วิธีการโดยเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการใช้คุมกำเนิดของสตรี

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์มีผลกระทบใหญ่ต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของสตรี ครอบครัว และชุมชน แหล่งเครือข่ายสังคม (SNSs) เช่น Facebook และ Instagram ได้รับความนิยมทั่วโลก แต่ศักยภาพในการช่วยปรับปรุงการใช้การคุมกำเนิดยังไม่ได้รับการสำรวจอย่างเต็มที่

วัตถุประสงค์

ประเมินประสิทธิภาพของการใช้ SNSs เพื่อส่งเสริมการใช้และความต่อเนื่องในการคุมกำเนิดในสตรีวัยสืบพันธุ์

วิธีการค้นหา

เราทำการค้นหาทางอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2018 เดือนมกราคมในฐานข้อมูลออนไลน์และการประชุมสำคัญเพื่อระบุการศึกษาที่เกี่ยวข้องที่ใช้ SNSs เพื่อปรับปรุงการใช้คุมกำเนิดในสตรีวัยเจริญพันธุ์

หลักเกณฑ์ในการคัดเลือก

การศึกษาที่จะถูกรวบรวมจะต้องมีการใช้ SNS (วิธีเดียว หรือ ร่วมกับวิธีอื่น), และมีการติดตามสตรีที่เข้าร่วมอย่างน้อยสามเดือนหลังจากการใช้วิธีการนั้น

การเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้ประพันธ์สองคนคัดกรองชื่อเรื่อง บทคัดย่อ และบทความฉบับเต็มอย่างอิสระต่อกัน และสกัดข้อมูลจากการวิจัยที่ถูกรวบรวม ผู้ประพันธ์คนที่สามถูกมอบหมายเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้ง

ผลลัพธ์หลัก

เราทบทวน ชื่อเรื่อง บทคัดย่อ และบทความฉบับเต็ม 461 เรื่องและพบเพียงสองการศึกษาที่เข้าเกณฑ์ การศึกษาทั้งสองได้ดำเนินการในประเทศสหรัฐอเมริกา และมีความเสี่ยงของการเกิดอคติสูง การศึกษาแรกแบ่งสตรีออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้รับการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ประกอบด้วยข้อมูลทางการแพทย์อย่างแม่นยำเกี่ยวกับการคุมกำเนิดสำหรับประชาชนที่เรียกว่า Bedsider.org ในขณะที่อีกกลุ่มไม่ได้ใช้วิธีใดเลย การศึกษาไม่พบว่ามีความแตกต่างระหว่างกลุ่มของสตรีในแง่ความต่อเนื่องของการใช้วิธีการคุมกำเนิด หรือความรู้ของประสิทธิภาพของแต่ละวิธีในการป้องกันการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้พบว่า สตรีในกลุ่มที่ได้ใช้ Bedsider.org ใช้วิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงในหนึ่งปีต่อมา

การศึกษาที่สองใช้เพจ Facebook แบบปิด เพื่อให้ข้อมูลแก่สตรีเกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพทางเพศหรือบทความข่าวที่หลีกเลี่ยงข้อมูลสุขภาพทางเพศเพื่อหาผลกระทบต่อการใช้ถุงยางอนามัย การศึกษาไม่พบว่ามีความแตกต่างระหว่างกลุ่มในแง่ของความต่อเนื่องของการใช้ถุงยางอนามัยในหกเดือนภายหลังการได้รับข้อมูล หรือการใช้ถุงยางอนามัยในอนาคต

ผลสรุปจากผู้ประพันธ์

เราพบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพียงเล็กน้อยที่จะสนับสนุนว่า SNSs สามารถเพิ่มการใช้คุมกำเนิดหรือความต่อเนื่องในหมู่สตรี

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

ถึงแม้จะมีความแพร่หลายของ SNSs แต่เราพบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพียงเล็กน้อยที่สนับสนุนการใช้งาน SNSs เพื่อปรับปรุงการใช้คุมกำเนิดหรือความต่อเนื่องในการใช้การคุมกำเนิดในหมู่สตรี

