จากการศึกษารายงานว่าอาจไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มต่างๆ (หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก)

การลดมลพิษในดิน (soil abatement): การศึกษา 2 รายการ ที่ประเมินผลการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมนี้รายงานเฉพาะผลของ 'ระดับตะกั่วในเลือด' การศึกษา 1 รายการ แสดงให้เห็นผลในการลดระดับสารตะกั่วในเลือดได้เล็กน้อยในขณะที่การศึกษาอื่นไม่มีผลใด ดังนั้นเราจึงเห็นว่าหลักฐานในปัจจุบันไม่เพียงพอที่จะสรุปเกี่ยวกับประสิทธิผลของการลดมลพิษในดิน (หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก)

การผสมผสานกันของการเพิ่มการให้ความรู้และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเทียบกับการให้ความรู้แบบมาตรฐาน

การศึกษาในการเปรียบเทียบนี้รายงานเฉพาะระดับตะกั่วในเลือดและระดับฝุ่นตะกั่ว เราไม่สามารถรวบรวมการศึกษาในการวิเคราะห์เมตต้า ( Meta-analysis) ได้เนื่องจากมีความความแตกต่างอย่างมากระหว่างการศึกษาแต่ละรายการ เนื่องจากการศึกษารายงานผลลัพธ์ที่ไม่สอดคล้องกัน จึงมีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะชี้แจงว่าการจัดการผสมผสานร่วมกันช่วยลดระดับตะกั่วในเลือดและระดับฝุ่นได้ (หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก)

ข้อสรุปของผู้วิจัย

จากหลักฐานที่มีอยู่ การเพิ่มการให้ความรู้ในครัวเรือนและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (ได้แก่ มาตรการควบคุมฝุ่นละออง) แสดงให้เห็นว่าไม่มีความแตกต่างในการลดระดับสารตะกั่วในเลือดในเด็กตามมาตรการด้านสุขภาพของประชากร หลักฐานของผลกระทบของการจัดการทางสิ่งแวดล้อมที่มีต่อผลลัพธ์ด้านสติปัญญาและพฤติกรรมทางระบบประสาทและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ไม่ชัดเจนเช่นกัน

จำเป็นต้องมีการทดลองเพื่อสร้างการจัดการที่มีประสิทธิผลสูงสุดเพื่อลดหรือป้องกันการสัมผัสสารตะกั่วเพิ่มเติม องค์ประกอบหลักของการทดลองเหล่านี้ควรรวมถึงกลยุทธ์ในการลดแหล่งที่มาของการสัมผัสสารตะกั่วหลาย ๆ แหล่งพร้อมกันโดยใช้ระดับการกวาดล้างฝุ่นเชิงป้องกัน นอกจากนี้ยังจำเป็นสำหรับการทดลองในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางและในกลุ่มเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกันในประเทศที่มีรายได้สูง

บันทึกการแปล

Translation notes CD006047.pub6

Citation
Nussbaumer-Streit B, Mayr V, Dobrescu AI, Wagner G, Chapman A, Pfadenhauer LM, Lohner S, Lhachimi SK, Busert LK, Gartlehner G. Household interventions for secondary prevention of domestic lead exposure in children. Cochrane Database of Systematic Reviews 2020, Issue 10. Art. No.: CD006047. DOI: 10.1002/14651858.CD006047.pub6.