ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ชุดป้องกันและอุปกรณ์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาและโรคติดเชื้ออื่น ๆ

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

บุคลากรทางการแพทย์ที่รักษาผู้ป่วยติดเชื้อ เช่น ไวรัสโคโรนา (COVID-19) มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์เอง บุคลากรทางการแพทย์ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) เพื่อป้องกันตัวเองจากละอองไอจามหรือของเหลวในร่างกายอื่น ๆ จากผู้ป่วยที่ติดเชื้อและพื้นผิวที่ปนเปื้อนที่อาจติดเชื้อ PPE อาจรวมถึง ผ้ากันเปื้อน, เสื้อคลุมยาว หรือ เสื้อคลุม (ชุดสูทแบบชิ้นเดียว), ถุงมือ, หน้ากากและอุปกรณ์ช่วยหายใจ (เครื่องช่วยหายใจ) และแว่นตา ต้องใส่ PPE อย่างถูกต้อง อาจรู้สึกอึดอัดที่จะสวมใส่และบุคลากรทางการแพทย์อาจปนเปื้อนในขั้นตอนการถอดออก PPE บางส่วนได้รับการดัดแปลงเช่นโดยการเพิ่มแถบกาวติดเพื่อให้ง่ายต่อการถอดออก คำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนที่ถูกต้องสำหรับการใส่และถอด PPE มีให้บริการจากองค์กรต่าง ๆ เช่นศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ในสหรัฐอเมริกา

การศึกษานี้เป็นการปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของ Cochrane ในปี 2020 หลังจากการเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2016 และมีการปรับปรุงอีกครั้งในปี 2019

เราต้องการค้นหาอะไร

เราต้องการที่จะรู้ว่า:

ประเภทของ PPE หรือการรวมกันของ PPE ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์เพื่อการป้องกันที่ดีที่สุด;

การดัดแปลง PPE เพื่อการถอดที่ง่ายขึ้นมีประสิทธิภาพหรือไม่;

ไม่ว่าจะเป็นคำแนะนำต่อไปนี้ในการถอด PPE เพื่อลดการปนเปื้อน;

ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรมเพื่อลดการปนเปื้อน

เราค้นพบอะไร

เราพบการศึกษาที่เกี่ยวข้อง 24 เรื่อง มีผู้เข้าร่วม 2278 คนที่ประเมินประเภทของ PPE, PPE ที่ได้รับการดัดแปลง, ขั้นตอนการใส่และถอด PPE และประเภทของการฝึกอบรม การศึกษา 18 เรื่อง ไม่ได้มีการประเมินบุคลากรทางการแพทย์ที่รักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ แต่จำลองผลของการสัมผัสกับการติดเชื้อโดยใช้เครื่องตรวจเรืองแสงเพื่อตรวจหาไวรัสหรือแบคทีเรียที่ไม่เป็นอันตราย การศึกษาส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและมีการศึกษาเพียง 1 หรือ 2 เรื่อง ที่ตอบคำถามของเรา

ประเภทของ PPE

การปกปิดร่างกายมากขึ้นนำไปสู่การป้องกันการติดเชื้อที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากสิ่งนี้มักจะเกี่ยวข้องกับความยากลำบากที่เพิ่มขึ้นในการใส่และถอด PPE และ เมื่อใส่ PPE จะมีความอึดอัดและรู้สึกไม่สุขสบาย การใส่แบบคลุมทั้งหมด เป็นประเภท PPE ที่ยากที่สุดในการถอด แต่อาจให้การป้องกันที่ดีที่สุด ด้วยการใสเสื้อคลุมยาว หรือ เสื้อคลุม, ผ้ากันเปื้อน เครื่องช่วยหายใจที่สวมใส่ด้วยหน้ากากอาจป้องกันได้ดีกว่าหน้ากากที่สวมใส่กับชุด แต่ยากที่จะใส่ PPE ชนิดระบายอากาศได้มากขึ้นอาจนำไปสู่การปนเปื้อนในระดับใกล้เคียงกัน แต่เวลาใสไปแล้วจะรู้สึกสบายกว่า การปนเปื้อนเป็นเรื่องปกติที่พบได้ประมาณครึ่งหนึ่งของการศึกษา แม้จะมี PPE ที่ดีขึ้น

