การวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมแบบเสมือนจริงจากระยะไกลมีความแม่นยำเพียงใด

เหตุใดคำถามนี้จึงสำคัญ

ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะเรื้อรังและลุกลามซึ่งส่งผลต่อความจำและความสามารถในการทำงานของผู้คนในแต่ละวัน การวินิจฉัยทางคลินิกของภาวะสมองเสื่อมมักจะเกี่ยวข้องกับการสแกนสมอง การตรวจร่างกาย รวมไปถึงการซักประวัติ ในขั้นตอนแรก มักจะทดสอบความจำและการคิดเพื่อระบุตัวบุคคลที่ต้องการการประเมินเพิ่มเติม ตามหลักแล้ว การทดสอบเหล่านี้ดำเนินการได้ด้วยการทดสอบตัวต่อตัว แต่มีการปรับเปลี่ยนการทดสอบ โดยสามารถทดสอบผ่านโทรศัพท์หรือผ่าน์วิดีโอได้ ซึ่งเรียกว่า 'การตรวจประเมินระยะไกล'

เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 การตรวจประเมินทางไกลจึงมีความจำเป็นและกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากกระระบาดของโควิด-19 แล้ว การประเมินทางไกลก็ยังมีประโยชน์อื่น ๆ ที่อาจได้รับ กล่าวคือการนัดหมายเพื่อเข้ารับการรักษาอาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน อีกทั้งการตรวจประเมินทางไกลช่วยเพิ่มความสะดวกมากกว่า นอกจากนี้การตรวจประเมินทางไกลยังมีประโยชน์ในการวิจัย เนื่องจากสามารถเข้าถึงผู้คนจำนวนมากได้ในเวลาอันสั้น

การทดสอบทางโทรศัพท์อาจไม่ดีเท่ากับการทดสอบตัวต่อตัว และสิ่งที่สำคัญคือการได้รับการทดสอบที่แม่นยำ ในอีกมุมมองหนึ่ง หากการทดสอบแสดงให้เห็นว่าบางคนมีภาวะสมองเสื่อมโดยที่พวกเขาไม่มี (เรียกว่าผลบวกปลอม) ซึ่งอาจส่งผลกระทบทางอารมณ์ต่อบุคคลและครอบครัวของพวกเขา ในทางกลับกัน หากระบุว่าไม่มีปัญหาทางความคิดและความจำ แม้ว่าพวกเขามีอาการ (เรียกว่าผลลบปลอม) ซึ่งหมายความว่าบุคคลนั้นไม่ได้รับการรักษาและไม่ได้รับการช่วยเหลือในสิ่งที่พวกเขาต้องการ

วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม

เพื่อประเมินว่าการทดสอบความจำและความคิดผ่านทางโทรศัพท์หรือวิดีโอคอลสามารถตรวจพบภาวะสมองเสื่อมได้หรือไม่

การทบทวนวรรณกรรมนี้ศึกษาอะไร

มีแบบทดสอบความจำและความคิดจำนวนหลายชุด แบบทดสอบจำนวนมากได้รับการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ และเนื้อหาและการใช้งานมีความแตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากการปรับเปลี่ยนการทดสอบแบบตัวต่อตัวซึ่งเป็นการทดสอบดั้งเดิม

ผลลัพธ์หลักของการทบทวนนี้คืออะไร

การทบทวนวรรณกรรมนี้มีงานวิจัย 31 เรื่อง โดยใช้แบบทดสอบความจำ 19 แบบที่แตกต่างกัน โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 3075 คน

แบบทดสอบเพียงเจ็ดแบบเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับความแม่นยำของการทดสอบทางไกล การประเมินความถูกต้องของการทดสอบเหล่านี้จึงไม่แม่นยำ เนื่องจากจำนวนการศึกษามีจำนวนจำกัด การทบทวนวรรณกรรมนี้ชี้ให้เห็นว่าการทดสอบจากระยะไกลสามารถระบุผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมได้อย่างถูกต้องตั้งแต่ 26% ถึง 100% และสามารถแยกแยะภาวะสมองเสื่อมได้อย่างถูกต้องตั้งแต่ 65% ถึง 100% ในแต่ละครั้ง

การศึกษาที่เหลืออีก 24 เรื่องเปรียบเทียบการทดสอบทางไกลกับการทดสอบแบบตัวต่อตัว การศึกษาเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าผลการทดสอบทางไกลมักจะตรงกับผลการทดสอบตัวต่อตัว แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์

