การสนับสนุนผ่านทางโทรศัพท์แบบมีโครงสร้างกับการใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกล non-invasive ในการจัดการผู้มีภาวะหัวใจล้มเหลว

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

เราได้ตรวจสอบหลักฐานเกี่ยวกับผลกระทบของการสนับสนุนทางโทรศัพท์แบบมีโครงสร้างกับการใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกล non-invasive ในการจัดการผู้มีภาวะหัวใจล้มเหลว เราพบการศึกษา 41 เรื่อง มีการศึกษา 2 เรื่องที่รวมอยู่นั้น ได้ทดลองทั้งการสนับสนุนทางโทรศัพท์อย่างมีโครงสร้างและการใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกลเปรียบเทียบกับการดูแลตามปกติ ดังนั้นจึงมีการเปรียบเทียบ 43 รายการ หลักฐานที่มีอยู่เป็นปัจจุบันจนถึงเดือน มกราคม 2015

ความเป็นมา

จากความจำกัดด้านงบประมาณด้านสุขภาพและประชากรผู้สูงอายุมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องยากที่จะให้การดูแลที่มีคุณภาพสูงให้กับผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว คลินิกแบบสหสาขาวิชาชีพดูแลผู้ที่มีหัวใจล้มเหลวเฉพาะทางยังมีน้อยและไม่มีความสามารถในการตรวจสอบผู้ป่วยเป็นประจำ ผู้ป่วยอาจไม่เต็มใจหรือไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่คลินิกได้บ่อยครั้ง จากปัญหาค่าใช้จ่าย การเดินทางหรือความพิการและความอ่อนแอ การสนับสนุนทางโทรศัพท์ที่มีโครงสร้างและการใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกลสามารถให้การดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวโดยเฉพาะสำหรับคนจำนวนมากที่มีความจำกัดในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ

ลักษณะของการศึกษา

ในการทบทวนนี้ เรารวมการศึกษาฉบับเต็มที่ผ่านการพิจารณาตรวจสอบจากคณะผู้เชี่ยวชาญ 41 เรื่อง เกี่ยวกับการสนับสนุนทางโทรศัพท์ที่มีโครงสร้างหรือการใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกล การศึกษา 25 เรื่องประเมินการสนับสนุนทางโทรศัพท์ที่มีโครงสร้าง (เป็นการศึกษาใหม่ 8 เรื่องและอีกหนึ่งการศึกษาก่อนหน้านี้ใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกล) มีผู้เข้าร่วม 9332 คน) มีการใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกล 18 เรื่อง (การศึกษาใหม่ 9 เรื่อง ผู้เข้าร่วม 3860 คน) และการศึกษา 2 เรื่อง มีการประเมินทั้งสองวิธี (รวมอยู่ในการนับที่ระบุไว้)

ผลการศึกษาที่สำคัญ

การทบทวนนี้แสดงให้เห็นว่าการสนับสนุนผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่บ้าน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถลดอัตราการเสียชีวิตและการรักษาในโรงพยาบาลจากภาวะที่เกี่ยวข้องกับหัวใจล้มเหลว สามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้คนและความรู้เกี่ยวกับภาวะหัวใจล้มเหลวและการดูแลตนเอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ แม้จะเป็นผู้สูงอายุก็เรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีได้อย่างง่ายและพอใจกับการแทรกแซงเหล่านี้

คุณภาพของหลักฐาน

เราประเมินคุณภาพของหลักฐานสำหรับผลลัพธ์หลักในการตรวจสอบนี้ (การเสียชีวิตทุกสาเหตุการรักษาในโรงพยาบาลและการรักษาในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจล้มเหลว) ตามเกณฑ์ของ GRADE เราให้คะแนนจากระดับต่ำมาก (การรักษาในโรงพยาบาลทุกสาเหตุ) ถึงระดับปานกลาง (การเสียชีวิตจากทุกสาเหตุและการรักษาในโรงพยาบาลที่เกี่ยวกับหัวใจล้มเหลว)

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

สำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่ได้รับการสนับสนุนทางโทรศัพท์อย่างมีโครงสร้างและการใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกล non-invasive ช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากสาเหตุทั้งหมดและการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจล้มเหลว การยังแสดงให้เห็นถึงคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความรู้เกี่ยวกับหัวใจล้มเหลวและพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีขี้น การศึกษายังแสดงให้เห็นถึงความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกับศึกษานี้้

