ยาปฏิชีวะนะระยะสั้นสำหรับการติดเชื้อในไซนัสในผู้ใหญ่

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

ยาปฏิชีวะนะสามารถที่จะรักษาการติดเชื้อในไซนัสได้เร็วกว่าการไม่ใช้ยาปฏิชีวะนะในผู้ใหญได้หรือไม่

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

ไซนัสคือช่องตามธรรมชาติที่อยู่ในศีรษะ ในผู้ใหญ่ที่มีการติดเชื้อของไซนัสในระยะสั้นนั้นจะมีอาการคัดจมูกและมีน้ำมูกสีเหลืองเหนียว ในคนที่มีการติดเชื้อของไซนัสนั้นสามารถที่จะรู้สึกว่ามีเสมหะอยู่ที่ด้านหลังของคอ, ปวดที่บริเวณใบหน้า, ปวดเมื่อโน้มตัวไปด้านหน้า หรือปวดที่ฟันบนเมื่อทำการเคี้ยว การสงสัยว่ามีการติดเชื้อไซนัสระยะสั้นเกิดจากการซักประวัติเเละตรวจร่างกาย การเจาะเลือดส่งตรวจหรือการใช้ภาพถ่ายรังสีสามารถที่จะช่วยในการวินิจฉัยได้ แต่ไม่ได้ทำเป็นประจำในหลายประเทศ การติดเชื้อไซนัสระยะสั้นนั้นส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส แต่อย่างไรก็ตาม แพทย์ผู้ทำการรักษาก็ยังนิยมที่จะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ ซึ่งควรจะใช้ในกรณีที่ติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่จำเป็นนั้นจะส่งผลให้เกิดการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรีย ผู้ทบทวนวรรณกรรมทำการศึกษาเพื่อหาว่าการใช้ยาปฏิชีวนะนั้นสามารถที่จะรักษาการติดเชื้อไซนัสระยะสั้นได้เร็วกว่าการใช้ยาหลอกหรือการไม่รักษาเลยได้หรือไม่

ช่วงเวลาที่สืบค้น

18 มกราคม 2018

ลักษณะของการศึกษา

เราได้นเข้าการศึกษาทั้งหมด15 เรื่อง ซึ่งการศึกษาเหล่านี้ทำการศึกษาในผู้ใหญ่ที่มีการติดเชื้อไซนัสระยะสั้นในการรักษาแบบผู้ป่วยนอกซึ่งได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยาหลอก และ ไม่ได้รับการรักษาเลย โดยไม่จำเป็นว่าต้องได้รับการยืนยันการวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายรังสี การศึกษาทั้งหมดมีผู้ใหญ่เข้าร่วม 3057 คน มีอายุเฉลี่ย 36 ปี และ ประมาณ 60% เป็นเพศหญิง ผู้เข้าร่วมโครงการจะถูกติดตามจนกว่าจะรักษาหาย การทดลองใช้เวลาตั้งแต่ 8 ถึง 28 วัน

แหล่งเงินทุนการวิจัย

มีการศึกษา 7 เรื่อง ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลหรือสถาบันการศึกษา; การศึกษา 6 เรื่อง ได้รับทุนจากอุตสาหกรรมยา และ การศึกษา 5 เรื่อง ไม่ระบุเเหล่งที่มาของทุน

ผลการศึกษาที่สำคัญ

ในกรณีที่ไม่ได้ใช้ยาปฏิชีวนะ ผู้เข้าร่วมงานวิจัยเกือบครึ่งหายหลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์ และ 2 ใน 3 หายภายใน 14 วัน มีคนอีก 5 คน (วินิจฉัยจากอาการโดยแพทย์) ถึง 11 คน (วินิจฉัยยืนยันโดยภาพถ่ายรังสี) ต่อ 100 คนที่หายเร็วขึ้นจากการใช้ยาปฎชีวนะ การใช้ภาพถ่ายรังสีคอมพิวเตอร์สามาถที่จะช่วยทำนายได้ดีขึ้นว่าใครจะได้ประโยชน์จากการได้รับยาปฏิชีวนะ แต่การทำการถ่ายรังสีคอมพิวเตอร์เป็นประจำจะส่งผลเสียทางสุขภาพจากรังสีได้ อีก 10 คนต่อ 100 หายจากอาการน้ำมูกเหนียวเหลืองข้นเมื่อได้รับยาปฏิชีวนะเมื่อเทียบกับยาหลอกหรือการไม่ได้รับการรักษาเลย มี 13 คนต่อ 100 คนได้รับผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะ (ส่วนใหญ่เป็นผลข้างเคียงเกี่ยวกับกระเพาะเเละลำไส้) เมื่อเทียบกับการใช้ยาหลอกหรือไม่ได้การรักษาเลย มีอีก 5 คนต่อ 100 จากกลุ่มที่ใช้ยาหลอกหรือไม่ได้รับการรักษาต้องเริ่มใช้ยาปฏิชีวนะเนื่อจากมีอาการแย่ลง ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงเช่นฝีในสมองนั้นพบได้ยาก