ผลของการศึกษาต่าง ๆ ในการทบทวนวรรณกรรมนี้มีความน่าเชื่อถือเพียงใด

การวินิจฉัยทางคลินิกของภาวะสมองเสื่อมถูกนำมาใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงในการศึกษาเหล่านี้ นอกจากนี้แล้วยังพบปัญหาหลายประการในการออกแบบ การดำเนินการ รวมไปถึงการรายงานการศึกษา ประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่งคือการคัดเลือกผู้เข้าร่วมการศึกษา กล่าวคือผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินหรือบกพร่องทางภาษาไม่อยู่ในกลุ่มผู้เข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้ ซึ่งสิ่งนี้อาจช่วยให้มีการทดสอบทางไกลที่ซับซ้อนขึ้น

ผลการทบทวนวรรณกรรมนี้สามารถนำไปใช้กับใคร

การศึกษาส่วนใหญ่นำมาใช้ตรวจสอบกับผู้สูงอายุ (ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป) ผลของการศึกษาครั้งนี้อาจไม่ได้นำมาใช้กับผู้สูงอายุทุกคนที่มีภาวะสมองเสื่อม เนื่องจากการศึกษาบางชิ้นตรวจสอบเฉพาะกลุ่มคนบางกลุ่มเท่านั้น เช่นผู้สูงอายุหลังโรคหลอดเลือดสมอง โดยปกติแล้ว การศึกษาจะดำเนินการในศูนย์เฉพาะทางโดยผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นจึงไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าการทดสอบเหล่านี้วินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมในชุมชนที่ดำเนินการตามปกติได้ดีเพียงใด

อะไรคือข้อสรุปจากการทบทวนวรรณกรรมนี้

การทบทวนวรรณกรรมเน้นย้ำถึงการขาดการวิจัยคุณภาพสูงที่อธิบายถึงความแม่นยำของแบบทดสอบความจำและการกระบวนการคิดทางโทรศัพท์และวิดีโอคอล อีกทั้งมีความแตกต่างมากมายระหว่างการศึกษาที่รวบรวมอยู่ในการทบทวนวรรณกรรมนี้ อาทิ ประเภทของการทดสอบที่ใช้ ผู้เข้าร่วม สถานที่ในการศึกษาวิจัย และภาษาที่ใช้ศึกษา ทำให้การเปรียบเทียบระหว่างการศึกษาเป็นเรื่องยาก การทบทวนวรรณกรรมฉบับนี้จึงแสดงให้เห็นว่าการตรวจประเมินระยะไกลและการประเมินแบบตัวต่อตัวไม่สามารถนำมาเทียบเท่ากันได้เสมอไป ด้วยสถานการณ์ที่เข้าถึงการประเมินแบบตัวต่อตัวได้ยาก การทดสอบทางไกลก็เป็นประโยชน์ โดยสามารถนำมาใช้เป็นขั้นตอนแรกได้ ตามหลักการแล้ว ควรติดตามผลการประเมินแบบตัวต่อตัวก่อนทำการวินิจฉัย เนื่องจากการศึกษาที่มีอยู่อย่างจำกัด และความแตกต่างในวิธีการศึกษา จึงไม่สามารถแนะนำการทดสอบทางไกลสำหรับการตรวจประเมินภาวะสมองเสื่อม

การทบทวนวรรณกรรมนี้เป็นปัจจุบันเพียงใด

การค้นหานี้ดำเนินการในเดือนมิถุนายน 2021

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

ถึงแม้การประเมินกระบวนการรับรู้ทางไกลจะมีการใช้กันโดยทั่วไปและแพร่หลายมากขึ้น แต่หลักฐานสนับสนุนความแม่นยำของการทดสอบก็มีอยู่อย่างจำกัด โดยที่ข้อมูลที่มีอยู่ไม่สามารถบอกการทดสอบที่ต้องการได้ การทดสอบทางไกลนั้นมีความซับซ้อน อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นความแตกต่างของแบบทดสอบที่ใช้ การใช้งาน ตลอดจนการวิเคราะห์ จึงจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่ออธิบายความแม่นยำของวิธีการของการประเมินกระบวนการรับรู้ทางไกลแบบสมัยใหม่ ในขณะที่ข้อมูลการเปรียบเทียบการทดสอบระยะไกลและการทดสอบตัวต่อตัวนั้นได้สร้างความมั่นใจ แต่เกณฑ์และกฎการให้คะแนนที่ได้จากการทดสอตัวต่อตัวอาจไม่สามารถนำมาใช้ได้ เมื่อมีการดัดแปลงการทดสอบที่เทียบเท่าสำหรับการทดสอบทางไกล

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

รูปแบบการประเมินกระบวนการรับรู้ทางไกลมีความจำเป็นมากขึ้น เพื่อช่วยในการตรวจหาความผิดปกติทางสติปัญญา อย่างไรก็ตามความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคภาวะสมองเสื่อมผ่านทางโทรศัพท์และวิดีโอยังคงไม่แม่นยำ

