การทบทวนวรรณกรรมเทคนิคการทำหมันสตรี (บล็อกท่อนำไข่)

ความเป็นมา

การศึกษานี้เป็นการปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของ Cochrane หลังจากเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2002 และมีการปรับปรุงอีกครั้งในปี 2011

การทำหมันโดยผูกตัดท่อนำไข่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์โดยการหยุดไข่ ที่ยังไม่ปฎิสนธิของสตรีที่ผ่านท่อนำไข่เพื่อจะไปปฏิสนธิโดยสเปิร์ม เทคนิคการปิดท่อนำไข่ ได้แก่ การตัดและผูกไว้ (ตัดท่อนำไข่บางส่วน), บล็อกท่อนำไข่ด้วยอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คลิปหรือแหวน หรือโดยการใช้กระแสไฟฟ้า (electrocoagulation) ทำให้ท่อนำไข่เสียหาย และตีบตัน หรือการบล็อกโดยการใช้สารเคมี หรืออุปกรณ์ฝังในท่อนำไข่ (สอดผ่านปากมดลูก) ที่ทำให้เกิดแผลเป็นในท่อนำไข่

วิธีการ

นักวิจัย Cochrane ต้องการเปรียบเทียบเทคนิคต่าง ๆ สำหรับการทำหมัน ในแง่ของ:

- ความไม่สบายจากวิธีที่ทำหมันที่สตรีรู้สึกในระยะสั้น และระยะยาว รวมทั้งอาการปวดที่ประสบ (เจ็บป่วยหลัก และรอง);

- อัตราความล้มเหลว (ตั้งครรภ์);

- ความล้มเหลวทางเทคนิคและปัญหาที่พบในระหว่างกระบวนการฆ่าเชื้อ และ

- ความพึงพอใจของสตรีและศัลยแพทย์

เราค้นหาเอกสารทางการแพทย์จนถึง 23 กรกฎาคม 2015 สำหรับการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ (RCT) ที่เปรียบเทียบวิธีการของการปิดท่อนำไข่ใด ๆ เนื่องจาก RCT ให้ผลลัพธ์ที่น่าเชื่อถือ

ผลการศึกษา

เรารวม RCT 19 เรื่อง ที่สตรีวัยเจริญพันธุ์ 13,209 คนเข้าร่วม การทดลองเปรียบเทียบ:

- แหวนเทียบกับคลิป (RCT หกเรื่อง, สตรี 4232 คน);

- ตัดท่อนำไข่บางส่วนกับ electrocoagulation (RCT สามเรื่อง, สตรี 2019 คน);

- แหวนเทียบกับ electrocoagulation (RCT สองเรื่อง, สตรี 599 คน);

- ตัดท่อนำไข่บางส่วนเทียบกับคลิป (RCT สี่เรื่อง, สตรี 3827 คน);

- แหวนเทียบกับ electrocoagulation (RCT สองเรื่อง, สตรี 206 คน);

-คลิป สองชนิด เช่น คลิป Hulka และคลิป Filshie ( RCT สองเรื่อง, สตรี 2326 คน)

เราไม่พบการศึกษาแบบ RCT ที่ศึกษาการทำหมันด้วยสารเคมีหรืออุปกรณ์ฝังในท่อนำไข่ ดังนั้นการศึกษาที่รวบรวมทั้งหมดจึงเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง

ไม่มีการตายเกิดขึ้นจากการทำหมันด้วยวิธีใดๆ และการเจ็บป่วยหลัก และรองนั้นเกิดน้อยมาก อัตราการตั้งครรภ์น้อยกว่า 5 ใน 1000 ในหนึ่งปีหลังการผ่าตัด อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน (ปัญหาหลังการผ่าตัด/การเจ็บป่วยรอง) ต่ำมากในการเปรียบเทียบวิธีการทำหมันทั้งหมด ภาวะแทรกซ้อนเล็กน้อย เช่น อาการปวด และความล้มเหลวทางเทคนิคพบบ่อยจากการใช้แหวนมากกว่าคลิป การเจ็บป่วยหลักและการปวดหลังผ่าตัดที่สำคัญพบได้บ่อยกว่า ในวิธีตัดท่อนำไข่บางส่วนเมื่อเทียบกับ electrocoagulation อาการปวดหลังผ่าตัดมีรายงานสองเท่าโดยสตรีที่ผ่านการทำหมัน โดยแหวนกว่าการทำหมันโดย electrocoagulation ความล้มเหลวทางเทคนิคพบบ่อยกับคลิปมากกว่าเทคนิคการผูกและตัด แต่เวลาการผ่าตัดก็สั้นลงสำหรับคลิป

