การทำแผลด้วยไฮโดรเจลมีประสิทธิภาพเพียงใดในการช่วยให้บาดแผลของผู้ให้หายหลังจากการทำ split thickness skin grafts

ใจความสำคัญ

- เราไม่ทราบว่าการทำแผลด้วยไฮโดรเจล (ออกแบบมาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของบาดแผล) ดีกว่าการทำแผลอื่นๆ สำหรับการช่วยให้บาดแผลของผู้บริจาคหายหลังจากการทำ split thickness skin grafts (ผิวหนังที่นำมาจากส่วนอื่นของร่างกาย) หรือไม่

- เราไม่พบการศึกษาใดๆ ที่เปรียบเทียบการทำแผลด้วยไฮโดรเจลปิดแผลกับครีม ขี้ผึ้ง หรือสารละลายอื่นๆ ที่ทาลงบนแผลโดยตรง

- จำเป็นต้องมีการออกแบบการศึกษาเพิ่มเติมและดีขึ้นเพื่อตอบคำถามนี้

บาดแผลบริเวณผู้ให้และการทำ split thicknes skin grafts คืออะไร

บาดแผลบริเวณผู้ให้เป็นผลมาจากการเอาผิวหนังบางส่วนออกจากบริเวณที่มีสุขภาพดีและไม่ได้รับผลกระทบ และส่งต่อเพื่อช่วยรักษาบริเวณที่มีผิวหนังที่เสียหายหรือสูญเสียผิวหนังไป บาดแผลเหล่านี้เป็นผลมาจากขั้นตอนการผ่าตัดมาตรฐานที่เรียกว่าการปลูกถ่ายผิวหนัง การทำ Split thickness skin graft เป็นชั้นผิวหนังบางๆ ที่โกนออกจากบริเวณต่างๆ เช่น ต้นขาและก้น ซึ่งมักจะหายดีในเวลาประมาณสองสัปดาห์

การทำแผลชนิดใดที่ใช้กับบาดแผลบริเวณที่ให้

การทำแผลที่ใช้ปิดแผลของผู้บริจาคจะแตกต่างกันไปมากขึ้นอยู่กับวิธีการทำงาน ต้นทุน และความง่ายในการใช้งาน การทำแผลด้วยไฮโดรเจล ซึ่งทำจากวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุสังเคราะห์ที่ทำให้ออกซิเจนและสารอาหารซึมผ่านได้ พวกมันทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ชุ่มชื้นในการรักษา ซึ่งอาจป้องกันไม่ให้ผ้าปิดแผลติดกับแผล ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติม ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยเท่ากับผ้าปิดแผลอื่นๆ และมักใช้กับบาดแผลที่หายช้าหรือต้องใช้ความชุ่มชื้นมากเพื่อช่วยในการรักษา เช่น แผลไหม้ มีผ้าปิดแผลประเภทอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ผ้ากอซพาราฟิน ผ้าปิดแผลแบบดูดซับ ไฮโดรคอลลอยด์ และผ้าปิดแผลที่เคลือบด้วยสารต้านจุลชีพ

เราต้องการค้นหาอะไร

เราต้องการทราบว่าการใช้ไฮโดรเจลปิดแผลช่วยรักษาบาดแผลบริเวณผู้ให้ในกรณี psrtial skin grafts ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ เรามีความสนใจเป็นพิเศษในการตรวจสอบผลกระทบของการใช้วัสดุปิดแผลประเภทต่างๆ ต่อบาดแผลบริเวณผู้ให้ ของการทำ Split thickness skin grafts

เราทำอะไร

เราค้นหาการศึกษาที่เปรียบเทียบการใช้ไฮโดรเจลปิดแผลกับการรักษาโดยการทำแผลแบบอื่นๆ เพื่อรักษาบาดแผลบริเวณผู้ให้ในกรณีของ partial skin grafts เราวิเคราะห์ผลลัพธ์และจัดอันดับความเชื่อมั่นของเราในหลักฐานรวมตามขนาดและคุณภาพของการศึกษาที่นำมารวมเข้า