การปรับปรุง PPE

เสื้อคลุมที่มีถุงมือติดอยู่ที่ข้อมือเพื่อให้ถุงมือ และชุดสามารถถอดออกพร้อมกันได้และครอบคลุมบริเวณข้อมือและเสื้อคลุมที่ปรับเปลี่ยนให้พอดีที่ระดับคออาจลดการปนเปื้อน นอกจากนี้การเพิ่มแถบกาวในถุงมือและมาสก์หน้าอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนน้อยลง อย่างไรก็ตามมีหนึ่งการศึกษาพบว่ามีข้อผิดพลาดน้อยลงในการใส่หรือถอดเสื้อคลุมที่ปรับเปลี่ยน

คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ PPE

การปฏิบัติตามคำแนะนำของ CDC สำหรับการถอดผ้ากันเปื้อนหรือชุดคลุมหรือคำแนะนำใดๆ สำหรับการถอด PPE เมื่อเทียบกับการปฏิบัติของแต่ละบุคคลอาจลดการปนเปื้อนของบุคลากรทางการแพทย์เอง การถอดชุดคลุมและถุงมือในขั้นตอนเดียว โดยใช้ถุงมือสองคู่และการทำความสะอาดถุงมือด้วยน้ำยาฟอกขาวหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ (แต่ไม่ใช่แอลกอฮอล์) อาจลดการปนเปื้อน

การฝึกอบรมผู้ใช้

การฝึกอบรมแบบตัวต่อตัว การจำลองฝึกกับคอมพิวเตอร์และการฝึกอบรมผ่านวิดีโอ ทำให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยลงในการถอด PPE มากกว่าการฝึกอบรมที่เป็นสื่อการเขียนเท่านั้นหรือการบรรยายแบบดั้งเดิม

ความน่าเชื่อถือของหลักฐาน

ความเชื่อมั่น (ความมั่นใจ) ของเราในหลักฐานนั้นมีข้อจำกัด เนื่องจากการศึกษาการจำลองการติดเชื้อ (เช่น มันไม่ใช่ของจริง) และมีผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวนน้อย

เรายังต้องการหาอะไรบ้าง

ไม่มีการศึกษาที่เกี่ยวกับผลของแว่นตาหรืออุปกรณ์ป้องกันใบหน้า เรามีข้อมูลไม่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการถอด PPE หลังการใช้งานและการฝึกอบรมที่ดีที่สุดในระยะยาว

โรงพยาบาลจำเป็นต้องจัดระเบียบการศึกษาเพิ่มเติมและนักวิจัยจำเป็นต้องเห็นด้วยกับวิธีที่ดีที่สุดในการจำลองการสัมผัสกับไวรัส

ในอนาคต จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจำลองสถานการณ์โดยมีผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 60 คน โดยใช้การสัมผัสกับไวรัสที่ไม่เป็นอันตรายเพื่อประเมินแต่ละวิธีของ PPE เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

มันจะมีประโยชน์ถ้าโรงพยาบาลสามารถลงทะเบียนและบันทึกประเภทของ PPE ที่ใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์เพื่อให้ข้อมูลที่จำเป็นเร่งด่วนและเป็นจริงในชีวิต