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

เครือข่ายสังคมออนไลน์ (SNSs) มีศักยภาพที่ดีในการเป็นวิธีการทางสาธารณสุขในการให้ความสำคัญเกี่ยวกับการคุมกำเนิดที่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการใช้ SNSs เพื่อส่งเสริมการใช้และความต่อเนื่องในการคุมกำเนิดในสตรีวัยสืบพันธุ์

วิธีการสืบค้น: 

เราค้นหาจาก CENTRAL, MEDLINE, Embase และฐานข้อมูลอื่นหกฐานข้อมูลเมื่อเดือนมกราคม 2018 เรายังค้นหา Google Scholar เอกสารประกอบการประชุมที่สำคัญ ตรวจสอบรายการอ้างอิงของการศึกษาที่ถูกรวบรวม และติดต่อผู้ประพันธ์การศึกษาเพื่อค้นหาการศึกษาเพิ่มเติม

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เราพิจารณา randomised controlled trials (RCTs) และ non-randomised interventional studies (NRS) ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ SNSs ที่ต้องใช้โปรไฟล์ทางสังคมออนไลน์ภายในระบบของการเชื่อมต่อที่มีขอบเขตหรือถูกจำกัดจะถูกรวบรวมไว้ นอกจากนี้เรายังรวมการทดลองที่ใช้ SNSs เฉพาะ หรือ เป็นส่วนเสริมจากวิธีการอื่น การศึกษาต้องมีการประเมินติดตามผลอย่างน้อยสามเดือนได้

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ประพันธ์สองคนคัดกรองชื่อเรื่อง บทคัดย่อ และบทความฉบับเต็มอย่างอิสระต่อกัน และสกัดข้อมูลจากการวิจัยที่ถูกรวบรวม ผู้ประพันธ์คนที่สามถูกมอบหมายเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้ง ผู้ประพันธ์ประเมินความเสี่ยงของการเกิดอคติตามCochrane Handbook for Systematic Reviews of Interventions เราไม่สามารถทำ meta-analysis เนื่องจาก heterogeneity ของรูปแบบการศึกษาและการวัดผลลัพธ์

ผลการวิจัย: 

พบ 461 การศึกษา มีเพียงสองศึกษาที่เข้าเกณฑ์การคัดเลือกของเรา การศึกษาทั้งสองได้ดำเนินการในประเทศสหรัฐอเมริกา และมีความเสี่ยงของการเกิดอคติสูง หนึ่งการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบศึกษาในสตรี 2284 คนที่ใช้เว็บ SNS หรือไม่ใช้อะไรเลย ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มภายหลังการใช้วิธีการในแง่ของการรายงานด้วยตนเองเกี่ยวกับการใช้การคุมกำเนิดหรือความรู้เกี่ยวกับประสิทธิภาพสัมพัทธ์ของวิธีต่าง ๆ มีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่มีนัยสำคัญในการใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น (การคุมกำเนิดชั่วคราวระยะยาว) ที่ 12 เดือนหลังติดตามผล

การศึกษาที่สอง เป็นการทดลองแบบสุ่มแบบแบ่งกลุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ กับสตรี 1578 คน โดยใช้เพจ Facebook แบบปิดที่แสดงเนื้อหาสุขภาพทางเพศ เปรียบเทียบกับหน้าข่าว Facebook ที่ได้รับการแก้ไขให้หลีกเลี่ยงเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ พบว่าไม่มีความแตกต่างในการใช้ถุงยางอนามัยในครั้งสุดท้ายของการมีเพศสัมพันธ์ที่เวลา 6 เดือนหรือความตั้งใจที่จะใช้ถุงยางอนามัยระหว่างกลุ่มควบคุมและแทรกแซง

บันทึกการแปล: 

ผู้แปล นพ.เจน โสธรวิทย์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 27 มีนาคม 2562

Tools
Information