เราพบอะไร

เราพบการศึกษา 2 ฉบับ มีผู้เข้าร่วม 162 คน

- การศึกษา 1 ฉบับที่มีผู้เข้าร่วม 101 คนดำเนินการที่หน่วยรักษาแผลไหม้สำหรับเด็ก และเปรียบเทียบไฮโดรเจลเดรสซิ่ง (ผ้ากอซเมชเคลือบไฮโดรเจล) กับเดรสซิ่งอัลจิเนต (สาหร่ายหรือสาหร่ายทะเล) หรือคิวติเซอริน (ผ้ากอซอะซิเตทเนื้อเรียบที่ชุบด้วยขี้ผึ้งกันน้ำ ).

- การศึกษาที่ 2 มีผู้เข้าร่วม 61 คน เกิดขึ้นในแผนกศัลยกรรม 3 แห่ง และเปรียบเทียบแผ่นปิดไฮโดรเจลที่มีสารฆ่าเชื้อ (ออกเทนิดีน - เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ) กับแผ่นปิดแผลที่ไม่มีออคเทนิดีน

เราไม่พบการศึกษาใดๆ ที่เปรียบเทียบการใช้ไฮโดรเจลปิดแผลกับการรักษาที่ทาลงบนแผลโดยตรง (เช่น ครีมหรือขี้ผึ้ง)

บุคคลในการศึกษาได้รับการสุ่มเลือกให้รับการรักษาด้วยการใช้ไฮโดรเจลหรือการทำแผลแบบอื่น ๆ

ผลลัพธ์หลัก

การทำแผลด้วยไฮโดรเจลอสัณฐานกับการทำแผลประเภทอื่น

วัสดุปิดแผลไฮโดรเจลอาจเพิ่มเวลาในการรักษาบาดแผลประมาณ 1.7 วัน เมื่อเทียบกับอัลจิเนต (การศึกษา 1 ฉบับ ผู้เข้าร่วม 69 คน) หรือทำแผลด้วย Cuticerin (การศึกษา 1 ฉบับ มีผู้เข้าร่วม 68 คน) เราไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลลัพธ์ของการใช้ไฮโดรเจลเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้วัสดุปิดแผลอื่นๆ สำหรับความเจ็บปวดบริเวณแผลผู้ให้และภาวะแทรกซ้อนของบาดแผล รวมถึงแผลเป็นและอาการคัน การศึกษาไม่ได้รายงานคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพหรือการติดเชื้อที่บาดแผล และไม่รายงานผลที่ไม่พึงประสงค์ใดๆ ของการทำแผลวิธีเหล่านี้

ไฮโดรเจลที่ใช้ออกเทนนิดีน เทียบกับ ไฮโดรเจลที่ปราศจากออคเทนนิดีน

เราไม่แน่ใจถึงผลของการใช้ไฮโดรเจลที่มีออคเทนนิดีนเทียบกับการใช้ไฮโดรเจลที่ปราศจากออคเทนนิดีนในด้านระยะเวลาในการสมานแผล การติดเชื้อของบาดแผล และผลที่ไม่พึงประสงค์ การศึกษาไม่ได้รายงานความเจ็บปวดในบริเวณที่ให้ คุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ หรือภาวะแทรกซ้อนของบาดแผล

ข้อจำกัดของหลักฐาน

เราไม่มั่นใจในหลักฐานเนื่องจากมีการศึกษาไม่เพียงพอที่จะแน่ใจเกี่ยวกับผลของผลลัพธ์ การศึกษามีคุณภาพต่ำและไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับทุกสิ่งที่เราสนใจ

หลักฐานนี้เป็นปัจจุบันแค่ไหน

หลักฐานเป็นข้อมูลล่าสุดจนถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2022