ช่วงเวลาที่สืบค้น

การตรวจสอบนี้รวมหลักฐานที่เผยแพร่จนถึง 20 มีนาคม 2020

บทนำ

ในการระบาดของโรคที่มีการติดเชื้อสูงเช่น Ebola Virus Disease (EVD), Severe Acute Respiratory Syndrome (SARS) หรือ coronavirus (COVID-19) บุคลากรทางการแพทย์ (HCW) มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อมากกว่าประชาชนทั่วไปเนื่องจากการสัมผัสกับสารคัดหลังจากร่างกายของผู้ป่วย อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) สามารถลดความเสี่ยงโดยการคลุมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่า PPE ประเภทใดสามารถป้องกันได้ดีที่สุด วิธีการใดดีที่สุดในการใส่ PPE หรือการถอดชุด PPE และการฝึกบุคลากรทางการแพทย์ (HCWs) ใช้ PPE ตามที่แนะนำ

วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินชนิดของ PPE แบบเต็มตัว และวิธีการสวมใส่หรือ การถอด PPE ด้วยวิธีใดที่จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนน้อยที่สุดหรือการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ และวิธีการฝึกอบรมใดที่จะเพิ่มการปฎิบัติตามระเบียบการใช้ PPE

วิธีการสืบค้น

เราสืบค้นจาก CENTRAL, MEDLINE, Embase และ CINAHL จนถึง 20 มีนาคม 2020

เกณฑ์การคัดเลือก

เรารวมการศึกษาที่มีการควบคุมทั้งหมดที่เปรียบเทียบผลของ PPE ที่ใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับโรคติดเชื้อสูง ต่อความเสี่ยงของการติดเชื้อ การปนเปื้อน หรือการปฏิบัติตามระเบียบการใช้ PPE นอกจากนี้เรายังรวมการศึกษาที่เปรียบเทียบผลของวิธีการต่าง ๆ ในการใส่หรือถอด PPE และผลของการฝึกอบรมในการใช้ PPE ในผลลัพธ์เดียวกัน

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้ทบทวนวรรณกรรม 2 คน คัดเลือกการศึกษา รวมข้อมูลและประเมินความเสี่ยงของการมีอคติอย่างเป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ random-effects meta-analyses ถูกนำมาใช้

ผลการวิจัย

รีวิวก่อนหน้านี้มีการเผยแพร่ในปี 2016 และ 2019 ในการปรับปรุงครั้งนี้เรารวมการศึกษา 24 เรื่อง มีผู้เข้าร่วม 2278 คน โดย 14 เรื่องเป็นการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ (RCT), 1 เรื่องเป็น quasi-RCT และอีก 9 เรื่อง เป็น non-randomised design

การศึกษา 8 เรื่อง เปรียบเทียบประเภทของ PPE การศึกษา 6 เรื่อง ประเมิน PPE แบบดัดแปลง การศึกษา 8 เรื่อง เปรียบเทียบประเภทของการใส่และถอด PPE แบบต่าง ๆ และการศึกษา 3 เรื่อง ประเมินการฝึกอบรมโดยวิธีต่าง ๆ การศึกษา 8 เรื่อง ใช้การจำลองการสัมผัสและตรวจด้วยเครื่องเรืองแสงหรือไวรัสที่ไม่เป็นอันตราย ในการศึกษาแบบจำลอง อัตราการปนเปื้อนเฉลี่ยอยู่ที่ 25% สำหรับกลุ่มที่มีการดูแลจัดการ และ 67% สำหรับกลุ่มควบคุม

หลักฐานสำหรับผลลัพธ์ทั้งหมดมีความน่าเชื่อถือต่ำมาก เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่นเพราะขึ้นอยู่กับการศึกษา 1 หรือ 2 เรื่อง หลักฐานทางอ้อมในการศึกษาแบบจำลองและเนื่องจากความเสี่ยงของอคติ