เราพบหลักฐานเล็กน้อยเกี่ยวกับความพึงพอใจของสตรีหรือศัลยแพทย์

บทสรุป

การทำหมันโดยตัด และผูกท่อนำไข่ หรือการใช้กระแสไฟฟ้า คลิป หรือ แหวน ต่างก็เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดและมีปัญหาน้อย การจะเลือกวิธีการใดขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของศัลยแพทย์ ความพร้อมของอุปกรณ์ สภาพการณ์ และต้นทุน จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทำหมันที่ไม่ต้องผ่าตัด

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

การทำหมันโดยการตัดท่อนำไข่บางส่วน electrocoagulation หรือใช้คลิปหรือแหวนรัดท่อนำไข่เป็นวิธีที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพการคุมกำเนิด อัตราความล้มเหลวใน 12 เดือนหลังทำหมันและการเจ็บป่วยที่สำคัญเกิดขึ้นน้อยมากกับเทคนิคเหล่านี้ ภาวะแทรกซ้อนเล็กน้อยและความล้มเหลวทางเทคนิคที่ปรากฏจะพบในวิธีแหวนรัดท่อนำไข่บ่อยมากกว่าคลิป Electrocoagulation อาจเกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังผ่าตัดน้อยกว่าวิธี Pomeroy หรือวิธีวงแหวนรัดท่อนำไข่ วิจัยเพิ่มเติมควรรวม RCT (สำหรับประสิทธิภาพ) และการศึกษาควบคุมเชิงสังเกต (สำหรับอาการข้างเคียง) ในการทำหมันโดยวิธีผ่านกล้อง เช่น อุปกรณ์ฝังในท่อนำไข่และ quinacrine

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

นี่คือการปรับปรุงของรีวิวที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2002 การทำหมันสตรีเป็นวิธีคุมกำเนิดที่นิยมที่สุดทั่วโลก มีอยู่หลายเทคนิคสำหรับการขัดขวางช่องทางเปิดของท่อนำไข่ ได้แก่ การตัด และผูกท่อ ทำลายหลอดใช้กระแสไฟฟ้า นำคลิปหรือแหวนยางซิลิโคน บล็อกท่อนำไข่ด้วยสารเคมี หรืออุปกรณ์ฝังในท่อนำไข่

วัตถุประสงค์: 

การเปรียบเทียบเทคนิคการอุดตันท่อนำไข่ที่แตกต่างกันในแง่ของการเจ็บป่วยหลัก และรอง อัตราความล้มเหลว (ตั้งครรภ์), ความล้มเหลวทางเทคนิค และความยากลำบาก และความพึงพอใจของสตรีและศัลยแพทย์

วิธีการสืบค้น: 

การทบทวนฉบับที่ตีพิมพ์ในปี 2002 เราค้น MEDLINE และ Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL) ในการปรับปรุงครั้งนี้ในปี 2015 เราค้นหา POPLINE LILACS PubMed และ CENTRAL เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2015 เราใช้คุณสมบัติที่เกี่ยวข้องของ PubMed และค้นหารายการการอ้างอิงของการทดลองที่ระบุใหม่

เกณฑ์การคัดเลือก: 

การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ (RCT) เปรียบเทียบเทคนิคต่าง ๆ สำหรับการทำหมันโดยไม่คำนึงถึงวิธีการเข้าถึงท่อนำไข่หรือวิธีการระงับปวด

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ในรีวิวต้นฉบับ ผู้ทบทวนสองคนเลือกการศึกษาอย่างอิสระต่อกัน สกัดข้อมูลและประเมินความเสี่ยงของอคติ ในการปรับปรุงครั้งนี้สกัดข้อมูลดำเนินการ โดยผู้ประพันธ์การทบทวนคนหนึ่ง (TL) และตรวจสอบ โดยผู้ประพันธ์การทบทวนอีกคน (RK) เราจัดกลุ่มตามชนิดของการเปรียบเทียบประเมินการทดลอง จะรายงานผลเป็น odds ratio (OR) หรือความแตกต่าง (MD) โดยใช้วิธี fixed-effect ยกเว้นว่า heterogeneity จะสูง ซึ่งในกรณีนี้เราใช้วิธีการ random-effects

ผลการวิจัย: 