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินความแม่นยำในการทดสอบกระบวนการรับรู้ที่หลากหลายจากระยะไกลสำหรับการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมทุกรูปแบบ

เพื่อประเมินข้อแตกต่างที่อาจเกิดขึ้นในการบันทึกการทดสอบกระบวนการรับรู้ในระหว่างการใช้แพลตฟอร์มระยะไกล และเปรียบเทียบระหว่างการวินิจฉัยทางไกลกับการวินิจฉัยแบบตัวต่อตัวที่เทียบเท่ากัน

วิธีการสืบค้น: 

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2021 มีการสืบค้นฐานข้อมูล ALOIS, the Cochrane Dementia and Cognitive Improvement Group Specialized Register, CENTRAL, MEDLINE, Embase, PsycINFO, CINAHL, Web of Science, LILACS และ ClinicalTrials.gov (www.clinicaltrials.gov/) อีกทั้งดำเนินการค้นหาข้อมูลอ้างอิงที่อ้างอิงในบทความ และบทความอื่น ๆ ที่ได้มีการอ้างอิงถึงบทความนี้

เกณฑ์การคัดเลือก: 

รวบรวมการศึกษาภาคตัดขวางในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยจัดการการประเมินที่หลากหลายจากระยะไกลควบคู่ไปกับการวินิจฉัยทางคลินิกของภาวะสมองเสื่อมหรือการวินิจฉัยแบบตัวต่อตัวที่เทียบเท่ากัน

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนวรรณกรรมสองคนประเมินความเสี่ยงของอคติและคัดลอกข้อมูลอย่างอิสระ ในขณะที่ผู้เขียนทบทวนวรรณกรรมคนที่สามได้ตัดสินความขัดแย้ง ความถูกต้องของการประเมินจากระยะไกลและการวินิจฉัยทางคลินิกของโรคภาวะสมองเสื่อมคือการวิเคราะห์เบื้องต้น ในกรณีที่มีข้อมูล ความแม่นยำในการทดสอบของการทดสอบจะได้รับการรายงานเป็นค่า ความไวของการทดสอบ (sensitivity) และ ค่าความจำเพาะของการทดสอบ (specificity) อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์เมตต้าไม่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์เนื่องจากมีการศึกษาน้อยเกินไปในระดับการทดสอบส่วนบุคคล

สำหรับการศึกษาที่เปรียบเทียบระหว่างการทดสอบทางไกลและการทดสอบตัวต่อตัวที่เทียบเท่ากัน หากข้อมูลสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ ค่าความสัมพันธ์ ความน่าเชื่อถือ ความแตกต่างของคะแนน และสัดส่วนที่จัดว่ามีความบกพร่องทางสติปัญญา ได้อธิบายไว้ในการทดสอบแต่ละครั้ง

ผลการวิจัย: 

การทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้มีการศึกษา 31 เรื่อง (แบบทดสอบที่แตกต่างกัน 19 เรื่อง มีผู้เข้าร่วม 3075 คน) เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์หลักในการอธิบายความแม่นยำของการทดสอบการวินิจฉัยทางคลินิกของภาวะสมองเสื่อม โดยการศึกษา 7 เรื่อง (โทรศัพท์ 6 เรื่อง การสนทนาทางวิดีโอ 1 เรื่อง มีผู้เข้าร่วม 756 คน) การศึกษาทั้งหมดมีความเสี่ยงของการมีอคติที่ไม่มีความชัดเจนหรือมีความเสี่ยงของอคติสูงอย่างน้อยหนึ่งเรื่อง โดยภาพรวมแล้ว ความไวของเครื่องมือระยะไกลนั้นแตกต่างกันไป อยู่ในช่วงระหว่าง 26% ถึง 100% และค่าความจำเพาะอยู่ระหว่าง 65% ถึง 100% ซึ่งไม่มีการทดสอบที่ดีกว่าอย่างแน่ชัด

จากเอกสาร 24 ฉบับที่เปรียบเทียบการทดสอบระยะไกลและการทดสอบตัวต่อตัวที่เทียบเท่า (โทรศัพท์ 14 เรื่อง และสนทนาผ่านวิดีโอ 10 เรื่อง) ความสอดคล้องระหว่างการทดสอบอยู่ในระดับที่ดี แต่ยังไม่สมบูรณ์แบบมากนัก (สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ มีค่าในช่วง 0.48 ถึง 0.98)

บันทึกการแปล: 

แปลโดย นางสาวณิชมาศย์ วัฒนศิริภาวงศ์ 9 เมษายน 2022

Tools
Information