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

โปรแกรมการจัดการภาวะหัวใจล้มเหลวเฉพาะทาง มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการดูแล ผลการรักษาทางคลินิกและ/หรือลดการใช้ประโยชน์ด้านการดูแลสุขภาพ ตั้งแต่ครั้งสุดท้ายของการทบทวนในปี 2010 มีการทดลองใหม่ในการสนับสนุนผ่านทางโทรศัพท์แบบมีโครงสร้างและการใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกล non-invasive มีการตีพิมพ์ ซึ่งได้ตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของวิธีการเหล่านี้

วัตถุประสงค์: 

เพื่อทบทวนการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCTs) ที่ศึกษาการสนับสนุนทางโทรศัพท์ที่มีโครงสร้างหรือการใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกลกรณี non-invasive ที่บ้าน เปรียบเทียบกับการดูแลตามมาตรฐานสำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเพื่อประเมินผลของการแทรกแซงเหล่านี้

วิธีการสืบค้น: 

เราปรับปรุงการค้นหาของ Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL), Database of Abstracts of Reviews of Effects (DARE), Health Technology AsseFssment Database (HTA) on the Cochrane Library; MEDLINE (OVID), EMBASE (OVID), CINAHL (EBSCO), Science Citation Index Expanded (SCI-EXPANDED), Conference Proceedings Citation Index- Science (CPCI-S) on Web of Science (Thomson Reuters), AMED, วิทยานิพนธ์, IEEE Xplore and TROVE ในเดือนมกราคม 2015 เราทำการศึกษาบรรณานุกรมของการศึกษาที่เกี่ยวข้องและการทบทวนอย่างเป็นระบบ และบทคัดย่อจากการประชุม โดยไม่จำกัดภาษา

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เรารวมเฉพาะ RCT ที่ได้รับที่ตีพิมพ์ ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ เปรียบเทียบการสนับสนุนทางโทรศัพท์ที่มีโครงสร้างหรือการใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกลกรณี non-invasive เพื่อการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง การแทรกแซงหรือการดูแลตามปกติไม่รวมการเยี่ยมบ้านตามโครงการหรือมากกว่าปกติ (โดยปกติประมาณสี่ถึงหกสัปดาห์)

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

เรานำเสนอโดยค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (RRs) กับ ค่าช่วงเชื่อมั่น 95% (CIs) ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ การเสียชีวิตจากทุกสาเหตุการรักษาในโรงพยาบาลที่เกิดจากสาเหตุทั้งหมดและจากโรคหัวใจล้มเหลว ซึ่งเราวิเคราะห์โดยใช้ fixed-effect model ผลลัพธ์อื่น ๆ ได้แก่ ระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาล คุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจวาย ความรู้และการดูแลตนเอง การยอมรับและค่าใช้จ่าย เราอธิบายและนำเสนอเป็นตาราง เราทำการ meta-regression เพื่อประเมินความเป็นเนื้อเดียวกัน (สมมติฐานว่าง) ในการวิเคราะห์กลุ่มย่อยและเพื่อดูผลของการแทรกแซงแปรผันตามตัวแปรเชิงปริมาณ (เช่น ปีที่ตีพิมพ์หรืออายุเฉลี่ย) หรือไม่

ผลการวิจัย: 

เรารวมการศึกษา 41 เรื่อง ทั้งศึกษาการสนับสนุนทางโทรศัพท์ที่มีโครงสร้างหรือการใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกล non-invasive สำหรับผู้มีภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งเป็นเรื่องใหม่ 17 เรื่องและเป็นเรื่องที่รวมอยู่ในการทบทวน Cochrane ก่อนหน้านี้ 24 เรื่อง การศึกษา 25 เรื่องประเมินการสนับสนุนทางโทรศัพท์ที่มีโครงสร้าง (เป็นการศึกษาใหม่ 8 เรื่องและอีกหนึ่งการศึกษาก่อนหน้านี้ใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกล) มีผู้เข้าร่วม 9332 คน) มีการใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกล 18 เรื่อง (การศึกษาใหม่ 9 เรื่อง ผู้เข้าร่วม 3860 คน) มีการศึกษา 2 เรื่องที่รวมอยู่นั้น ได้ทดลองทั้งการสนับสนุนทางโทรศัพท์อย่างมีโครงสร้างและการใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกลเปรียบเทียบกับการดูแลตามปกติ ดังนั้นจึงมีการเปรียบเทียบ 43 รายการ

การใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกลกรณี non-invasive ลดอัตราการเสียชีวิตได้ทุกสาเหตุ (RR 0.80, 95% CI 0.68 ถึง 0.94; ผู้เข้าร่วม 3740 คน; การศึกษา 17 เรื่อง; I² = 24%, GRADE หลักฐานคุณภาพปานกลาง) และการเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจล้มเหลว (RR 0.71, 95% CI 0.60 ถึง 0.83; ผู้เข้าร่วม 2148 คน; การศึกษา 8 เรื่อง; I² = 20%, GRADE หลักฐานคุณภาพปานกลาง) การสนับสนุนทางโทรศัพท์อย่างมีโครงสร้าง ลดอัตราการเสียชีวิตได้ทุกสาเหตุ (RR 0.87, 95% CI 0.77 ถึง 0.98; ผู้เข้าร่วม 9222 คน; การศึกษา 22 เรื่อง; I² = 0%, GRADE หลักฐานคุณภาพปานกลาง) และการเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจล้มเหลว (RR 0.85, 95% CI 0.77 ถึง 0.93; ผู้เข้าร่วม 7030 คน; การศึกษา 16 เรื่อง; I² = 27%, GRADE หลักฐานคุณภาพปานกลาง)

ทั้งการสนับสนุนทางโทรศัพท์ที่มีโครงสร้างและการใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกลกรณี แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงของการรักษาในโรงพยาบาลทุกสาเหตุ (การสนับสนุนทางโทรศัพท์ที่มีโครงสร้าง RR 0.95, 95% CI 0.90 ถึง 1.00; ผู้เข้าร่วม 7216; การศึกษา 16 เรื่อง; I² = 47%, GRADE หลักฐานคุณภาพต่ำมาก; RR 0.95, 95% CI 0.89 ถึง 1.01; ผู้เข้าร่วม 3332; การศึกษา 13 เรื่อง; I² = 71%, GRADE หลักฐานคุณภาพต่ำมาก)

การศึกษาการสนับสนุนทางโทรศัพท์แบบมีโครงสร้าง 7 เรื่อง รายงานระยะเวลาการเข้าโรงพยาบาล 1 เรื่อง รายงานการลดระยะเวลาการเข้าพักในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญ การศึกษา การใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกลนั้นรายงานระยะเวลาการเข้าโรงพยาบาล โดยมีงานวิจัยเรื่องหนึ่งรายงานว่าระยะเวลาการเข้าโรงพยาบาลลดลงอย่างมาก การศึกษาการใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกลหนึ่งเรื่อง รายางานว่าพบความแตกต่างอย่างมากในจำนวนวันเข้าโรงพยาบาลทั้งหมดเป็นเวลามากกว่าสามวัน แต่นี่ไม่ใช่การวิเคราะห์ระยะเวลาการพักรักษาตัวต่อโรงพยาบาล การศึกษาการสนับสนุนทางโทรศัพท์แบบมีโครงสร้าง 9 เรื่องจาก 11 เรื่องและการศึกษาการใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกลจำนวน 5 เรื่องใน 11 เรื่องรายงานว่าคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพดีขี้นอย่างมีนัยสำคัญ การศึกษาการสนับสนุนทางโทรศัพท์ที่มีโครงสร้าง 9 เรื่องและการใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกล 6 เรื่อง รายงานเกี่ยวกับความคุ้มทุน การศึกษาการสนับสนุนทางโทรศัพท์ที่มีโครงสร้าง 3 เรื่องและการใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกล 1 เรื่องรายงานใช้จ่ายลดลงและการใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกล 2 เรื่องรายงานการเพิ่มขึ้นของต้นทุน เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการแทรกแซงและการจัดการทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น ความสม่ำเสมอในการใช้งานอยู่ระหว่าง 55.1% ถึง 98.5% สำหรับการสนับสนุนทางโทรศัพท์ที่มีโครงสร้างและการศึกษาการใช้ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกล ผู้เข้าร่วมรายงานการยอมรับการแทรกแซงในช่วง 76% ถึง 97% สำหรับการศึกษาที่ประเมินผลลัพธ์นี้ การศึกษา 7 ใน 9 เรื่อง รายงานผลที่ดีขี้นด้านความรู้เกี่ยวกับภาวะหัวใจล้มเหลวและพฤติกรรมการดูแลต้นเอง

บันทึกการแปล: 

แปลโดย เพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2020

Tools
Information