ประเภทของ PPE

การใช้หน้ากากช่วยหายใจแบบใช้อากาศบริสุทธิ์ที่มีฝาปิดอาจป้องกันความเสี่ยงของการปนเปื้อนได้ดีกว่าหน้ากาก N95, เสื้อคลุมยาว (อัตราส่วนความเสี่ยง (RR) 0.27, 95% confidence interval (CI) 0.17 ถึง 0.43) แต่ยากต่อการปฏิบัติ (การไม่ปฏิบัติ: RR 7.5, 95% CI 1.81 ถึง 31.1) ใน RCT 1 เรื่อง (ผู้เข้าร่วมโครงการ 59 คน) พบว่าการใส่ชุดที่ปกคลุมทั้งหมดยากมากกว่าเวลาถอดมากกว่าชุดคลุมที่แยก (หลักฐานมีความน่าเชื่อถือต่ำมาก) เสื้อคลุมอาจป้องกันการปนเปื้อนได้ดีกว่าผ้ากันเปื้อน (ค่าเฉลี่ยความแตกต่างของรอยปนเปื้อนขนาดเล็ก mean difference (MD) −10.28, 95% CI −14.77 ถึง −5.79) PPE ที่ทำจากวัสดุที่ระบายอากาศได้มาก อาจนำไปสู่การเกิดจุดปนเปื้อนบนลำตัว (Mean Difference (MD) 1.60 (95% Confidence Interval (CI) −0.15 ถึง 3.35) มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุกันน้ำแต่อาจจะง่ายและเหมาะต่อการใช้งานมากกว่า (MD −0.46, 95% CI −0.84 ถึง −0.08, scale 1 ถึง 5) จากการศึกษา 3 เรื่อง ที่ทำการทดสอบเมื่อไม่นานมานี้ได้มีการนำเสนอชุด PPE แบบเต็มร่างกาย ซึ่งอาจจะไม่ได้มีความแตกต่างกันในเรื่องการปนเปื้อน

การปรับเปลี่ยน PPE เปรียบเทียบกับ PPE มาตรฐาน

การปรับเปลี่ยนการออกแบบ PPE ต่อไปนี้อาจนำไปสู่การปนเปื้อนที่น้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับ PPE มาตรฐาน: ชุดเสื้อและถุงมือที่ปกคลุม (RR 0.27, 95% CI 0.09 ถึง 0.78) ชุดเสื้อรัดปกปิดถึงระดับคอ ข้อมือ และมือ (RR 0.08, 95% CI 0.01 ถึง 0.55) ชุดคลุมถึงข้อมือ (RR 0.45, 95% CI 0.26 ถึง 0.78, หลักฐานความน่าเชื่อถือต่ำ) การเพิ่มแถบกาวเพื่ออำนวยความสะดวกในการถอดหน้ากาก (RR 0.33, 95% CI 0.14 ถึง 0.80) หรือถุงมือ (RR 0.22, 95% CI 0.15 ถึง 0.31)

การสวมใส่และการถอด

การปฏิบัติตามคำแนะนำของ CDC สำหรับการถอดอุปกรณ์อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนน้อยลงเมื่อเทียบกับการไม่มีแนวทางปฏิบัติ (การมีจุดปนเปื้อนเล็กๆ : MD −5.44, 95% CI −7.43 ถึง −3.45) การถอดถุงมือและเสื้อแบบขั้นตอนเดียว อาจนำไปสู่การปนเปื้อนของแบคทีเรียน้อยกว่า (RR 0.20, 95% CI 0.05 ถึง 0.77) แต่ไมพบการปนเปื้อนจากการตรวจโดยฟลูออเรสเซนต์ที่น้อยลง (RR 0.98, 95% CI 0.75 ถึง 1.28) มากกว่าการถอดแบบแยกส่วน การใส่ชุดสองชั้นอาจนำไปสู่การปนเปื้อนของไวรัสหรือแบคทีเรียน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการใสชุดชั้นเดียว (RR 0.34, 95% CI 0.17 ถึง 0.66) แต่การปนเปื้อนจากการตรวจโดยฟลูออเรสเซนต์ไม่น้อยลง (RR 0.98, 95% CI 0.75 ถึง 1.28) การพูดอธิบายถึงวิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันเพิ่มเติมอาจทำให้มีข้อผิดพลาดน้อยลงในการถอดอุปกรณ์ (MD −0.9, 95% CI −1.4 ถึง −0.4) และมีจุดปนเปื้อนลดลง (MD −5, 95% CI −8.08 to −1.92) การตรวจสุขอนามัยถุงมือเป็นพิเศษก่อนที่จะถอดถุงมือด้วยแอมโมเนียมหรือสารฟอกขาวอาจลดการปนเปื้อน แต่ไม่ควรถูทำความสะอาดมือโดยใช้แอลกอฮอล์