เราพบว่ายาปฏิชีวนะไม่ใช่ตัวเลือกในการรักษาแรกของภาวะการติดเชื้อไซนัสระยะสั้น เราไม่พบว่ามีหลักฐานเกี่ยวเนื่องไปถึงผู้ใหญ่ที่เป็นไซนัสอักเสบอย่างรุนแรง หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือถึงเด็ก

คุณภาพของหลักฐาน

เราพบว่าหลักฐานมีคุณภาพสูงเมื่อการวินิจฉัยนั้นเกิดจากอาการเเละอาการแสดงที่แสดงต่อแพทย์ เราลดระดับคุณภาพของหลักฐานเป็นระดับปานกลางเมื่อยืนยันด้วยภาพถ่ายรังสีเอ็กเรย์หรือเอ็กเรย์คอมพิวเตอร์ เพราะจำนวนผู้เข้าร่วมน้อยทำให้ค่าประมาณมีความน่าเชื่อถือน้อยลง

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

ประโยชน์ที่ได้จากการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาภาวะโพรงจมูกและไซนัสอักเสบไม่ว่าจะวินิจฉัยจากอาการและอาการแสดง (ความเสี่ยงของการมีอคติต่ำ, หลักฐานคุณภาพสูง) หรือได้รับการยืนยันด้วยภาพถ่ายรังสี (ความเสี่ยงของการเกิดอคติต่ำถึงไม่แน่ชัด, หลักฐานคุณภาพปานกลาง) นั้นมีประโยชน์เล็กน้อยและต้องพิจารณาความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงร่วมด้วย เมื่อพิจารณาจากการเกิดเชื้อดื้อยาเเละการมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากโรคที่ต่ำมาก เราสรุปได้ว่าไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยจมูกและไซนัสอักเสบอย่างเฉียบพลันที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน เราไม่สามารถให้ข้อสรุปสำหรับเด็ก, ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และ กลุ่มคนที่มีไซนัสอักเสบอย่างรุนแรงได้ เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในประชากรที่รวบรวมในการศึกษา

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

โรคจมูกและไซนัสอักเสบเฉลียบพลันคือการติดเชื้อของโพรงจมูกและไซนัสข้างจมูกที่เป็นน้อยกว่า 4 สัปดาห์ การวินิจฉัยภาวะจมูกและไซนัสอักเสบเฉียบพลันโดยทั่วไปทำการวินิจฉัยจากอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยในแผนกผู้ป่วยนอก การส่งตรวจเพิ่มเติมนั้นไม่ได้ทำเป็นประจำ และไม่แนะนำในหลายประเทศ บางการทดลองแสดงให้เห็นว่าการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะนั้นดีกว่า แต่การชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์และโทษนั้นยังไม่ชัดเจน

เรารวม Cochrane Reviews 2 เรื่องเข้าด้วยกันในการปรับปรุงนี้ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการที่ต่างกัน และมีประชากรซ้ำกันทำให้ได้ผลที่ต่างกัน สำหรับการปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมนี้ เราสามารถที่จะแยกประชากรโดยแยกระหว่างการวินิจฉัยโดยอาการและอาการแสดง กับ การใช้ภาพถ่ายรังสี

วัตถุประสงค์: 

ในการประเมินผลของยาปฏิชีวนะ กับ ยาหลอก หรือไม้ได้รับการรักษาในผู้ป่วยนอก

วิธีการสืบค้น: 

เราสืบค้นใน CENTRAL (2017, Issue 12), ซึ่งครอบคลุมถึง the Cochrane Acute Respiratory Infections Group's Specialised Register, MEDLINE (มกราคม 1950 ถึง มกราคม 2018), Embase (มกราคม 1974 ถึง มกราคม 2018), และ trials registers 2 ฐาน (มกราคม 2018) เรายังทำการตรวจสอบเเหล่งอ้างอิงจาก การทดลอง, systematic review ที่พบ และ แนวทางการปฎิบัติที่เกี่ยวข้อง

เกณฑ์การคัดเลือก: 

การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบระหว่างยาปฏิชีวนะกับกลุ่มที่ได้ยาหลอกหรือไม่ได้รับการรักษา ในผู้ที่มีอาการและอาการแสดงเหมือนโพรงจมูกและไซนัสอักเสบ หรือ ได้รับการยืนยันจากภาพถ่ายรังสีว่ามีไซนัสอักเสบ