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

มีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะระบุผลของการใช้ไฮโดรเจลต่อบาดแผลบริเวณของผู้ให้ของ split thickness skin grafts เมื่อเปรียบเทียบกับการทำแผลประเภทอื่น มีความจำเป็นสำหรับ RCT ที่ขับมี power อย่างเพียงพอและได้รับการออกแบบมาอย่างดี โดยมีขนาดตัวอย่างที่เพียงพอ ประเภทของประชากรและกลุ่มย่อย ประเภทของวิธีการรักษา และผลลัพธ์ ที่เปรียบเทียบการใช้วัสดุปิดแผลไฮโดรเจลกับตัวเลือกการรักษาอื่นๆ ในการรักษาบาดแผลบริเวณผู้ให้ของ split thickness skin grafts

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

บาดแผลบริเวณที่ให้ผิวหนังในกรณี split-thickness skin grafts อาจเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยได้ การเลือกวิธีทำแผลให้เหมาะสมสำหรับบาดแผลเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาให้หายขาด มีสารที่ใช้ทำแผลหลายประเภท รวมถึงการทำแผลด้วยไฮโดรเจล จำเป็นต้องมีการทบทวนหลักฐานปัจจุบันเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจทางคลินิกเกี่ยวกับการเลือกการทำแผลสำหรับการรักษาแผลบริเวณที่ให้ในกรณี split thickness skin grafts

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินผลของการใช้ไฮโดรเจลทำแผลบนบาดแผลบริเวณผู้ให้หลังการทำ split thickness skin grafts เพื่อการสมานของแผล

วิธีการสืบค้น: 

ในเดือนกรกฎาคม ปี 2022 เราได้สืบค้น Cochrane Wounds Specialized Register, CENTRAL, MEDLINE, Embase และ CINAHL EBSCO Plus นอกจากนี้เรายังได้สืบค้นการศึกษาทางคลินิกที่ลงทะเบียนและกำลังดำเนินการอยู่ และการศึกษาที่ไม่ได้ตีพิมพ์ และตรวจดูรายการเอกสารอ้างอิงจากการศึกษาที่เกี่ยวข้องที่ถูกรวบรวมเข้ามาในการทบทวนวรรณกรรม การวิเคราะห์เมตต้า และรายงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านสุขภาพเพื่อค้นหาการศึกษาเพิ่มเติม โดยไม่มีข้อจำกัดทั้งในด้านภาษา วันที่ตีพิมพ์ หรือสถานที่ที่ทำวิจัย

เกณฑ์การคัดเลือก: 

การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCTs) เปรียบเทียบการใช้ไฮโดรเจลทำแผลกับการทำแผลประเภทอื่น การรักษาเฉพาะที่หรือไม่ใช้การปิดแผล หรือกับการใช้ไฮโดรเจลประเภทต่างๆ ในการจัดการบาดแผลในบริเวณผู้ให้ โดยไม่คำนึงถึงภาษาและสถานะสิ่งพิมพ์

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวน 2 คนดำเนินการดึงข้อมูล ประเมินความเสี่ยงของการประเมินอคติโดยใช้ Cochrane Risk of Bias Tool, RoB 1 และการประเมินคุณภาพตามระเบียบวิธี GRADE อย่างเป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัย: 