การฝึกอบรม

การใช้การจำลองเหตุการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมอาจทำให้มีข้อผิดพลาดน้อยลงในการถอดอุปกรณ์ (MD −1.2, 95% CI −1.6 ถึง −0.7) การใช้วิดีโอประกอบการบรรยายเกี่ยวกับการใส่ PPE อาจทำให้มีคะแนนทักษะที่ดีขึ้น (MD 30.70; 95% CI 20.14 ถึง 41.26) มากกว่าการบรรยายแบบดั้งเดิม การเรียนรู้แบบตัวต่อตัวอาจลดการไม่ปฏิบัติตามคำแนะของการถอดอุปกรณ์ได้มากกว่าการแจกเอกสารข้อมูลหรือวิดีโอเพียงอย่างเดียว (OR 0.45; 95% CI 0.21 ถึง 0.98)

ข้อสรุปของผู้วิจัย

เราพบหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ ในการปกปิดส่วนต่าง ๆ ให้มากขึ้นของร่างกายนำไปสู่การป้องกันที่ดีขึ้น แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีค่าใช้จ่ายในการสวมใส่หรือถอดออกยากและความสะดวกสบายของผู้ใช้ลดลง PPE ชนิดระบายอากาศได้มากขึ้น อาจนำไปสู่การปนเปื้อนในระดับใกล้เคียงกัน แต่เวลาใส่ไปแล้วจะรู้สึกสบายกว่า การดัดแปลงการออกแบบ PPE เช่นแถบเพื่อจับอาจลดความเสี่ยงของการปนเปื้อน สำหรับขั้นตอนการใส่และถอด ตามคำแนะนำในการถอดชุดตาม CDC การถอดถุงมือและเสื้อคลุมในขั้นตอนเดียวและการถอดชุดและการใส่ถุงมือาองชั้น การให้คำแนะนในระหว่างการถอดชุดและการใส่ถุงมือและการใช้การฆ่าเชื้อถุงมืออาจลดการปนเปื้อนและเพิ่มความใส่ใจในการสวมใส่ การฝึกอบรมแบบตัวต่อตัวในการใช้ PPE อาจลดข้อผิดพลาดได้มากกว่าการใช้วิดีโอหรือการฝึกอบรมที่ใช้เอกสาร

เรายังต้องการการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบของการอบรมพร้อมกับการติดตามระยะยาว เราต้องการการศึกษาแบบที่มีการจำลองที่มีผู้เข้าร่วมมากขึ้นเพื่อค้นหาว่าชุดร่วมของ PPE ใดและขั้นตอนการถอดแบบใดป้องกันการติดเชื้อได้ดีที่สุด จำเป็นต้องมีมติอย่างเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการจำลองการสัมผัสและการประเมินผล เราต้องการหลักฐานเพิ่มเติมในเรื่องการใช้ในชีวิตจริง การใช้ PPE ในบุคลากรทางการแพทย์ ที่สัมผัสกับโรคติดเชื้อสูงควรมีการให้ลงทะเบียนและควรได้รับการติดตามความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

บันทึกการแปล

แปลโดย พญ.วิลาสินี หน่อแก้ว ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Citation
Verbeek JH, Rajamaki B, Ijaz S, Sauni R, Toomey E, Blackwood B, Tikka C, Ruotsalainen JH, Kilinc Balci FS. Personal protective equipment for preventing highly infectious diseases due to exposure to contaminated body fluids in healthcare staff. Cochrane Database of Systematic Reviews 2020, Issue 5. Art. No.: CD011621. DOI: 10.1002/14651858.CD011621.pub5.