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนสองคนดึงข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาและผลข้างเคียง และประเมินความเสี่ยงของการมีอคติอย่างอิสระต่อกัน เราติดต่อผู้ทำการศึกษาวิจัย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ผลการวิจัย: 

เรานำเข้าการศึกษา 15 เรื่อง โดยมีผู้เข้าร่วมการศึกษา 3057 คน จากการศึกษา 15 เรื่องที่นำเข้า มีการศึกษา 10 เรื่องที่มีอยู่ในการทบทวนในปี 2012 และ อีกการศึกษา 5 เรื่อง (ผู้เข้าร่วมรวม 631 คน) นั้นเป็นงานที่เกิดจากการรวมกันของการทบทวนวรรณกรรม 2 เรื่อง ไม่มีการศึกษาใหม่ที่ถูกนำเข้าในการปรับปรุงครั้งนี้ โดยรวมแล้ว มีความเสี่ยงของการมีอคติต่ำ มีผู้เข้าร่วมที่เป็นโพรงจมูกและไซนัสอักเสบที่ไม้ได้รับยาปฏิชีวนะ (ทั้งที่ยืนยันและไม่ได้ยืนยันด้วยภาพถ่ายรังสี) 46% หายจากโรคหลังจาก 1 สัปดาห์ และ อีก 64% หายหลังผ่านไป 14 วัน ยาปฏิชีวนะสามารถลดระยะเวลาของการรักษาได้ แต่มีเพียงแค่ 5 ถึง 11 คนต่อ 100 คนที่หายเร็วขึ้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้ยาปฏิชีวนะและกลุ่มที่ได้ยาหลอกหรือไม่ได้รับการรักษา ; วินิจฉัยจากอาการมี (odds ratio 1.25, 95% confidence interval, 1.02 ถึง 1.54; จำนวนของผู้ป่วยที่จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ (NNTB) 19 คน จึงจะทำให้เห็นผลการรักษาสำเร็จเพิ่มขึ้น หนึ่งคน , 95% CI 10 ถึง 205; I² = 0%; การศึกษา 8 เรื่อง; หลักฐานคุณภาพสูง) และ การวินิจฉัยที่ได้รับการยืนยันด้วยภาพถ่ายรังสี (OR 1.57, 95% CI 1.03 ถึง 2.39; NNTB 10, 95% CI 5 ถึง 136; I² = 0%; การศึกษา 3 เรื่อง; หลักฐานคุณภาพปานกลาง) อัตราการหายโดยใช้ยาปฏิชีวนะจะสูงกว่าในกรณีที่พบระดับน้ำหรือมีการทึบรังสีในไซนัสใดไซนัสหนึ่งที่พบในภาพถ่ายเอ็กเรย์คอมพิวเตอร์ (OR 4.89, 95% CI 1.75 ถึง 13.72; NNTB 4, 95% CI 2 ถึง 15; การศึกษา 1 เรื่อง; หลักฐานคุณภาพปานกลาง) การมีสารคัดหลั่งที่เป็นหนองสามารถหายเร็วขึ้นด้วยยาปฏิชีวนะ(OR 1.58, 95% CI 1.13 ถึง 2.22; NNTB 10, 95% CI 6 ถึง 35; I² = 0%; การศึกษา 3 เรื่อง; หลักฐานคุณภาพสูง) แต่ว่า มี 13 คนที่มีข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้ยาหลอกหรือไม่ได้การรักษา (OR 2.21, 95% CI 1.74 ถึง 2.82; จำนวนของผู้ป่วยที่จะได้รับผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะ (NNTH) เพิ่มขึ้นหนึ่งคน หากมี 8 คนที่ได้รับยาปฏิชีวนะ, 95% CI 6 to 12; I² = 16%; 10 การศึกษา; หลักฐานคุณภาพสูง) ในกลุ่มคนที่ได้ยาปฏิชีวนะมีคนที่การรักษาล้มเหลวน้อยกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอกหรือไม่ได้รับการรักษาอยู่ 5 คนต่อ 100 คน (Peto OR 0.48, 95% CI 0.36 ถึง 0.63; NNTH 19, 95% CI 15 ถึง 27; I² = 21%; การศึกษา 12 เรื่อง; หลักฐานคุณภาพสูง) เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค (ผีในสมอง) ใน 1 คนจากผู้เข้าร่วมทั้งหมด 3057 คน โดยเกิดขึ้น 1 สัปดาห์หลังจากได้ยาปฏิชีวนะอย่างเปิดเผย (ความล้มเหลวทางคลินิก, กลุ่มควบคุม)

บันทึกการแปล: 

แปลโดย นศพ.ธนทัต ผาณิตพงศ์

Tools
Information