เรารวบรวมการศึกษา 2 ฉบับ (ผู้เข้าร่วม 162 คน) ในการทบทวนวรรณกรรมนี้ การศึกษา 1 ฉบับที่แบ่งผู้เข้าร่วมเป็น 3 กลุ่มและผู้เข้าร่วม 101 คน (ระยะเวลา 15 เดือน) ดำเนินการในโรงพยาบาลเด็ก และเปรียบเทียบการทำแผลด้วยไฮโดรเจลในรูปแบบของ Sorbact ร่วมกับ Algisite ซึ่งเป็นผ้าปิดแผลอัลจิเนตและ Cuticerin ซึ่งเป็นผ้ากอซอะซิเตตเนื้อเรียบที่ชุบด้วยขี้ผึ้งกันน้ำ การศึกษาอื่นมี 2 กลุ่ม และผู้เข้าร่วม 61 คน (ระยะเวลา 19 เดือน) ดำเนินการในแผนกศัลยกรรม 3 แผนก และเปรียบเทียบการทำแผลด้วยไฮโดรเจลที่มีส่วนผสมของออคเทนิดีนกับแผ่นปิดแผลไฮโดรเจลที่เหมือนกันแต่ไม่มีสารต้านจุลชีพ เราไม่พบการศึกษาที่เปรียบเทียบการใช้ไฮโดรเจลทำแผลกับการรักษาอื่น เช่น ยาทาเฉพาะที่ (ยาเฉพาะที่คือครีม ยาทาหรือสารละลายที่ทาบนแผลโดยตรง) หรือการไม่ทำแผล หรือใช้ไฮโดรเจลร่วมกับอื่นๆ เทียบกับการบำบัดอื่นเพียงอย่างเดียว การศึกษาทั้งสองมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอคติในการออกจากการศึกษา และการศึกษาที่ 2 ก็มีความเสี่ยงที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับอคติในการคัดเลือก

การทำแผลด้วยไฮโดรเจลอสัณฐาน (Amorphous hydrogel) เทียบกับการทำแผลประเภทอื่น

การทำแผลด้วยไฮโดรเจลอสัณฐานอาจเพิ่มเวลาในการรักษาบาดแผลเมื่อเปรียบเทียบกับอัลจิเนต (ความแตกต่างเฉลี่ย (MD) 1.67 วัน, 95% ช่วงความเชื่อมั่น (CI) 0.56 ถึง 2.78; การศึกษา 1 ฉบับ, ผู้เข้าร่วม 69 คน; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) หรือผ้าปิดแผล Cuticerin (MD 1.67 วัน 95% CI 0.55 ถึง 2.79; การศึกษา 1 ฉบับ ผู้เข้าร่วม 68 คน; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) ผลของการทำแผลด้วยไฮโดรเจลอสัณฐานเมื่อเปรียบเทียบกับการทำแผลประเภทอื่นๆ ไม่แน่นอนสำหรับความเจ็บปวดที่บริเวณผู้บริจาคและภาวะแทรกซ้อนของบาดแผล รวมถึงการเกิดแผลเป็นและอาการคัน (หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก) ไม่มีรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในกลุ่มใด ๆ การศึกษาไม่ได้รายงานคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพหรือการติดเชื้อที่บาดแผล

ไฮโดรเจลที่ใช้ออกเทนนิดีน เทียบกับ ไฮโดรเจลที่ปราศจากออคเทนนิดีน

ผลของการใช้ไฮโดรเจลที่ใช้ออคเทนิดีนเทียบกับการใช้ไฮโดรเจลที่ปราศจากออคเทนิดีนนั้นมีความไม่แน่นอนในเรื่องเวลาในการสมานแผล (MD 0.40, 95% CI 0.28 ถึง 0.52; การศึกษา 1 ฉบับ, ผู้เข้าร่วม 41 คน) และการติดเชื้อที่บาดแผล เนื่องจากความเชื่อมั่นของหลักฐานมีต่ำมาก ความเชื่อมั่นของหลักฐานยังต่ำมากสำหรับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ โดยมีผู้เข้าร่วม 2 คนในกลุ่มทดลองและผู้เข้าร่วม 1 คนในกลุ่มเปรียบเทียบที่รายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (อัตราส่วนความเสี่ยง (RR) 0.58, 95% CI 0.06 ถึง 5.89; การศึกษา 1 ฉบับ ผู้เข้าร่วม 41 คน) การศึกษาไม่ได้รายงานความเจ็บปวดในบริเวณที่ให้ คุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ หรือภาวะแทรกซ้อนของบาดแผล

บันทึกการแปล: 

แปลโดย พญ.วิลาสินี หน่อแก้ว โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี Edit โดย พญ.ผกากรอง ลุมพิกานนท์ 15 กุมภาพันธ์ 2024

Tools
Information