เรารวบรวมนำเข้า 19 การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบที่เกี่ยวข้องกับสตรี 13,209 คน การศึกษาส่วนมากศึกษาการทำหมันแห้ง สาม RCTs ที่มีสตรีเข้าร่วม 1632 คนศึกษาในการทำหมันหลังคลอด เปรียบเทียบ แหวนเทียบกับคลิป (RCT หกเรื่อง, สตรี 4232 คน); ตัดท่อนำไข่บางส่วนกับ electrocoagulation (RCT สามเรือง, 2019 คน); แหวน tubal กับ electrocoagulation (RCT สองเรื่อง, สตรี 599 คน); ตัดท่อนำไข่บางส่วนเมื่อเทียบกับคลิป (RCT สี่เรื่อง, สตรี 3627 คน); คลิปเทียบกับ electrocoagulation (RCT สองเรื่อง, สตรี 206 คน); และคลิป Hulka เทียบกับ Filshie (RCT สองเรื่อง, สตรี 2326 คน) RCT ของคลิปกับ electrocoagulation ไม่มีข้อมูลในการทบทวนครั้งนี้

หนึ่งปีหลังจากทำหมัน อัตราความล้มเหลวต่ำ (< 5/1000) สำหรับวิธีการทั้งหมด ไม่มีการตายถูกรายงานไม่ว่าด้วยวิธีใด และเจ็บป่วยหลักที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคในการอุดตันทางเดินท่อนำไข่ก็เกิดขึ้นน้อยมาก

เจ็บป่วยรองคือพบสูงกว่าด้วยวงแหวนรัดท่อนำไข่เมื่อเทียบกับคลิป (Peto OR 2.15, 95% CI 1.22 ถึง 3.78 ร่วม = 842 2 การศึกษา I² = 0% คุณภาพหลักฐานสูง), เช่นความล้มเหลวทางเทคนิค (Peto OR 3.93, 95% CI 2.43 6.35 ร่วม = 3476 3 การศึกษา I² = 0% คุณภาพหลักฐานสูง)

การเจ็บป่วยที่สำคัญสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญด้วยเทคนิค Pomeroy เมื่อเทียบกับ electrocoagulation (Peto OR 2.87, 95% CI 1.13 ถึง 7.25 ผู้เข้าร่วม 1905 คน; 2 การศึกษา; I² = 0% คุณภาพหลักฐานต่ำ), เป็นความเจ็บปวดหลังผ่าตัด (Peto OR 3.85, 95% CI 2.91 ถึง 5.10 ผู้เข้าร่วม 1905 คน; 2 การศึกษา; I² = 0% คุณภาพหลักฐานปานกลาง)

เมื่อแหวนรัดท่อนำไข่ เปรียบเทียบกับ electrocoagulation ความเจ็บปวดหลังผ่าตัดถูกรายงานบ่อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญสำหรับแหวนรัดท่อนำไข่ (OR 3.40, 95% CI 1.17 9.84 ผู้เข้าร่วม 596 คน; 2 การศึกษา I² = 87% หลักฐานคุณภาพต่ำ)

เมื่อการตัดท่อนำไข่บางส่วนเปรียบเทียบกับคลิป ไม่มีเหตุการณ์เจ็บป่วยที่สำคัญในกลุ่มใด (ผู้เข้าร่วม 2198 คน; 1 การศึกษา) ความถี่ของการเจ็บป่วยเล็กน้อยก็ต่ำ และไม่แตกต่างระหว่างกลุ่ม (Peto OR 7.39, 95% CI 0.46 ถึง 119.01 ผู้เข้าร่วม 193 คน; 1 การศึกษา หลักฐานคุณภาพต่ำ) แม้ว่าความล้มเหลวทางเทคนิคเกิดขึ้นบ่อยกับคลิป (Peto OR 0.18, 95% CI 0.08 ถึง 0.40 ผู้เข้าร่วม 2198 คน 1 การศึกษา หลักฐานคุณภาพปานกลาง); คลิปเวลาผ่าตัดสั้นกว่าเมื่อเทียบกับการตัดท่อนำไข่บางส่วน (MD 4.26 นาที 95% CI 3.65 ถึง 4.86 ผู้เข้าร่วม = 2223 คน 2 การศึกษา I² = 0% คุณภาพหลักฐานสูง)

เราพบหลักฐานเล็กน้อยที่เกี่ยวกับความพึงพอใจของศัลยแพทย์หรือสตรี ไม่มี RCT ที่เปรียบเทียบอุปกรณ์ฝังในท่อนำไข่ (การทำหมันผ่านการส่องกล้องทางโพรงมดลูก) หรือการให้สารเคมีเพื่อทำหมัน (quinacrine) กับวิธีการอื่น ๆ

บันทึกการแปล: 

ผู้แปล นพ.เจน โสธรวิทย์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 30 พฤศจิกายน 2017

Tools
Information